1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS02 - ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง
  4. HS02 : การเก็บข้อมูลของสมาชิกโคกหนองนา การใส่ปุ๋ยต้นไม้ ณ บริเวณคลองโนนตะโก บ้านโคกว่าน การประชุมออนไลน์ และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI

HS02 : การเก็บข้อมูลของสมาชิกโคกหนองนา การใส่ปุ๋ยต้นไม้ ณ บริเวณคลองโนนตะโก บ้านโคกว่าน การประชุมออนไลน์ และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI

ข้าพเจ้า นางสาวสุวนันท์ สีโกตะเพชร ประเภทกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ (กพร.)

หลักสูตร : HS02 โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

การปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม มีการปฏิบัติงานดังนี้ การเก็บข้อมูลของสมาชิกโคกหนองนาเพื่อนำข้อมูลมาทำกิจกรรมนำเสนองานในรูปแบบนิทรรศการ การใส่ปุ๋ยต้นไม้ ณ บริเวณคลองโนนตะโก บ้านโคกว่าน การประชุมออนไลน์ชี้แจงการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI

ต่อเนื่องมาจากการประชุมถอดบทเรียน ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกว่าน วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานในการลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลหลังการจัดทำโคกหนองนาของสมาชิกโคกหนองนา ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างเพื่อจะนำข้อมูลมาทำเป็นอินโฟกราฟฟิกและจัดนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดความรู้ โดยให้สมาชิกแบ่งทีมกันลงพื้นที่เพื่อความรวดเร็ว โดยข้าพเจ้าได้ร่วมลงพื้นที่กับสมาชิกอีกสองท่าน ได้แก่ นางสาวอาภาศิริ มาลา(พิ้งค์) และนางสาวเบญจวรรณ ศรีพนม(พี่เบญ) ซึ่งในกลุ่มของข้าพเจ้าได้รับมอบหมายลงพื้นที่แปลงโคกหนองนาของ นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ(พี่อ๋อง) และนางสาวปรีดา  จรกระโทก(พี่แหม๋ว) มีพื้นที่แปลงโคกหนองนาตั้งอยู่ ณ บ้านโคกสูง ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและสมาชิกอีกสองท่านก็ได้หาลือกันว่าจะลงพื้นที่ในวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน 2564

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าได้นัดหมายการลงพื้นที่เพื่อไปเก็บข้อมูลโคกหนองนา ของ

นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ(พี่อ๋อง) และนางสาวปรีดา  จรกระโทก(พี่แหม๋ว) โดยได้นัดหมายกันช่วงเวลา 10.00 น.  แต่สภาพอากาศในวันนั่นไม่ค่อยเต็มใจนักเนื่องจากพายุเข้าฝนตก เลยทำให้การลงพื้นที่ในส่วนของแปลงโคกหนองนาเลื่อนออกไปก่อน ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีกสองท่านเลยตัดสินใจลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลทั่วไปที่สามารถถามได้ก่อนโดยไม่จำเป็นต้องลงแปลงโคกหนองนา ณ บ้านของ พี่อ๋อง และพี่แหม๋ว ในส่วนข้อมูลที่เข้าไปเก็บนั่นสามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. ชื่อ – สกุล เจ้าของแปลงโคกหนองนา
  2. ภาพถ่าย แปลงโคกหนองนา และเจ้าของแปลงโคกหนองนา (ข้าพเจ้าและสมาชิกเข้าเก็บข้อมูลนี้ในวันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564)
  3. ที่ตั้งของแปลงโคกหนองนา
  4. สอบถามข้อมูล เรื่องรายได้จากผลผลิตต่อเดือน (หากว่าโคกหนองนาสำเร็จสมบูรณ์แล้ว คิดว่าในปีหน้าจะสามารถสร้างรายได้ต่อเดือนประมาณเท่าไร)
  5. แยกสัดส่วนการทำโคกหนองนาอย่างไรบ้าง แบ่งแบบไหน เช่น 1:1 โคก หนอง นา

ทำอะไรบ้าง มีการทำปศุสัตว์ไหม เป็นต้น

ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติอีกสองท่านได้เข้าเก็บข้อมูลดังข้อกำหนดคำถามที่ต้องเก็บด้านบนได้ข้อมูลจากพี่ ๆ ทั้งสองดังนี้

การเก็บข้อมูลของ นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ (พี่อ๋อง) 

 

♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣

 

การเก็บข้อมูลของ นางสาวปรีดา  จรกระโทก(พี่แหม๋ว)

 

♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣♣

ในระหว่างเก็บข้อมูลดังกล่าวนี้ พี่อ๋อง และพี่แหม๋ว ก็ได้ให้ความร่วมมือให้คำแนะนำปรึกษาเป็นอย่างดี เพื่อให้การเก็บข้อมูลสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นและถูกต้อง ก่อนที่ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีกสองท่านจะได้เดินทางกลับ ก็ได้ขอนัดหมายการลงพื้นที่ เพื่อเข้าสำรวจโคกหนองนาในพื้นที่แปลงอีกครั้ง ในวันที่ไม่มีฝนและอุปสรรคเหมือนครั้งที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานอีกสองท่านก็ได้นัดหมายการลงพื้นที่ไปยังแปลงโคกหนองนาของ นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ(พี่อ๋อง) และนางสาวปรีดา  จรกระโทก(พี่แหม๋ว) โดยข้าพเจ้าได้โทรติดต่อถึงความสะดวกของพี่ทั้งสองว่าพี่ทั้งสองสะดวกที่จะให้ลงพื้นที่หรือไม่ จึงได้มติว่าสามารถพาไปยังแปลงโคกหนองนาได้ใน

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าเลยนัดพี่ทั้งสองในช่วงเวลา 09.00 น. ณ แปลงของ นางสาวปรีดา  จรกระโทก หรือพี่แหม๋วก่อน เนื่องจากแปลงติดถนน ก่อนจะไปยังแปลงของ นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ หรือพี่อ๋อง ที่อยู่ถัดเข้าไปข้างใน โดยแปลงโคกหนองนาทั้งสองแบ่งนี้มีเนื้อที่ติดกันสามารถเดินสำรวจทั้งสองแปลงพร้อมกันได้ การเข้าไปยังพื้นที่ของพี่แหม๋ว ต้นไม้ภายในเริ่มโตมากกว่าครั้งที่เข้าลงมาปลูกต้นไม้กับกลุ่มภาคีเครือข่ายในช่วงเดือนมิถุนายน ที่ตอนนั่นต้นไม้พึ่งจะลงดินยังไม่เติบโตมากเท่าไรนั่น และภายในแปลงยังมีการนำต้นไม้พืชผักสวนครัวเข้ามาปลูกมากขึ้น และสามารถเก็บผลผลิตเพื่อรับประทานได้แล้ว ปลาที่เลี้ยงไว้ก็เริ่มโตโดยสามีของพี่แหม๋วก็ได้ให้หัวอาหารปลาเพื่อให้ได้เห็นว่าปลานั่นเริ่มโตมากแล้ว พี่แหม๋วก็ได้พาเดินสำรวจไปรอบ ๆ แปลงโคกหนองนาพร้อมทั้งอธิบายชนิดของพืช ความสำคัญของพืชที่นำมาปลูกว่าเขาสามารถดูแลกันเองได้ในด้านไหนบ้าง ภายในบริเวณของแปลงโคกหนองนายังมีการทำปศุสัตว์ในเรื่องของการเลี้ยงเป็ดไข่ไว้ในบริเวณฝั่งขวามือของแปลงที่จะมีสระสำหรับเลี้ยง และบริเวณรอบ ๆ สระก็จะมีการปลูกผักสวนครัว เช่น พริก กระเพรา แคแดง มะเขือ ฯลฯ

ในส่วนของแปลง นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ หรือพี่อ๋อง นั่นต้นไม้ก็เริ่มโตสามารถให้ผลผลิตเพื่อรับประทาน และสามารถจำหน่ายได้ด้วย สวนของพี่อ๋องนั่น มีการจัดแบ่งส่วนคล้ายๆ กับของพี่แหม๋ว เหมือนกัน จัดโซนผักสวยครัว การเลี้ยงปลา พี่อ๋องบอกว่าจริง ๆ แล้ว การวางแผนแปลงก็เป็นไปตามโครงการเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราอยากจะนำอะไรมาปลูกเพิ่ม โดยเน้นว่าเราชอบอะไรก็ปลูกอันนั่นเป็นหลัก พี่อ๋องได้ปลูกผักสวนครัวเยอะมาก เช่น มะนาว มะละกอฮอลแลนด์ พริก กระเพรา ตะไคร้ หมามุ่ยอินเดีย กล้วย ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือพวง มะเขือ ฯลฯ พี่อ๋องก็พาเดินดูรอบ ๆ และอธิบายพืชผักภายในแปลงโคกหนองนา โดยมีพี่แหม๋วชี้แจงเพิ่มเติมด้วย ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีกสองท่านก็ได้ความรู้มากมาย ก่อนจะมีการถ่ายรูปแปลงรอบ ๆ รูปของพี่อ๋อง และแหม๋ว ก่อนข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีกสองท่านจะขอเดินทางกลับ

