หลักสูตร:การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนา
ข้าพเจ้า นาย.พงศกร สุมงคล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ลงพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
H02-โครงการเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลและลงพื้นที่เดือน ตุลาคม2564
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2564 ผู้ปฎิบัติงานได้แบ่งกลุ่มในการรับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูล นักเกษตรทฤษฎี โคกหนองนา จำนวน 11แปลงทั้งหมดต้องเก็บข้อมูล เพื่อที่จะนำข้อมูลจากนักเกษตรทฤษฎี โคกหนองนา นำความรู้ และความสำเร็จ พอเพียง การปลูกพืช ผัก เลี้ยงสัตว์ต่างๆ จัดงานโครงการเสวนาเกษตรทฤษฎี โคกหนองนา วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล จำนวน2แปลง พื้นที่บ้านโคกว่านและบ้านบุคราม ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ นายบุญลือ นวลปักษี และแปลง นายมีชัย หรบรรพ์
ผู้ปฎิบัติงาน ที่รับผิดชอบในการเก็บข้อมูล 2 แปลง บ้านโคกว่านและบ้านบุคราม จำนวน 3 ท่าน (ประเภทบัณทิตจบใหม่
1 นาย .วิษณุ นวลปักษี
2 นาย .นัฐพงษ์ จันทร์คง
3 นาย .พงศกร สุมงคล
1.ชื่อเจ้าของแปลงโคกหนองนา นายบุญลือ นวลปักษี นักเกษตรทฤษฎี
แปล 3 ไร่ แปลงสัดส่วน 3:2
บ้านบุคราม หมู่ที่ 11 ตำบล หนองโสน อำเภอ นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ทำโคกหนองนา 5 เดือน เริ่มเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล ไม้ยืนต้นได้แก่ ต้นสัก /พะยูง /มะฮอกกานี /ไผ่ /อ้อย /ดอกรัก ไม้ผลได้แก่ มะละกอ /กล้วย /มะพร้าว /น้อยหน่า /ขนุน/ข่า /ตะไคร้ /มะกรูด /พริก /มะม่วง /มะเขือ /บวบ /ถั่วลิสง /หอมแดง /กระเทียม
เลี้ยงปลา ได้แก่ปลานิล/ปลาไนและปลูกแหนแดง ส่วนคลองไส่ไก่เลี้ยงปลาธรรมชาติมีปลาดุกและปลาช่อน
ปลูกข้าวเหนียว
ประมาณ 1,000 /เดือน
ความรู้สึกของนักเกษตรทฤษฎี โคกหนองนา รู้สึกดีใจและมีความสุขมากที่ได้เกิดมาทำเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อในหลวงราชกาลที่ ๙ และได้ทดแทนบุญคุณแผ่นดินโดยการปลูกต้นไม้พันธุ์ไม้ในพื้นที่ของตัวเองและพื้นที่สาธารณะ
นักนักเกษตรทฤษฎี ยังให้ความรู้เกี่ยวกับ การทำเกษ เราเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์น้ำ ดิน ที่สามารถปลูกได้ และทำประโยชน์ เกี่ยวกับ พื้นที่ทำโคกหนองนา ทำแล้ว ได้ราย และ
ได้ความ สุขให้แก่ตัวเอง
นักเกษตรทฤษฎี ได้ ให้ความรู้ เกี่ยวกับเลี้ยง ปลาใน กับ ปลาช่อน แลเะพืช ปลูกหานแดง สร้างได้ หลักพัน
1.ปลาใน เพราะมีลำตัวขนาดใหญ่ เนื้อมีมาก ก้างมีน้อย เนื้อแน่น มีรสหวาน แต่ค่อนข้างมีกลิ่นคาว สามารถเลี้ยงง่าย เลี้ยงในนาข้าวได้ดี
ปลาไนตามธรรมชาติจะพบอาศัยตามแม่น้ำ ลำคลอง บ่อเก็บน้ำ และบึงน้ำขังต่างๆ กระแสน้ำไหลอ่อนหรือเกือบนิ่ง ซึ่งชอบอาศัยบริเวณแหล่งน้ำที่มีพื้นท้องน้ำเป็นดินโคลน น้ำค่อนข้างอุ่น และเป็นแหล่งน้ำที่ขุ่นเล็กน้อย
ลักษณะทั่วไป
ปลาไน เป็นปลาน้ำจืด มีลักษณะลำตัวคล้ายกับปลาตะเพียนขาว มีรูปร่างแบนข้าง และป้อมเล็กน้อย บริเวณหัวลาดลงไปด้านหน้า และไม่มีเกล็ด ปากมีขนาดเล็ก ไม่มีฟัน ริมฝีปากยื่นหนา ยืดหดได้ และมีหนวดจำนวน 4 เส้น ลำตัวมีเกล็ดกลมใหญ่ มีหลายสี อาทิ สีเงินอมเทา สีเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองทอง ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ และถิ่นอาศัย แต่ส่วนมากจะมีสีเงินอมเทา ขนาดลำตัวยาวประมาณ 20 – 75 เซนติเมตร
ครีบประกอบด้วยครีบหลังที่มีฐานยาวติดกันเป็นพืด ครีบหางแยกเป็นแฉก และเว้าลึก โคนครีบหางมีสีคล้ำหรือสีอื่นๆ อาทิ น้ำตาลทอง ส่วนท้องมีสีขาวจาง หรืออาจเป็นสีส้ม
เพศปลาไน
ปลาไนเมีย และตัวผู้จะมีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งแยกแยะยาก และต้องมีความชำนาญพอที่จะสังเกตจากภายนอกได้ โดยลักษณะเด่นของปลาไนตัวเมีย คือ ตัวเมียจะมีลำตัวป้อมสั้น ช่วงท้องอวบใหญ่ และเมื่อเข้าสู่ช่วงผสมพันธุ์ ส่วนท้องจะอูมเป่ง ขนาดใหญ่ และนิ่ม เมื่อบีบส่วนท้องจะมีไข่ไหลออกมา ส่วนตัวผู้จะมีลำตัวค่อนข้างเรียวยาว และยาวมากกว่าตัวเมีย ช่วงท้องไม่อูมเป่ง พื้นท้องตึง แข็ง เมื่อเข้าสู่ช่วงผสมพันธุ์ หากใช้มือลูบบริเวณแก้ม และครีบอก จะมีตุ่มสากมือ ส่วนของตัวเมียจะมีลักษณะลื่นกว่า มือบีบไล่ใต้ท้องไปทางช่องทวาร จะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมาบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
อาหาร และการกินอาหาร
ปลาไน เป็นปลาที่กินทั้งพืช และสัตว์ แต่ทั่วไปจะชอบกินพืชมากกว่า อาหารที่สำคัญ ได้แก่ ตะไคร่น้ำ แหนชนิดต่างๆ ลูกน้ำ กุ้ง หอย และซากสัตว์ต่างๆ ทั้งนี้ ปลาไนจะออกหาอาหารในช่วงกลางคืนเป็นหลัก และออกหาอาหารตามพื้นด้านล่างหรือก้นบ่อ โดยการใช้ปากชอนไชไปตามก้นบ่อ และขอบบ่อ
การวางไข่
ปลาไนมีช่วงผสมพันธุ์ และวางไข่ แตกต่างกันในแต่ละประเทศ อาทิ ปลาไนใน ประเทศจีน จะมีช่วงผสมพันธุ์ และวางไข่ในช่วงเดือนธันวาคม หรือบางพื้นที่จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ส่วนฮ่องกง จะมีช่วงผสมพันธุ์ และวางไข่ในช่วงเดือนมกราคม ส่วนประเทศญี่ปุ่นจะมีช่วงผสมพันธุ์ และวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ส่วนประเทศไทยจะมีช่วงผสมพันธุ์ และวางไข่ได้ในทุกฤดู แต่จะวางไข่มากในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ซึ่ง 1 ปี จะสามารถวางไข่ได้ถึง 4 ครั้ง โดยชอบมักวางไข่บริเวณริมฝั่งตื้นๆที่มีกอหญ้าหรือไม้น้ำขึ้นปกคลุม ทั้งนี้ ปลาไนจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน หรือ ลำตัวมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
ส่วนไข่ของปลาไนจะมีลักษณะกลม สีเทาอ่อน และถูกหุ้มด้วยเมือกเหนียวสำหรับเกาะยึดวัสดุ เพราะหากไม่มีเมือกเหนียวหรือไข่ฟองใดไม่เกาะติดกับวัสดุ แล้วจมลงหน้าดินลึก ไข่ใบนั้นจะเน่า ไม่ฟักเป็นตัว
พันธุ์ปลาไน
ปลาไน มีหลายสายพันธุ์ ได้แก่
1. ปลาไนเกล็ด พบตามธรรมชาติ และเลี้ยงมากในแถบประเทศเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย
2. ปลาไนหนัง พบตามธรรมชาติ และเลี้ยงมากในแถบประเทศยุโรป
3. ปลาไนกระจก พบตามธรรมชาติ และเลี้ยงมากในแถบประเทศยุโรป
การเลี้ยงปลาไน
ปลาไน เป็นปลาที่ทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของน้ำได้ดี รวมถึงเป็นปลาที่ไม่ค่อยเกิดโรคมากนัก ทำให้เลี้ยงง่าย และโตเร็ว
บ่อเลี้ยงปลาไน
1. บ่อผสมพันธุ์
บ่อชนิดนี้ เป็นบ่อใช้สำหรับผสมพันธุ์พ่อแม่ปลา โดยส่วนมากนิยมก่อด้วยอิฐ ขนาดประมาณ 50 ตารางเมตร และสูงประมาณ 1.2 เมตร มีระบบระบายน้ำด้านล่าง และมีท่อน้ำเข้า และน้ำออกสำหรับหมุนเวียนน้ำ โดยปล่อยน้ำให้สูงไม่เกิน 1 เมตร ซึ่งจะใช้พ่อแม่พันธุ์น้ำหนักประมาณ 1-2 กิโลกรัม/ตัว จำนวน 2-4 ตัว
