ป็นการปิดกิจกรรมw Normoข้าพเจ้า นายนัฐพงษ์ จันทร์คง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดล ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
กิจกรรมสำหรับวันที่ 25 กันยายน 2564 เวลา 09.00 น. – 12.30 น. ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีกท่านหนึ่งได้ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลกับเจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลเพิ่มเติม โดยเข้าไปสัมภาษณ์สอบถามกับเจ้าของแปลงที่ชื่อ นายมีชัย หรบรรพ์ และ นายบุญลือ นวลปักษี มีข้อมูลดังนี้
นายมีชัย หรบรรพ์
ที่ตั้ง : บ้านโคกหว่าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่ : พื้นที่ขนาด 3 ไร่ แบ่งสัดส่วนพื้นที่เป็น 3 : 2
โคก : ปลูกต้นสัก ต้นพะยูง ต้นมะฮอกกานี ต้นไผ่ ต้นอ้อย ต้นมะละกอ ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ต้นขนุน ปลูกผักสวนครัว
หนอง : เลี้ยงปลาหมอเทศ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน
นา : ปลูกข้าวพันธุ์หอมมะลิ
ระยะเวลาการทำโคกหนองนา : 5 เดือน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2564
รายได้จากผลผลิตต่อเดือน : 500 ต่อเดือน
ความรู้สึกจากการทำโคกหนองนาโมเดล : “รู้สึกภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ได้ปลูกต้นไม้ปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ ภายในสวนโคกหนองนา”
นายบุญลือ นวลปักษี
ที่ตั้ง : บ้านโคกหว่าน หมู่ที่ 11 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่ : พื้นที่ขนาด 3 ไร่ แบ่งสัดส่วนพื้นที่เป็น 3 : 2
โคก : ปลูกต้นสัก ต้นพะยูง ต้นมะฮอกกานี ต้นไผ่ ต้นอ้อย ต้นมะละกอ ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ต้นน้อยหน่า ต้นขนุน ปลูกผักสวนครัว
หนอง : เลี้ยงปลานิล ปลาไน ปลาดุก และเลี้ยงแหนแดง
นา : ปลูกข้าวพันธุ์ข้าวเหนียว
ระยะเวลาการทำโคกหนองนา : 5 เดือน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2564
รายได้จากผลผลิตต่อเดือน : 1,000 ต่อเดือน
ความรู้สึกจากการทำโคกหนองนาโมเดล : “รู้สึกภูมิใจและมีความสุขที่ได้มาทำเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อในหลวงรัชกาลที่ 9 และได้ทดแทนบุญคุณแผ่นดินโดยการปลูกต้นไม้พันธุ์ไม้ ในพื้นที่ของตัวเองและพื้นที่สาธารณะ”
วันที่ 25 กันยายน 2564 เวลา 13.00 น. – 16.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มประชาชน และกลุ่มนักศึกษา เพื่อมาลงพื้นที่ใส่ปุ๋ยต้นไม้ที่ได้ปลูกไปครั้งที่แล้ว โดยมีอาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พระอาจารย์ทองใส หรือพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เป็นผู้นำทีมในการใส่ปุ๋ยและยังมีชาวบ้านตำบลหนองโสนมาร่วมกันใสปุ๋ยในครั้งนี้ด้วย ซึ่งในวันนั้นได้มีอุปสรรคฝนตกทั้งวันทำให้การใส่ปุ๋ยค่อนข้างเป็นไปด้วยความอยากลำบาก แต่เป็นเพราะพวกเราร่วมด้วยช่วยกันจึงทำให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 09.30 น. – 10.45 น. นัดประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ชี้แจงการปฏิบัติงาน เพื่อเก็บแบบสอบถาม U2T-SROI โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้อธิบายการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดทั้ง 11 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
- ตำบลเป้าหมาย
- ลูกจ้างโครงการ
- ครอบครัวลูกจ้างโครงการ
- ชุมชนภายใน
- ชุมชนภายนอก
- อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
- เจ้าหน้าที่โครงการ USI
- ผู้แทนตำบล
- หน่วยงานภาครัฐ
- หน่วยงาน อปท.
