หลักสูตร: HS02เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดลตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายกฤษณพงษ์ แถวประโคน ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์

โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 80 คน ได้แก่กลุ่มผู้ปฏิบัติงานกลุ่มตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองโสน และตำบลหนองกง และประชาชนในพื้นที่

โดยมี ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL

และผู้ร่วมเสวนาได้แก่ พระครูสุทธิพัฒนาภิรม (เจ้าอาวาสวัดหนองตาไก้พลวง) , นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง , นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง (อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน) , อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี , นางดนุลดา ธรรมนิยม , (สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน) , รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  (คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์), ปลัด กรุณา, ผู้ดำเนินการเสวนา อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ ( รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)  และเจ้าของแปลงโคกหนองนาอีก 10 คน ร่วมรับฟังและถ่ายทอดความรู้ในครั้งนี้ด้วย

และเมื่อกิจกรรมเสร็จเป็นที่เรียร้อยแล้วข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานหนองโสนก็ร่วมกันเก็บกวาดสถานที่ทำกิจกรรม ทำความสะอาดบริเวณศูนย์การเรียนรู้ เป็นเก้าอี้และจัดทุกอย่างให้เป็นเหมือนเดิม โดยทุกคนต่างร่วมด้วยช่วยกันเป็นอย่างดี จึงทำให้กิจกรรมในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

โดยหลังจากกิจกรรมดังกล่าวสำเสร็จลุล่วงไปแล้ว ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานหนองโสน ได้รับมอบหมายให้ถอดบทเรียนจากเสวนาดังกล่าว โดยแบ่งกันออกเป็นทั้งหมด 7 ทีม ในการถอดบทความในครั้งนี้

โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ถอดบทเรียนจาก ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม (คณบดี คณะมนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) โดยท่านกล่าวว่า

“ถ้าย้อนกลับไปเมื่อสมัยรัชการที่9ยังทรงพระชน ทุกท่านคงเคยเห็นภาพอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ชื่อ พัน กี-มุน (Ban Ki-moon) เป็นชาวเกาหลีใต้ เคยเข้าเฝ้า ในหลวง ร.9 อยู่บ่อยครั้ง และก็มีการพูดคุยกันจึงนำไปสู่การตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการ UN  นั่นคือ SDGs ซึ่งย่อมาจาก Sustainable Development Goal นั้นก็คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดกับ ร.9 ร.9 ท่านก็คิดหาทางออกให้กับประเทศ ตอนนั้นประเทศไทยก็พยายามอย่างหนักที่จะก้าวเข้าไปเป็นเสือตัวที่5ของเอเชีย ซึ่งเขาเรียกว่าเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียตัวที่5  ในหลวงคิดว่าประเทศไทยยังไม่จำเป็นต้องไปถึงจุดนั้น อย่าลืมว่าเบื้องหน้าเบื่องหลังของประเทศไทยคือประเทศเกษตรกรรม เพราะฉะนั้นประเทศไทยจะอยู่รอดได้ ก็ต้องอาศัยการทำเกษตรกรรม อย่างพึ่งไปเป็นเสือเลย เสือคือประเทศที่เป็นอุตสาหกรรม แต่ประเทศไทยยังไม่ใช่ จึงเกิดการนำไปสู่การคิดค้นทฤษฎีมากมายด้านการเกษตร เพราะเกษตรกรรมทำให้คนอยู่รอดในโลกนี้ได้ เพราะทุกคนต่างต้องกินข้าว ในยุค New Normal เห็นได้ชัด คนไปไหนไม่ได้ ถ้าไม่มีอาหาร ไม่มีผลไม้ตุนไว้ ก็อยู่ไม่ได้  คนต้องอยู่ต้องกิน เพราะฉะนั้นเกษตรทฤษฎีใหม่

และกล่าวถึงโครงการ ป่ารักน้ำ จะพูดอยู่  2 เรื่องคือ ป่ากับน้ำ เพราะป่ากับน้ำจะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง  ป่ากับน้ำ จะนำไปสู่การทำให้เกษตรเกิดความยั่งยืน มีน้ำหล่อเลี้ยงข้าวปลา ทำให้มีปลา มีกุ้ง มีหอยอุดมสมบูรณ์ ป่ากับน้ำจึงมีความสำคัญ  ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบรมราชินี พันปีหลวงจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ในหลวงก็คิดทฤษฎีมาตลอดจนนำไปสู่ทฤษฎีด้านการเกษตรซึ่งเรียกว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ มีหลายโครงการเยอะมากเป็น 40-50 ทฤษฎีและนำไปสู่โคงการมากมายที่สอดคล้องกันนำไปสู่การพัฒนาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน”