2. บ่ออนุบาล
บ่อชนิดนี้ เป็นบ่อที่ใช้ฟักไข่ปลา และอนุบาลลุกปลาที่ฟักออกแล้ว นิยมก่อด้วยอิฐเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า ขนาดบ่อประมาณ 400-800 ตารางเมตร สูงประมาณ 1.2 เมตร มีระบบระบายน้ำ มีท่อน้ำเข้าออก และปล่อยน้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร เช่นเดียวกับบ่อผสมพันธุ์ ทั้งนี้ ต้องน้ำปลาชิดอื่นหรือสัตว์กินเนื้อ เช่น กบ เขียดออกจากบ่อให้หมดก่อน
3. บ่อเลี้ยง
บ่อชนิดนี้ เป็นใช้เลี้ยงลูกปลาหลังการอนุบาลแล้ว ซึ่งอาจเป็นบ่อก่ออิฐหรือบ่อดินขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีระดับน้ำลึกประมาณ 1-2 เมตร นอกจากนั้น การเลี้ยงในบางจังหวัดยังนิยมปล่อยปลาไนเลี้ยงในนาข้าวร่วมด้วย
การอนุบาลลูกปลา
1. ลูกปลาหลังฟัก จนถึง 3 สัปดาห์ หรือลูกปลาที่มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร จะให้อาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืชที่เกิดเองในบ่ออนุบาล ร่วมกับไรแดง
การเพาะแพลงก์ตอนพืชเพื่อให้เกิดเองในบ่อจะใช้วิธีที่หว่านโรยด้วยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกที่ตากแห้งแล้ว อัตราการใส่ประมาณ 200-300 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับบ่ออนุบาลด้วยบ่อดิน และ 1-3 กำมือ/ตารางเมตร สำหรับบ่ออนุบาลในบ่อซีเมนต
ทั้งนี้ หลังการหว่านโรยปุ๋ยคอก ให้สังเกตสีน้ำในบ่อ หากน้ำมีสีเขียว แสดงว่ามีแพลงก์ตอนพืช แต่ไม่ควรปล่อยให้มีสีเขียวมาก เพราะอาจทำให้น้ำมีออกซิเจนลดลงในบางช่วง และหากน้ำมีสีคล้ำ แสดงว่าน้ำมีไรน้ำมากกว่าแพลงก์ตอนพืช แต่หากคล้ำมาก จนถึงดำ แสดงว่าว่าน้ำเริ่มเน่า ให้แก้ไขด้วยการถ่ายเทน้ำ ทั้งนี้ ระดับที่เหมาะสมของแพลงก์ตอนพืช ให้ใช้มือจ่มลงในบ่อ หากมองเห็นฝ่ามือที่ระดับความลึกประมาณข้อศอก แสดงว่ามีปริมาณแพลงก์ตอนที่เหมาะสม แต่หากมองเห็นในระดับที่ลึกกว่านั้น แสดงว่ามีแพลงก์ตอนน้อย ให้เติมปุ๋ยคอกเพิ่ม และหากมองเห็นในระดับที่ตื้นขึ้นน้อยกว่าข้อศอก ให้ถ่ายเทน้ำเจือจาง
2. ลูกปลาที่อนุบาลแล้วมากกว่า 3 สัปดาห์ หรือมีลำตัวยาวเกินกว่า 3 เซนติเมตร จะให้อาหารจำพวกรำ ปลายข้าวบด ข้าวโพดบดหรือกากถั่วเหลืองบด ร่วมกับไรแดง
ลูกปลาที่อนุบาลแล้ว 3-4 สัปดาห์ หลังการฟักออกจากไข่ จะมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร และจะอนุบาลต่อจนมีอายุได้ประมาณ 2-4 เดือน หรือให้มีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ค่อยแยกลงเลี้ยงในบ่อเลี้ยงต่อไป
ทั้งนี้ การอนุบาลลูกปลาจะอาหาร 2 ครั้ง ด้วยการโรยข้างบ่อในช่วงเช้า และตอนเย็น
2.ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทยมาก เนื่องจากเป็นปลาที่นิยมนำมาประกอบอาหารมากชนิดหนึ่ง เพราะเป็นปลาที่ให้เนื้อสีขาวน่ารับประทาน มีเนื้อมาก เนื้อนุ่มอร่อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด ทำให้ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายในท้องตลาด
ประโยชน์จากปลาช่อน
ปลาช่อน เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด และเป็นทีนิยมรับประทานมาก นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู อาทิ ต้มยำปลาช่อน ทอดปลาช่อน ห่อหมกปลาช่อน เป็นต้น
ลักษณะของปลาช่อน
ปลาช่อนเป็นปลามีเกล็ด หัวมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ และแบนลงด้านหน้า ตามีลักษณะกลมใหญ่ อยู่ถัดจากขอบริมฝีปากมาเล็กน้อย ลำตัวมีลักษณะอ้วน กลม และเรียวยาว โคนหางมีลักษณะแบนข้าง เกล็ดลำตัวมีขนาดใหญ่ สีเทาจนถึงน้ำตาลอมเทา เกล็ดด้านท้องมีขนาดเล็กกว่า และมีสีจางกว่าหรือเป็นสีขาว ทั้งนี้ สีเกล็ดขึ้นอยู่กับสีของน้ำตามแหล่งอาศัย ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง บริเวณหลังเหนือเส้นข้างลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มหรือเกือบดำ เกล็ดปกคลุมมุกส่วนของลำตัว ยกเว้นส่วนหัว
ปลาช่อนอ้าปากได้กว้าง เพราะมีมุมปากยาวถึงตา และมีขากรรไกรยืดหดได้ มีริมฝีปากล่างยื่นยาวมากกว่าริมฝีปากบน ภายในปากมีฟันซี่เล็กๆอยู่บนขากรรไกรบน และล่าง มีฟันเขี้ยวบนเพดาน
ครีบปลาช่อนไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลัง และครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหลังมีก้านครีบ อ่อน 37-45 อัน ส่วนครีบก้นมีก้านครีบ 23-26 อัน ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบหางมีลักษณะกลม ปลายมน ครีบท้องจาง โดยทั่วไปพบมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร แต่สามารถพบขนาดใหญ่ได้กว่า 1 เมตร
ลูกปลาช่อนที่ฟักออกจากไข่จะมีลำตัวสีแดงหรือแดงส้ม และค่อยๆเปลี่ยนเป็นแถบสีลายเหลืองในส่วนท้อง และแถบลายดำอมเขียวบนลำตัวส่วนบน ต่อมาลำตัวมีจาง ไม่มีลาย และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีดำในส่วนบน และส่วนท้องเป็นสีขาว ตามอายุที่เติบโต
ปลาช่อน เป็นปลาที่ทนต่อสภาพขาดน้ำ และขาดออกซิเจนได้ดี เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยหายใจ มีลักษณะเป็นปุ่มหรือริ้วอยู่บริเวณโพรงเล็กๆเหนือช่องเหงือก โดยในขณะที่เหงือกไม่ได้ใช้งาน เช่น อยู่บนบก อวัยวะนี้จะทำหน้าที่ดูดออกซิเจนแทน และใช้ทำหน้าที่ร่วมกับเหงือกในสภาพที่น้ำขาดออกซิเจน จึงทำให้ปลาช่อนทนต่อสภาพขาดน้ำ และออกซิเจนได้ดี
การแพร่กระจาย
ปลาช่อนสามารถพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติในทุกภาคของไทย อาทิ แม่น้ำ บ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ หนอง บึง และนาข้าว ชอบอาศัยตามแหล่งน้ำที่มีพรรณไม้น้ำ ในระดับน้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร
ปลาช่อน ในช่วงต้นฤดูฝนจะอพยพย้ายแหล่งอาศัย เพื่อออกวางไข่ และหากินใหม่ เมื่อน้ำลด โดยเฉพาะช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว ปลาช่อนจะเริ่มอพยพกลับเข้มมาอาศัยในแหล่งน้ำเดิมหรือเข้าอาศัยในแหล่งน้ำใหม่ที่เป็นแหล่งเก็บน้ำ เช่น บ่อน้ำ ลำห้วย บึง เป็นต้น
อาหาร และการหาอาหาร
ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ (ความยาวทางเดินอาหารน้อยกว่าความยาวลำตัว เพียง 0.6 เท่า ของความยาวลำตัว) ในช่วงฤดูฝน ปลาช่อนจะออกหาแหล่งวางไข่ และแหล่งอาหารใหม่ตามทุ่งนาที่มีน้ำหนอง เป็นปลาที่ชอบออกหากินในเวลากลางคืน หาอาหารทั้งในระดับผิวน้ำ และท้องน้ำมีการเคลื่อนไหวช้า แต่หากพบเหยื่อจะเข้าฮุบเหยื่ออย่างรวดเร็ว
