1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS02 - ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง
  4. HS02:กิจกรรมการเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลและเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ประจำเดือนพฤศจิกายน2564

HS02:กิจกรรมการเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลและเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ประจำเดือนพฤศจิกายน2564

ข้าพเจ้านายนนทกร บ่อไทย ประเภทประชาชน รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 โดยข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564 ดังต่อไปนี้

          เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนและยังมีผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์และตำบลหนองกงได้เข้าร่วมกิจกรรมเวทีเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลทางเลือกทางอยู่รอดในยุค New Normal โดยมีผู้ร่วมเสวนา ทั่งหมด 7 ท่าน ดังนี้

1.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้ผลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง

2.นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายกองค์การบริหารส่งนตำบลหนองโสน

3.นายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการ อำเภอนางรอง

4.อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ

5.นางดมุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน

6.รองศาสตราจารย์ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์

7.อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ ผู้ดำเนินการเสวนา

          กิจกรรมการเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลทางเลือกทางอยู่รอดในยุค New Normal ข้าพเจ้ากับสมาชิกประเภทประชาชนอีกจำนวน 2 ท่านได้รับมอบหมายให้สรุปถอดคำพูดของคุณดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน : วันนี้มาเป็นตัวแทนของครัวเรือนที่ได้รับการทำโคกหนองนาจากพัฒนาชุมชนอำเภอนางรองโดยในส่วนตัวทางครอบครัวก็มีแนวคิดที่จะทำโคกหนองนาอยู่แล้วโดยไม่ทราบว่าโครงการโคกหนองนาเนี่ยจะมีจริงหรือเปล่าซึ่งทางเราก็เป็นชาวบ้านกไม่คิดว่าจะมีโครงการโคกหนองนาหรือเปล่านั่นพอได้รับทราบมาว่ามีโครงการนี้เราก็สนใจทุกอย่าง ทีนี้ก็คิดแล้วแหละว่าจะมาเมื่อไรเมื่อไรจะได้ทำเพราะมีความสนใจเป็นอย่างมาก โดยพื้นที่ส่วนตัวเองที่ผ่านมาก็พบแต่ปัญหาความแล้งจนขนาดที่ว่าเลี้ยงวัวไม่มีน้ำให้วัวกิน ต้องขนน้ำหรือไปหาน้ำบริเวณใกล้เคียงเพื่อที่จะเอาไปให้วัวกินจนทางครอบครัวของเราก็คิดแล้วว่าจะทำยังไงถึงจะได้มีน้ำ ทำไมมันแล้งขนาดนี้ ทำนาก็ไม่ได้กินเมื่อ 4-5ปีที่แล้วแล้งหมดเลยขาดทุนทุกอย่างเลย มีอย่างเดียวที่เห็น ในสวนที่อยู่ตรงนั่น คือ กล้วยส่วนดินก็เป็นดินผสมหินขาว ปลูกอะไรก็ไม่ได้กินเลยนอกจากกล้วยอย่างเดียว พอหลังจากเข้ารับการอบรมทุกคนเข้าไปที่นั่นก็เหมือน เหมือนโดนล้างสมองเลยเข้าไปล้างสมองเลย จากที่ไม่ค่อยรู้ก็รู้มากขึ้น ได้เพื่อน ได้แชร์ประสบการณ์ ดินไม่ดีไม่ได้เกี่ยวกับจะปลูกต้นไม้ ในหลักสูตรการอบรมมีวิชาการให้เราได้เรียนรู้ทุกสภาพดินแก้ไขได้หมดและกลับมาที่ตำบลหนองโสนได้มี แรงผลักดันให้ครัวเรือน ทำให้มันดีขึ้นไป เรื่อย ๆ ณ ตอนนี้ก็มีศูนย์การขายของมันก็ทำให้คนที่ทำโคกหนองนา หรือเกษตรกรทั่ว ๆ ไป ทุกคนในตำบลเหมือนจะมีกำลังใจขึ้นมาว่าถ้าทำแล้วเราก็มีที่ขาย มีอยู่ มีกินขึ้นเห็น ๆ เลย ในพื้นที่ ตอนนี้ผลผลิตได้แล้วได้กินได้ใช้ ปลูกผัก ปลูกบวบได้กิน ปลาก็ตัวโตได้กินแล้ว แบ่งปันกับญาติพี่น้องแบ่งปันกับคนที่เขาซื้อทั้งแจกทั้งแถมขอพูดเป็นรวม ๆเลยแล้วกันทุกส่วนมีส่วนร่วมในการผลักดันที่ทำให้เกิดตรงนี้ขึ้นมาจริง ๆ และอีกอย่างการทำโคกหนองนาจากพื้นที่ ที่ไม่มีอะไรเลย เริ่มจากการขุดก็มีแค่ดินแห้ง ๆ  แล้วมาสู่ภาพที่เขียวชอุ่มขนาดนี้ ถ้าไม่ทำไม่ลงมือทำไม่ลงทุน ไม่ลงแรง ไม่ยอมตากแดดตากลม ไม่ได้ขนาดนี้

