1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS02 - ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง
  4. HS02 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่น U2T เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาออนไลน์เรื่องจตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

HS02 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่น U2T เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาออนไลน์เรื่องจตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

HS02 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่น U2T เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาออนไลน์เรื่องจตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 

ข้าพเจ้า นางสาวนุชราภรณ์ ฤทธิ์ไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)หลักสูตรเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล(HS02)

การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน มีดังต่อไปนี้ ถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรมเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือก ทางรอดในยุค New normal ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง  เก็บข้อมูลเพิ่มเติมลงแอพพลิเคชั่น U2T ในส่วนหัวข้อที่เก็บยังไม่ครบ ถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์เรื่อจตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 

      วันที่ 17 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงาน ต่อเนื่องจากการจัดกิจกรรมเสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือก ทางรอดในยุค New normal ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง ให้ผู้ปฏิบัติงานถอดบทเรียนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งได้มอบหมายให้ช่วยกันถอดบทเรียนการเสวนาในครั้งนี้แล้วนำไปส่งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้มีทั้งหมด 7 ท่านได้แก่ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา พระครูสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นางสาวดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน ซึ่งข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีกหนึ่งท่าน ได้ถอดบทเรียนของผู้ดำเนินการเสวนา คือ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์  โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ “กราบนมัสการพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งท่านเป็นที่เข้าร่วมขับเคลื่อนงานนี้  ท่านที่สอง นายสมชิต ไชยชาติ  นักวิชาการชำนาญการ อำเภอ นางรอง อาจารย์ดนัย  สุริยะวงศ์ศรี นพต.ที่ร่วมกันขับเคลื่อนงาน  ปลัดกรุณา  สวัสดิ์สิงห์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน  สารวัตรกำนัน นางสาวดนุลดา  ธรรมนิยม และรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครับ การเสวนาครั้งที่เกิดมาจากเกิดมาจากการดำริของท่านคณบดีและก็ทีมงานของเราเมื่อเราทำแล้วต้นน้ำกลางน้ำมาจนถึงปลายน้ำ เราจะทำอะไรต่อไป ทั้งนี้ก็จัดเวทีเพื่อจะให้ทุกคนได้เห็นว่างานที่เราทำมันเกิดอะไรบ้าง ผมได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานไปสัมภาษณ์เจ้าของแปลงโคกหนองนาทุกท่าน ผมเห็นแล้วรู้สึกมีความสุขเพราะเห็นว่าแต่ละท่านบอกว่า มีรายได้จากการทำโคกหนองนา เดือนละ 1,000 2,000 3,000 ดังนั้นวันนี้เราจะพูดเรื่องการถอดบทเรียนในการเสวนาชื่อว่า เกษตรทฤษฎีใหม่สู่โคกหนองนาโมเดลทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าอันไหนคือทางเลือกอันไหนคือทางรอดในยุคใหม่ ซึ่งผมพูดตอนแรกว่าเมื่อเรามาถึงยุคนี้เราจะทำอย่างไรกับชีวิต เราจะมาฟังแต่ละท่านว่าแต่ละท่านจะพูดยังไงในทฤษฎีใหม่ทุกคนจะรู้แล้วว่าทฤษฎีใหม่มีอยู่ 3 ประเด็น คือ 1. เรื่องพออยู่ 2.เรื่องพอกิน 3. พัฒนาเพื่อจะทำธุรกิจการค้าเพื่อจะให้เราอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุขอันนี้คือสิ่งที่เป็นที่ดีที่เราได้รับเรียนรู้มาแต่เราประยุกต์ทฤษฎีใหม่มาสู่โคกหนองนา จะทำยังไงให้พวกเราได้ได้ขยายสิ่งนี้ให้มันกว้างใหญ่เผยแพร่ให้ผู้คนได้รับรู้โดยเฉพาะนางรองมีกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวเยอะแยะ เขาปลูกป่า มองว่าอีก 30 ปีข้างหน้านางรองจะเป็นโอเอซิสของโลก เป็นขุมทรัพย์ของโลก ใครๆก็อยากมา ผมมั่นใจว่าหลังจากที่ไม่มีโควิด 19 แล้วทุกคนต้องมา ผมมั่นใจทีมงานที่ทำครับถ่ายคลิปโคกหนองนา หลังจากตัดต่อเสร็จ 25 นาทีทุกท่านก็มีหน้าตาไปทั่วโลกซึ่งจะส่งลง YouTube แล้วก็เป็น 2 ภาษา ภาษาไทยและภาษาอังกฤษแล้วส่งไปทั่วโลก เมื่อเขาเห็นแล้วอยากมาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของเรา เขาจะได้รู้ว่าโคกหนองนาอยู่ตรงไหน เพราะเราทำคลิปวิดีโอที่เป็นออนไลน์ จะสามารถรู้ได้ว่าแปลงโคกหนองนาแต่ละท่านอยู่ตรงไหน กี่กิโล อนาคตต่อไปก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอนางรอง

    ต้นรวยล้นฟ้า แค่ชื่อก็กินขาดสำหรับ ต้นไม้มงคลเรียกทรัพย์อย่าง ‘ต้นรวยล้นฟ้า’ ที่ได้รับการยอมรับให้เป็นราชาแห่งไม้ประดับมงคล มาพร้อมลวดลาย สีสันสวยงาม นอกจากความเชื่อที่จะช่วยเสริมดวงเรื่องเงินให้คนในบ้านแล้ว ยังช่วยเสริมความเป็นสง่าราศีจับให้กับคนในบ้านอีกด้วย

ลักษณะ

ต้นรวยล้นฟ้า เป็นพืชในตระกูลอโกลนีมา ใบสีเขียวที่ตัดขอบและลายเส้นด้วยสีแดง ใครเห็นก็ต้องสะดุดตา สูงประมาณ 18 เซนติเมตร อายุยืนนานหลายปี

วิธีปลูก

ต้นรวยล้นฟ้า ชอบดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี ส่วนวัสดุที่ใช้ผสมดินปลูก ควรเลือกแบบโปร่งเบาและระบายน้ำดี เช่น กาบมะพร้าวสับ แกลบดิน และใบก้ามปู เพื่อป้องกันโรครากเน่า ชอบแดดรำไร แต่ต้องให้แดดโดนสม่ำเสมอทั้งต้น ระวังเรื่องแดดนิดนึง หากจัดเกินไป หน้าใบจะไหม้ ทำให้ตายได้ น้ำควรให้วันละ 1-2 ครั้ง การบำรุงต้นให้สวยงาม สามารถทำได้โดยใส่ปุ๋ยเม็ดสูตรละลายช้าเสมอ

     วันที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีก 3 ท่านได้นัดหมายไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในแอพพลิเคชั่น U2Tเกี่ยวกับข้อมูลในชุมชนที่ยังเก็บได้ไม่ครบ ในแอพพลิเคชั่นมีทั้งหมด 10 หัวข้อ ได้แก่ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก/โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาในท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น ซึ่งข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีก 3 ท่าน ได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อที่ 7. พืชในท้องถิ่น ซึ่งยังเก็บได้ไม่ครบ และได้ไปเก็บที่สวนบ้านตายาย หมู่บ้านบุคราม ตำบลหนองโสน เป็นแหล่งเพาะปลูกพันธุ์ไม้หลายหลายชนิดไว้จำหน่าย ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักพืชมงคลหลายหลายชนิดมากยิ่งขึ้น เช่น ต้นรวยล้นฟ้า กุหลาบหิน เบี้ยเศรษฐี เมตตามหานิยม ว่านนกคุ้ม โชคเก้าชั้น แก้วสารพัดนึก ฤาษีผสม ห่อเงินห่อทอง อัญมณีขาว นำโชค รวยทรัพย์ ออมมณี อัญมณีแดง กล้วยไม้ ตะบองเพชร ชวนชม ออมทอง ซุปเปอร์เรด พลอยชมพู อิเหล่า สหัสเดชะ บับเบิ้ล นารายณ์เรืองภพ บอนวัวแดง ชายชล บอนสีบุรีรัมย์ บอนดำสตูล และพืชมงคลต่างๆอีกมากมาย ราคาถูกจับต้องได้ ช่วงนี้ผู้คนก็จะแวะมาจับจ่ายซื้อพืชมงคลเยอะ เพราะกำลังเป็นที่นิยมเป็นจำนวนมาก หลังจากเก็บข้อมูลเพิ่มเติมลงแอพพลิเคชั่น U2T เสร็จเรียบร้อย ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีก 3 ท่าน ก็แยกย้ายกลับบ้าน