ลูกปลาช่อนจะกินอาหารจำพวกแพลงค์ตอนพืช แพลงค์ตอนสัตว์ สาหร่าย และสัตว์น้ำ หรือแมลงขนาดเล็กเป็นอาหาร ส่วนปลาช่อนที่เติบโตแล้วจะมีอาหารหลัก ได้แก่ ปลาขนาดเล็ก กุ้ง ปู กบ ไส้เดือน แมลง และซากเน่าเปื่อยต่างๆ แต่อาหารหลักจะเป็นปลาขนาดเล็ก
ปลาช่อนที่มีความยาวลำตัว 5 เซนติเมตร สามารถกินปลาที่มีความยาว 2.3 เซนติเมตรได้ และปลาช่อนที่มีความยาวลำตัว 40 เซนติเมตร สามารถกินปลาที่มีความยาว 14.7 เซนติเมตรได้
การผสมพันธุ์ และการวางไข่
ปลาช่อนสามารถเริ่มวางไข่ได้เมื่อลำตัวมีขนาดยาว 20 เซนติเมตร หรือมีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป เป็นปลาที่วางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี มีฤดูกาลผสมพันธุ์ และวางไข่ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และเริ่มสร้างไข่ตั้งแต่เดือนมีนาคม และจะพร้อมวางไข่มากที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
การแยกเพศปลาช่อนในช่วงผสมพันธุ์ ปลาช่อนเพศเมีย เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์ และวางไข่จะสังเกตได้ง่าย เนื่องจาก ช่วงนี้ส่วนท้องจะอูมใหญ่ อวัยวะเพศมีสีชมพูรื่อ และครีบท้องของปลาตัวเมียจะสั้นปลาตัวผู้ ส่วนปลาตัวผู้เมื่อเข้าช่วงผสมพันธุ์ก็จะมีสีลำตัวเข้มขึ้น ส่วนใต้คางจะมีสีขาว
ในธรรมชาติ ปลาช่อนจะสร้างรัง และวางไข่บริเวณริมฝั่งที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นน้อย ระดับความลึกประมาณ 30-100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะทำหน้าที่สร้างรัง ด้วยการกัดหญ้ารอบข้างออกเพื่อทำให้รังเป็นวงกลม และเศษกอหญ้าจะลอยปกคลุมด้านบน ส่วนหน้าดินก็จะตีแปลงจนหน้าดินเรียบ หลังจากนั้น พ่อแม่ปลาจะเข้ารัดกัน พร้อมปล่อยไข่ และฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมกัน
หลังจากวางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะอยู่โดยรอบบริเวณรัง เพื่อป้องกันปลาอื่นเข้ามากินไข่หรือลูกปลา และจะดูแลต่อจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 4.5-6 เซนติเมตร จึงเริ่มแยกตัวออกไปหากินตามลำพัง ลูกปลาในระยะนี้จะเรียกว่า ปลาลูกครอกหรือลูกชักครอก ซึ่งเกษตรกรสามารถชอนรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาอนุบาลต่อสำหรับการเลี้ยงในบ่อดินต่อไป
ลูกปลาที่ฟักออกใหม่จะลำตัวมีสีเหลืองส้ม มีถุงไข่แดง มักลอยตัว และว่ายบริเวณผิวน้ำรวมกันเป็นกลุ่ม โดยมีแม่ปลาว่ายอยู่ด้านล่างเพื่อป้องกันภัยให้จนกว่าลูกปลาจะเติบโต และสามารถออกหาอาหารได้เพียงลำพัง โดยลูกปลาจะเริ่มแตกฝูงเมื่อมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4.5-6 เซนติเมตร
ตามธรรมชาติแล้ว ปลาช่อนเองเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบไล่กัดปลาชนิดอื่น โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ และวางไข่ แม่ปลาช่อนจะมีนิสัยดุร้ายมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่ลูกปลา
การแยกเพศปลาช่อน
ปลาเพศเมียจะมีส่วนท้อง และอวัยวะเพศอูมเป่ง โดยเฉพาะในช่วงผสมพันธุ์ อวัยวะเพศจะอูมเป่งมาก และมีสีชมพูรื่อ ดังที่กล่าวข้างต้น
ปลาเพศเมียมีขนาดลำตัวสั้น และมีส่วนหัวแคบกว่าปลาเพศผู้ ส่วนน้ำหนักปลาเพศเมียจะมีมากกว่าเพศผู้ และมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบอายุ ส่วนปลาเพศผู้ลำตัวจะเรียวยาว ลำตัวเล็ก และน้ำหนักน้อยกว่า
การเลี้ยงปลาช่อน
พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน ควรมีรูปร่างที่สมบูรณ์ หนักประมาณ 0.8-1 กิโลกรัม ขึ้นไป และให้มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยปลาช่อนเพศเมียควรมีท้องอูม มีติ่งเพศสีแดงชมพู หากบีบส่วนท้องจะมีไข่ไหลออกมา ส่วนพ่อพันธุ์ ควรมีติ่งเพศสีชมพูเรื่อๆ
การเพาะพันธุ์อาจเพาะในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ที่มีำน้ำลึกประมาณ 1.0-1.5 เมตร น้ำค่อนข้างใส และควรใส่พืชน้ำใว้บางส่วนให้ลอยเหนือน้ำ
วิธีเพาะพันธุ์ปลาช่อน
1. การเพาะเลียนแบบธรรมชาติ
เป็นวิธีการเพาะพันธุ์ที่เลียนแบบธรรมชาติ ด้วยการเพาะในบ่อดิน ขนาดประมาณ 0.5-1.0 ไร่ และใช้วิธีจัดสภาพบ่อให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติ เช่น ปล่อยให้หญ้าหรือพืชน้ำขึ้นริมฝั่ง มีการปล่อยผักบุ้ง หรือพืชน้ำอื่นที่เหมาะสม อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 1:1ให้อาหารโดยใช้ปลาเป็ดผสมรำหรืออาหารสำเร็จรูป
2. การเพาะด้วยการผสมเทียม
เป็นวิธีการเพาะโดยการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ และมักเพาะในบ่อซีเมนต์เพาะพันธุ์ปลา ด้วยการฉีดฮอร์โมนเร่งให้แม่ปลาวางไข่และรีดไข่มาผสมกับน้ำเชื้อที่รีดได้จากตัวผู้ หรือหลังการฉีดฮอร์โมนทั้งตัวเมีย และตัวผู้แล้วปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ฮอร์โมนที่ใช้ ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a และใช้ร่วมกับ domperidone และไข่ปลาช่อนที่ผสมแล้วจะมีสีเหลือง ไข่จะลอยน้ำ และจะใช้เวลาฟักประมาณ 30-35 ชั่วโมง หลังการวางไข่
การอนุบาลลูกปลาช่อน
การอนุบาลลูกปลาช่อนจะเริ่มให้อาหารภายหลังฟักออกจากไข่ประมาณวันที่ 4-5 หรือจนกว่าถุงไข่แดงจะยุบ โดยใช้ไข่แดงต้ม บดละลายน้ำ และกรองผ่านผ้าขาวบางให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง หลังจากนั้นประมาณวันที่ 6-8 ค่อยให้ไรแดงจนถึงอายุ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น ค่อยเริ่มให้อาหารเสริม เช่น รำละเอียด ปลาป่น และเนื้อปลาสดสับ ทั้งนี้ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 1-2 วัน ในปริมาณน้ำที่ร้อยละ 50 ของทั้งหมด
การเตรียมบ่อ
1. พื้นที่ใช้เลี้ยง ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่าครึ่งไร่ โดยการขุดบ่อลึก 1.5 – 2 เมตร และทำคันบ่อสูงประมาณ 1 เมตร
2. หากเป็นบ่อเก่า ให้สูบน้ำ และเก็บปลาออกให้หมด หรือโรยโล่ติ๊นเพื่อกำจัดปลาที่หลงเหลือ พร้อมหว่านโรยด้วยปูนขาว อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ และตากบ่อนาน 7-10 วัน
3. ให้กั้นรั้วตาข่ายหรือไนล่อนบริเวณคันบ่อเพื่อป้องกันปลาช่อนกระโดดหนี
4. ปล่อยน้ำเข้าหรือรอฝนตกให้มีระดับน้ำ สูงประมาณ 20-30 ซม. แล้วค่อยใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 40-80 กิโลกรัม/ไร่
5. ปล่อยน้ำเข้าหรือให้ฝนตกจนมีระดับน้ำสูงประมาณ 0.5-1 เมตร แล้วค่อยปล่อยลูกปลาช่อน
การเลี้ยงในบ่อ