วันที่ 28 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการเสวนาผ่านระบบออนไลน์ เวลา 09:00 น. เรื่อง (Quadruple Helix) จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

โดยมีท่าน รองศาสตราจารย์ มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการ

โดยการเริ่มให้ความหมายของ จตุรภาคีสี่ประสานหรือQuadruple Helix คำนี้เป็นคำที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยนวัตกรรมได้ใช้ในการดำเนินการนโยบายเรื่องพลิกโฉมมหาวิทยาลัยซึ่งสอดคล้องกับ SCG ขององค์การสหประชาชาติและเป็นไปตามตัวชี้วัดว่ามหาวิทยาลัยถ้าจะทำงานในพื้นที่ชุมชนจะต้องเชื่อมประสานกับ 4 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จตุรภาคีดังกล่าว มี 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2.ชุมชน วัดวาอาราม 3.หน่วยงานเอกชน 4.หน่วยงานราชการ

โดยได้ผู้ทรงวุฒิจำนวน 4 ท่าน มาร่วมการเสวนาในครั้งนี้ คือ

1.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทธา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาน

2.รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม

3.นายณัชอิสร์  ศรีสุขพรชัย  ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์

4.นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์

 

1.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทธา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาน กล่าวถึงเรื่องของเรื่องของสังคม ว่าสังคมในปัจจุบันมีความหลากหลาย ดังนั้นการพัฒนาชุมชนจึงเป็นไปได้ยาก จะต้องอาศัยการร่วมมือร่วมใจของคนในสังคม และต้องเกิดการเชื่อใจและไว้ใจซึ่งกันและกัน และมีความพร้อมที่อยากจะร่วมมือกัน ดังนั้นเราจึงต้องสร้างสื่งเหล่านี้ก่อน จึงจะทำให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปได้ดี

คือ ตัวสรรถนะ หรือ Competency   หมายถึง ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จําเป็นในการ
ปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสําเร็จและมีความโดดเด่นก่วาคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม ดังนั้นการศึกษาเราจึงต้องเข้าไปศึกษาด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง แก้ใขปัญหาด้วยตัวเอง  ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้จากตำราเรียนอย่างเดียว

เรื่อง โลกที่มันผันผวน คือ ไม่สามารถทำนายได้ สมัยอดีตในหลวงท่านได้ตรัสไว้ตั้งแต่ ร9. รวมไปถึงแนวคิดต่างประเทศด้วยไม่ว่าจะเป็นของ โทมัสคุก เขาพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกระบวนทัศใหม่

2.รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่าความหลากหลายจากการใช้ความคิด SCG พูดถึง 5 ด้านมายเซ็ต ได้แก่ขจัดความยากจน ความหิวโหยของประชาชน การศึกษาที่เท่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ เราไม่ได้ทำเพื่ออดีต เพื่อปัจจุบันแต่เราทำเพื่ออนาคต ข้อเสนอแนะ 6 ประการ หลักสูตร SCG ปรับให้เข้ากับธรรมชาติและสังคม

3.นายณัชอิสร์  ศรีสุขพรชัย  ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า แต่ก่อนอนเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า “โลกใบนี้มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว”ต้องพูดซ้ำๆให้นักเรียนนักศึกษาฟังด้วย และสิ่งที่ท่านจะพูดต่อไปนี้ท่านจะกลั่นกรองจากสิ่งที่เราเป็นอยู่แล้วเราเห็นภาพซ้ำๆ “โลกใบนี้มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว” ถ้าเรายังคิดอะไรแบบเดิม ทำอะไรแบบเดิม มันช้า มันเปลี่ยนไปเร็วมาก มันเปลี่ยนไปจนชนิดที่ว่า เราต้องเรียนรู้เรียนรู้เพื่ออยู่กับมัน แล้วก็ไม่ยึดติดกับเรื่องเดิมๆ เราเห็นอะไรใหม่ๆ เราต้องพร้อมเพื่อจะปรับตัวแล้วก็เดินแก้เกมอะไรใหม่ๆ    ซึ่งต่างคนต่างอยู่ก็มาอยู่ในที่เดียวกัน ณ จุดนี้ได้ไม่จำเป็นต้องเปิดห้องเรียน เห็นไหมว่าโลกมันเปลี่ยนไป แล้วการเปลี่ยนแปลงนี้จริงๆแล้วมันเป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีมานานแล้วแต่เราพึ่งมาใช้กันในช่วงที่ว่า New normal แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ New  มันเป็นสิ่งที่ normal ที่เราไม่ได้ normal ซึ่งมันมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ normal แบบนี้ มันไม่ใช่เรื่องใหม่เลย