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นได้รับการแจ้งงานจากอาจารย์ผู้ดูแล ให้ลงพื้นที่วันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2564 เวลา 13.00 น. ณ บริเวณคลองโนนตะโกบ้านโคกว่านเพื่อทำการใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นไม้ที่ทำการปลูกไว้เมื่อครั้งกิจกรรมงานวันแม่แห่งชาติ รวมทั้งพรวนดินให้แก่ต้นไม้ด้วย ในการลงพื้นที่ทำกิจกรรมนี้ได้อยู่ในความดูแลของอาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ และ พระอาจารย์ทองใส หรือพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง ที่ให้คำแนะนำในการใส่ปุ๋ยอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่เมื่อโดนน้ำนั่นแล้วจะไหลไปทางอื่น โดยการเหยียบข้างต้นไม้ให้เป็นหลุมเล็กน้อย ก่อนใสปุ๋ยและเหยียบอีกครั้งเพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่นั่นไหลไปทางอื่นได้ นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านที่เข้ามาช่วยในการทำกิจกรรมครั้งนี้ด้วย กิจกรรมดำเนินลากยาวไปจนประมาณ 17.00 น. ก่อนกิจกรรมจะเสร็จสิ้นลง และแยกย้ายกันเดินทางกลับ

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นได้รับการแจ้งงานให้เข้าประชุมออนไลน์ เวลา 11.00 น. เพื่อชี้แจงงานการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SROI โดยมีอาจารย์ภูริสา วัชเรนทร์วงศ์(อ.แอน) เป็นผู้อธิบายการเก็บข้อมูลโดยมีข้อมูลการเก็บจำนวน 11 หัวข้อ อาจารย์ได้อธิบายการเก็บข้อมูลแต่ละหัวข้อตามลำดับ เพื่อความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานอาจารย์ใช้วิธีการอธิบายช้า ๆ และสามารถให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถถามได้เลยหากเกิดความไม่เข้าใจในเนื้อหาส่วนไหน เมื่ออธิบายการเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ได้แบ่งหัวข้อแบบสอบถามที่จะให้เก็บแก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยแบบตามกลุ่มของประเภทการทำงาน คือกลุ่มประเภทบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มประเภทประชาชน และกลุ่มประเภทนักศึกษา สามารถจำแนกการแบ่งหัวข้อเก็บข้อมูลได้ดังนี้

กลุ่มประเภทบัณฑิตจบใหม่ หัวข้อที่ 2 ลูกจ้างโครงการ  หัวข้อที่ 9 หน่วยงานภาครัฐ หัวข้อที่ 10 หน่วยงาน อปท. และหัวข้อที่ 11 เอกชนในพื้นที่

กลุ่มประเภทประชาชน หัวข้อที่ 2  ลูกจ้างโครงการ หัวข้อที่ 4 ชุมชนภายใน หัวข้อที่ 5 ชุมชนภายนอก และ หัวข้อที่ 8 ผู้แทนตำบล

กลุ่มประเภทนักศึกษา หัวข้อที่ 1 ตำบลเป้าหมาย และหัวข้อที่ 2 ลูกจ้างโครงการ

ในส่วนของหัวข้อที่ 3 ครอบครัวลูกจ้างโครงการ อาจารย์ได้ให้นางสาวเบญจวรรณ ศรีพนม(พี่เบญ) เป็นผู้รับผิดชอบ และหัวข้อที่ 6 อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ และหัวข้อที่ 7 เจ้าหน้าที่โครงการ USI อาจารย์ประจำหลักสูตรจะเป็นผู้เก็บข้อมูลเอง

ในการประชุมยังมีอาจารย์ผศ.ศุภกิจ ภูวงค์ และอ.สมยงค์ โสมอินทร์ เข้ามาช่วยให้คำแนะนำอีกด้วย ก่อนจะจบการประชุมให้ผู้ปฏิบัติงาน แบ่งงานกันในกลุ่ม และกรอกข้อมูลในระบบ Google Form ก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2564 และต้องมีเอกสารหลักฐานในการเก็บข้อมูลนำส่งแก่อาจารย์ประจำหลักสูตรด้วย

