ข้าพเจ้า นางสาวกาญจนา ธุระทำ ประเภทนักศึกษา
ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดลตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 11.00 น. มีการประชุมผู้ปฏิบัติงานทุกท่านและปฐมนิเทศผู้ปฏิบัติงานใหม่ผ่านทาง Google meet
โดยอาจารย์ได้แบ่งหน้าที่ให้กับกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆภายในเดือนตุลาคมอาจารย์ได้มอบงานให้แต่ละกลุ่มลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่เป็นแบบสอบถามU2T-SROI ซึ่งมีทั้งหมด11หัวข้อ โดยทั้ง11หัวข้อนี้อาจารยืได้มอบหมายให้กลุ่มปฏิบัติงาน ดังนี้
กลุ่มนักศึกษาหัวข้อที่ได้รับมอบหมายคือ หัวข้อ1.ตำบลเป้าหมาย หัวข้อ2.ลูกจ้างโครงการ
กลุ่มบัณฑิตจบใหม่หัวข้อที่ได้รับมอบหมายคือ หัวข้อที่2.ลูกจ้างโครงการ
หัวข้อ9.หน่วยงานภาครัฐ
หัวข้อ10.หน่วยงานอปท.
หัวข้อ11.เอกชนในพื้นที่
และกลุ่มประชาชนหัวข้อที่ได้รับมอบหมายคือหัวข้อ2.ลูกจ้างโครงการ
หัวข้อ3.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ
หัวข้อ4.ชุมชนภายใน
หัวข้อ5.ชุมชนภายนอก
หัวข้อ8.ผู้แทนตำบล
สำหรับหัวข้อที่6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการหัวข้อ7.เจ้าหน้าที่โครงการu2t จะเป็นผู้เก็บข้อมูลเองสำหรับการเก็บข้อมูลก็จะมี2รูปแบบคือแบบ Google fromและแบบปริ้นเอกสารเพื่อพูดแบบงานนำไป print และเก็บข้อมูลแล้วนำไปส่งที่มหาวิทยาลัย
วันที่ 10 ตุลาคม พศ .2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มนักศึกษาได้ลงพื้นที่เพื่อไปเก็บข้อมูลที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องเก็บมีทั้งหมด 3 ชุดด้วยกันคือ 1. เก็บข้อมูลกับผู้ใหญ่บ้าน
2. ข้อมูลของเกษตรกร
3.เป็นข้อมูลของหัวหน้าผู้นำชุมชนกลุ่มรัฐวิสาหกิจ
โดยกลุ่มนักศึกษาได้เริ่มต้นไปที่บ้านหนองม่วงเพื่อที่จะไปเก็บข้อมูลของผู้นำชุมชนแต่เนื่องด้วยเวลานั้นผู้นำชุมชนติดภารกิจจึงไม่สามารถที่จะมาให้ข้อมูลได้จึงได้มีการเปลี่ยนแผนเพื่อไปเก็บข้อมูลที่บ้านโคกว่านแทนซึ่งคนแรกที่เราได้ไปเก็บข้อมูลคือ นายจุล ชื่นชู (ผู้ใหญ่บ้าน) ในส่วนหลักๆของข้อมูลที่ไปเก็บเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการถามความพึ่งพอใจสำหรับโครงการอยู่ u2t ที่ได้มีการลงพื้นที่เข้ามาช่วยเหลือว่ามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างไรบ้าง
แล้วคนที่สองที่เราได้ไปถามข้อมูลคือ นายมานพ บุญรอด ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกร
และสุดท้ายเราได้มีการไปถามข้อมูลคือ
นางวิไล ปรีนารัมย์ ซึ่งในส่วนนี้เราได้มีการเข้าไปถามเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นทางด้านการเงินรวมถึงค่าใช้จ่ายและที่ได้รับมาของกลุ่มชุมชนว่าเกิดความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างก่อนที่โครงการ u2t และหลังจากที่โครงการ u2t ได้เข้ามา ซึ่งเราก็ได้พบว่าหลังจากที่โครงการอยู่ดีเข้ามาสามารถที่จะลดค่าใช้จ่ายการลงทุนลงไปได้ครึ่งตัวเลยที่เดียว
วันที่ 16 ตุลาคม พศ. 2564 ได้มีการนัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกท่านลงพื้นที่ที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
