ข้าพเจ้า นายนัฐพงษ์ จันทร์คง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดล ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2564
กิจกรรมวันที่ 17 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. ได้ทำกิจกรรม “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” โดยมีผู้ร่วมจากทางตำบล หนองกง และหนองยายพิมพ์ ทั้งนี้ยังได้เชิญผู้ที่จะมาให้ความรู้และเสวนาทั้ง 7 ท่าน ได้แก่
1. พระอาจารย์ทองใส หรือพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง
2. นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน
3. นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง
4. รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
5. อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี
6. นางดนุลดา ธรรมนิยม
7. อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
และ สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน ก็ได้เข้าร่วม กิจกรรมในวันนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งช่วงเวลาประมาณ 09.30 น. โดยทั้งนี้เนื้อหาโดยรวมที่ทาง ท่านผู้เสวนาทั้ง 7 คนได้ให้ความรู้แนวคิดเนื้อหาหลักๆจะเป็นเรื่องที่การตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการ UN นั่นคือ SDGs ซึ่งย่อมาจาก Sustainable Development Goal นั้นก็คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งอดีตเลขาธิกาสหประชาชาติ ชื่อ พัน กี-มุน (Ban Ki-moon) เป็นชาวเกาหลีใต้ เคยเข้าเฝ้า ในหลวง ร.9 อยู่บ่ายครั้งและได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดกับ ท่านรัชกาลที่ ๙
ท่านรัชกาลที่ ๙ ท่านก็คิดค้นหาทางออกให้กับประเทศตอนนั้นประเทศไทยก็พยายามอย่างหนักที่จะก้าวเข้าไปเป็นเสือตัวที่5ของเอเชียซึ่งเขาเรียกว่าเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียตัวที่5 ในหลวงคิดว่าประเทศไทยยังไม่จำเป็นต้องไปถึงจุดนั้นอย่าลืมว่าเบื้องหน้าเบื่องหลังของประเทศไทยคือประเทศเกษตรกรรม เพราะฉะนั้นประเทศไทยจะอยู่รอดได้ก็ต้องอาศัยการทำเกษตรกรรม อย่างพึ่งไปเป็นเสือเลย เสือคือประเทศที่เป็นอุตสาหกรรมแต่ประเทศไทยยังไม่ใช่ จึงเกิดการนำไปสู่การคิดค้นทฤษฎีมากมายด้านการเกษตรเพราะเกษตรกรรมทำให้คนอยู่รอดในโลกนี้ได้ เพราะทุกคนต่างต้องกินข้าว ในยุค New Normal เห็นได้ชัดคนไปไหนไม่ได้ ถ้าไม่มีอาหาร ไม่มีผลไม้ตุนไว้ ก็อยู่ไม่ได้ คนต้องอยู่ต้องกินเพราะฉะนั้นเกษตรทฤษฎีใหม่จึงเหมาะอย่างยิ่งในทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะในยุคข้าวยากหมากแพงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต พระบรมราชินีนาถ บรมราชชนนี พันปีหลวง ได้กล่าวไว้ในตอนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังมีชีวิตอยู่ว่า “ในหลวงเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า”ท่านมีความผูกพันในเรื่องของธรรมชาติกับในหลวงมานานถึงกับได้ตรัสไว้ว่า ในหลวงเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่าจึงนำไปสู่โครงการป่ารักน้ำ และนี่แหละที่เป็นที่มาของตรงนี้ โครงการป่ารักน้ำ จะพูดอยู่ 2 เรื่องคือ ป่ากับน้ำ
เพราะป่ากับน้ำจะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง ป่ากับน้ำ จะนำไปสู่การทำให้เกษตรเกิดความยั่งยืนมีน้ำหล่อเลี้ยงข้าวปลา ทำให้มีปลา มีกุ้ง มีหอยอุดมสมบูรณ์ ป่ากับน้ำจึงมีความสำคัญ ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบรมราชินี พันปีหลวงจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก
ในหลวงก็คิดทฤษฎีมาตลอดจนนำไปสู่ทฤษฎีด้านการเกษตรซึ่งเรียกว่าเกษตรทฤษฎีใหม่มีหลายโครงการเยอะมากเป็น 40-50
ทฤษฎีและนำไปสู่โคงการมากมายที่สอดคล้องกันนำไปสู่การพัฒนาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นจากภูผาสู่มหานทีก็คือจากโคก ให้น้ำไหลลงมาเกิดความอุดมสมบูรณ์และกรมการพัฒนาชุมชนได้น้อมนำทฤษฎีโคกหนองนา หรือบ้านเราเรียกว่า หนองนาโนนทฤษฎีมาจากภาษาอังกฤษ เรียกว่า Theory คำนี้ตกผลึกมาจากคำว่า Thought คือแนวความคิดฉะนั้นจะมาเป็นทฤษฎีได้ความคิดต้องตกผลึก ทฤษฎีใหม่เป็นทฤษฎีที่ตกผลึกแล้ว ในหลวงท่านเป็นต้นเรื่ององทฤษฎี ลักษณะตอนนั้นเขาเรียกว่า ฟ้าร้อง
ฟ้าร้องแต่ไม่รู้ฝนจะตกหรือไม่ตก ในหลวงท่านร้องอยู่นาน แต่ไม่ตกท่านเลยได้คิดโครงการในพระราชดำริ ออกมา นั่นคือฟ้าร้องนำไปสู่ฝนตกหรือเรียกสั้นๆอย่างที่ทุกคนชินหูกันว่า โครงการฝนเทียมนั้นเอง ซึ่งเนื้อหาหลักๆจะมีประมาณนี้ นอกนั้นจะเป็นผลตอบรับที่ได้จากการทำโคกหนองนาและแนวคิดแบบอื่นๆอีกเล็กน้อย
กิจกรรมวันที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. – 14.30 น. ได้นัดรวมตัวกันลงพื้นที่เก็บข้อมูลลงในแอพพลิเคชั่น U2T ซึ่งมีพืชพันธุ์ดังต่อไปนี้ ต้นออร่าส้ม ต้นเดหลี ต้นบกโขด ต้นชำ ต้นคุณนายไฮโซ ต้นเล็บครุฑด่าง ต้นนางกวัก และอื่นๆโดยจะยกตัวอย่างพร้อมอธิบายลักษณะและคุณประโยชน์ประมาณ 2-3 ชนิด ดังนี้
1. ต้นนางกวัก ชื่อภาษาอังกฤษ Buddha’s Hand, Chinese Taro, Elephant Ear ชื่อวิทยาศาสตร์ Alocasia cucullata (Lour.) G.Don ความหมาย เป็นไม้หัวขนาดเล็ก ลำต้นเรียวยาว ใบมีสองสี คือสีเขียวกับสีดำเงา จัดอยู่ในกลุ่มไม้มงคลที่มีความเชื่อว่าถ้าปลูกไว้ในบ้าน จะช่วยเรื่องโชคลาภ กวักเงินกวักทองเข้าบ้าน และยังช่วยดูดสารพิษภายในบ้านได้อีกด้วย ความเชื่อ ถ้าบ้านไหนปลุกไว้จะช่วยนำเงินทองมาให้เจ้าของบ้าน และผู้อยู่อาศัยให้ร่ำรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป ราคาโดยเฉลี่ย(กล้าไม้,เมล็ดพันธุ์,ไม้ล้อม) แล้วแต่ขนาดและรูปทรง โดยเริ่มต้นที่ 80 บาทจนถึง 350 บาท หรือต้นนางกวักยืนต้น ราคาประมาณ 55,000 บาท
2. ต้นบกโขดหรือบักบกโขด เป็นไม้ล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ไม้โขดคืออะไร ไม้โขดเป็นไม้ที่มีลักษณะเหมือนขอนไม้ หรือบางพันธุ์เหมือนเท้าช้าง กระดองเต่า แล้วมีกิ่งใบแตกออกมาเป็นฟอร์มที่สวยงาม ปัจจุบันไม้โขดกลายมาเป็นไม้ประดับตกแต่งบ้านออฟฟิศ บนโต๊ะทำงานมากขึ้น นอกจากเรื่องความสวยงามแล้วไม้โขดบางชนิดยังมีสรรพคุณทางยา และบางคนก็เชื่อว่าไม้โขดเป็นไม้มงคลบัวบกโขด หนึ่งในพรรณไม้ประเภทไม้โขด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Stephania erecta Craib อยู่ในวงศ์ Menispermaceae เป็นพืชสกุลเดียวกันกับสบู่เลือด แต่ไม่ใช่ไม้เลื้อย เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดิน ชอบแสงแดดรำไร น้ำน้อย บัวบกโขดนั้นบางทีก็เรียกว่าบัวบกป่า หรือบัวบกหัวลักษณะของบัวบกโขดคือมีหัวลักษณะเป็นก้อนกลมเหมือนหิน หรือหัวมันแกว เวลาปลูกเพียงนำหัวไปวางไว้ในภาชนะปลูกโดยฝังหัวไว้ใต้ดิน จากนั้นก้านจะโผล่ขึ้นมาและแตกใบออกมาเป็นใบทรงกลม การปลูก “บัวบกโขด” บัวบกโขดชอบแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมากเพราะมีหัวที่สะสมอาหารไว้เลี้ยงลำต้นและใบอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ควรปลูกบัวบกโขดในวัสดุที่สามารถระบายน้ำได้ดี ไม่ว่าจะเป็นดินผสมกาบมะพร้าว เวลาปลูกให้ฝังหัวของมันลงไปในดินประมาณครึ่งหัว เนื่องจากบัวบกโขดไม่ชอบน้ำมากจึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย 2-3 วันครั้งก็เพียงพอ โดยรดไปให้ทั่วกระถาง อย่าเจาะจงรดเฉพาะหัวของมันเท่านั้นเพราะหัวอาจจะเน่าได้ นอกจากบัวบกโขดแล้วยังมีไม้โขดอื่นๆ เช่น ปรงญี่ปุ่น,ปรงเม็กซิกัน, มะยมเงิน มะยมทอง, บอระเพ็ดพุงช้าง, ไทรหัวโสม, เสน่ห์นางพิมพ์,ตำลึง, ชวนชม เป็นต้น
3.ต้นเล็บครุฑด่าง ตามความเชื่อในสมัยโบราณเชื่อกันว่าต้นเล็บครุฑเป็นต้นไม้มงคล ปลูกไว้เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดีและสิ่งอัปมงคลต่างๆ ช่วยปกป้องภัยอันตรายให้แก่เจ้าของบ้าน อีกทั้งปลูกไว้เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับบ้านของเราและผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ปลายใบของต้นเล็บครุฑมีลักษณะคล้ายกับเล็บของพยาครุฑ ทิศที่ควรปลูกต้นเล็บครุฑคือทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบ้านแต่ถ้าพื้นที่ไม่อำนวยก็ปลูกทิศไหนก็ได้เอาเราที่สะดวก ต้นเล็บครุฑ (อังกฤษ: Polyscias) เป็นไม้ยืนต้นมีมากกว่า 114 ชนิด ขึ้นเป็นพุ่มสูงประมาณ 1- 3 เมตร ใบมีลักษณะงองุ้มคล้ายเล็บครุฑแต่ลักษณะของใบและขนาดขึ้นอยู่กับพันธุ์ของต้นเล็บครุฑด้วย เช่น ใบของเล็บครุฑลังกา ใบจะมีขนาดใหญ่ทรงกลม มีสีเขียวเข้มเป็นผิวมัน ใบงอขึ้นคล้ายถ้วยชาวบ้านนึกนิยมนำมาใส่อาหาร บางพันธุ์ใบจะมีลวดลายสวยงาม เช่น เล็บครุฑด่าง และเนื่องจากมีลำต้นที่ไม่สูงนักจึงนิยมปลูกในกระถาง หรือจะปลูกลงดินตกแต่งสวนก็สวยงามไม่น้อยใครที่สนใจต้นไม้ขนาดเล็กปลูกไม่ยากจะปลูกในกระถาง ในสวน หรือปลูกริมรั้ว ต้นเล็บครุฑก็เป็นต้นไม้อีกทางเลือกหนึ่งแถมเป็นไม้มงคลปลูกไว้ได้คุณค่าทางด้านจิตใจอีกต่างหาก ราคาต่อต้นก็ไม่แพงก็จบไปแล้วนะครับสำหรับเรื่องราวของต้นเล็บครุฑ ต้นไม้มงคล
กิจกรรมวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น.ได้เข้าร่วมงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านระบบ Zoom มีผู้ดำเนินการเสวนา นายชมพู อิสรียาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีวิทยากรผู้ร่วมเสวนาดังนี้ 1. นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบบุรีรัมย์ 2. รศ.ดร. ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3. นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ 4. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทธา นายกเทศบาลมนตรีตำบลอีสาน 5. รศ.ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์และ รศ.มาลีนี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ประธานเปิดโครงการเสวนา ทั้งนี้โดยจะนำยกตัวอย่างบุคลากรที่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจมา 2 ท่าน ดังนี้
1.รศ.ดร. ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แนวคิดของ SCG เป็นแนวคิดของสหประชาชาติได้กำหนดขึ้นมาว่าจะทำยังไงให้การศึกษาให้คนมีความเท่าเทียมกันซึ่งคำนี้มีคนใช่บ่อยแต่ก็เกิดความคลาดเคลื่อน คำว่าเสมอภาคตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3 มิติ หลายประเด็น ได้แก่