                                                                                               

       วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านระบบ Zoom โดยมีกำหนดการดังนี้ เวลา 09.00พิธีเปิ น.ดงานเสวนาออนไลน์ โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์  ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ และได้เริ่มการเสวนาออนไลน์ทั้ง 5 ท่านเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและนำมาปรับใช้ต่อไป เวลา 12.00 น.จบการเสนาออนไลน์       

        โดยผู้เข้าร่วมเสวนาคนแรก คือ นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน โดยมีเนื้อหาเสวนาดังนี้ ผมในฐานะเป็นนายกเทศมนตรี เราก็มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักเพราะว่าประชาชนต้องการอยากให้บ้านเมืองเจริญ น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก ฉะนั้นตรงนี้ก็จะพัฒนาไปเรื่อยในด้านการกินอยู่หรือปากท้องของประชาชนทำอย่างไรจะให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดีและก็มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และระดับประเทศ อยากให้ชุมชนหรือยังให้เทศบาลหรืออบต.ให้ทำ Zero waste เพื่อที่ทำให้ชุมชนของเราน่าอยู่ เราก็เลยทำมาประมาณ 5-6 ปี เผื่อจะได้รับรางวัลระดับประเทศปี 2560 ของรัชกาลที่ 10 เป็นถ้วยใบแรกของเรา เราได้รับเป็น Zero waste ชุมชนขนาดใหญ่ระดับประเทศรางวัลมาเป็นถ้วยรางวัลเงิน 5,000 บาท อันนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นของขวัญและแต่สิ่งที่จะดีใจมากที่สุด คือเราทำให้ชุมชนนั้น หมู่ที่ 5 หรือหลายชุมชนเป็นชุมชนรู้รักสามัคคีกัน ให้องค์ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนนั้นยากมากเพราะว่าประชาชนแต่ละระดับไม่เหมือนกัน มีทั้งยากจนหาเช้ากินค่ำ มีทั้งข้าราชการจะต้องออกไปทำงานที่ แล้วก็มีทั้งคนแก่ที่อยู่ในหมู่บ้าน ก็บางครั้งก็เลี้ยงหลานอยู่เฉยๆ บางทีก็อยู่เฉยๆไม่ได้ทำทำไร่ทำนา โดยการพัฒนาชุมชนเลยเผื่อจะรวมตัวกันได้ถือว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชน คณะสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยที่เทศบาลตำบลอีสานมาฝึกงาน ใช้เด็กเป็น เรียกว่าร่วมกันพัฒนาร่วมกันได้รับรางวัลชุมชนนั้นๆ ที่เราได้ร่วมกันพัฒนาให้ความเป็นส่วนตัวเป็นหลัก เราได้รับรางวัลเป็นเมืองสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนระดับภาค ปี 2561 ระดับประเทศปี 2562 ได้รับรางวัลชมเชยระดับดี มีหมู่ 16 หมู่ 11 หมู่ 11 หมู่ 3 หมู่ 5 หมู่ 12  เฉพาะที่จะพัฒนาชุมชนอย่างเดียว ตรงทางขึ้นศาลอย่างเดียวยังนำนักศึกษาลงไปขับเคลื่อนกับเทศบาลที่มาฝึกงาน ประตูบ้านเรื่องขยะเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจว่าเราจะพัฒนาอย่างไรให้ยั่งยืนให้พี่น้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้วก็ทำให้ประชาชนจิตใจดี ไม่มียาเสพติด       