เพื่อทำการจัดเตรียมสถานที่ใน “งานเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ” ซึ่งได้มีการนัดหมายกันในเวลา 12.30 น.เพื่อช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ต่างๆ เช่นการปัดกวาด การจับผ้าและจัดเก้าอี้เพื่อรองรับบุคคลที่จะเข้ามาในงานประมาณ 80 คน ซึ่งถือว่าใช้ระยะเวลาในการทำนานพอสมควรเพราะเนื่องด้วยสถานการณ์ที่ฝนตกลงมาทั้งวันทำให้ยากลำบากต่อการขนของเพื่อมาเตรียมงานแต่ด้วยความสามัคคีของปฏิบัติงานทุกท่านก็สามารถทำให้งานสำเร็จและผ่านไปได้ด้วยดีในเวลาประมาณ 19.00 นหลังจากนั้นก็ได้มีการแยกย้ายกันกลับบ้าน
วันที่ 17 ตุลาคมพ.ศ 2554 โดยวันนี้ได้มีการนัดหมายกันที่เวลา 9.00 น. เพื่อมาร่วมงานเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ที่เราได้มีการจัดเตรียมงานกันไว้ในวันที่ 16 ตุลาคม ซึ่งในงานวันนี้กลุ่มตำบลหนองโสนเป็นเจ้าภาพที่จะต้องจัดเตรียมงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแขกภายในงาน
ซึ่งผู้ที่ได้ร่วมโครงการในครั้งนี้ คือผู้ปฏิบัติงานกลุ่มตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองโสน และตำบลหนองกง ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 80 คน
และผู้ร่วมเสวนาได้แก่ พระครูสุทธิพัฒนาภิรม (เจ้าอาวาสวัดหนองตาไก้พลวง) , นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง , นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง (อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน) , อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี , นางดนุลดา ธรรมนิยม , (สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน) , รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม (คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์), ปลัด กรุณา, ผู้ดำเนินการเสวนา อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ ( รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) อีกทั้งยังมีผู้เข้าร่วมงานรับฟังการเสวนาครั้งนี้ได้แก่เจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลทั้ง 10 แปลง
ซึ่งภายในงานเริ่มเวลาประมาณ 9.30 น. อันดับแรกเป็นการกล่าวเปิดงานโดยคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม
หลังจากนั้นก็เป็นการพูดของผู้เสวนาทั้งหมด7ทานด้วยกันแล้วจากนั้นก็ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลทั้ง 10 แปลง ได้พูดเกี่ยวกับแปลงของตนเองว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีอะไรเกิดขึ้นบ้างแล้วในตอนนี้ จนเวลาประมาณ 12.30 น. ก็เป็นกันจบการเสวนาพักรับประทานอาหารกลางวัน
เมื่อรับประทานอาหารกลางวันเสร็จแล้วกลุ่มผู้เข้าร่วมงานก็แยกย้ายกันแต่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานหนองโสนต้องอยู่เพื่อเก็บสถานที่ต่างๆให้เรียบร้อยก่อนที่จะแยกย้ายกันซึ่งก็ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาทีเพราะผู้ปฏิบัติงานทุกท่านมีความสามัคคีและร่วมมือกันอย่างเต็มที่เพื่อให้งานครั้งนี้ออกมาอย่างดีที่สุดและเวลาประมาณ 14.30 น.ก็เป็นการแล้วเสร็จ
ลิงค์วีดีโอปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม พศ. 2564
ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมทำให้งานครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี
ขอบคุณค่ะ🙏