ข้าพเจ้านายนนทกร บ่อไทย ประเภทประชาชน รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 โดยข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ดังต่อไปนี้

          เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่จำนวน 2 ท่านในการลงเก็บข้อมูลในครั้งนี้จะเก็บกับเจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลในตำบลหนองโสนเพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาจัดทำป้ายไวนิล เตรียมจัดนิทรรศการในการเสวนาของกลุ่มโคกหนองนาโมเดลในหัวข้อของการเสวนาคือ เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลทางเลือกทางอยู่รอดในยุค New Normal และกลุ่มของข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ไปสำรวจแปลงโคกหนองนาโมเดลจำนวน2ท่านมีดังนี้

1.นายสว่าง อุดมมะดัน 2.นายจุล ชื่นชู 

ข้อมูลเจ้าของแปลงโคกหนองนาท่านที่ 1 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

  1. ชื่อ-สกุล : นายสว่าง อุดมมะดัน
  2. ที่ตั้ง : บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์
  3. พื้นที่ : พื้นที่ขนาด 3 ไร่ แบ่งสัดส่วนพื้นที่เป็น 2 : 3

โคก : ปลูกต้นไม้ เช่น ต้นสัก ต้นพยูง มะฮอกกานี ไม้แดง ต้นยางนา ปลูกไม้ผลกินได้ ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ เป็นต้น

หนอง : กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม และ เลี้ยง ปลาเป็นต้น

นา : ปลูกข้าวพันธุ์หอมมะลิ เป็นต้น

  1. ระยะเวลาเริ่มทำโคกหนองนา : 5 เดือน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2564
  2. รายได้จากผลผลิตต่อเดือน : 5,000 บาท ต่อเดือน
  3. ความรู้สึกจากการทำโคกหนองนาโมเดล : “รู้สึกดีใจและชอบการทำเกษตรแบบผสมผสาน และได้ใช้ชีวิตบนพื้นฐานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยลดรายจ่ายในครอบครัวมากขึ้น”

รูปภาพกิจกรรมในการลงเก็บข้อมูลนายสว่าง อุดมมะดัน

 

ข้อมูลเจ้าของแปลงโคกหนองนาท่านที่ 2 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์

  1. ชื่อ-สกุล : นายจุล ชื่นชู
  2. ที่ตั้ง : บ้านโคกว่าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์
  3. พื้นที่ : พื้นที่ขนาด 3 ไร่ แบ่งสัดส่วนพื้นที่เป็น 1 : 1

โคก : ปลูกต้นไม้ เช่น ต้นสัก ต้นพยูง มะฮอกกานี ไม้แดง ต้นยางนา ปลูกไม้ผลกินได้ ปลูกผักสวนครัว ปลูกข้าวโพด  เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู เป็นต้น

หนอง : เลี้ยงปลา เช่น ปลานิล ปลาใน ปลาทับทิม ปลาดุก ปลาหมอเทศ เป็นต้น

นา : ปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ และ พันธุ์หอมมะลิ เป็นต้น

  1. ระยะเวลาเริ่มทำโคกหนองนา : 4 เดือน เริ่มเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564
  2. รายได้จากผลผลิตต่อเดือน : 1,000 – 2,000 บาท ต่อเดือน
  3. ความรู้สึกจากการทำโคกหนองนาโมเดล : รู้สึกชอบเพราะว่าตนเองเป็นคนชอบการทำเกษตรแบบผสมผสานและชอบการปลูกต้นไม้ ปลูกผักสวนครัวกินเองอยู่แล้ว และเป็นการได้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างธรรมชาติให้เป็นมรดกให้กับลูกหลานรุ่นหลังไว้ได้ทำมาหากินอีกด้วย”

ในส่วนของการลงเก็บข้อมูลครั้งนี้กระผมได้เห็นการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆจนกลายเป็น โคก-หนอง-นา โมเดล และยังเป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ

รูปภาพกิจกรรมในการลงเก็บข้อมูลนายจุล ชื่นชู

 

         เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 11.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานของตำบลหนองโสนทุกท่าน ประชุมออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Google  meet หัวข้อประชุมในครั้งนี้ คือ การเก็บข้อมูลการประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Social Return on Investment หรือ SROI) โดยมีอาจารย์ภูริสา วัชเรนทร์วงศ์ เป็นผู้อธิบายวิธีการเก็บข้อมูลทั้ง 11 หัวข้อ มีดังนี้ 1.ตำบลเป้าหมาย 2.ลูกจ้างโครงการ 3.ครอบครัวลูกจ้าง 4.ชุมชนภายใน 5.ชุมชนภายนอก 6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ 7.เจ้าหน้าที่โครงการ usi 8.ผู้แทนตำบล 9.หน่วยงานภาครัฐ 10.หน่วยงาน อปท. 11.เอกชนในพื้นที่ หลังการการประชุมเสร็จก็ได้มีการแบ่งหัวข้อทั้ง 11 หัวข้อให้กับผู้ปฏิบัติงานทั้ง3ประเภทได้รับผิดชอบในการทำแบบสอบถามเพื่อเป็นการติดตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(U2T)

รูปภาพกิจกรรมประชุมออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชั่น

 

          เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนได้ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลแบบสอบถาม u2t-sroi หัวข้อที่ 4 คือหัวข้อชุมชนภายในทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้มีการสอบถามข้อมูลกับ นายจุล ชื่นชู ผู้ใหญ่บ้านโคกว่าน หมู่ที่1ตำบลหนองโสน ซึ่งท่านได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(U2T) ในด้านการประเมินศักยภาพตำบล ในส่วนหัวข้อที่ 8 คือหัวข้อผู้แทนตำบล ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้เลือกที่จะสอบถามนายสมพร นาแพง เจ้าพนักงานธุรการ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสนซึ่งท่านได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(U2T)

รูปภาพกิจกรรมลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลแบบสอบถาม u2t-sroi

          เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานในการจัดเตรียมสถานที่ในการเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลทางเลือกทางอยู่รอดในยุค New Normal จัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนนางรอง บ้านโคกว่าน โดยมีการจัดเตรียมจัดป้ายนิทรรศการและเตรียมสถานที่ในการเสวนาในครั้งนี้เพื่อที่จะนำเสนอต่อผู้ปฏิบัติงานทั้ง3หนองดังนี้ 1.หนองกง 2.หนองยายพิมพ์เเละเพื่อสรุปกิจกรรมและรายได้ในการทำโคกหนองนาโมเดลซึ่งในการเตรียมสถานที่ทางผู้ปฏิบัติและอาจารย์ประจำหลักสูตรก็ได้ช่วยงานกันได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

รูปภาพกิจกรรมการจัดเตรียมสถานที่ในการเสวนา

 

          เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าร่วมกับผู้ปฏิบัติงานทั้งสามหนอง 1.ตำบลหนองโสน 2.หนองยายพิมพ์ 3.หนองกงได้เข้าร่วมโครงการเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนา:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และการเสวนาครั้งนี้ได้รู้จักทฤษฎีต่างๆข้อผู้เสวนาเกี่ยวกับเรื่องของโคกหนองนาในการทำเกษตรแบบง่ายๆตามวิถีชุมชนและได้รู้จักความเปลียนแปลงในแต่ละพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จโดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้

1. พระครูสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดหนองตาไก้

2.นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง

3.นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน

4.อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี  นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต)

5.รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

6.นางสาวดนุลดา ธรรมนิยม  สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน

7.ผู้ดำเนินการเสวนา อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์  รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

หลังจากกิจกรรมเสวนาเสร็จทางข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ช่วยกันเก็บสถานที่ให้เรียบร้อยก่อนแยกย้ายกัน

รูปภาพกิจกรรมการเสวนา

 

          การปฏิบัติงานของข้าพเจ้าในเดือนตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มประชาชน ตำบลหนองโสน ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในพื้นและยังสนุกกับการลงพื้นที่ทุกๆครั้งในการลงแต่ละครั้งชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีในพื้นที่ตำบลหนองโสน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์จึงต้องป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด COVID-19 และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัดทำให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

วีดิโอประจำเดือนตุลาคม 2564

 

อื่นๆ

เมนู