หลังจากอนุบาลลูกปลาช่อนให้ได้ขนาดความยาว 6-8 เซนติเมตร ก็สามารถนำมาปล่อยเลี้ยงในบ่อได้ อัตราการปล่อยที่ 40-50 ตัว/ตารางเมตร หรือประมาณ 65,000-80,000 ตัว/ไร่ โดยให้ใช้ฟอร์มาลีนเติมลงในบ่อ ที่ความเข้มข้นประมาณ 30 ppm (3 ลิตร/น้ำ 100 ลบ.ม.) ทั้งนี้ ในวันที่ที่ปล่อยลูกปลาไม่ต้องให้อาหาร และให้เริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อน ได้แก่ ปลาเป็ดผสมรำหรือหัวอาหาร ในอัตราส่วนร้อยละ 70:30 ปริมาณการให้ที่ร้อยละ 4-5 ของน้ำหนักตัวปลา โดยการหว่านหรือวางอาหารบนตะแกรง และวางให้ลอยใต้ผิวน้ำ 2-3 เซนติเมตร ให้วางในหลายจุด
เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 5-6 เดือน ปลาช่อนจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม/ตัว หรือมากว่า หากต้องการจับจำหน่ายให้งดอาหาร 1-2 วัน ก่อนจับ การจับจะใช้วิธีการสูบน้ำออก และตีอวน แล้วค่อยสูบน้ำออกให้แห้ง และค่อยตามจับออกให้หมด
โรค และการป้องกัน
1. โรคที่เกิดจากปรสิตที่มักพบ ได้แก่ เห็บระฆัง ปลิงใส หนอนสมอ ที่มักเห็นเกาะติดลำตัวเพื่อดูดกินเลือด หากมีจำนวนมากจะทำให้เกล็ดบริเวณนั้นหลุด ลำตัวผอม หัวโต และมีรอยแผลเป็นจุดตามลำตัว แก้ไขโดยการฉีดพ่นด้วยดิปเทอร์เรกซ์ 800 กรัม/ไร่ ปล่อยไว้ 2-3 วัน แล้วถ่ายน้ำใหม่ หรือนำมาแช่ในสารละลายฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน
2. โรคท้องบวมหรือเกล็ดหลุด หรือเป็นแผลตามลำตัว ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แก้ไขโดยให้ใช้เทอรามัยซิน 2 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
3. โรคพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม ทำให้ปลามีลำตัวผอม และกินอาหารลดลง แก้ไขโดยใช้ยาถ่ายพยาธิผสมในอาหาร
ความแตกต่างระหว่างปลาช่อนเลี้ยงกับปลาช่อนธรรมชาติ
• ปลาช่อนนา หรือ ปลาช่อนตามธรรมชาติ จะมีสีเกล็ดได้หลายสี ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่อาศัย แต่ปกติปลาช่อนนาจะมีสีเกล็ดที่เป็นลายหรือมีสีเกล็ดค่อนข้างจางเหลือง ต่างจากปลาช่อนเลี้ยงที่มักมีสีเกล็ดดำสนิทไปทั่วลำตัว
• รูปร่างปลาช่อนนามักหัวค่อนข้างใหญ่ และยาว ปากค่อนข้างแบน ส่วนปลาช่อนเลี้ยงมักมีลำตัวอวบอ้วนได้สัดส่วน
• ปลาช่อนนา เมื่อผ่าท้องมักไม่พบไขมันติดลำไส้ ส่วนปลาช่อนเลี้ยงจะพบมีไขมันติดบริเวณลำไส้มาก
วิธีจับปลาช่อนตามธรรมชาติ
• การใส่เบ็ด โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เบ็ด (แท่งไม้ไผ่รัดด้วยเชือกค้องเบ็ด) ด้วยการใช้เหยื่อ เช่น ไส้เดือน ลูกปู ลูกอ๊อด เป็นต้น วิธีนี้มักใช้จับในฤดูหลังการทำนาจนถึงช่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว
• การใส่หลุมดัก โดยการใช้ไห หรือ ถังน้ำขนาดเล็กที่มีปากแคบ ฝังบริเวณคันนาที่เชื่อมติดกับบ่อน้ำ ด้วยการขุดให้เป็นร่องแคบๆ และฝังไหบริเวณตรงกลางร่อง หรือค่อนมาทางบ่อน้ำ และโอบทาด้วยโคลนตามร่องให้เปียกชุ่ม วิธีนี้จะใช้ได้ผลในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวที่ระดับน้ำในคันนาเริ่มลด ทำให้ปลาช่อนอพยพปืนป่ายกลับเข้ามาอาศัยในแหล่งเก็บน้ำ ก่อนที่จะตกลงในไหหรือถังดัก
• การใ้ช้แห มักใช้จับได้ตลอดฤดูกาล แต่นิยมใช้มากในช่วงฤดูแล้งที่ระดับลดลงมาก ทำให้จับได้ง่าย
3.การปลูกแแหนแดง เป็นเฟิร์นน้ำเล็กๆชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตและลอยอยู่บนผิวน้ำในเขตร้อน และเขตอบอุ่น โดยจะดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินกลุ่มไซยาโนแบคทีเรียชื่อ อาศัยอยู่ ที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศให้มาเป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียม ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 3 – 5 % ทำให้แหนแดงกลายเป็นปุ๋ยพืชสดที่สำคัญ เพื่อใช้ร่วมกับการปลูกข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้ยังสามารถลดการเจริญเติบโตของวัชพืชในนาข้าวได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของแหนแดง
1. ใช้ควบคุมวัชพืชในนาข้าว ลดปริมาณการใช้แทนเคมีกำจัดวัชพืช
2. ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี หรือลดการใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนการผลิตลดลง
3. เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
4. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี หากใช้แหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนาสามารถเพิ่ม ผลผลิตข้าวได้ประมาณ 15%
5. สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับพืชผัก และไม้ผลอื่นๆ ได้
6. สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์จำพวกเป็ด ไก่ ปลา และสุกรได้
ข้อแนะนำในการใช้แหนแดงในนาข้าว
1. ก่อนถึงฤดูปลูกข้าวควรเตรียมขยายพันธุ์แหนแดงโดยนำแหนแดงมาเพาะเลี้ยงไว้ให้ขยายจำนวนก่อน โดยเป็นพื้นที่ใช้เพาะต้องที่มีน้ำตลอดเวลา
2. การนำแหนแดงปล่อยลงแปลงนาต้องรักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5 – 10 เซนติเมตร
3. หลังจากดำนาไปแล้วไม่เกิน 20 วันควรหว่านแหนแดงทันทีหากเกินกว่านี้เมล็ดของวัชพืชอาจเจริญเติบโตได้เร็วกว่าและแหนแดงไม่สามารถขยายพันธุ์ครอบคลุมทั้งพื้นที่ได้ทันเวลา
4. ก่อนหว่านแหนแดงในนาข้าวควรให้ปุ๋ยข้าวครั้งแรกก่อนเนื่องจากแหนแดงก็เหมือนพืชทั่วๆไปยังคงต้องการปุ๋ยที่พอเหมาะในการเจริญเติบโต
5. แหนแดงจะขยายตัว 5 – 10 เท่าในระยะเวลา 20-30 วันซึ่งหมายถึงปริมาณการหว่านแหนแดงลงในแปลงนาควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะไม่น้อยเกินเพราะหากน้อยเกินไปแหนแดงจะขยายตัวไม่ทันเกินไปแหนแดงจะขยายตัวไม่ทัน
2.ชื่อเจ้าของแปลงโคกหนองนา นายมีชัย หรบรรพ์ นักเกษตรทฤษฎี
แปลงพื้นที่ 3 ไร่ แปลงสัดส่วน 3:2
บ้านโคกว่าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ทำโคกหนองนา: 5 เดือน เริ่ม 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ปลูกไม้ยืนต้น ได้แก่ต้นยางนา /พะยูง /ไม้สัก /ไม้แดง /มะฮอกกานี พืชผลก็ได้แก่ มะเขือ /ฟักทอง แฟง /กล้วย /ข่า /มะพร้าว/ส้มโอ /ตะไคร้ /มะกรูด /พริก /ถั่ว /ข้าวโพด /แตงโม /มะม่วง /มังคุด /ลำไย /มะละกอ /แคร์
บ่อแรกเลี้ยงปลาหมอเทศ 2,000 ตัว บ่อ 2 เลี้ยงปลานิลปลาไน ปลาตะเพียน
ปลูกข้าวหอมมะลิ
ประมาณ 500 บาทต่อเดือน
นักเกษตรทฤษฎีโคกหนองนา รู้สึกภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบได้ปลูกต้นไม้ปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ ภายในสวนโคกหนองนา
และให้ความรู้แนะนำ การเลี้ยงปลาหมอเทศ และ การปลูก ข่า แตงโม
1.ปลาหมอเทศ ลักษณะของปลาหมอเทศนั้นจะมีหัวปลาที่ใหญ่ ปากใหญ่ ขากรรไกรบนแคบกว่าขากรรไกรล่าง ด้านข้างของลำตัวแบน หลังปลาเป็นสีเทาเข้มออกดำ แต่ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาล บริเวณท้องปลามีสีเหลืองแกมน้ำตาลอ่อน มีครีบเป็นหยักแหลมและแข็ง มีขนาดลำตัวเต็มที่ 35 เซนจิเมตร น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และเป็นสัตว์น้ำที่อายุยืนถึง 11 ปี ปลาตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าปลาตัวผู้ และมีสีของลำตัวสีอ่อนกว่าตัวผู้
