ข้าพเจ้า นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทองรอดในยุค New Normal” ณ ศูนย์เรียนรู้เศษรฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภายในกิจกรรมมีการเสวนาจากผู้รู้และผู้ชำนาญการการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล  ดังนี้ 1. พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม (เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง)  2. นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน) 3. นายสมขิต ไชยชาติ (พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง)  4. รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม (คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  5. อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี (นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ บพด.)  6. นางดนุลดา ธรรมนิยม (สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน)  ดำเนินการเสวนา โดย อาจารย์ชมฑ อิสริยาวัฒน์ (รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) หลังจากได้รับฟังการเสวนาจบอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน แบ่งกลุ่มสรุปประเด็น ถอดบทเรียนจากการเสวนาจากวิทยากรดังกล่าว ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ถอดบทเรียนการเสวนาของอาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี (นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ บพด.) สรุปได้ดังนี้ “สำหรับผมชื่อในตำแหน่ง นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) เป็นฟั่นเฟือนเล็กๆที่มีโอกาสได้ร่วมขับเคลื่อนศาสตร์ของพระราชาโคกหนองนาโมเดลให้ประสบความสำเร็จ ให้เกษตรกรที่ได้ร่วมโครงการประสบความหวังตามที่คาดหวังเอาไว้” อาจารย์ดนัยได้เล่าต่อว่า “สำหรับวันนี้จะได้มานำเสนอในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ได้ปฏิบัติ ก็คือ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ นพต. มีหน้าที่ส่งเสริมทางด้านวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชา การทำงานตามหลักกสิกรรมธรรมชาตินั่นเอง ทำยังไงดินในพื้นที่ของเราจะใช้ไงได้ ทิศทางที่เราทิศทางที่เราจะสร้างปศุสัตว์เราจะทำยังไงก็รวมอยู่ในนี้หมดเลย นอกจากจะเป็นทางด้านวิชาการแล้ว เราก็ให้ความร่วมมือทางด้านพละกำลังด้วย เราจะร่วมปฏิบัติไปควบคู่กับครัวเรือนต้นแบบ ซึ่งจะมีเครือข่ายด้วย โดยการปฏิบัติงานของนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ นพต.นั้น ก็จะเริ่มจากการลงไปดูพื้นที่เหมาะสมหรือเปล่า ทิศทางลม ดิน น้ำ ไฟ ลมมาทางไหน น้ำไหลมาทางไหน แล้วก็จะไปวางแผนเอาไว้ ว่า สระจะวางไว้ตรงไหน ที่พักอาศัยจะวางไว้ตรงไหน แล้วก็จะไปคุยกับครัวเรือนมาแล้วออกแบบพื้นที่มา แล้วก็จะไปถอดสแกนตามแบบที่เราคาดหวังเอาไว้ หลังจากนั้นเราก็จะมาเริ่มกับครัวเรือน ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง บนโคกหลังจากขุดสระเสร็จแล้ว เหมือนดังที่ท่านหัวหน้าได้พูดไปแล้วนั้นว่า ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มีอะไร และก็ป่าไม้ 5 ระดับ ซึ่งในสิ่งที่เราเน้นที่สุดก็คือ หลักกสิกรรมธรรมชาติ โดยการให้ครัวเรือนนั้นมีการถมดิน คือ สร้างดินให้มีชีวิตนั้นเอง เพราะว่า ท่านได้บอกเอาไว้ว่า การที่ทำให้ดินมีชีวิตนั้นเราจะต้องสร้างจุลินทรีย์ ที่อยู่จุลินทรีย์ ซึ่งพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านบอกไว้ว่า “ในหินนั้น ในทรายนั้นมันก็มีอาหารของพืชอยู่เพียงแต่มันไม่มีจุลินทรีย์ เพราะจุลินทรีย์ตัวเขาเองจะมีกรดอยู่ใช้กรดตัวนั้นผสมกับน้ำไปย่อยหิน ไปย่อยทราย ย่อยอินทรียวัตถุให้มาเป็นอาหารของพืช เพราะฉะนั้น ท่านจึงบอกว่าให้เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช” ทฤษฎีที่เราใช้ 9 ขั้น ซึ่งท่านบอกให้ทำตามลำดับ อย่าไปทำลัด อย่าไปทำเอาขั้นที่ 9 เลย ก็มีหลายท่านที่เห็นเขาทำมันเป็นกระแส อยากทำ มีเงินมีทอง ลงทุนทำเลย มีต้นไม้จ้างคนงานมาปลูกไม่พอ 2 เดือน ต้นไม้หายหมด แต่ของเราทำทีละขั้น ทีละตอน เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำตามกำลังของเรา 