- เอกชนในพื้นที่
และได้แบ่งงานในกลุ่ม ชี้แจงการกรอกข้อมูลลงในระบบและให้นำเอกสารการสอบถามส่งอาจารย์ประจำหลักสูตรภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2564
วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เวลา 08.00 น. – 12.00 น. ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการคีย์แบบสอบถามลงใน Google form ในหัวข้อที่ 2. ลูกจ้างโครงการ ประเภทบัณฑิตทั้ง 3 คน ได้แก่
1. นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม ประเภทบัณฑิตจบใหม่
2. นางสาวเบญญา นิยมเหมาะ ประเภทบัณฑิตจบใหม่
3. นายพงศกร สุมงคล ประเภทบัณฑิตจบใหม่
แบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T แบบสอบถามนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) โดยในการปฎิบัติหน้าที่ลูกจ้างโครงการครั้งนี้ ท่านได้ประโยชน์/การเปลี่ยนแปลงในระดับใด ส่วนที่ 1 ระดับความสำคัญโดยการให้คะแนน : 0 หมายถึง ไม่สำคัญเลย, 1 หมายถึง สำคัญน้อยที่สุด ไปจนถึง 10 หมายถึง สำคัญมากที่สุด ส่วนที่ 2 ระดับการเปลี่ยนแปลง โดยการให้คะแนน : 1 หมายถึง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง, 2 หมายถึงมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และ 5 หมายถึง มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด
วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ได้นัดกันลงพื้นที่จัดเตรียมสถานที่เวลา 13.00 น. – 18.00 น. ซึ่งในวันนั้นได้มีการเตรียมสถานที่และได้คุยแบบงานหน้าที่รับผิดชอบว่าใครจะทำหน้าที่อะไรในงานวันที่ 17 ตุลาคม 2564 หลังจากที่แบ่งหน้าที่รับผิดชอบเสร็จก็ได้แบ่งกันไปนำอุปกรณ์ที่จะใช้เตรียมจัดสถานที่มีดังนี้คร่าวๆดังนี้
1.ผ้าสำหรับจัดสถานที่ จำนวน 3-4 ผืน
2. เก้าอี้ จำนวน 40-60 ตัว
3. ป้ายแนะนำข้อมูลเจ้าของแปลงโคกหนองนา จำนวน 11 คน
วันที่ 17 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. ได้ทำกิจกรรม “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” โดยมีผู้ร่วมจากทางตำบล หนองกง และหนองยายพิมพ์ ทั้งนี้ยังได้เชิญผู้ที่จะมาให้ความรู้และเสวนาทั้ง 7 ท่าน ได้แก่
1. พระอาจารย์ทองใส หรือพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง
2. นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน
3. นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง
4. รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
5. อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี
6. นางดนุลดา ธรรมนิยม
7. อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
และ สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน ก็ได้เข้าร่วม กิจกรรมในวันนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งช่วงเวลาประมาณ 09.30 น. ท่านประธานรองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ขึ้นกล่าวเปิดงานหลังจากนั้น อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ก็ได้จับไมค์เป็นผู้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจน ผู้เสวนาทั้ง 7 ท่านได้เสวนาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วม ครบทุกท่าน หลังจากนั้น ก็จะเป็นการให้ เจ้าของแปลงทั้ง 11 แปลงมาให้ความรู้แชร์ประสบการณ์ โดยส่งตัวแทนมาเพียง 3 คนเท่านั้น และหลังจากนั้นจะเป็นการปิดกิจกรรม พักทานข้าวก่อนแยกย้าย ส่วนทางกลุ่มบัณฑิต กลุ่มประชาชน และกลุ่มนัศึกษา ตำบลหนองโสน ก็ได้แบ่งหน้าที่กันเก็บสถานที่ก่อนจะแยกย้ายกันกลับฯ