ข้าพเจ้า นางสาวอาทิตยา ราชสมบัติ  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดล ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564

ต่อเนื่องจากการลงบทความเดือนตุลาคมที่ผ่านมาวันที่ 16 ตุลาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ได้ลงพื้นที่เพื่อจัดเตรียมสถานที่ในการจัดงาน เสวนาเกษตรทถษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน  โดยทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้นัดรวมกัน 12.30 น. ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ซึ่งการนัดรวมกันในครั้งนี้ได้นัดรวมกันเพื่อปรึกษาหาลือเรื่องของการรับผิดชอบการถอดคำพูดของวิทยากร 7 ท่าน ได้แก่ 1.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง 2.นายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง 3.อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (มพต.) 4.นางกรุณา สวัสดิสิงห์ ปลัด อบต.หนองโสน 5.นางดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน 6.อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 7.รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ซึ่งการนัดรวมกลุ่มกันในครั้งนี้มีอุปสรรคคือเรื่องของบรรยากาศฝนที่ตกโปรยปรายลงมาตลอดการประชุมทำให้ผู้ปฏิบัติงานบางท่านมาช้าเพราะสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย หลังจากที่สรุปการประชุมเพื่อชี้แจงการรับผิดชอบถอดคำพูดของวิทยากรทั้ง 7 ท่านก็ได้ข้อสรุปดังนี้

1.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม  รับผิดชอบโดย นายวิษณุ นวลปักษี  นายพงศกร สุมงคล และนายรพีภัทร หรบรรพ์

2.นายสมชิต ไชยชาติ  รับผิดชอบโดย นางสาวปลิตา กุลวิเศษ นางสาวสิรภัทร ปักเขตานัง และนายภูมิภัทร ทองทัพไทย

3.อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี   รับผิดชอบโดย นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม และ นางสาวเบญญา นิยมเหมาะ

4.นางกรุณา สวัสดิสิงห์  รับผิดชอบโดย นางสาวอำพร รัตนาธิวัด  นางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง และนางสาววิลาวัลย์ โกเมน 

5.นางดนุลดา ธรรมนิยม  รับผิดชอบโดย นางสาวเบญจวรรณ  ศรีพนม  นายนนทกร บ่อไทย และนางสาววราพร จันทร์สุข

6.อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์   รับผิดชอบโดย   นางสาวนุชราภรณ์ ฤทธิ์ไธสง  นางสาวอาทิตยา ราชสมบัติ  และนายนัฐพงษ์  จันทร์คง

7.รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม    รับผิดชอบโดยนายกฤษณพงษ์ แถวประโคน  นางสาวกาญจนา ธุระทำ และนางสาวทิฆัมพร บุญรอด

8.นายมานพ บุญรอด เจ้าของแปลงที่จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ รับผิดชอบโดยนางสาวอาภาศิริ มาลา  นางสาวสุวนันท์ สีโกตะเพชร และนางสาวสุทธิดา เอ็มประโคน

หลังจากได้ข้อสรุปก็ได้ลงมือเริ่มทำการจัดเตรียมสถานที่การจัดงาน ซึ่งทีมผู้ปฏิบัติงานได้ทำการขนเก้าอี้ จัดผ้าบริเวณรอบๆงานและหน้าเวที กวาดทำความสะอาดสถานที่ซึ่งหลังจากที่ร่วมกันจัดสถาที่เตรียมความพร้อมเรียบร้อยก็ได้แยกย้ายกลับบ้าน