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาเรื่อง Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่าน Zoom Meeting การเสวนามี 3 หัวข้อ คือ 1. Zero Waste การจัดการขยะเหลือศูนย์  2. SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. Smart People เข้าร่วมกิจกรรมเสวนา Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา ดังนี้ 1. นายคำเดื่อง ภาษี (ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์) 2.รองศาตราจารย์ ดร. ประสาท เนืองเฉลิม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) 3. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา (นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน) 4. นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย (ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์) 5. รองศาตราจารย์ ดร. อัครพันท์ เนื้อไม้หอม (คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ภายในกิจกรรมเสวนา Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนได้รับเกียรติจากรองศาตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ภายในกิจกรรมเสวนาได้เชิญวิทยากรที่มีความชำนาญการเรื่องปราชญ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่น มีคุณค่าและสร้างมูลคุณค่าให้ทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เน้นโดดเด่น เรื่องของการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น ร่วมกับการบริการของวิชาการและมาตรฐานในการเรียนการสอนที่เราจัดขึ้น ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ (รองคณบดีฝ่ายพันธ์กิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) การเปิดเสวนาเรื่อง Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน นำองค์ความรู้ทั้งสี่ภาคส่วน ไปขับเคลื่อนชุมชนและนำองค์ความรู้ทั้งหมดแบบบูรณาการเพื่อไปพัฒนาชุมชน ตามยุทธ์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ การเสวนาเรื่อง Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยวิทยากรท่านแรกที่เริ่มเสวนา คือ นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา (นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน) ในหัวข้อเรื่อง Zero Waste การจัดการขยะเหลือศูนย์ นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา ได้เล่าว่า “การพัฒนาชุมชมให้ยั่งยืน ให้มีการเปลี่ยนแปลงคนและเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้นโดยให้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน หรือประชาชนทุกคนในชุมชนให้มีส่วนร่วม  เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่ม อสม. กลุ่มสตรี เป็นต้น มีโครงสร้างพื้นฐานให้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองที่เจริญก้าวหน้า คมนาคม การเคลื่อนที่ติดต่อถึงกัน เช่น ถนน ทางน้ำ ไฟสว่างเป็นต้น  ให้ความสะดวกแก่ประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งระดับประเทศอยากให้ชุมชนหรือเทศบาลทำ Zero Waste เพื่อทำให้ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น และทำมา 5-6 ปี โดยได้รับรางวัลระดับประเทศเมื่อปี พ.ศ.2560  รับถ้วยรางวัลและเงินรางวัล 50,000 บาท ทางมหาวิทยาลัยฯ ส่งนักศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมมาฝึกงาน ที่เทศบาลตำบลอีสานและพัฒนาร่วมกัน เพื่อทำการแก้ไขและร่วมมือร่วมใจทำให้เทศบาลตำบลอิสานได้รับรางวัล การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเพิ่มจำนวนประชากร ต่างส่งผลต่อปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในทุกๆ ปี แบบที่เราแทบไม่รู้ตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของแนวคิด Waste หรือการทำให้ขยะเหลือศูนย์ ด้วยการเลือกใช้วัตถุที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ได้ใหม่ ลดปริมาณของเสียที่จะทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปจนถึงการบริโภคให้พอดี ใช้เงินอย่างคุ้มค่า” วิทยากรท่านที่สอง รองศาตราจารย์ ดร. ประสาท เนืองเฉลิม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) ได้เล่าว่า “เสวนาในหัวข้อเรื่อง SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs สหประชาชาติให้แนวคิด การทำอย่างไรให้การศึกษาเท่าเทียมกัน เท่าเทียม (Equality) ความเสมอภาค (Equality) เราใช้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คนไหนมีความสามารถมากเราให้มาก สหประชาชาติพูดถึง Sustainable Development Goals หรือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนมี 3 มิติ มิติที่ 1 เรื่องสังคม Society  ปัจจุบันมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เช่น วิถีการใช้ชีวิต สังคมไทย ทางความคิด ทางการศึกษา เป็นต้น  การศึกษาจะเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต มิติที่ 2 สมรรถนะ (Competency)  เป็นปรัชญาของการเรียนการสอน ต่อไปจะไม่เน้นแค่เนื้อหาวิชาอย่างเดียว เหล่านักศึกษาต้องไปอยู่กับสังคมในชุมชนหาปัญหาและแก้ปัญหาโดยตนเอง มิติที่ 3 (Disruption) คือ โลกที่มันพันพรวนไม่สามารถกำหนดได้” วิทยากรคนที่สี่นายคำเดื่อง ภาษี (ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์) เสวนาในหัวข้อเรื่อง วิชาชีวิต และวิทยากรคนที่สี่ นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย (ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์) เสวนาในหัวข้อเรื่อง Smart People ได้เล่าว่า “เริ่มการเสวนาและการแลกเปลี่ยน การที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โลกใบนี้จะไม่เหมือนเดิม ขณะที่ทรัพยากรจำกัด การส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีระบบการขนส่ง ใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ มีสุขพลานามัยที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ สะดวก สะอาด ปลอดภัย จึงเป็นสิ่งจำเป็น อาจจะกล่าวโดยสรุปได้ว่าเราต้องการ “ยกระดับคุณภาพชีวิต” ของประชากรเพื่อรองรับสังคมในอนาคต Smart City หรือเมืองอัจฉริยะเป็นกระแสของโลก เป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับเมืองให้มีความน่าอยู่มากขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองได้อย่างรวดเร็ว การเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเพื่อช่วยพัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับพื้นที่ มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความปลอดภัย”  

เดือนพฤศจิกายนได้ลงพื้นที่พร้อมด้วยทีมงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ณ บ้านโคกตะโก หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูล 10 หัวข้อใน Applications. U2T ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลผ่าน Applications. U2T ในพื้นที่บ้านโคกตะโก  หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม.ในชุมชนวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดอย่างเคร่งครัด การลงพื้นที่เก็บข้อมูล 10 หัวข้อในApplications. U2T ได้แก่ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก/โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่นเพิ่มเติม และเก็บข้อมูลของ 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) ประจำเดือนตุลาคม โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม มีหัวข้อมูลการเก็บข้อมูลจำนวน 4 หัวข้อ ดังนี้ 1. แบบสำรวจชุดที่ 1สำหรับที่พักอาศัย  2. แบบสำรวจชุดที่ 2 สำหรับตลาด  3. แบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน  4. แบบสำรวจชุดที่ 4 สำหรับโรงเรียน การเก็บข้อมูลในครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งงานเก็บข้อมูลคนละ 40 ครัวเรือน ซึ่งในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี

 

 

อื่นๆ

เมนู