         ผู้เข้าร่วมเสวนาคนที่ 2 คือ รศ.ดร. ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีเนื้อหาดังนี้ ผมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของมิติทางด้านทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจทางด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องของ SCG นี้ก็เป็นแนวคิดที่สหประชาชาติได้กำหนดขึ้นมา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3 มิติ หลายประเด็น ประเด็นที่ 1. ก็ว่าด้วยเรื่องของทางสังคม คือ Society สังคมในปัจจุบันมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทยหรือต่างประเทศ มีความหลากหลายทางความคิดความหลากหลายของวิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้ชีวิตซึ่งผลกระทบเหล่านี้มาจากเรื่องของเทคโนโลยีเรื่องการศึกษา แนวคือทดลอง Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งก็ตรงตามยุคสมัยใหม่ ซึ่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตแต่ก่อนนะมองภาพว่าเรื่องจริงๆเรียนยังให้จบตามหลักสูตร แต่ปัจจุบันคือเน้นเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเด็นที่ 2. คือในเรื่องของตัวสมรรถนะคือ competency คือไม่เน้นเนื้อหาวิชาอย่างเดียว แต่จะต้องเอาคนไปอยู่กับชุมชนสังคมด้วยซึ่งเขาต้องเจอเรื่องของประเด็นปัญหาอะไรก็แก้ปัญหาด้วยตัวเขาเอง ซึ่งนี้คือตัวสมรรถนะที่สำคัญที่ต้องศึกษาอยากจะได้ 2.1) คือเน้นเรื่องของเรื่องก็คือโลกที่มันผันผวน เปลี่ยนแปลง 2.2) คือคอมเพ็ดทิทีฟ ก็คือการแข่งขัน ซึ่งวันนี้ทางราชภัฏบุรีรัมย์จัดในเรื่องของ Time Higher Education โดยเฉพาะ SCG เรื่องของคอมพิวเตอร์ 4 อีกเรื่องนึงที่ SCG พูดถึงก็คือเรื่องของ Economic หรือทางด้านเศรษฐกิจเศรษฐกิจปัจจุบันก็มีการแข่งขันกันเยอะมากโดยเฉพาะในปัจจุบัน ขายในเรื่องของเทคโนโลยีเรื่องของความรู้ในเรื่องการต่างๆ คือเน้นการถ่ายทอดความรู้ ให้เป็นผู้ประกอบการคือต้องใส่สถานการณ์เข้าไปด้วยแต่การเป็นผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมคนด้วย อีกแนวคิดหนึ่งก็คือเรื่องของ environment ก็คือสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีความเสื่อมโทรมสูง แต่ทำไงให้คนอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้อยู่กับเศรษฐกิจได้อยู่กับสังคมได้ ก็คือแนวคิดแบบองค์รวมนั่นเอง ซึ่งแนวคิดแบบวงกลมจริงๆไม่ใช่เรื่องใหม่ ก็ตั้งแต่สมัยอดีตในในหลวงท่านก็ได้ตรัสไว้ตั้งแต่ ร.9 ท่านก็ตรัสถึงเรื่องนี้บ่อยมากแล้วก็รวมไปถึงแนวคิดของต่างประเทศด้วย 2.3) จัดความยากจน ที่เห็นชัดเลย ถ้าคุณยังหิวโหยอยู่อย่างที่ในหลวง ร.9 ท่านก็ตรัสไว้เสมอว่า “เราไม่ได้ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์แต่ละกำลังต่อสู้กับความยากจน”เห็นภาพชัดเลยว่าท่านบอกว่านี่คือ แนวคิดเรื่องของ SCG เน้นเรื่องของการขจัดความยากจนและความหิวโหยนี่คือ 2 ประเด็นหลักเลยที่ SCG พูดถึง ส่วนประเด็นที่ 3 ก็เป็นเรื่องของการมีสุขภาพที่ดี แล้วก็แนวคิดที่ดีคือการศึกษาที่เท่าเทียม แนวคิดของ SCG คือจะพัฒนาคนให้เกิดความเท่าเทียมและเกิดความสมดุลและเกิดความยั่งยืนนั้นคือชีวิต ก็เป็นแนวคิดที่ UNESCO รวมทั้ง Un ด้วย พูดถึงก็คือหลักสูตรหนึ่งในทางวิชาการหรือว่า ซุปราชนิกูลล่ำ Su ter มีหลายระดับมันมีซุปมีระดับแม็คโครมีโอไมโครนาโน แนะนำผู้เรียนเป็นหลักสูตรระดับโลกสู่ระดับโลกนี้ Un ก็คือหลักสูตร SCG นั้นเอง ก็คืออยากให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีนะครับร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลและได้อย่างยั่งยืนนะครับก็คือตอนนี้ปรับหลักสูตรทั้งโลก