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติ U2T ตำบลหนองโสน ทุกคนได้มารวมตัวเวลา 08.00 น. เพื่อดูเช็คความเรียบร้อยอีกครั้งก่อนเริ่มงานเสวนาเกษตรทถษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนทุกท่านได้แยกย้ายประจำจุดการรับผิดชอบของตนไม่ว่าจะส่วนของจุดลงทะเบียน ส่วนของอาหารว่างพักเบรก ของรองรับ จุดเตรียมอาหารกลางวัน ซึ่งภายในงานได้มีผู้นำชุมชน ชาวบ้าน เจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลทั้ง 11 ท่าน และทีมผู้ปฏิบัติงานจากตำบลหนองยายพิมพ์ และตำบลหนองกง มาร่วมภาย งาน งานที่จัดในครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดีแม้สภาพอากาศจะมีฝนโปรยลงมาตลอดระยะเวลาเริ่มจนจบงาน หลังจากที่ร่วมรับฟังเสวนาจากวิทยากรทั้ง 7 ท่านได้แก่

1.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง

2.นายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง

3.อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (มพต.)

4.นางกรุณา สวัสดิสิงห์ ปลัด อบต.หนองโสน

5.นางดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน

6.อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

7.รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

เป็นที่เรียบร้อยก็ได้มีการมอบของที่ระลึกให้กับวิทยากรอีกด้วยหลังจากนั้นก็ได้ร่วมรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกันแต่ทั้งนี้ตลอดการร่วมกิจกรรมก็ยังคงอยู่ภายใต้การเว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัยในสถานการณ์โควิด-19 หลังจากร่วมรับประทานอาหารเป็นที่เรียบร้อยผู้มาร่วมกิจกรรมก็ได้ทำการแยกย้ายกลับบ้าน แต่ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนยังคงอยู่เพื่อเก็บสถานที่ให้เรียบร้อยก่อนที่จะแยกย้ายกันซึ่งทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้แยกย้ายกันเพื่อเก็บสถานที่โดยมีการแยกย้ายไปเก็บเก้าอี้เพื่อเตรียมนำไปจัดส่งกลับสถาที่ที่เอามา ได้ทำการจัดเก็บพับผ้าให้เรียบร้อยใส่ถุงให้เป็นระเบียบเพื่อส่งคืนสถานที่ ทำการล้างจาน ชาม ช้อน ที่นำมาใส่ในการรับประทานอาหารกลางวันที่ผ่านมา ทำการเก็บกวดขยะและจัดโต๊ะให้เป็นระเบียบตามเดิม หลังจากนั้นก็ได้แยกย้ายกลับบ้าน

วันที่ 25 ตุลาคม 2564  ในงานเสวนาเกษตรทถษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง ได้แยกหน้าที่ที่จะทำการถอดคำพูดการเสวนาของวิทยากรภายในงานทั้งหมด 7 คน ซึ่งทีมผู้ปฏิบัติงานก็ได้แยกหน้าที่จับกลุ่มเพื่อเตรียมถอดบทความเรียบร้อย  ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานอีก 2 ท่านได้แก่ นางสาวนุชราภรณ์ ฤทธิ์ไธสง และนายนัฐพงษ์  จันทร์คง ได้รับผิดชอบการถอดคำพูดการเสวนาของอาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานอีก 2 ท่านก็ได้ร่วมมือกันในการถอดคำพูดออกมาให้สมบูรณ์และได้ใจความที่สำคัญให้ครบมากที่สุด ซึ่งได้ใจความดังนี้

“ มาสรุปถอดบทเรียนความสำคัญว่าทำแล้วเกิดอะไรบ้างมาเลือกกันว่าอันไหนคือทางเลือก อันไหนคือทางรอดในยุค New Normal  ทฤษฎีใหม่มีอยู่ 3 ประเด็น 1.พออยู่  2.พอกิน  3.พัฒนาเพื่อจะทำธุระกิจการค้าเพื่อจะให้อยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข

