ข้าพเจ้านางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง ประเภทประชาชน
หลักสูตร : โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย “มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”
“โคก หนอง นา” เป็นต้นแบบที่นำมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย พื้นที่สำหรับแหล่งน้ำ พื้นที่สำหรับเพาะปลูก พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ นี้อาจจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของเจ้าของพื้นที่ และความเหมาะสมของสภาพภูมิศาสตร์และสังคม
วันพุธ ที่ 15 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่กับสมาชิกประเภทกลุ่มประชาชนทั้ง 2 ท่าน คือ นางสาวอำพร รัตนธิวัด (พี่อำพร) และนางสาววิลาวัลย์ โกเมน (พี่ฟาง) กลุ่มข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ไปสำรวจโคกหนองนาโมเดลของ
นางจิตรานุช โพธิ์หิรัญ (พี่สาว)
ที่ตั้งแปลง : หมู่ 8 บ้านสี่เหลี่ยมน้อย ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่ : 1 ไร่ แบ่งสัดส่วน 1:3
ระยะเวลาทำโคกหนองนา : 2 เดือน เริ่มเดือน กรกฎาคม 2564
โคก : ปลูกไม้ป่า ไม้ผล ผักสวนครัว
หนอง : เลี้ยงปลาตะเพียน บริเวณคลองไส้ไก่ปลูกบัวแดง
นา : ปลูกข้าวหอมมะลิ
รายได้จากการทำโคกหนองนา : 500/เดือน
ความรู้สึกจากการทำโคกหนองนา “ ทำให้เรารู้จักใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ต่อไปข้างหน้าผลผลิตที่ได้ลงมือทำก็จะกลับมาเป็นรายได้ให้เรา จึงให้มีพออยู่ พอกิน พอใช้ และพอเพียง ”
นางเปรมวิกา คนงาม (พี่หนอม)
ที่ตั้งแปลง : หมู่ 6 บ้านระนามพลวง ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่ : 1ไร่ แบ่งสัดส่วน 1:3
ระยะเวลาทำโคกหนองนา : 5 เดือน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2564
โคก : ปลูกไม้ป่า ผักสวนครัว ไม้ผล ฯลฯ
หนอง : เลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน บริเวณคลองไส้ไก่เลี้ยงปลานิล
นา : ปลูกข้าวหอมมะลิ
รายได้จากการทำโคกหนองนา : 1,000 บาท/เดือน
ความรู้สึกจากการทำโคกหนองนา “โดยส่วนตัวเป็นคนชอบทำเกษตรอยู่แล้วค่ะ ชอบปลูกต้นไม้ ปลูกผัก อยู่กับไร่กับนาค่ะ พอดีมีโครงการโคกหนองนาโมเดลก็เลยเข้าร่วมโครงการค่ะ และคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ ชอบค่ะ”
ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ไม้ 3 อย่าง ได้แก่ 1. ไม้ใช้สอย คือ ไม้โตเร็ว สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น สะเดา , ไผ่ 2. ไม้กินได้ เช่น มะม่วง ผักกินใบต่างๆ และ 3. ไม้เศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้ที่ปลูกเพื่อจำหน่าย เช่น ไม้สัก ไม้พะยูง ไม้ยางนา เป็นต้น
ส่วนประโยชน์ 4 อย่าง คือ 1. ไม้ใช้สอย นำมาสร้างบ้าน ทำเล้าเป็ด เล้าไก่ ฟืน 2. ไม้กินได้ นำมาเป็นอาหารและยาสมุนไพร 3. ไม้เศรษฐกิจ นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ และ 4. ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งการปลูกพืชที่หลากหลาย จะสร้างระบบนิเวศที่สมดุลให้กับพื้นที่
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
วันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 11.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google meet หัวข้อประชุม คือ การเก็บข้อมูล การประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (Social Return on Investment หรือ SROI) โดยมีอาจารย์ภูริสา วัชเรนทร์วงศ์ (อ.แอน) เป็นผู้อธิบายวิธีการเก็บข้อมูลทั้ง 11 หัวข้อ ดังนี้
1.ตำบลเป้าหมาย
2.ลูกจ้างโครงการ
3.ครอบครัวลูกจ้าง
4.ชุมชนภายใน
5.ชุมชนภายนอก
6.อาจารย์โครงการ
7.เจ้าหน้าที่โครงการ
8.ผู้แทนตำบล
9.หน่วยงานภาครัฐ
10.อปท.