ประโยชน์ และการแปรรูป
ปัจจุบัน ปลาหมอจัดเป็นปลาที่นิยมเลี้ยง และบริโภคกันมากในทุกภาคของไทย เนื่องจากให้เนื้อแน่น เนื้อมีรสมันอร่อยต่างจากปลาชนิดอื่น มีก้างน้อย มักพบปิ้งย่างเกลือขายตามตลาด ร้านอาหาร ริมถนน โดยเฉพาะถนนสายอีสาน และภาคเหนือ นอกจากนั้น ยังนิยมประกอบอาหารหลากหลายเมนู เช่น ต้มยำ แกง และทอด
การแปรรูปปลาหมอนิยมใช้ปลาหมอขนาดเล็กในการทำปลาร้า ส่วนปลาหมอที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาจะแปรรูปตากแห้งหรือทำปลาเค็มสำหรับย่างหรือทอด
การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย
โดยธรรมชาติ ปลาหมอไทยวางไข่ในช่วงฤดูฝนเหมือนปลาอื่นๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะน้ำใหม่หรือฝนแรก ปลาหมอเพศเมียที่พร้อมจะวางไข่จะมีส่วนท้องอูมเป่ง และนิ่ม เมื่อบีบท้องเบาๆ จะมีไข่กลม สีเหลืองอ่อนออกมา ส่วนเพศผู้จะมีลักษณะปกติ ไม่เปลี่ยนแปลง ก่อนวางไข่ ปลาเพศผู้จะก่อหวอดที่เคลือบด้วยสารเมือกเกาะติดกันเป็นกลุ่มฟองอากาศ บริเวณก่อหวอดมักเป็นน้ำตื้น มีกอหญ้า ปลาตัวเมียจะเข้าวางไข่ใต้หวอด และตัวผู้ก็จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม ไข่ปลาหมอจะลอยอยู่ผิวน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะมีสีเหลืองอ่อนใส ขนาดประมาณ 0.7-1 มิลลิเมตร และจะพัฒนาการจนฟักออกเป็นตัวอ่อนต่อไป
การกระตุ้นให้วางไข่
1. การเตรียมพ่อแม่พันธุ์
ขั้นแรกให้คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีไข่ และน้ำเชื้อสมบูรณ์ ตัวใหญ่ ไม่มีรอยโรค ต้องให้มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป น้ำหนักตั้งแต่ 60 กรัมขึ้นไป ตัวเมียท้องอวบอูม เมื่อใช้มือบีบเบาๆ จะมีไข่ลักษณะกลมสีเหลืองออกมา ส่วนปลาตัวผู้ เมื่อบีบบริเวณอวัยวะจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายนมออกมา
2. การกระตุ้นให้วางไข่
นิยมทำได้ตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนตุลาคมของทุกปี ในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ ระดับน้ำในบ่อ 30-50 เซ็นติเมตร แต่นิยมทำในบ่อซีเมนต์ เพราะง่ายต่อการดูแล และจัดการ การกระตุ้นจะใช้วิธีการฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้แก่ตัวเมีย ฮอร์โมนที่ใช้ชื่อ บูเซอรีลิน (buserelin) ชื่อการค้า ซูปรีแฟคท์ (Suprefact) ขนาดความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม และสารระงับระบบการหลั่งฮอร์โมนหรือยาเสริมฤทธิ์ชื่อ โดมเพอริโดน (domperidone) ชื่อการค้า โมลิเลียม-เอ็ม (motilium-M) ขนาด 5-10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ครั้ง และฉีดฮอร์โมนแก่ปลาเพศผู้อัตรา 5-10 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดกระตุ้นเสร็จให้ปล่อยพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อวางไข่ที่มีกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อชั้นแรกสำหรับกันพ่อแม่พันธุ์ และมีผ้าโอล่อนแก้วรองรับไข่ปลาอีกชั้นหนึ่ง อัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้ เท่ากับ 1 ต่อ 1 ให้พ่นสเปรย์น้ำ และถ่ายเปลี่ยนน้ำ 8-12 ชั่วโมง เมื่อปลาวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังตาห่าง และพ่อแม่พันธุ์ออก ลูกปลาจะฟักออกเป็นตัวประมาณวันที่ 4-5 หลังการวางไข่ แล้วจึงรวบรวมไปอนุบาลในบ่ออนุบาลต่อไป
การอนุบาลลูกปลาหมอ
การอนุบาลลูกปลาหมอมักทำในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ ที่ระดับน้ำ 50 เซนติเมตรหากมีการเพาะเลี้ยงมากจะนิยมอนุบาลในบ่อดิน เพราะมีพื้นที่ต่อปลาเพียงพอ หากใช้บ่อซีเมนต์จะมีค่าใช้จ่ายสูง พื้นที่ต่อลูกปลาไม่เพียงพอ การอนุบาลในบ่อซีเมนต์จะใช้ในกรณีอนุบาลลูกปลาที่มีจำนวนไม่มากเท่านั้น
ลูกปลาที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดยาวประมาณ 1.9 มิลลิเมตร หน้าท้องมีถุงอาหารขนาดใหญ่ที่เป็นอาหารสำรองหลังฟักตัว และจะยุบตัวประมาณ 3 วัน ซึ่งในระยะ 3 วันนี้ ลูกปลาจะยังไม่กินอาหารมาก
การอนุบาลในบ่อดิน ให้หว่านปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมผสมปลาป่น และรำละเอียดอย่างละ 3 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อช่วยสร้างห่วงโซ่อาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอนสัตว์
ระยะการให้อาหารลูกปลา
1. อายุ 1-3 วัน
– อาหารจากถุงอาหาร
2. อายุ 4-10 วัน
– โรติเฟอร์ ร่วมกับไข่แดงต้มบดผ่านผ้า
3. อายุ 10-27 วัน
– ไรแดง ร่วมกับไข่แดงต้มบดผ่านผ้า
4. อายุ 24-32 วัน
– อาหารสำเร็จรูป โปรตีน 30-35 เปอร์เซ็นต์
5. อายุ 33-78 วัน
– อาหารสำเร็จรูป โปรตีน 30-35 เปอร์เซ็นต์
เมื่ออนุบาลลูกปลาได้ 3 สัปดาห์ ให้ค่อยๆเพิ่มระดับน้ำเป็น 80 เซนติเมตร ควรตรวจสอบโรตีเฟอร์ และไรแดงในบ่อ รวมถึงตรวจดูสุขภาพลูกปลา และการเจริญเติบโตทุกวัน บ่อที่อนุบาลควรทำหลังคาป้องกันแสงแดด และใส่ผักบุ้งหรือพันธุ์ไม้น้ำในกระชัง ปลาที่สามารถนำไปปล่อยเลี้ยงได้จะมีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร (อายุ 20-30 วัน หรือ 1-2 เดือน) หรือที่มักเรียกทั่วไปว่า ปลาขนาดใบมะขาม
การเลี้ยงในบ่อดิน
เมื่อลูกปลาได้ขนาด จะทำการปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ อัตราเลี้ยงที่เหมาะสม 30-50 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000-80,000 ตัว/ไร่ ส่วนวิธีปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาให้ผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อเลี้ยงเลย อัตราพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 25-50 คู่/ไร่ จะได้ลูกประมาณ 50,000-100,000 ตัว/ไร่
สำหรับเกษตรกรไม่มีความเรื่องการเพราะพันธุ์ปลา อาจหาซื้อลูกปลาตามฟาร์มหรือโรงเพาะพันธุ์ ขนาด 2-3 นิ้ว (อายุ 60-75 วัน หรือ 2-3 เดือน) อัตราการปล่อยประมาณ 25 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000 ตัว/ไร่ บ่อที่ใช้เลี้ยงควรขึงด้วยผ้าเขียวรอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูของปลาหรือปลาปีนป่ายออกนอกบ่อ โดยเฉพาะเวลาฝนตก และอาจติดตั้งระบบการเพิ่มออกซิเจนหากคุณภาพน้ำมีปัญหา
อาหาร และการให้อาหาร