เป็นทฤษฎีที่เราได้เรียนรู้มาแต่เราประยุกต์ทฤษฎีใหม่มาสู่โคกหนองนา จะทำยังไงให้เราได้ขยายสื่อให้กว้างใหญ่ไพศาลโดยเฉพาะนางรอง นางรองมีกลุ่มนางรักษ์สีเขียวเยอะแยะมากมายเขาได้ปลูกป่า ผมมองว่าอีก 30 ปีข้างหน้านางรองจะเป็นโอเอซิสของโลก คือเป็นขุมทรัพย์ของโลก ใครๆก็อยากมามั่นใจว่าไม่มีโควิดแล้วทุกคนต้องมา ผมมั่นใจทีมงานที่ถ่ายคลิปโคกหนองนาหลังจากถ่ายเสร็จตัดต่อเสร็จ 25 นาที ทุกท่านจะมีหน้าตาไปทั่วโลกซึ่งจะลง YouTube และเป็น 2 ภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งเค้าเห็นแล้วเค้าก็อยากมา มาตรงนี้ศูนย์การเรียนรู้ที่เดียวเค้าจะได้รู้ว่าโคกหนองนาอยู่ตรงไหนเพราะเราทำคลิป VDO ที่เป็นออนไลน์ ”

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมผ่านแอป U2T มีทั้งหมด 10 หัวข้อคือ

1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด

2.แหล่งท่องเที่ยว

3.ที่พัก โรงแรม

4.ร้านอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

6.เกษตรกรในท้องถิ่น

7.พืชในท้องถิ่น

8.สัตว์ในท้องถิ่น

9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น

10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมให้ครบครบถ้วนของตำบลหนองโสน ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ก็ยังคงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชาวบ้านในชุมชน ซึ่งต้องขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยคะ

พืช  เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่งอยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่มีพืชจำพวกปรสิตประมาณ 300 ชนิดที่ไม่สังเคราะห์ด้วยแสงเอง แต่เกาะดูดอาหารจากพืชชนิดอื่น

อริสโตเติลแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นพืช (โดยทั่วไปไม่เคลื่อนไหว) และสัตว์ (ซึ่งเคลื่อนไหวบ่อยครั้งและหาอาหารกิน) ในระบบของลินเนียสแบ่งเป็นอาณาจักร Vegetabilia (ภายหลังเป็น Metaphyta หรือ Plantae) และ สัตว์ (Metazoa) ตั้งแต่นั้นมาพืชได้มีรากฐานที่ชัดเจนทำให้หลาย ๆ กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างฟังไจและกลุ่มของสาหร่ายสีเขียวหลาย ๆ กลุ่มถูกย้ายไปอาณาจักรใหม่ อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่ยังคงมีการพิจารณาในหลายๆบริบทขึ้นอยู่กับวิธีการและความนิยม

เมื่อชื่อ Plantae หรือพืชเกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะในอนุกรมวิธาน ทั่วไปมันจะอ้างถึง 1 ใน 3 กลุ่ม ก็คือ:

สิ่งที่สามารถสังเคราะห์แสงได้เรามักเรียกว่าพืชได้อย่างไม่เป็นทางการ แต่เมื่อเราพิจารณาทางอนุกรมวิธานแล้วมันอาจไม่ใช่แม้กระทั่งญาติใกล้ชิดของพืชเลยก็ได้ มีพืชราวๆ 375,000 ชนิดและทุกปีมีการค้นพบและจัดจำแนกใหม่ๆโดยนักวิทยาศาสตร์

ข้อมูลอ้างอิงจาก  https://th.wikipedia.org/wiki

 ท้องถิ่น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2542 (2546:511)ให้ความหมายไว้ว่า ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นถึงลักษณะทางสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และทางธรรมชาติ ที่มีความเป็นขอบเขตเฉพาะพื้นที่นั้นๆ เป็นสำคัญและยังมีความหมายที่กำหนดขอบเขตของพื้นที่ระดับย่อยตามเขตการปกครองหรือเป็นหน่วยงานระดับรองไปจากหน่วยงานใหญ่ได้แก่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เป็นต้น   

คำว่าท้องถิ่นจึงขึ้นอยู่กับการจำกัดขอบเขตทางพื้นที่ดังกล่าวแล้วและเมื่อนำไปใช้ประกอบกับคำใดจะให้ความหมายเฉพาะเจาะจงในเรื่องนั้น เช่น ประเพณีท้องถิ่น พืชประจำท้องถิ่น  เป็นต้น     

