สวัสดีค่ะข้าพเจ้า นางสาวสิรภัทร ปักเขตานัง ประเภทนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานประจำตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS02หลักสูตร: โคกหนองนาโมเดล ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ และในการลงพื้นที่ปฎิบัติงานประจำเดือนตุลาคมนี้ ในวันที่5 ตุลาคมทางอาจารย์ประจำตำบลได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลหนองโสนทุกคนประชุมเพื่อเก็บแบบฟอร์มแบบสอบถาม U2T-SROI กลุ่มนักศึกษากลุ่มของข้าพเจ้าได้แบบฟอร์มที่1 ตำบลเป้าหมาย และแบบฟอร์มที่2 ลูกจ้างโครงการ เป็นแบบฟอร์มเกี่ยวกับโครงการu2tเข้ามาพัฒนาเข้ามาเปลี่ยนแปลงศักยภาพภายในตำบลยังไงบ้างและส่งผลดีหรือผลกระทบต่อตำบลหนองโสนยังไงไปบ้างและกลุ่มของข้าพเจ้าได้แบ่งหน้าที่กันทำแบบฟอร์มอย่างละเท่าๆกันในส่วนตัวของข้าพเจ้าได้ทำแบบฟอร์มที่2 คือส่วนของลูกจ้างโครงการและทำให้เสร็จภายในวันนั้น และข้าพเจ้าได้กรอกแบบฟอร์ม06 เกี่ยวกับครัวเรือนในตำบลหนองโสนข้าพเจ้าได้รับผิดชอบกรอกข้อมูลของหมู่ที่2 บ้านจันดุม และหมู่ที่3 บ้านหนองม่วง และในวันที่16 ตุลาคม 64 ทางอาจารย์ประจำตำบลได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ไป ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับจัดงานเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุคNew Normal ก็มีกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนทุกคนลงพื้นที่ไปยังศูนย์การเรียนรู้ทำความสะอาดพื้นที่จัดโต๊ะจัดเก้าอี้ไว้เพื่องานเสวนาในวันที่17 ตุลาคม กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่งานจึงออกมาสวยงามและเสร็จสมบูรณ์ และในวันที่17 ตุลาคม 64 ก็เป็นงานเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุคNew Normal งานในครั้งนี้มีคนมาร่วมงานกันมากมาย อาทิเช่น ผู้ปฏิบัติงานในตำบลหนองยายพิมพ์และหนองกงก็มาร่วมงานในครั้งนี้อีกด้วย การจัดงานในครั้งนี้ได้วิทยากรผู้ร่วมเสวนามาให้คำแนะนำและให้ความรู้ในการทำโคกหนองนาทั้งหมดดังต่อไปนี้ 1.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต) รองศาสตราจารย์ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นางดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน และดำเนินการเสวนา โดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นการเสวนาให้ความรู้คำแนะนำให้แก่คนที่จะทำโคกหนองนาได้อย่างดี จัดแบ่งสันปันส่วนพื้นที่นามีกี่ไร่แบ่งทำสระน้ำเลี้ยงปลา ปลูกผัก ต้นไม้ หรือปลูกหญ้าให้วัวควายที่เลี้ยงไว้กินก็ได้เป็นอย่างดี ก็เป็นคำแนะนำให้ชาวบ้านทุกคนได้คิดและริเริ่มที่จะทำโคกหนองนาโมเดลตามทฤษฏีการทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่9 และกิจกรรมในวันที่17 ตุลาคมนี้ก็เป็นกิจกรรมเสวนาให้ความรู้แก่คนที่จะเริ่มทำโคกหนองนา และยังมีเจ้าของโคกหนองนาทั้ง 11 แปลงมาให้คำแนะนำในด้านการทำโคกหนองนาของตนเองให้ทุกคนที่ไปร่วมงานฟังว่าปลูกต้นไม้ทำยังไงให้ต้นไม้เติบโตมาอย่างสวยงามเป็นร่มเงา เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ไว้บริโภคไว้จำหน่ายบ้าง เป็นต้น หลังจากนั้นพูดให้คำแนะนำจนครบทั้ง 11 คน และยังมีกิจกรรมถอดบทเรียนจากการลงพื้นที่เสวนาในครั้งนี้ด้วย และตอนเที่ยงก็ร่วมรับประทานอาหารด้วยกันก่อนจะแยกย้ายกันกลับบ้าน

และกิจกรรมการถอดบทเรียนจากการลงพื้นที่โคกหนองนาทั้ง11 แปลง มีคร่าวๆดังต่อไปนี้

ด้านเกษตร : เป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่เป็น3ส่วน คือโคก-หนอง-นา เพื่อจัดสรรการทำเกษตรขนาดย่อม ได้แก่1ไร่ 3ไร่ แบ่งสัดส่วนเป็น3 แบบ ได้แก่ 1:1 1:2 2:3

มีการจัดสภาพดิน โดยปลูกพืชคลุมดินเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสม

การปลูกไม้ยืนต้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในด้านต่างๆ เช่นต้นสัก ต้นยางนา ต้นพยูง ต้นแดง

การปลูกผักสวนครัว และผลไม้เพื่อบริโภคและจำหน่าย

ด้านปศุสัตว์ : มีการแบ่งพื้นที่ ที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง เช่น วัว เป็ด ไก่ เป็นการเลี้ยงสัตว์โดยใช้อาหารที่สามารถผลิตเอง โดยมีการนำเอารำข้าว ข้าวโพดบด

ใบข้าวโพด มาทำเป็นอาหารสัตว์เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน

ด้านประมง : การเลี้ยงพันธ์ุปลา เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน เป็นต้น

มีการเลี้ยงแหนแดงไว้จำหน่าย

มีการจำกัดและบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เหมาะแก่การเลี้ยงปลา

ปัญหาและประโยชน์ในการทำโคกหนองนา : ปัญหาสภาพดินเป็นดินแข็งมากกว่าร่วน ทำให้ปลูกพืชยาก ปัญหาน้ำ มีน้ำน้อย แห้งแล้ง เนื่องจากฝนไม่ตก

ประโยชน์ในการพึ่งพาตนเองมีอาชีพเลี้ยงตนและคนในครอบครัว มีผลผลิตไว้บริโภคและจำหน่าย เป็นการสร้างเครือข่ายโคกหนองนาจำนวนหลายแปลงแบ่งปันความรู้การทำโคกหนองนาให้แก่กัน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สรุป

รายงานประจำเดือนตุลาคม ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ข้าพเจ้าก็เรียนรู้การทำเกษตรการทำโคกหนองนาสร้างรายได้เป็นอาชีพ และยังคงเป็นความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานร่วมกันของผู้ปฏิบัติงานในตำบลหนองโสน การลงพื้นที่สำรวจโคกหนองนาทั้ง 11 แปลง การถอดบทความที่เป็นประโยชน์และปัญหาในการทำโคกหนองนา และได้กรอกแบบฟอร์มsroi และกรอกแบบฟอร์ม06 แบบครัวเรือนของบ้านจันดุมและบ้านหนองม่วง ในทั้งนี้เพราะสถานการณ์โควิดในตอนนี้ยังคงรุนแรงอยู่ จึงทำให้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกันยังไม่ได้เต็มที่ตัวข้าพเจ้าเองก็ต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 เพื่อในการลงพื้นที่ครั้งต่อไปจะได้ปลอดภัยทั้งตัวข้าพเจ้าเองและชาวบ้านในตำบลหนองโสน เว้นระยะห่างดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้ปลอดภัยจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

 

อื่นๆ

เมนู