อาหารปลาหมอในระยะเลี้ยงดูในบ่อดิน ในระยะ 1-2 เดือน จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ระยะ 2-3 เดือน ขึ้นไป อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 หรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก ร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ เช่น ไรแดง ปลวก รำข้าว เป็นต้น ระยะเวลาในการเลี้ยงที่เริ่มจับขายได้ 90-120 วัน หรือประมาณ 4-5 เดือน
2.การปลูก ข่า
พืชสมุนไพรที่นิยมนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูต้ม หรือเมนูผัด ก็มีข่าเป็นส่วนประกอบในเมนูทั้งนั้น ถ้าถามว่าทำไม การปลูกข่า ถึงอยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน คงไม่มีใครสามารถบอกได้อย่างชี้ชัดเจาะจงเท่าไหร่นัก เอาเป็นว่าเรามาเริ่มศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับข่ากันให้เข้าใจกันดีกว่า
ข่า พืชสมุนไพรและใช้ในการประกอบอาหาร เราจะคุ้นหูในเมนู ต้มข่าไก่ เมนูที่มีข่าเป็นส่วนผสมที่โดดเด่น โดยพืชชนิดนี้สามารถปลูกได้ง่าย ทั้งปลูกเป็นแปลงใหญ่ และปลูกภายในครัวเรือน โดยข่าเป็นพืชตระกูลเดียวกับ กระชาย ขิง ขมิ้น และกระวาน โดยมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก นอกจากนี้ข่ายังสามารถปลูกแซมพืชชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เพราะการปลูกข่าแซมกับพืชชนิดอื่นๆ หรือใกล้เคียงกัน ข่าจะช่วยขับไล่แมลง และลดการเข้ามาทำลายพืชสวนของเกษตรกร ซึ่งเป็นข้อดีของข่าเลยก็ว่าได้
3.การปลูก แตงโม
เป็นผักที่เรานิยมผลที่แก่มารับประทานสดเหมือนผลไม้ เพราะมีสีแดงและมีรสหวาน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมาก ทำให้ชวนรับประทานแก้กระหายน้ำ ส่วนผลอ่อนสามารถนำมาทำกับข้าวได้ เช่น ต้ม แกง ผัด เมล็ดแตงที่แก่สามารถนำมาอบและก็ใช้รับประทานเป็นของขบเคี้ยวได้ แตงโมเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางอาหารมากนัก เมื่อเทียบกับผักอื่นๆ แตงโมชอบขึ้นในเขตอากาศร้อน ลำต้นเลื้อยไปตามดิน จึงต้องการพื้นที่ในการปลูกมาก แตงโมมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ปัจจุบันสามารผลิตแตงโมที่ไม่มีเมล็ดโดยใช้สารเคมีฉีดพ่นสำหรับพันธุ์แตงที่นำเอาเมล็ดมาบริโภคต้องทำให้ได้เมล็ดมากๆ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต แตงโมขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแต่ต้องไม่มีน้ำขัง ชอบดินร่วนปนทราย ชอบอากาศแห้งและอุณหภูมิสูง ถ้าปริมาณน้ำฝนสูง และความชื้นสูง ความเสียหายจะมีแก่แตงโมมาก ถ้าอุณหภูมิต่ำมากกว่า ซ เมล็ดแตงจะไม่งอกและถ้าอุณหภูมิต่ำถึง ซ จะทำให้แตงโมหยุดการเจริญเติบโต อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 22 – ซ และถ้าปลูกในที่ที่ฝนซุก จะทำให้เป็นโรคทางใบง่าย ฤดูที่เหมาะสำหรับปลูกแตงโมมาก คือฤดูหนาวตอนปลาย คือ ประมาณกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน แปลงต้องรับแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน
การเตรียมดิน โดยทั่วไปจะปลูกแตงโมแบบหยอดเมล็ด แตงโมเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรขุดไถดินลึกประมาณ 22 – 30 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2 – 3 ต้น/ไร่ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและทำสภาพของดินให้เหมาะสมคือ ให้ดินโปร่ง หากดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวปรับสภาพของดินด้วย
การปลูก ระยะปลูกของแตงโมนั้นขึ้นอยู่กับแปลงปลูกหากแปลงปลูกเป็นผืนใหญ่ เช่น การปลูกในห้องที่ไร่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะใช้ระยะ 180-180 ซม. หากแปลงปลูกเป็นการยกร่องขนาดกว้าง 4 – 5 เมตร จะปลูกแตง 2 แถว ในร่อง ใช้ระยะปลูก 60 – 90 – 200 – 300 ซม. หยอดเมล็ดลงในหลุม โดยใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หยอดเมล็ดหลุมละ 3 – 4 เมล็ด เมื่อแตงโมงอกและมีใบจริง 2 – 3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น โดยคัดเลือกเอาต้นที่แข็งแรงเอาไว้ จำนวนเมล็ดพันธุ์ที่ใช้หยอดปลูกในแปลงพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ประมาณ 250 – 500 กรัม สำหรับพันธุ์หนักหรือพันธุ์ Charleston Grey ถ้าเป็นพันธุ์เบาหรือพันธุ์ Sugar baby ซึ่งมีเมล็ดขนาดเล็กกว่า จะใช้เมล็ดประมาณ 40 – 50 กรัมเท่านั้น ก่อนปลูกควรบีบเมล็ดแตงให้แตกอ่อน จึงจะงอกได้เร็วขึ้น
การปฎิบัติดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย ปุ๋ยผสมควรใช้ N : P : K ในอัตราส่วน 1 : 1 : 2 สูตรปุ๋ยที่ใช้คือ 10 – 10 – 20 หรือ 13 – 13 – 21 ในอัตรา 100 – 150 กก./ไร่ นอกนี้ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจน เป็นยูเรียและแอมโมเนียซัลเฟต ใส่ในอัตรา 20 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง คือ เมื่อแตงมีใบ 5 ใบใส่ 1/3 ของปุ๋ยไนโตรเจน และอีก 2/3 ใส่เมื่อเถาแตงยาว 30 ซม. สำหรับปุ๋ยผสมแบ่งครึ่งหนึ่งใส่เป็นปุ๋ยรองพื้น และอีกครึ่งหนึ่งใส่เมื่อเถาแตงยาว 90 ซม.
การให้น้ำ แม้ว่าแตงโมจะเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะความแห้งแล้ง แต่การที่แตงโมขาดน้ำ แม้ว่าแตงโมจะไม่ตาย แต่ก็ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต อย่างไรก็ดี แตงโมจะทรุดโทรมถ้าน้ำขัง และความชื้นมากเกินไป โดยเฉพาะในตอนที่ผลแตงกำลังเจริญเติบโตจะให้ขาดน้ำไม่ได้เลย การให้น้ำแตงควรให้ทั่วทั้งแปลง เพราะเถาแตงเลื้อยไปถึงไหน รากแตงก็จะไปถึงนั่น
การคลุมดิน เมื่อเถาแตงเจริญได้นิดหน่อยควรคลุมดินด้วยฟางเพื่อจุดประสงค์หลายประการ คือ
- รักษาความชุ่มชื้นในดิน เพื่อแตงจะได้ไม่ชะงักการเจริญเติบโต เพราะสามารถดูดน้ำและแร่ธาตุได้ตลอดเวลา
- ป้องกันผิวดินอับ จะทำให้ด้านล่างขาดออกซิเจน ทำให้รากแตงไม่เจริญเติบโต
- ป้องกันไม่ให้ดินร้อนจัดเกินไป อุณหภูมิของดินไม่ควรเกิน ซ
- ป้องกันวัชพืช เมื่อหน้าดินถูกปกคลุม จะทำให้วัชพืชขึ้นได้ยาก เพราะขาดแสงหากวัชพืชขึ้นมาบังใบแตงไป แตงโมจะปรุงอาหารได้น้อย ทำให้อ่อนแอ และแตงโมตายได้
การจัดเถาแตงโม เมื่อแตงโมมีขนาดเถายาวประมาณ 1 – 2 ฟุต ควรจับเถาแตงให้เลื้อยไปทางเดียวกัน เพราะหากไปจัดแถวแตงให้อยู่ในทิศทางเดียวกันแล้ว ตามธรรมชาติเถาแตงจะกระจายและพาดพันกันไปมา ทำให้บังแสงและอับทึบหนาแน่น ซึ่งโรครบกวนและผลผลิตจะน้อยลง นอกจากจะจัดเถาแตงให้เลื้อยไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ควรตัดเถาแตงที่อ่อนและทิ้งไป โดยทั่วไปมักนิยมเลี้ยงไว้ 4 เถา ต่อตัน และต้องคอยริดกิ่งแขนงที่ออกจากเถานั้นด้วย การจัดเถานั้นไม่ควรทำตอนเช้า เพราะกิ่งจะอวบน้ำเปราะและหักง่าย