เอกรินทร์  สีมหาศาลและปรีชา  นุ่มสุข ( 2540: 2 ) กล่าวว่า ” ท้องถิ่น ” หมายถึงการกำหนดขอบเขตพื้นที่ ขอบเขตความรับผิดชอบหรือหน่วยงานที่ปรากฎในท้องถิ่นต่างๆสภาพสังคม ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ระดับย่อยรองไปจากสังคมใหญ่          

สรุปได้ว่า “ท้องถิ่น “ หมายถึงถิ่นฐานที่อยู่ของมนุษย์ที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มหรือหน่วยของพื้นที่ย่อยลงมาตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เทศบาล จังหวัด ในทำนองเดียวกัน  

ถ้าจะกล่าวถึงท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นขอบเขตชุมชนใดชุมชนหนึ่งสิ่งที่เราควรพิจารณาก็คือสภาพของท้องถิ่นนั้นเป็นอย่างไร มีความเจริญก้าวหน้าหรือหล้าหลังเพียงใด ภาวะการครองชีพของผู้คนในชุมชนเป็นเช่นใด ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบพื้นฐานเฉพาะชุมชนนั้นๆ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจและลักษณะของการเมือง การปกครอง การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านศรษฐกิจ การเมือง สังคมรวมทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มจะพัฒนาจากประเทศเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรมให้มากขึ้น แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นต้องเตรียมประชากรของประเทศและท้องถิ่น พร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข  

ชุมชน คือ ราษฎรที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ไม่มีกฎหมายรองรับ

ท้องถิ่น คือ ราษฎรที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีกฎหมายรองรับ เป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น ดูแลทุกข์สุขของราษฎรในท้องถิ่น

ข้อมูลอ้างอิงจาก  https://sunisasae.blogspot.com/2013/02/blog-post.html

ดังนั้นพืชในท้องถิ่นจึงหมายถึงพืชผักต่างๆที่เติบโตอยู่ท่ามกลางถิ่นฐานที่อยู่ของมนุษย์ที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มหรือหน่วยของพื้นที่ย่อยลงมา

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 ข้าพเจ้าได้ร่วมเสวนาออนไลน์  เรื่อง Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

โดยก่อนเริ่มงานได้มีการกล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กล่าวบอกถึงที่มาของโครงการและกิจกรรมเสวนา จุดมุ่งหมาย  และเปิดพิธีงานเสวนาออนไลน์โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หลังจากทำการเปิดพิธีเรียบร้อยก็ได้เริ่มการเสวนาโดยพิธีกรได้แก่ผู้ช่วยศสาตราจารย์ ดร.คำภีรภาพ อินทะนู รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์

การเสวนาผ่านระบบ ZOOM  ผู้ดำเนินการเสวนาคืออาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์  เรื่องการพัฒนาท้องถิ่นเป็นการนำองค์ความรู้ทั้ง 4 ไปพัฒนาขับเคลื่อนกับชุมชน ผู้เสวนาท่านแรก

1.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทธา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาน  กล่าวว่า การพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ได้รับความร่วมมือจากทุกคน โครงงร้างพื้นฐาน การพัฒนาชุมชนถ้าชาวบ้านในชุมชนไม่มีความร่วมมือกันจะพัฒนายากมาก การพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งที่ยากแต่หากร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันแล้วจะดีมากและพัฒนาได้ง่ายขึ้น การพัฒนาอาจใช้ความสนิทสนมส่วนตัวเราอาจต้องลงพื้นที่ไปหาเค้าไม่ใช่รอให้เค้าเข้ามาหาเรา ใช้คำพูดยังไงให้ชุมชนเข้าใจและอยากเข้ามาร่วมมือกับเรา นำนักศึกษาลงไปฝึกงานและลงชุมชนเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน ยึดคำที่ว่า รู้ รัก สามัคคี