ประเด็นที่ 1. ก็ว่าด้วยเรื่องของทางสังคม คือ Society สังคมในปัจจุบันมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทยหรือต่างประเทศ มีความหลากหลายทางความคิดความหลากหลายของวิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้ชีวิตซึ่งผลกระทบเหล่านี้มาจากเรื่องของเทคโนโลยีเรื่องการศึกษา แนวคือทดลอง Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งก็ตรงตามยุคสมัยใหม่
ประเด็นที่ 2. คือในเรื่องของตัวสมรรถนะคือ competency คือไม่เน้นเนื้อหาวิชาอย่างเดียว แต่จะต้องเอาคนไปอยู่กับชุมชนสังคมด้วยซึ่งเขาต้องเจอเรื่องของประเด็นปัญหาอะไรก็แก้ปัญหาด้วยตัวเขาเอง
ท่านรัชกาลที่ ๙ ท่านก็ตรัสไว้เสมอว่า “เราไม่ได้ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์แต่ละกำลังต่อสู้กับความยากจน”เห็นภาพชัดเลยว่าท่านบอกว่านี่คือ แนวคิดเรื่องของ SCG เน้นเรื่องของการขจัดความยากจนและความหิวโหยนี่คือ 2 ประเด็นหลักเลยที่ SCG พูดถึง ส่วนประเด็นที่ 3 ก็เป็นเรื่องของการมีสุขภาพที่ดี แล้วก็แนวคิดที่ดีคือการศึกษาที่เท่าเทียม แนวคิดของ SCG คือจะพัฒนาคนให้เกิดความเท่าเทียมและเกิดความสมดุลและเกิดความยั่งยืนนั้นคือชีวิต ก็เป็นแนวคิดที่ UNESCO รวมทั้ง Un ด้วย พูดถึงก็คือหลักสูตรหนึ่งในทางวิชาการหรือว่า ซุปราชนิกูลล่ำ Su ter มีหลายระดับมันมีซุปมีระดับแม็คโครมีโอไมโครนาโน แนะนำผู้เรียนเป็นหลักสูตรระดับโลกสู่ระดับโลกนี้ Un ก็คือหลักสูตร SCG นั้นเอง ก็คืออยากให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีนะครับร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลและได้อย่างยั่งยืน
2.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ Smart sity เรื่องนี้คือเรื่องใหญ่ กับการจะปรับเปลี่ยนได้ทั้งจตุรภาคี และชุมชนต้องมองเห็นภาพนั้น และที่สำคัญมหาวิทยาลัยหรือผู้ที่จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้ไปทุกๆส่วนต้องเห็นภาพนั้น เหมือนกันทั้งหมดจึงทำให้การที่จะขับเคลื่อนองค์กร หรือขับเคลื่อนประเทศ หรือขับเคลื่อนชุมชน เป็นไปได้ยากซึ่งดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีแบบแผนตามแนวคิดของราชการที่๙หรือเรียกสั้นๆก็ได้ ปรัชญาพอเพียงของรัชกาลที่ ๙ ไม่ได้ไปวิ่งเต้นเข้าไปหาสู่ระบบของทุนนิยม อยู่แบบพอเพียงแบบนี้ก็เป็นไปได้ มีหลายองค์กรหลายความรู้ที่จะสามารถที่จะอยู่รอดได้ในความรู้ต่างๆจึงทำให้คนรู้แบบนั้น เรียกว่าสมัคร People People ไม่ใช่จำเป็นที่จะต้องมาเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างเดียวแต่ให้ความจำกัดความของ Smart ที่พูดได้คือคุณต้องรู้ให้ทำทันคน ทันใคร ทันโลก ทันสถานการณ์ ทันจิตใจตัวเอง โดยเฉพาะการขับเคลื่อนของภาคของมหาวิทยาลัยคือเราต้องสอนให้คนคิดเป็นทำเป็นปรับตัวได้ เพื่อที่จะดึงอักษรคนเหล่านั้น ให้เข้าไปสู่ระบบสังคม ไปสู่การเป็นคนของรัฐไปสู่การเป็นคนของชุมชนไปสู่การเป็นคนของเอกชน สรุป keyword คือเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญวิธีการเป็นเรื่องที่ต่างกันได้มันต้องสามารถที่ทำให้เป้าหมายเห็นภาพให้ชัดเจนแล้วเป้านี้พร้อมที่จะเช็คได้ว่าเป้า 1-20 ปีเป็นหลักตามการคาดหมายถ้าไม่มีอะไรผิดไปจากที่ระบุเอาไว้แนวคิดนี้จะทำให้ประชาชนได้มีการใช้ชีวิตที่มีความสุขมากยิ่งขึ้นและอาจจะไม่ต้องสร้างหนี้สินขึ้นมาเป็นภาระอีกต่อไป