หรือ Time Higher Education ranking เรื่องของมหาวิทยาลัยต่างๆก็เอาแนวคิดเรื่องของหลักสูตรที่เป็น spg ใส่เข้าไป เรื่องของ service Learning service Learning ตอนแรกก็คือการเรียนรู้คู่บริการหรือการเรียนรู้โดยชุมชนนั้นเอง ซึ่งแนวคิดของ service Learning ก็จะไปตอบรับกับหลักสูตรที่เป็น SCG เรื่องของ service Learning และแนวคิดหลักๆคือหนึ่งก็คือต้องเริ่มมาจากตัวประเด็นปัญหาของชุมชนก่อน Learning ไม่ได้เงินนิ่ง นำไปสู่การสร้างโปรเจคก็คือ Project based Learning นั้นเอง ทำกิจกรรมทำโครงการแล้วนำไปสู่ในเรื่องของตัว service Learning การเรียนรู้ผู้บริการก็จะเกิดในเรื่องของความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน กระบวนการเรียนรู้ตรงนี้เองมหาวิทยาลัย ก็จะมาเจอกันตรงนี้เอง ได้พบปะผู้คนด้วยไปเรียนรู้จักชุมชนจริงๆ แล้วทฤษฎีไปใช้จริงๆ ว่าทฤษฎีกับปฏิบัติมันมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันยังไง ถ้ามันไม่สำคัญกันเขาจะปรับยังไง แล้วเขาก็จะเกิดความรู้ความจำในทฤษฎี แต่เราอยากรู้ว่าความรู้ในชุมชนจริง การประเมินก็ต้องมาจากคลังการสัมภาษณ์การพูดคุย การอัดคลิปวีดีโอการทำเป็นโปรเจคการ ทำแฟ้มสะสมผลงาน ทั้งการประเมินการเรียนรู้ก็จะบอกวิธีการสอนของเราด้วย เด็กลงชุมชนอย่างละ 3 ส่วนแรกจะเป็นเรื่องของการเรียนการสอนในก็คือ cia คือหลักสูตรการสอนและการประเมินส่วนในเรื่องที่ 4 คือตอนนี้ความรู้มันเปลี่ยนและคนก็ต้องปรับฉะนั้น ในเรื่องของที่ 5 เรื่องนี้เน้นเรื่องโครงการอะไรก็แล้วแต่ฉันเราจะใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ชุมชนในการวิจัยครั้งนี้ทำไงก็ตามเขารู้สึกว่า Sense of inertia คือความรู้สึกความเป็นส่วนหนึ่ง หรือการเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนามหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ประเด็นที่ 6 ก็เน้นเรื่องของการทำวิจัย ถ้าวิจัยคู่กับชุมชนได้เป็นตอนนี้ถ้าเราเปลี่ยนจากวิจัยที่เป็นในห้องเรียนธรรมดาและวิจัยคู่กับชุมชน community based Learning หรือการทำวิจัยที่ผ่านเนื้อของ service Learning คือเข้าชุมชนเป็นฐานในการเรียนมาทีไรก็เอาความรู้ไปแลกเปลี่ยนนะไม่ใช่ไปสอนเขา หาอะไรต้องไปเรียนรู้จากเขาแล้วเขามาปรับเป็นทฤษฎีแล้วก็สังเคราะห์องค์ความรู้และนำไปปรับใช้ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญซึ่งประเด็นหลักที่นำเสนอไป อยากให้เราลองเอาไปปรับใช้ดู ว่าถ้าสมมุติว่าในโลกยุคใหม่มันเปลี่ยนแบบนี้มันผันผวนบ่อยๆ แล้วก็ชุมชนยังเป็นฐานในการเรียนรู้ของเราอยู่เราก็มาปรับทั้งหลักสูตร ปรับทั้งวิธีการสอน วิธีการประเมิน แล้วก็พยายามเลือกชุมชนเป็นฐานซึ่งมีอยู่ในช่วงนึง ใช้คำว่าหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน แล้วก็ทำเป็นหลักสูตรขึ้นมาในรายวิชาศึกษาทั่วไปมีทั้งหมด 176 หลักสูตรแล้วก็ไปจับกับชุมชนทั้งหมด 176 ชุมชนแล้วก็ไปเรียนรู้กับชุมชน แล้วเราก็ได้ชุดครุยความรู้หมด 176 ชุดในปีนั้น แล้วก็เป็นการขยายฐานหรือว่าเป็นการ PR มหาวิทยาลัยด้วยอีกทางนึง แล้วก็มีคลิปวีดีโอมีการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์หลักหลายรูปแบบ ก็จะเห็นว่าการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานก็คือหนึ่งหลักสูตรหนึ่ง ขณะเดียวกันอีกครั้งนึงก็จะกลายเป็นมหาลัยชั้นนำระดับโลกด้วยก็พยายามจัด ranking ด้วย อันนี้คือมันมีอยู่ 2 สายที่เราจะอยู่กับชุมชนหรือว่าจะเป็นมหาลัยระดับโลกคือ synchronously.                       