2.รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่าความหลากหลายจากการใช้ความคิด SCG พูดถึง 5 ด้านมายเซ็ต ได้แก่ขจัดความยากจน ความหิวโหยของประชาชน การศึกษาที่เท่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ เราไม่ได้ทำเพื่ออดีต เพื่อปัจจุบันแต่เราทำเพื่ออนาคต ข้อเสนอแนะ 6 ประการ หลักสูตร SCG ปรับให้เข้ากับธรรมชาติและสังคม -หลักสูตรต้องขายได้ -การจุดการเรียน การสอน (การเรียนรู้คู่ชุมชน)ความรู้บางอย่างเราต้องเรียนรู้จากชุมชน -การประเมินการเรียนรู้(มาจากการสัมภาษณ์ การนำเสนอ สอบถาม) -การปรับตัว ปรับความคิด -มหาวิทยาลัยต้องเรียนรู้จากชุมชน -ทำวิจัยคู่ชุมชน 6 ประเด็นหลักๆที่ผมนำเสนออยากให้เราลองปรับเปลี่ยนกับสถานการณ์ตอนนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด 1หลักสูตร 1 ชุมชน ต้องท่องว่าความรู้อยู่ที่ชุมชน เราไม่ใช่จะไปให้ความรู้กับชุมชนแต่เราต้องลงไปเรียนรู้กับชุมชน ความรู้ทุกคนต้องมีการปรับเปลี่ยน เราต้องเท่าทัน

3.นายณัชอิสร์  ศรีสุขพรชัย  ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์  ควรเลือกเรียนได้ เราไม่แก่เกินเรียนยังมีอีกหลายเรื่องที่เรายังไม่รู้ แนวคิดในการขับเคลื่อนประเทศ เราต้องยอมรับว่า “โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมแล้ว” ถ้ายังคิด ยังทำแบบเดิมมันช้าแล้ว เราไม่ควรยึดติดกับอะไรเดิมๆเราต้องเรียนรู้ แก้ไขและเดินหน้าไปด้วยกัน เราต้องสร้าง “สมาทพีเพิ้ล” เราต้องมองภาพที่ตรงกัน หากมองภาพที่มององค์กรต่างๆ แตกต่างกัน การขับเคลื่อนก็จะยาก เช่น การประชุมออนไลน์เราไม่สามารถรู้ว่าใครอยู่ที่ไหนแต่เราสามารถมารวมตัวกันเพื่อพูดคุยประชุมกันได้ นี่คือการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไปข้างหน้าการเรียนอาจจะเปลี่ยนไป ทำอย่างไรเราจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านๆนี้ได้ ทำอย่างไรจะเท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนการสอนเป็นการเชื่อมโยงโดยการใช้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อเรียนรู้และอยู่รอดในชีวิตที่ยังเรียนอยู่ “สมาทพีเพิ้ล” ผมคิดแบบนี้ว่า คุณต้องรู้ให้ทัน (ทันโลก สถานการณ์ คน จิตใจคน) เป้าหมาย=เรื่องสำคัญ ความรู้=ความแตกต่าง 3H หัวใจ,มันสมอง,2มือ คนไม่มีใจล้มกี่ครั้งก็ลุกไม่ได้แต่คนที่มีใจล้มกี่ครั้งก็ลุกขึ้นได้ ทฤษฎีความงาม “การเปลี่ยนหูข้างใหม่ เราจะไม่เปลี่ยนหูถ้าเรายังใช้หูข้างเดิม ใช้อะไรเดิมๆ เราต้องใช้หูข้างใหม่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ”