4.นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ ขับการพัฒนาที่ยั่งยืนกล่าวว่า สถานการณ์โควิดก็เป็นเหมือนข้อสอบ ที่คนทั้งโลกสอบตก เราอย่าไปหวนหาโลกใบเก่า การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม มีคน ชีวิตคน อยู่กับโลก ปรากฏว่าคนเกิดมาไม่รู้โลกรู้แต่ว่ามีทรัพยากรในโลก มีการแย่งชิงกัน เอาทุกอย่างออกมาใช้แต่ไม่ใส่คืน ซึ่งเราพาทแล้วเราทำอะไรได้เราสามารถสร้างพื้นที่เล็กๆของเราตัดความร่ำรวยแต่เราเลือกที่จะไม่อดไม่อยาก ไม่อดไม่อยากในที่นี้คือไม่อดอยากทรัพยากร ปัจจัย4 สำคัญ แต่เราเปลี่ยนวิธีคิดจากแบบเก่าๆประเทศไทยอยู่ในที่ร้อนชื้นซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรได้ก่อนประเทศอื่น ซึ่งชนบทเราสามารถปรับเปลี่ยนได้ก่อนในเมือง ค่าเงินของแต่ละประเทศต่างกันขึ้นอยู่กับผู้บริหารประเทศ

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นU2Tซึ่งได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื้องจากสถานการณ์โควิด  พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น อาหารประจำถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น ฌ หมู่บ้านในตำบลหนองโสน

ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื้องจากสถานการณ์โควิดนั้นมีค่อนข้างมากน้องจากตกงานประจำที่ทำอยู่ หรือโรงงานสั่งปิดกระทันหนันจึงต้องกลับมาอาศัยอยู่บ้าน และเมื่อกลับมาต้องแจ้งกับผู้ใหญ่บ้าน และกักตัวอย่างน้อย14วัน 

พืชในท้องถิ่นส่วนมากก็จะเป็นพืชทั่วที่ชาวบ้านปลูกไว้เพื่อนำมารับประทาน เช่นกล้วย มะนาว ผักสวนครัวต่าง ๆ 

สัตว์ในท้องถิ่น โดยส่วนมากจะเป็นสัตว์เลี้ยงของคนในหมู่บ้าน เลี้ยงไว้เพื่อขายหรือประกอบอาหาร เช่น วัว ควาย ไก่ ซึ่งประชาชนในพื้นที่เลี่ยงไว้เพื่อขาย ซึ่งพบเห็นได้หลังคาเรือนโดยส่วนมากจะเสียงสัตว์ เป็นเพศเมียเพื่อไว้ใช้เป็นแม่พันธุ์

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลหนองโสนนั้นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบมากเลยคือการทอผ้า ซึ่งจะมีทั้งทอผ้าไหม และทอผ้าได้ ซึ่งพบเห็นได้หลายครัวเรือนและยังมีการทอเสือและสารไซอีกด้วย

เกษตรกรในท้องถิ่น โดยการเก็บข้อมูลนั้นข้าพเจ้าได้ทำการเดินสำรวจถามประชาชนในหมู่บ้านเกี่ยวกับข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่น โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้นปลูกข้าว เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย เนื่องจากราคาข้าวในปัจจุบันราคาไม่ดี จึงทำให้รายได้เฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรจึงมีไม่มาก

อาหารประจำถิ่น ไม่มีอาหารประจำถิ่นที่เห็นได้แน่ชัด มีเพียงอาหารอีสานที่รู้จักกันเป็นปกติ เช่น ส้มตำ ลาบ ก้อย หมก น้ำพริกปลาร้า อื่น ๆ

แหล่งน้ำในท้องถิ่น พบแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่หน้าหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านไว้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ

อื่นๆ

เมนู