กล้วย  ที่นิยมรับประทานกันในบ้านเรานั้นมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุก เป็นต้น แต่สำหรับต่างชาติแล้วกล้วยที่นิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกล้วยหอม เนื่องจากกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ถ้าพูดถึงเรื่องประโยชน์แล้วมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุชัดเจนว่าการรับประทานกล้วยแค่ 2 ลูกจะช่วยเพิ่มพลังงานในร่างกายได้เทียบเท่ากับการออกกำลังกายถึง 90 นาทีเลยทีเดียว ! เพราะกล้วยอุดมไปด้วยน้ำตาลจากธรรมชาติรวมถึง 3 ชนิดเลย นั่นก็คือ ซูโครส กลูโคส และฟรุกโทส ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายนั่นเอง

ประโยชน์ของกล้วย

  1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
  3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
  4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
  5. ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
  6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
  7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
  8. หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
  9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
  10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ

  รูปภาพกิจกรรมเวทีเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลทางเลือกทางอยู่รอดในยุค New Normal

        

         เมื่อวันที่  28  ตุลาคม พ.ศ. 2564  เวลา 09.00 – 12.00 น. ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม “โครงการอบรมจตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ผ่านระบบออนไลน์แอพพลิเคชั่น  Zoom Meeting เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้

1.นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์

2.รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

3.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ

4.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์

5.รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู  อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

            รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า“เป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน” มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยองค์การสหประชาชาติแบ่งทั้ง 17 ข้อ โดยมี 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม People ที่ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คนกลุ่ม Prosperity ที่ว่าด้วยเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุมกลุ่ม Planet ที่ว่าด้วยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่ม Peace ที่ว่าด้วยเรื่อง สันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม กลุ่ม Partnership ที่ว่าด้วยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

           นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ  กล่าวว่า การพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน คือ การเปลี่ยนแปลงคน ชุมชนให้ดีขึ้นโดยใช้ความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน คนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับชุมชน แต่เน้นด้านความเป็นอยู่ของประชาชนจะทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการจัดทำชุมชนปลอดขยะเพื่อทำให้ชุมชนหน้าอยู่มาขึ้นและ เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทำให้เกิดภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ และเกิดความสามัคคีกันภายในชุมชน

            นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า เมื่อโลกเปลี่ยนไป แต่ทำไมเรายังไม่เปลี่ยนแปลง คนเรามักจะทำแต่สิ่งเดิม คือ รู้ว่ามีทรัพยากร อากาศ น้ำ ก็พากันไปแย่งชิงกันนำออกมาใช้ ไม่ปลูกเพิ่มหรือทดแทนเข้าไปทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เกิดปัญหาก็ต้องมองหาวิธีแก้ไข โดยเริ่มต้นจาก “ไม่อดไม่อยาก” ไม่อดไม่อยากอะไร ไม่อดไม่อยากทรัพยากร ปัจจัย 4  เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อน คนส่วนใหญ่จะกระทำ 3 อย่าง คือ ทำในสิ่งที่ไม่รู้ ทำในสิ่งที่ไม่รัก ทำแล้วไม่จบ ในทางกลับกันถ้าเราทำในสิ่งที่เรารู้ ทำในสิ่งที่รัก ทำแล้วจบ จะทำให้เราไม่อดไม่อยาก พอมี พอดีและรู้จักแบ่งปัน ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

           นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมแล้ว ถ้าเรายังคิดอะไรแบบเดิมมันช้า เราต้องพร้อมที่จะปรับตัว เริ่มจากเราต้องสร้าง Smart People จะต้องรู้ให้ทัน ตามให้ทัน ทันจิตใจ ทันโลก ก้าวเข้าสู่การเป็น Smart City เราต้องมองภาพเดียวกันมีเป้าหมายเดียวกัน วิธีการต่างกันได้ แต่รัฐ เอกชน มหาลัย ชุมชน ต้องมองภาพเดียวกัน ถ้าคนสามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่รู้แต่หัวใจเต็มเปลี่ยม กลุ่มที่รู้บ้างแต่หัวใจเต็มเปลี่ยม กลุ่มที่รู้และทำได้แต่ยังไม่ถึงเป้าหมาย 3 กลุ่มนี้ เปรียบเหมือนปรัชญา 3 กลุ่มนี้จะเดินหน้าขับเคลื่อนได้อย่างไร ถ้าขาดหัวใจ ดังนั้นเราต้องสร้างคนที่หัวใจ แต่สิ่งสำคัญมีหัวใจ มีความรู้ แต่ไม่ลงมือทำทุกอย่างจะเป็นศูนย์ จึงจำเป็นที่นำคนที่มีหัวใจ มีความรู้และพร้อมลงมือทำมาร่วมกันพัฒนาชุมชน

           รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม กล่าวถึง ความหมายของ จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” เป็นการปรับบริบทของกลุ่มมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมาย คือ การสร้างและพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 การสร้างองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนประเทศ และการทำงานแบบจตุรภาคี คือ 1.มหาวิทยาลัย 2.ภาครัฐ 3.เอกชน 4.ชุมชน เพื่อสร้างแนวทางของกลุ่มเพื่อเชื่อมโยงกันกับแนวทางการศึกษา SCG เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ และนำมาปรับใช้ในการพัฒนาการขับเคลื่อนชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกภาคส่วนให้เข้ามาพัฒนาร่วมกัน การสร้างชุมชนสามัคคี เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา การร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนา การทำความเข้าใจกับผู้คนที่อยู่ในชุมชน การพัฒนาที่อาจต้องใช้ความสนิทสนมส่วนตัวด้วย เช่น การลงพื้นที่เข้าหากลุ่มชาวบ้านเพื่อพูดคุยให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบประเด็นปัญหาที่เป็นสภาพจริงของชุมชน นำมาวิเคราะห์และหาทางแก้ไขให้กับชุมชน ให้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ในด้านแนวคิดเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยน จตุรภาคีสี่ประสาน เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ

รูปภาพกิจกรรมการอบรมจตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

       

                  เมื่อวันที่ 2 และ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 กระผมและทีมงานกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่น u2t โดยมีการจับพิกัดข้อมูลและสอบถามชาวบ้านในพื้นที่โดยก่อนจะลงสำรวจยังได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม.ในชุมชนเป็นอย่างดีและในส่วนของผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชนก็ปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีทั้งหมด 10 หัวข้อในการสำรวจข้อมูล ดังนี้

1.ข้อมูลผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด                         6.เกษตรกรในท้องถิ่น

2.ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว                                                           7.พืชในท้องถิ่น

3.ข้อมูลที่พัก/โรงแรม                                                              8.สัตว์ในท้องถิ่น

4.ร้านอาหารในท้องถิ่น                                                             9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น

5.ข้อมูลอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น                                              10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

ในส่วนของการลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลรายตำบล CBD ในแอพพลิเคชั่น U2T เพิ่มเติม ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนตำบลหนองโสน ทำให้ทราบว่าในตำบลหนองโสนก็มีสัตว์เลี้ยงหรือพืชต่างๆที่มีมากมายหลายอย่างและยังมีวัฒนะรรมที่ดีในท้องถิ่นอีกด้วย

สัตว์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีความรู้สึกและสามารถเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เองสัตว์สามารถแบ่งได้เป็น ชนิด ได้แก่ สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ

พืชหลากหลายประเภทมากมายหลายอย่างจะแยกได้ประมาณ 3 ประเภทที่พบเห็นมีดังนี้

1.พืชสวน หมายถึง พืชที่ต้องการการดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด มีขอบเขตในการปลูกที่แน่นอน
2.พืชไร่ หมายถึง พืชที่ปลูกโดยใช้เนื้อที่มาก ๆ มีการเจริญเติบโตเร็ว ไม่ต้องการการดูแลรักษามากเหมือนพืชสวน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกเช่น ข้าว  อ้อย   มันสำปะหลัง เป็นต้น 
3.ป่าไม้ ป่าไม้เป็นส่วนหนึ่งของการเกษตร เป็นเรื่องเกี่ยวกับพืชเช่นกัน แต่วัตถุประสงค์ในการทำการเกษตรชนิดนี้แตกต่างจากพืช ป่าไม้ 

รูปภาพการลงพื้นเก็บข้อมูล

   

            การปฏิบัติงานของข้าพเจ้าในเดือนพฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มประชาชน ตำบลหนองโสน ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในพื้นและยังสนุกกับการลงพื้นที่ทุกๆครั้งในการลงแต่ละครั้งชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีในพื้นที่ตำบลหนองโสน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์จึงต้องป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด COVID-19 และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัดทำให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

วีดิโอประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

 

อื่นๆ

เมนู