4.นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ ขับการพัฒนาที่ยั่งยืน สถานการณ์โควิดเป็นข้อสอบซึ่งทำให้เรารู้ว่าคนทั้งโลกสอบตก โลกยังเปลี่ยนไปทำไมคนถึงไม่เปลี่ยนแปลง เราอย่าไปหวนหาโลกใบเก่า การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม มีคน ชีวิตคน อยู่กับโลก ปรากฏว่าคนเกิดมาไม่รู้โลกรู้แต่ว่ามีทรัพยากรในโลก มีการแย่งชิงกัน เอาทุกอย่างออกมาใช้แต่ไม่ใส่คืน ซึ่งเราพาทแล้วเราทำอะไรได้เราสามารถสร้างพื้นที่เล็กๆของเราตัดความร่ำรวยแต่เราเลือกที่จะไม่อดไม่อยาก ไม่อดไม่อยากในที่นี้คือไม่อดอยากทรัพยากร ปัจจัย4 สำคัญ แต่เราเปลี่ยนวิธีคิดจากแบบเก่าๆประเทศไทยอยู่ในที่ร้อนชื้นซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรได้ก่อนประเทศอื่น ซึ่งชนบทเราสามารถปรับเปลี่ยนได้ก่อนในเมือง ค่าเงินของแต่ละประเทศต่างกันขึ้นอยู่กับผู้บริหารประเทศ กรรม 3 ของผม คือการกระทำ 3 อย่าง และทำ 3 อย่าง

การกระทำ  1.ทำในสิ่งที่ไม่รู้ 2.ทำในสิ่งที่ไม่รัก 3.ทำในสิ่งที่ไม่จบ

สิ่งที่ทำ    1.ทำในสิ่งที่เรารู้ 2.ทำในสิ่งที่เรารัก 3.ทำทุกอย่างให้จบ

5.รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวถึงชื่อเรื่อง เราทำงานกับชุมชนมาพอสมควร 4 ประสาน ปรับกับบริบทมหาวิทยาลัย  -พัฒนาแนวหน้าของโลก -พัฒนาชุมชนท้องถิ่น -พัฒนาปัญญา -ผลิตและพัฒนา  BCG เป้าหมายจตุรพาคีเป็นเป้าหมายของมหาวิทยาลัย การเชื่อม 4 แกน จะทำให้ฐานสำเร็จ

และก่อนจะปิดการเสวนาก็ได้มีการพูดสรุปความความรู้สึกและความสำคัญของการเสวนาดังนี้

ดร.สนัน กล่าวชื่นชมกับทีมงาน และติดตามการทำงาน 

รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม กล่าวว่าความคิด UN ต้องเรียนรู้ไปทำไปจะถูกหรือผิดชั่งมันต้องเสพข้อมูลที่เป็นจริง คิดแล้วก็ทำๆ ชีวิตต้องอยู่กับความสมดุลเอาความรู้ไปปรับใช้อย่างมีคุณค่า

นายคำเดื่อง ภาษี กล่าวว่าการพึ่งตนเองได้เป็นเรื่องสำคัญต้องมีรูปธรรมที่พึ่งตนเองได้จริง พึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเอง พึ่งพาตนเองสำเร็จก็จะไปสู่การพึ่งพากันเองขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น ความปลอดภัยมีมากขึ้นการพัฒนาก็จะมีเพิ่มขึ้น พื้นที่จะเพิ่มขึ้นทรัพยากรก็มากขึ้น 

หลังจากนั้นรศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอมก็ได้กล่าวขอบคุณวิทยากรและปิดการเสวนา

จากการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายนโดยส่วนใหญ่จะได้เข้าร่วมฟังการเสวนาผ่านทางสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเสวนาออนไลน์  เรื่อง Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และเสวนาเกษตรทถษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ถึงการปรับเปลี่ยนปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์โลกปัจจุบันให้มากยิ่งขึึ้นเพราะเนื่องด้วยสถานการณ์โควิดหรือนวัตกรรมสมัยใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนพัฒนาเพื่อความสะดวกสบายมายิ่งขึ้นทำให้จำเป็นต้องทำการเรียนรู้และเข้าถึง เข้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น ส่วนการลงพื้นที่ในครั้งนี้ก็ยังคงได้เรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกับผู้คน การพูดคุย ปรึกษา และการร่วมออกความคิดเห็นทำให้ข้าพเจ้ามีความกล้าแสดงออกทางด้านการเสนอความคิดเห็นและการรับฟังผู้อื่นมากยิ่งขึ้นทำให้มีความเข้าใจและมีความสามัคคีมากยิ่งขึ้น

 

 

 

อื่นๆ

เมนู