ข้าพเจ้านางสาวอำพร รัตนาธิวัด ประเภทประชาชน

หลักสูตร : โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย สร้างรากแก้วให้ประเทศ

วันอาทิตย์ ที่ 17 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00น. ข้าพเจ้าอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานทุกท่านและเข้าร่วมการเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน โดยมีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้
1.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง
2.รศ. ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
3.อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
4.นายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
5.อาจารย์ดนัย สุริยวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.)
6.นางกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน
7.นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน
8.นางดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน
ร่วมด้วยเจ้าของแปลงทั้ง 11 แปลง และผู้ปฏิบัติงานทั้ง 3 หนอง ได้แก่ ตำบลหนองกง หนองยายพิมพ์ และหนองโสน
ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ถอดบทความของท่านปลัดกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ดังนี้
คำว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล แรกเริ่มทีก็จะเป็นศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งทุกคนก็เรียนมาเหมือนกันว่าในหลวงท่านมีดำริว่าอย่างไรเพียงแต่ว่าในยุคนี้เข้าสู่รัชกาลที่ 10 ท่านก็จะมีความคิดออกมาทางวัยรุ่นก็จะพัฒนาขึ้นมานิดนึง คำว่า โคกหนองนาโมเดลสิ่งที่ท่านพูดออกมาคำนึงวันที่ท่านขึ้นรับตำแหน่ง ท่านบอกว่าจะสืบสานรักษาและต่อยอดสิ่งดีๆที่พ่อทำไว้ คำว่า ทฤษฎีใหม่สมัยรัชกาลที่ 9 ก็คือ การจัดการพื้นที่ ที่ในหลวงท่านบอกว่าถ้าเรามีพื้นที่มาบริหารจัดการคือ 1.มีที่อยู่อาศัย 2.มีที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ปลูกข้าว แต่ตามจริงถ้าอย่างพวกเราที่เป็นนักศึกษาที่นั่งอยู่ตรงนี้ ที่ท่านทางพัฒนาชุมชนพูด ที่บอกว่า ทางเลือกสู่ทางรอด ทางเลือกของเรา ถ้าเราไม่ทำ ทุกคนที่พูดมามันจะไม่มีความสำเร็จนี่คือปัญหา ว่าเด็กๆยุคใหม่ที่กำลังจะเรียนจบซึ่งจะต้องมีชีวิตใหม่ ก็คือ มีอาชีพเป็นของตนเอง ต้องขอบคุณโควิดเพราะยุคนี้ปลัดมองว่าโควิด19 มันทำให้เราย้อนกลับไปสู่เกษตรวิถีเกษตรกรรม มันเหมือนกับว่าพอเราก้าวสู่โลกดิจิตอล อะไรมันก็เร็วไปหมด พอโควิดเข้ามาเหมือนกับว่าทุกคนสงบนิ่งหมดเลย ธรรมชาติมันลงโทษเรา เราทำกับธรรมชาติไว้เยอะและพอถึงเวลา อย่างเช่น คนในกรุงเทพกลับมาบ้านเรา ทำงานอยู่กรุงเทพ 2 ปีที่ผ่านมาว่าเกิดความบอบช้ำมันเป็นอย่างไร ทุกคนยังดีนะที่มีพี่น้องลูกหลานกลับมายังมีบ้าน มีที่ดิน มีอะไรให้ทำ แต่คนที่เกิดในกรุงเทพ ไม่มีที่ไร่ ที่นา ที่ทำกินเหมือนเรา อันนี้ก็น่าสงสารเขา แต่ตอนนี้ทางเลือกที่ว่าก็คือเราทำอย่างไรมันก็รอด รอดตรงที่ว่ามีกิน มีรายได้ ทำให้เราเกิดรายได้ตามมา จึงทำให้ชีวิตของเราเกิดความพอเพียง และเพียงพอ

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00-12.00น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมเข้าการรับฟังเสวนาออนไลน์เรื่อง Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน  โดยผู้ดำเนินการเสวนา ร.ศ มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประธานเปิดโครงการเสวนา อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ ผู้กล่าวรายงาน รศ.ด.ร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