การต่อตอก เนื่องจากแตงโมมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่แยกกัน ดังนั้น การผสมจึงเป็นแบบผสมข้าม โดยใช้แมลงเป็นส่วนใหญ่ หากใช้ยาฆ่าแมลงมากเกินไป อาจไม่มีแมลงช่วยในการผสมละอองเกสร ดังนั้น จึงต้องใช้คนช่วยผสมแทน การผสมควรทำในเวลา 6.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจาก 10.00 น. ไปแล้ว ดอกตัวเมียจะหุบไม่ยอมรับเกสรตัวผู้ วิธีการทำได้โดยเด็ดดอกตัวผู้ที่บาน ซึ่งจะเห็นละอองเกสรเป็นผงสีเหลืองฟุ้ง นำไปแตะกับยอดเกสรของดอกตัวเมียซึ่งกำลังมีน้ำเยิ้ม วิธีสังเกตดอกตัวเมียคือ ดอกที่มีลักษณะที่มีรังไข่คล้ายๆ ผลแตงเล็กๆ อยู่ใต้ดอก ส่วนดอกตัวผู้จะเป็นดอกที่ข้างล่างลีบๆ ธรรมดา
การปลิดผลทิ้ง แตงโมจะมีการติดผลที่เถาหลักที่ข้อที่ 5 และที่ 7 ซึ่งผลแรกๆ ที่เกิดขึ้นนี้จะมีขนาดเล็กและคุณภาพต่ำ ควรปลิดผลทิ้งตั้งแต่ผลยังเล็กๆ และควรปลิดผลที่บิดเบี้ยวทิ้งด้วย เพราะถ้าทิ้งไว้จะทำให้เถาแตงโมเลื้อยช้า ควรเอาผลตั้งแต่ข้อที่ 9 ไปไว้ โดยเอาไว้เถาละต้น ขนาดของผลแดงที่ปลิดทิ้งได้ต้องกะประมาณลูกปิงปอง แต่อย่าให้โตเกินลูกเทนนิส วิธีสังเกตว่าจะเอาแตงลูกใดไว้ให้พิจารณาดูขั้วของผล โดยให้เก็บผลแตงที่มีขั้วของผลใหญ่ไว้เพราะจะได้แตงขนาดใหญ่ด้วย เพราะโดยทั่วไป หากขั้วของผลเล็กจะให้แตงขนาดเล็กด้วย ดังนั้น แตงแต่ละต้นจะเก็บไว้ 4 ผล
การปฏิบัติดูแลขณะผลแตงกำลังเจริญเติบโต ผลแตงที่สมบูรณ์จะเจริญแต่ละวันอย่างรวดเร็ว เมื่อผลแตงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ควรเอาฟางรองใต้ผลให้หนาพอควร เพื่อมิให้ผลสัมผัสกับดินโดยตรง หรืออาจใช้กระบอกไม้ไผ่ผ่าซัก ตัดเป็นท่อนๆ รองผล โดยให้ระบายอากาศได้ นอกจากนี้ ควรกลับผลแตงด้านที่ไม่โดนแสงแดดให้ขึ้นมาถูกแสงในเวลาช่วง 10 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยว จะทำให้ผลแตงมีความหวานดีขึ้นและมีสีสม่ำเสมอ
การเก็บเกี่ยว ความสำคัญในการเก็บเกี่ยวแตงคือ ช่วงเวลาที่จะเลือกเก็บตอนแตงสีแดงจัดและหวาน และมีเนื้อแน่น มีวิธีการคะเนการเก็บแตงในวิธีต่างๆ กัน
- การนับวัน ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับพันธุ์แตง และยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของบรรยากาศด้วย โดยทั่วไป แตงพันธุ์เบาคือ sugar baby จะเก็บเกี่ยวได้หลังจากดอกบาน 35 – 42 วัน ส่วนพันธุ์หนักคือ Charleston Grey จำนวนวันที่จะเก็บได้ประมาณ 42 – 45 วัน หลังจากดอกบานหรือวันผสมเกสร
- การฟังเสียง ได้จากการดีด หรือตบผลดู เสียงที่ฟังดูแล้วกังวานใส จะเป็นแตงที่ยังอ่อนอยู่ ส่วนเสียงที่ฟังดูแล้วทึบ เหมือนมีลมอยู่ข้างใน แสดงว่าแตงนั้นแก่เกินไป แม้ว่าพวกนี้จะมีความหวานจัด แต่ลักษณะของเนื้อจะเหนียวและไม่กรอบ ซึ่งเราเรียกว่า “ไส้ล้ม” ขายสู่ตลาดไม่ได้ ดังนั้น เมื่อดีดดูแล้วเสียงที่ฟังดูเป็นเสียงกึ่งกังวานกึ่งทึบถือว่าเป็นผลแตงที่พอดีสำหรับการเก็บเกี่ยว วิธีการฟังเสียงจากการดีดนี้ ใช้ไม่ได้กับแตงโมที่เถาตาย
- มือเกาะ (tendril) ที่อยู่ใกล้กับขั้วของผลมากที่สุด เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้ง ผลเบาขึ้นนิดหน่อย ขั้วของผลเริ่มเหี่ยวยุบลง ผิวของผลแตงกร้าน ไม่สด
- รอยด่างที่ก้นของผลแตง ส่วนที่ติดดินจะมีสีเหลืองเข้ม ในระยะนี้ผลแตงจะแก่จัด แต่ถ้าเป็นสีขาวแสดงว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเก็บ
พันธุ์แตง แตงที่ปลูกกันนั้นแบ่งออกเป็นพวกต่างๆ ดังนี้
- Sugar baby เป็นพันธุ์เบา อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 68 วัน หลังจากงอก ผลกลมสีเขียวเข้ม เนื้อแดง รสหวาน เมล็ดเล็ก น้ำหนักผลเฉลี่ยประมาณ 4 – 6 กก. คุณภาพในการขนส่งและเก็บรักษาดีมาก นิยมปลูกมาก
- Charleston Grey เป็นพันธุ์หนัก อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน หลังจากงอก ผลมีลักษณะยาวรีสีเขียวนวล เนื้อสีชมพู รสหวาน เปลือกหนา คุณภาพในการขนส่งดี เมล็ดมีขนาดใหญ่
- Yellow baby hybrid อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 70 – 75 วัน หลังจากงอก ผลกลม สีเขียวอ่อน ลายเขียวเข้มสลับ เนื้อสีเหลือง ผิวบางแต่เหนียว
- พันธุ์ไม่มีเมล็ด คือ Fengshan No. 1 Hybrid ผลกรม ผิวสีเขียว มีลายสีเขียวเข้มพาด ผลหนักประมาณ 7 กก. เนื้อสีแดง หวานและแน่น มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาดี เป็นพันธุ์ที่ดีของไต้หวันที่ขายส่งตลาดฮ่องกง
- พันธุ์ไม่มีเมล็ด คือ Farmer Wonderful Hybrid มีเถาสั้น ให้ผลผลิตสูง ผลลักษณะกลม น้ำหนักประมาณ 9 กก. ผิวมีสีเขียว และมีลายเขียวเข้ม เนื้อสีแดง หวานกรอบมีเมล็ดอ่อนลีบๆ บางสีขาว ในการปลูกพันธ์พันธุ์ไม่มีเมล็ดนี้ ต้องปลูกพันธุ์ธรรมดาสลับควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยในการติดผล
- พันธุ์ที่ปลูกเพื่อผลิตเมล็ด คือ Red Coat Hybrid ผลกลม เนื้อขาวหมด เมล็ดสีแดง
- Wanli F2 Hybrid ผลกรม เนื้อขาวหมด เมล็ดสีดำ ผลหนัก 3 กก. ให้เมล็ดประมาณ 400 เมล็ดต่อผล
ในจังหวะสระบุรี กสิกรปลูกพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดแตงโม พันธุ์นี้มีผลสีเขียวอ่อน ผลเล็กและมีเมล็ดมาก และกสิกรเก็บเมล็ดพันธุ์เอง
ส่วนแตงเนื้อพันธุ์พื้นเมือง เป็นพันธุ์ที่ชาวสวนปลูกในฤดูนอกการทำนา ชาวสวนเก็บเมล็ดพันธุ์เอง มีการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ เพราะแตงเป็นพืชผสมข้าม จึงทำให้พันธุ์พื้นเมืองนี้ มีทั้งผลกลมรี ผลกลมยาว เปลือกผลสีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวแก่ เมล็ดขนาดใหญ่ ไม่ค่อยหวาน ไส้ล้มง่าย มักทนต่อความแห้งแล้ง พันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้ ได้แก่ พันธุ์บางเบิด พันธุ์บางช้าง
โรคและแมลงศัตรูแตงโม
- โรคเถาเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา อาการใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวตรงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับผิวดิน มักจะแตกตามยาว และมีน้ำเมือกซึมออกมา ข้างในจะเป็นสีน้ำตาล วิธีการป้องกันคือปลูกพืชหมุนเวียน เชื้อรามักติดมากับเมล็ดพันธุ์ ก่อนปลูกควรจุ่มเมล็ดพันธุ์ไว้ในน้ำยา Formalin ในความเข้มข้น 1 : 150 เป็นเวลานาน 1 ชม. แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปปลูก หรืออาจใส่ปูนขาวลงในดิน ในอัตรา 500 กก./ไร่ หรือใช้ Dithane ในความเข้มข้น 1.5 ฉีดพ่นที่ต้นพืช หรือก่อนปลูกใช้ยากันราเทอราคลอ ผสมน้ำในอัตรา 60 ซีซี/ 20 ลิตรของน้ำรดลงในหลุมแตงก่อนหยอดเมล็ด 2 วัน
- โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการที่พบปรากฎว่า ในใบเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ โดยจะเหี่ยวจากปลายเถามาทางโคนเถา เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนก็จะเหี่ยวตลอดต้น ลักษณะสีของใบยังเขียวอยู่ และจากนั้นเถาแตงทั้งหมดจะตายไป เมื่อผ่าดูตามเถา จะเห็นว่ากลางลำต้นมีน้ำลักษณะเน่า เชื้อแบคทีเรียมักเข้าไปในเถาแตงทางแผลที่ถูกแมลงกัดกิน จะป้องกันรักษาโดยฉีดยาพ่นฆ่าแมลงหรือใช้ยา Agrimycin Teramycin และ Streptomycin สัปดาห์ละครั้ง
- โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรา อาการของโรคคือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบและขยายตัวใหญ่ขึ้น และจุดเพิ่มมากขึ้น มักระบาดในช่วงอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น ระบาดไปยังเถาที่ยังไม่เป็นไปเรื่อยๆ ต่อมาใบจะแห้ง แตงโมจะติดผลน้อย ผลที่ได้มีคุณภาพเลว เชื้อแพร่กระจายโดยลมและแมลง วิธีป้องกัน กำจัดโดยใช้ยากันรา Captan, Zineb, Maneb อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้ยา 1 กรัม ผสมน้ำ 400 ซีซี หรือใช้ยา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง
แมลงที่รบกวนแตง มีดังต่อไปนี้
- เพลี้ยไฟ (Thrips) จะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่ใต้ใบอ่อนของแตงโม ทำให้ใบแตงหงิกงอไม่แผ่ขยาย ยอดชูตั้งขึ้น เรียกว่าโรคยอดตั้งหรือโรคไอ้โต้ง มักระบาดตอนร้อน อากาศแห้ง ลมแรง ลมจะพาเพลี้ยไฟระบาดไปได้รวดเร็ว การป้องกันโดยใช้ยา Lanate, Dumethcate
- เพลี้ยอ่อน (Aphids) จะเข้าทำลายดูดน้ำเลี้ยงที่ใบของแตงเช่นกัน ป้องกันโดยใช้ยาเช่นเดียวกับเพลี้ยไฟ
- เต่าแดง เป็นแมลงปีกแข็ง กัดกินใบแตงขณะที่แตงยังอ่อนอยู่ ลักษณะตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกสีเหลืองส้ม กัดใบแตงขาด เป็นพาหะนำโรคแบคทีเรียมาให้ ทำให้แตงเป็นโรคเหี่ยว ใช้ยา Sevin 85% ในอัตรา 15 – 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดแดงทั้งต้น ฉีดทั้งด้านบนและด้านล่างของใบสัปดาห์ละครั้ง
แหล่งผลิตแตงโม แตงโมปลูกมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ปลูก 99,760 ไร่ ในจังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น และยโสธร รองลงมาคือภาคใต้มีพื้นที่ปลูก 84,580 ไร่ ในจังหวัด นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาคเหนือมีพื้นที่ปลูก 38,282 ไร่ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร และสุโขทัย ผลผลิตโดยเฉลี่ย 2.4 ต้น/ไร่
วันที่5 ตุลาคม 2564 ประชุมผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ผ่านทางออนไลน์ Google Meet เพื่ออธิบายและชี้แจงงาน ให้ผู้ปฏิบัติหัวข้อที่จะต้องเก็บแบบสอบถามได้แก่ 1.ตำบลเป้าหมาย 2.ลูกจ้างของโครงการ 3.ครอบครัวของลูกจ้างโครงการ 4.ชุมชนภายใน 5.ชุมชนภายนอก 6.ผู้แทนตำบล 7.หน่วยงานภาครัฐ 8.หน่วยงาน อ.ป.ท. 9.เอกชนในพื้นที่
เพื่อได้แบ่งจัดสรร เพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานได้ลงทำแบบสอบถามU2T-SROI โครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T เพื่อเป็นความรู้ ในการช่วย
หรือส่งเสริมพัฒนาตำบล ผู้ปฎิบัติได้ทำแบบสอบถาม แก่ ผู้ปฎิบัติงานเองหรือ ครอบครัว ชุมชนต่างๆ ผู้แทน หน่วยงานต่างๆ เช่นภาครัฐ เอกชน ร่วมทั้งร้านค้า หรือร้านอาหาร
ได้ประโยชน์กับโครงการได้อย่างไร และช่วนส่งเสริมอะไรบ้าง การเป็นอยู่อย่างไร รายได้เป็นอย่างไร และความเป็นอยู่ และผลกระทบ ต่างๆ เช่น โรคโควิค-19 เศรษกิจเป็นอย่างไร เพื่อจะได้มาช่วยกันแก้ไขและพัฒนาต่อไป
วันที่11 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าก็ทำแบบสอบถามลูกจ้างโครงการ ได้ประโยชน์อะไรบ้าง ที่่รับได้ คือ 1. คนที่ตกงาน ว่างงานไม่มีทำ 2.สร้างร้ายได้แก่คนในชุมชน และตัวเอง
3.ช่วยส่งเสริมพัฒนาอาชีพแก่ผู้ปฎิบัติงานชุมชนให้เกิดความสามัคคี แล้วช่วยกัน ของคนในชุมชน 4.สร้างความเรียนรู้ให้แก่ตัวเอง 5.พอเพียง 6.อนุรักษ์ธรรมชาติสีเขียว
7.ทำโคกหนองนา ใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ และมีร้ายได้ให้แก่ครอบครัว ตนเอง และชุมชน
วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ขอความร่วมมือผู้ปฏิบัติงานทุกคนพร้อมกันที่ จัดสถานที่เตรียมงานโครงการเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนา ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โนนตะโก บ้านโคกว่าน เพื่อจัดเตรียมสถานที่สำหรับงานเสวนาในวันที่17 ตุลาคม 2564 เพื่อ เตรียมความพร้อมในการจัดโครงการครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฎิบัติงาน และอาจารย์ชม พู่ พากันมาตั้ง 13.00ถีงประมาณ สองทุ่มในการจัดงานครั้งนี้ ทุกคนพร้อมช่วยกันอย่างเติมที่ เพื่อให้ แก่ผู้มาชมโครงการเสวนา ของ อาจารย์ พระครู ปลัด นักเกษตรทฤษฎี โคกหนองนาที่มาให้ มาฟังเสวนาครั้ง นี้ให้ว่า การใช่ชีวิตพอเพียงฝนตกก็แรง เหนื่อย แต่ก็ภาคภูมิใจ และมีความสุขในโครงการนี้
วันที่17 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมโครงการเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนา มี คณะอาจารย์ พระครู ปลัด นายกอบต นักเกษตรทฤษฎี โคกหนองนา และผู้ปฎิบัติงาน สามหนอง ได้หนองยายพิมพ์ หนองกง และหนองโสนเข้าร่วมโครงการเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนา ครั้งนี้ ได้รู้จักทฤษฎี โคกหนองนาในการเกษ
และได้รู้จักนักเกษตร โคกหนอง ทั้ง 11แปลง ที่ประสบความสำเร็จพัฒนาโคกหนองได้ และได้วิทยากร ในการธรรม ให้แก่คนมาเสวนาในครั้งนี้ด้วยและได้รู้จักวิทยากร และต้นแบบโคกหนองนา ได้ชม นักเกษตรทฤษฎีโคกหนองของ11 แปลง
ผู้ร่วมเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ” ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โนนตะโก บ้าน โคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 7 ท่านได้แก่
1. พระครูสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดหนองตาไก้
2.นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง
3.นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน
4.อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี , นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต)
5.รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
6.นางสาวดนุลดา ธรรมนิยม , สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน
7.ผู้ดำเนินการเสวนา อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
และนักเกษตรทฤษฎีใหม่ โคกหนองนาโมเดล จำนวน 11 แปลง มีดังนี้
1.นาย.บุญลือ นวลปักษ์
2.นาย.จุล ชื่นชู
3.นางสาว.ดนุลดา ธรรมนิยม
4.นางสาว.ปรีดา จะกระโทก
5.นาย.สว่าง อุดมดัน
6.นาย.อุทัย งามแพง
7.เปรมริกา คนงาม
8.กำนัน.บุญทัน ห้าวหาญ
9.นาง.จิตรานุช โพธิริญ
10.นาย.วงศกร สุดาจันทร์
11.นาย.มีชัย หรบรรพ์