หลังจากการประชุมออนไลน์เสร็จสิ้น ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประเภทบัณฑิตก็ได้ประชุมแบ่งหัวข้อกัน โดยข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานอีกหนึ่งท่าน นางสาวอาภาศิริ มาลา(พิ้งค์) ได้รับผิดชอบหัวข้อที่ 11 เอกชนในพื้นที่ ข้าพเจ้า จึงได้นัดแนะการลงพื้นที่ในวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ บ้านสวนตายายเพื่อเก็บข้อมูล โดยข้อมูลที่เก็บในแบบฟอร์มนั่นสามารถอธิบายคล่าว ๆ ได้คือ บ้านสวนตายายมีส่วนร่วมในการที่ โครงการ U2T ลงมาปฏิบัติงานหรือไม่ การที่ U2T ลงมาปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลหนองโสน ทำให้สวนตายายมีรายได้ในการขายกาแฟ ขายต้นไม้มากขึ้นหรือไม่ และเห็นด้วยกับโครงการ U2T หรือไม่ เป็นต้น จากการเข้าเก็บข้อมูล ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีกหนึ่งท่านได้เข้าเก็บข้อมูลจากเจ้าของสวนตายาย คือ นางธัญญาภรณ์ บุญรอด สวนตายายได้มีส่วนร่วมในการบริจาคต้นไม้เพื่อใช่ในการทำกิจกรรมของโครงการ U2T และรายได้ของกิจการก็เพิ่มขึ้นจากเดิมเนื่องจากมีผู้ปฏิบัติงานเข้ามาจับจ่ายสินค้า ตลอด และทำให้สวนตายาย เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับการนัดหมายจากอาจารย์ผู้ดูแลให้ลงพื้นที่จัดสถานที่เพื่อเตรียมงาน การจัดนิทรรศการ โคกหนองนา และการเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล พร้อมทั้งการวางรูปแบบการจัดป้ายไวนิล (อินโฟกราฟฟิก) ของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการโคกหนองนา ณ บริเวณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน เวลา 13.00 น. ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นได้ลงพื้นที่พร้อมเพียงกันไปยังสถานที่ ดังกล่าว แล้วได้มีการแจกแจงงานกันเพื่อแบ่งหน้าที่ โดยให้ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นผู้ชาย ไปขนเก้าอี้ และของหนักที่ต้องใช้แรง ส่วนผู้ปฏิบัติงานที่เป็นผู้หญิงให้ไปจัดหาผ้าเพื่อมาใช้ในการจัดงาน เมื่ออุปกรณ์การจัดงานมาพร้อมแล้ว ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นก็ได้ช่วยกันออกความคิดเห็นและช่วยกันจัดงาน โดยข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ในการผูกผ้า บริเวณทางเข้างาน ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ หลังจากดำเนินงานไปเรื่อย ๆ การจัดสถานที่ก็ได้ เสร็จสิ้นลง ใน เวลาราว ๆ 18.30 น.

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นได้เข้าร่วมงานนิทรรศการโคกหนองนา และการเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล โดยข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นได้เข้าไปเตรียมงานต่อกันตั้งแต่เวลา 08.00 น. ในเรื่องของการลงทะเบียน การเตรียมของให้สำหรับวิทยาการที่เข้าร่วมงาน โดยภายในงานนั่นมีผู้ปฏิบัติงาน ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง มาเข้าร่วมงานด้วย และยังงมีสมาชิกโคกหนองนาโมเดล อีกทั้ง 11 ท่าน เข้ามาดูการเสวนา และ เยี่ยมชมนิทรรศการป้ายไวนิล ที่ทางผู้ปฏิบัติงานได้จัดไว้ ในการจัดงานในครั้งนี้ มีวิทยากรหลัก ๆ 7 ท่าน ได้แก่ พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง นางสาวกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ปลัด อบต. ตำบลหนองโสน อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม่หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์  นายสมชิต ไชยชาต พัฒนากรชุมชนชำนาญการ อำเภอนางรอง และ นางสาวดนุลดาธรรมนิยม สารวัฒกำนัน ตำบลหนองโสน กิจกรรมดำเนิน ไปจนถึงช่วงเที่ยงของวัน แล้วได้รับประทานอาหารกัน ก่อนที่ข้าพเจ้า และผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นจะเก็บของ และได้แยกย้ายกันกลับ ในช่วงเวลาต่อมา

จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในเดือนตุลาคมนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การทำโคกหนองนาจากการฟังนางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ(พี่อ๋อง) และนางสาวปรีดา  จรกระโทก(พี่แหม๋ว) เกี่ยวกับการทำโคกหนองนาว่าจริง ๆ แล้ว เราต้องมีใจรัก และอยากจะทำ พร้อมทั้งต้องมีเงินทุนจำนวนหนึ่ง การที่โคกหนองนาจะออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้นั่นเราต้องใช้เวลา แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งผลที่ได้ตามมานั่นจะคุ้มค่ากับตัวเราเอง การลงพื้นที่ในแต่ละครั้งข้าพเจ้าได้รับการต้อนรับจากพี่ ๆ น้า ๆ อย่างดี พร้อมทั้งได้ความรู้มากมายติดตัวกลับมา อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าต้องขอขอบพระคุณ นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ(พี่อ๋อง) และนางสาวปรีดา  จรกระโทก(พี่แหม๋ว) และนางธัญญาภรณ์ บุญรอด (เจ้าของสวนตายาย) ที่ได้ให้ความร่วมมือกับการทำกิจกรรมที่ลงไปเก็บข้อมูลไว้ ณ ที่นี้ด้วย และหากข้าพเจ้ามิได้เอ่ยชื่อใครที่ได้ให้การช่วยเหลือระหว่างลงพื้นที่ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยเช่นกัน

อื่นๆ

เมนู