เพื่อเผื่อแพร่ผลงานด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของมหาวิยาลัยราชภัฏเพื่อประสานเครือข่ายชุมชนที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ลงพื้นที่ร่วมกับพี่น้องชาวบ้านเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาต่อไปซึ่งคำว่าจตุรภาคีสี่ประสานเป็นคำที่กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยที่ทำงานในพื้นที่ชุมชนจะต้องเชื่อมประสานทั้ง 4 ฝ่ายคือ 1. มหาวิยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 2. ชุมชนวัดวาอาราม 3. หน่วยงานเอกชน 4. หน่วยงานราชการซึ่งเป็นการเชื่อมกันสี่ประสานนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
และทางคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่านได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลท์ในประเด็นQuadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ท่านที่1 นาย สุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาน ท่านนายกได้ใช้วิชาการร่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์มาทำเรื่องในการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนฉะนั้นการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนก็คือการเปลี่ยนแปลงคนเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ยั่งยืนก็คือเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงคนเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้นโดยใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐภาคเอกชนหรือประชาชนทุกคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านกลุ่มสตรีกลุ่ม อ.ส. ม กลุ่มเยาวชนแม้กระทั่งกลุ่มผู้สูงอายุทุกภาคส่วนจะต้องมาร่วมมือกันหรือเรียกว่าบวร วัด บ้าน โรงเรียน และก็จตุรภาคีสี่ประสานก็คือหน่วยงานหลักก็คือมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์เข้ามาขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนก็มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักเพราะว่าประชาชนต้องการอยากให้บ้านเมืองเจริญคมนาคมหนทางสะดวกน้ำไหลไฟสว่างฉะนั้นตรงนี้ก็จะพัฒนาไปเรื่อยๆๆแต่ในด้านการกินอยู่หรือปากท้องของปราชาชนทำอย่างไรจะให้ประชาชนอยู่ดีกินดีสิ่งแวดล้อมที่ดีระดับประเทศอยากให้ชุมชนอยากให้เทศบาลหรืออ.บตให้ทำzero west เพื่อที่ชุมชนจะหน้าอยู่ก็เลยทำมาประมาณ 5-6ปีเกิดประสบความสำเร็จได้รับรางวัลระดับประเทศเมื่อปี 2560 ของรัชกาลที่ 10 ใบแรกของท่านที่ได้รับพระราชทานดังนั้นสิ่งที่เป็นของขวัญที่ดีใจมากที่สุดคือเราทำให้ชุมชนหลายชุมชนรู้รักสามัคคีกันจริงๆๆการพัฒนาอย่างยั่งยืนถ้าประชาชนไม่รู้จักสามัคคีกันเราจะพัฒนายากมากไม่ว่าเรื่องใดๆๆที่ให้เขาเอาไปใช้หรือองค์ความรู้แก่ประชาชนนั้นๆๆยากมากว่าประชาชนแต่ละระดับมีทั้งยากจนหาเช้ากินค่ำทั้งข้าราชการจะต้องไปทำงานที่หน่วยงานต่างๆๆกระทั่งคนแก่ที่อยู่ในหมู่บ้านที่อยู่เฉยๆๆไม่ได้ทำอะไรบางคนก็ทำไร่ทำนาโดยการพัฒนาชุมชนเพื่อจะร่วมตัวกันได้ไป็นสิ่งที่ยากแต่ถ้าทำให้ประชาชนเข้าใจแล้วก็จะเป็นสิ่งง่ายขึ้นโดยเราจะต้องร่วมมือกันไม่ว่าหลวงพ่อผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนหรือกลุ่มต่างๆๆต้องร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาในชุมชน
ท่านนายกกล่าวว่าท้องที่กับท้องถิ่นจะไม่เหมือนกัน
ท้องที่คือนายอำเภอจะเป็นหัวหน้าพื้นที่ภายในเขตการปกครองส่วนภมูมิภาคได้แก่จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
ท้องถิ่นคือ มีผู้ว่าราชการจังหวัดนายอำเภอกำกับพื้นที่ภายในเขตปกครองของราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเช่นเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
ซึ่งท่านนายกได้กล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งคือต้องเปลี่ยนแปลงคนถือเป็นหัวใจหลักและสามารถนำไปใช้ในชุมชนคือ
1. รู้ ชาวบ้านทุกคนต้องรู้ว่าใครทำหน้าที่อะไร
2. รัก รักในบ้านเรารักในเมืองเรารักในองค์กรเรา
3. สามัคคี ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน
ท่านที่2 ร. ศ. ด. รประสาท เนืองเฉลิม มหาวิยาลัยราชภัฎมหาสารคามท่านพูดถึงเรื่องมติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมแนวคิด SDG เป็นแนวคิดที่สหประชาชาติได้กำหนดขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรให้การศึกษาให้คนมีความเท่าเทียมกันซึ้งการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีมองด้วยกัน 3มิติคือ 1. เรื่องทางสังคมที่มีความหลากหลายทางความคิดการปฏิบัติการใช้ชีวิตซึ่งมีผลกระทบเหล่านี้มาจากการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
และเป้าหมายปรัชญาในเรื่องการจัดการเรียนการสอนในอุดมศึกษาต้องมี 3 Lคือ
1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. ตัวสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน
3. โลกที่ผันผวนไม่สามารถทำนายได้กำหนดได้
4. การแข่งขัน
5. ด้านเศรษฐกิจทางเทคโนโบยีมีความรู้ต่างๆๆ
6. สิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมสูง
7. สันติภาพ
และการมีส่วนร่วมของ SDG เป้าหมายมีอยู่5 อย่างคือ
1. ขจัดความยากจน
2. ขจัดความหิวโหย
3. มีสุขภาพดี
4. มีการศึกษาที่เท่าเทียม
5. มีความเท่าเทียมทางเพศ
ท่านยังมีแนวทางข้อเสนอแนะ6ประการในเรื่องระบบการศึกษาให้สมดุลควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1. หลักสูตร
2. การจัดการเรียนการสอน
3. การประเมิณการเรียนรู้
4. การปรับความคิด
5. การเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา
6. การทำวิจัยคู่กับชุมชน
ท่านที่ 3 นายณัชอิสร์  ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์ ได้กล่าวไว้เรื่องSmart People คนต้องรู้จักทันโลกทันสถานการณ์จิตใจตัวเองตามให้ทันไม่ต้องล้ำหน้สควรมีการทิ้งระยะห่างโดยเฉพาะการขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยคือต้องสอนให้คนคิดเป็นทำเป็นรายวิชาต่างๆๆอาจอาจจะต้องเปลี่ยนไปเพื่อที่จะดึงและสอนคนเหล่านั้นให้ไปสู่ระบบสังคมการเป็นของรัฐ ชุมชน เอกชนส่วนในเรื่องของเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญวิชาดารเป็นเรื่องที่ต่างกันได้ต้องสามารถที่จะทำให้เป้าหมายเห็นภาพได้ชัดเจนและเป้านี้พร้อมที่จะเซ็คได้ว่าเป้า 1 ปี 2 ปี หรือ 20 ปี เป้าหมายสามารถแยกออกเป็น 3กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ไม่รู้อะไรเลยแต่หัวใจเต็มเปี่ยม
2. รู้บ้างแต่หัวใจเต็มเปี่ยม
3. รู้และทำได้แต่หัวใจเต็มเปี่ยมแต่ยังไม่ถึงถ้าสามารถแยกกลุ่ม 3กลุ่มหรือปรัชญา 3 S คือ Heart Head Hand
