หลักสูตร: HS02เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดลตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ประจำเดือนตุลาคม 2564

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายกฤษณพงษ์ แถวประโคน ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารณ์ประจำหลักสูตรได้นัดประชมออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น GOOGLE MEET เวลา 11.00น. โดยได้มีการชี้แจงการลงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามU2T-SROI โดยข้าพเจ้ากลุ่มนักศึกษาได้รับหน้าที่ให้เก็บข้อมูลชุด 01.ตำบลเป้าหมาย:แบบสอบถามสำหรับประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการในพื้นที่ระดับจังหวัด ด้วยเครื่องมือ SROL และ02.ลูกจ้างโครงการ:แบบสอบถามสำหรับประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการในพื้นที่ระดับจังหวัดด้วยเครื่องมือ SROI และเรื่องที่2.คือการเตรียมพ้อมจัดกิจกรรมเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง หมู่ 1บ้านโค่กว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564

วันที่10 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานกลุ่มนักศึกษาได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย 01.ตำบลเป้าหมาย:แบบสอบถามสำหรับประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการในพื้นที่ระดับจังหวัด ด้วยเครื่องมือ SROI โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้ ท่านได้รับประโยชน์/การเปลี่ยนแปลงในระดับใด

ในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าไปสอบถามกับ 1. นายจุล ชื่นชู ผู้นำชุมชน บ้านโคกว่าน 2.นายมานพ บุญรอด เกษตรในท้องถิ่น 3.นางวิลัย ปลีนารัมย์ ประธานวิสาหกิจชุมชน

แบ่งเป็น 6 หัวข้อได้แก่

1.ตำบลของท่านได้ดำเนินกิจกรรม/โครงการด้านใดบ้าง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T)

2.การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านศักยภาพ

3.การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ/การเงิน

4.การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

5.การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ (กาย/ใจ)

6.การดำเนินกิจกรรม/โครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความเป็นอยู่ สังคมและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานหนองโสน ได้มีการนัดหมาย ณ ได้มีการนัดหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกท่านลงพื้นที่ที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกว่าน  ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อจัดเตรียมสถานที่ทำกิจกรรมเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL โดยการเริ่มจากการทำความสะอาดบริเวณสถานที่ทำกิจกรรม จัดเก้าอี้ และจับผ้าเพื่อความสายงาม

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า80คน ได้แก่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานกลุ่มตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองโสน และตำบลหนองกง และประชาชนในพื้นที่

โดยมี ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL

และผู้ร่วมเสวนาได้แก่ พระครูสุทธิพัฒนาภิรม (เจ้าอาวาสวัดหนองตาไก้พลวง) , นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง , นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง (อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน) , อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี , นางดนุลดา ธรรมนิยม , (สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน) , รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  (คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์), ปลัด กรุณา, ผู้ดำเนินการเสวนา อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ ( รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)  และเจ้าของแปลงโคกหนองนาอีก 10 คน ร่วมรับฟังและถ่ายทอดความรู้ในครั้งนี้ด้วย

การเสวนาโคกหนองนาโมเดลและการจะทำโคกหนองนาโมเดลดั่งนั้นจะต้องนำปรัชญา3ด้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตต่อไป ปรัชญาทั้ง3 ด้านคือ

ด้านเกษตร

มีการปรับพื้นที่เป็น 3 ส่วนคือโคก-หนอง-นา เพื่อจัดสรรการท่าเกษตรขนาดย่อม ได้แก่ 1 ไร่และ 3 ไร่แบ่งสัดส่วนเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1: 1 ,1: 2 และ 2: 3  มีการจัดการแก้ไขปัญหาสภาพดินโดยการปลูกพืชคลุมดินเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสม มีการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในด้านต่างๆเช่นต้นสักทองต้นยางนาต้นพยุงต้นมะฮอกกานีต้นไม้แดง  มีการปลูกผักสวนครัวและผลไม้เพื่อการบริโภคและจําหน่าย ด้านเกษตรนั้น จะมีการเกษตรผสมผสานไปแล้ว 80 %

ด้านปศุสัตว์

มีการแบ่งพื้นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง เช่น วัว เป็ด ไก่ มีการเลี้ยงสัตว์โดยใช้อาหารที่สามารถผลิตเองได้โดยมีการนำเอาข้าวโพดบดใบข้าวโพดมาทำเป็นอาหารสัตว์เพื่อความประหยัดต้นทุน ด้านปศุสัตว์มีการเลี้ยงสัตว์ไปแล้ว30 %

ด้านประมง

มีการเลี้ยงพันธุ์ปลา เช่น ปลานิลปลาทับทิมปลาตะเพียน มีการเลี้ยงแหนแดงเพื่อไว้จําหน่าย 2.มีการกำจัดและบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เหมาะแก่การเลี้ยงปลา ด้านประมงมีการเลี้ยงสัตว์น้ำไปแล้ว 50%

และเมื่อกิจกรรมในช่วงเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน

และเมื่อกิจกรรมเสร็จเป็นที่เรียร้อยแล้วข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานหนองโสนก็ร่วมกันเก็บกวาดสถานที่ทำกิจกรรม ทำความสะอาดบริเวณศูนย์การเรียนรู้ เป็นเก้าอี้และจัดทุกอย่างให้เป็นเหมือนเดิม โดยทุกคนต่างร่วมด้วยช่วยกันเป็นอย่างดี จึงทำให้กิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

อื่นๆ

เมนู