11.เอกชนในพื้นที่
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจ เพื่อที่จะเก็บข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วนตามวันเวลาที่กำหนด อาจารย์ได้แบ่งหัวข้อแบบสอบถามให้กับผู้ปฏิบัติงาน โดยแบ่งตามหัวข้อเก็บข้อมูลดังนี้
กลุ่มประชาชน
หัวข้อที่ 2 ลูกจ้่างโครงการ หัวข้อที่ 4 ชุมชนภายใน หัวข้อที่ 5 ชุมชนภายนอก และหัวข้อที่ 8 ผู้แทนตำบล
กลุ่มบัณฑิตจบใหม่
หัวข้อที่ 2 ลูกจ้างโครงการ หัวข้อที่ 9 หน่วยงานภาครัฐ หัวข้อที่ 10 หน่วยงาน อปท. และหัวข้อที่ 11 เอกชนในพื้นที่
กลุ่มนักศึกษา
หัวข้อที่ 1 ตำบลเป้าหมาย และหัวข้อที่ 2 ลูกจ้่างโครงการ
ในส่วนหัวข้อที่ 3 ครอบครัวลูกจ้างโครงการ อาจารย์ให้ นางสาวเบญจวรรณ ศรีพนม (พี่เบญ) ผู้รับผิดชอบ หัวข้อที่ 6 อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ และหัวข้อที่ 7 เจ้าหน้าที่โครงการ USI อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นผู้รับผิดชอบ
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
วันเสาร์ ที่ 9 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล หัวข้อที่ 4 ชุมชนภายใน ผู้ให้ข้อมูล นายจุล ชื่นชู ผู้ใหญ่บ้านโคกว่าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน แบบสอบถามเกี่ยวกับ การดำเนินกิจกรรม/โครงการ u2t ส่งผลให้เกิดผลกระทบ/เกิดการเปลี่ยแปลงด้านศักยภาพ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ/การเงิน เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะ (กาย/ใจ) เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความเป็นอยู่ สังคมและสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่ 5 ชุมชนภายนอก ผู้ให้ข้อมูล นางสายชล เหล่าบุญมา ท่านคิดว่ามีผลกระทบด้านอื่นๆ จากการให้บริการ หรือไม่ มีผลกระทบเนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การจัดส่งสินค้าต่างๆ ไม่ปลอดภัย สินค้าขายไม่ได้ส่งผลกระทบไม่มีเงินทุนหมุนเวียน ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม หันมาทำเกษตรกร เช่น โครงการโคกหนองนาโมเดล มีโคกหนองนาโมเดลสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว อยู่อย่างพอเพียงและเพียงพอ และหัวข้อที่ 8 ผู้แทนตำบล ผู้ให้ข้อมูล นายสมพร นาแพง เจ้าพนักงานธุรการ ตำบลหนองโสน ท่านมีความคาดหวังจากการดำเนินกิจกรรม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ u2t ในครั้งนี้ อย่างไรบ้าง ได้รับการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน การมีส่วนร่วมในชุมชน ชุมชนมีกิจกรรมต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการทำโครงการต่างๆ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในมิติของ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อตัวท่านเอง/องค์กรของท่านจากการดำเนินงาน สามารถส่งเสริมเพิ่มเติมกระจายความรู้ให้ได้ข้อมูลข่าวสาร เช่น การปลูกป่า การทำเจล ได้ความรู้และขยายความรู้ให้กับชุมชน จากการเก็บข้อมูลของทั้ง 3 ท่าน ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
วันเสาร์ ที่ 16 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเตรียมถานที่จัดงาน “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ช่วยกันกวาดพื้น จับผ้า เช็ดโต๊ะ เก้าอี้ จัดเก้าอี้
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
วันอาทิตย์ ที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์ และเจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลทั้ง 11 แปลง โดยมีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้
1.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง
2.นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน
3.นายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง
4.รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
5.อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต)
6.นางดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน
7.อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หลังจากเข้าร่วมการฟังเสวนาเสร็จผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน อาหารกลางวันในมื้อนี้มีทั้งอาหารคาว หวาน ส้มตำ ไก่ทอด น้ำพริก ผัก ต้มปลานิล ต้มไก่ ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าทอด จากนั้นข้าพเจ้าและทีมงานได้ช่วยกันเก็บสถานที่ พับผ้า เก็บขยะ กวาดพื้น เรียบร้อย และได้แยกย้ายกันกลับบ้าน
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
จากการลงพื้นที่และการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นบรรยากาศภายในตำบล ชุมชน และได้รู้จักคุ้นเคยกับทีมผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านในตำบลหนองโสนมากขึ้น ได้ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ ประโยชน์ของต้นไม้ สรรพคุณของต้นไม้ หลายๆชนิด ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานขอขอบคุณชาวบ้านตำบลหนองโสนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเป็นอยู่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนต่อไป
Youtube ประจำเดือนตุลาคม