คือหัวใจ มันสมอง และสองมือ ถ้า3กลุ่มนี้ครบทั้ง 3กลุ่ม S มันจะเดินหน้าและขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่แต่ถ้าทั้ง 3กลุ่มขาด S ตัวหนึ่งเมื่อไรลำบากแน่เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างคนด้วยหัวใจการสร้างคนที่หัวใจจะเกิด Smart people ขึ้นคือใจต้องสู้มันเป็นเรื่องที่สำคัญถ้าใจไม่สู้เดินไปแบบไหนก็เดินไม่ได้แต่ถ้าใจสู้ล้มกี่ครั้งก็ลุกได้ลุกแล้วถ้าเจ็บก็ต้องฝืนได้ และในมหาวิทยาลัยจะต้องเอาคนที่มีหัสใจมาใส่ความรู้เอาคนที่มีความรู้หัวใจมาหาพื้นที่ในการลงมือทำแล้วกระจายพื้นที่ในการลงมือทำเข้าไปที่ภาครัฐ ชุมชน เอกชนและมหาวิทยาลัยถ้าผสมผสานเหล่านี้ได้จตุรภาคีจะเกิดขึ้นและแข็งแรงจึงทำให้ทุกภาคส่วนประสบความสำเร็จ
ท่านที่ 4 พ่อคำเดื่อง ภาษี
ท่านได้กล่าวไว้ว่าโลกของเราทุกวันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปมากถ้าเราไม่เอาเรื่องความร่ำรวยมาเริ่มต้นจากไม่อดไม่อยากได้ไหมไม่ต้องรวยมากแต่ทำให้เราไม่อดไม่อยากได้มันก็จะเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆๆได้แต่ก็ทำให้คนเรามีความสุขแต่นั้นมันคือการเริ่มต้นที่ไม่ดออยากก็คือทรัพยากรคือปัจจัย4ใครทำได้บ้างเช่นชุมชนแต่เมืองมันสร้างไม่ได้พื้นดินแผ่นดินทำได้ไหมแต่เราต้องมาปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพราะเราใช้วิธีคิดเก่าๆๆมันไปไม่ได้มันต้องเปลี่ยนความคิดมันเหมือนบังคับให้เราเปลี่ยนแต่ก่อนเราไม่ต้องเปลี่ยนเราไม่ต้องบังคับถ้าเปลี่ยนมันจะเริ่มต้นอย่างไรให้ชีวิตของคนเราดีขึ้นกว่าเดิมและทำให้โลกที่เราอยู่ในปัจจุบันอยู่ 3 อย่าง คือ 1. ทำในสิ่งที่ไม่รู้ 2. ทำในสิ่งที่ไม่รัก 3 ทำในสิ่งที่ไม่จบไม่อดไม่อยาก
ซึ่งทั้ง3อย่างนี้เราจะต้องปฏิบัติและพยายามทำให้ดีเพื่อที่จะทำให้คนเราได้มีชีวิตความเป็นอยู่ได้อย่างมีความสุขตลอดไป

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานประเภทกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม ในเวลา 10. 00น. มีทั้งหมด 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่บ้านระนามพลวง หมู่บ้านโคกสูง หมู่บ้านโคกน้อย ซึ่งในการเก็บข้อมูลมีทั้งหมด 10 หัวข้อดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้สนเนื่องจากสถานการณ์โควิด
2. แหล่งท่องเที่ยว
3. ที่พักโรงแรม
4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
6. เกษตรในท้องถิ่น
7. พืชในท้องถิ่น
8. สัตว์ในท้องถิ่น
9. ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ทั้ง3หมู่บ้านด้าน เกษตรกร ท้องถิ่นจะมีการปลูกข้าวหอมมะลิเป็นส่วนมากรองลงมาขยายพันธุ์ ก. ข. สัตว์เลี้ยงในท้องถิ่น ส่วนมากเลี้ยง กระบือ วัว ไก่พื้นเมือง
พืชในท้องถิ่นส่วนมากจะเป็นมะม่วง มะละกอ มะนาว กล้วย มะพร้าว แหล่งท่องเที่ยว กาแฟชาวนา
จากการลงพื้นที่ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักการดำรงชีวิตของชาวบ้าน
อาชีพต่างๆและสิ่งแวดล้อมในแต่ละหมู่บ้านและได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมการร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆๆให้ดีขึ้นจึงทำให้งานที่ได้รับหมอบหมายในแต่ละครั้งได้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีข้าพเจ้าขอขอบพระคุณทุกๆๆคนที่ให้ความร่วมมือจึงทำให้งานประสบความสำเร็จ
ขอขอบคุณค่ะ

อื่นๆ

เมนู