         ผู้เข้าร่วมเสวนาคนที่ 3 คือ นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ Smart sity เรื่องนี้คือเรื่องใหญ่ กับการจะปรับเปลี่ยนได้ทั้งจตุรภาคี ต้องมีภาพที่ตรงกันหรือใกล้เคียงกันเพราะต้องมองเห็นภาพนั้น เอกชนต้องมองเห็นภาพนั้น ชุมชนต้องมองเห็นภาพนั้น และที่สำคัญมหาวิทยาลัยหรือผู้ที่จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้ไปทุกๆส่วนต้องเห็นภาพนั้น เหมือนกันทั้งหมด หากมองภาพคุณภาพหรือเป้าหมายคนละเป้าหมาย การเดินและการวางแผนก็จะไม่เหมือนกัน จึงทำให้การที่จะขับเคลื่อนองค์กร หรือขับเคลื่อนประเทศ หรือขับเคลื่อนชุมชน เป็นไปได้ยาก จึงบอกว่าวิธีนี้เป็นอีกเวทีหนึ่งซึ่งจะเป็นวิธีที่เรามาจูนภาพกันก่อน ไม่ว่าภาพนั้นมันคืออะไรพร้อม ยกตัวอย่างง่ายๆ เดิมทีใครจะไปคิดว่าการเรียนการสอนหรือที่เรามานั่งคุยกันอยู่ทุกวันนี้ต่างคนต่างอยู่ในพื้นที่ต่างกัน เรามาใช้วิธีการที่ทำอย่างไร เราจะมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เราอาจจะต้องไปเรียนกับเด็กเปลี่ยนวิธีการสอน เป็นวิธีการเชื่อมโยง โดยอาศัยพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในการดึงเด็กมาสอนเด็กและก็มาสอน อาจารย์จะเปลี่ยนไปแบบนี้เลย แล้วก็สร้างคนรุ่นใหม่สร้างแนวคิดและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศใหม่ด้วยการใช้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแผน อาจจะมีวิธีการ ด้วยความที่เราเป็นคนที่มีองค์ความรู้ในเชิงลึกจากความรู้ในเชิงกว้างในหลายๆที่ มาผสมผสานกัน ดังนั้นมันจะเป็นความรู้ที่บูรณาการ ทำให้เด็กท้ายสุดมา หรืออาจารย์ต่างๆจบมาแล้วเขาเอาตัวรอดได้ในสังคมยุคใหม่ แล้วเขาสามารถเรียนรู้ได้อยู่กับความยั่งยืน หรือสั้นก็ได้ ปรัชญาพอเพียงของรัชกาลที่ 9 ไม่ได้ไปวิ่งเต้นเข้าไปหาสู่ระบบของทุนนิยม อยู่แบบพอเพียงแบบนี้ก็เป็นไปได้ มีหลายองค์กรหลายความรู้ที่จะสามารถที่จะอยู่รอดได้ในความรู้ต่างๆจึงทำให้คนรู้แบบนั้น เรียกว่าสมัคร People People ไม่ใช่จำเป็นที่จะต้องมาเรียนรู้เทคโนโลยีอย่างเดียวแต่ให้ความจำกัดความของ Smart ที่พูดได้คือคุณต้องรู้ให้ทำทันคน ทันใคร ทันโลก ทันสถานการณ์ ทันจิตใจตัวเอง โดยเฉพาะการขับเคลื่อนของภาคของมหาวิทยาลัยคือเราต้องสอนให้คนคิดเป็นทำเป็นปรับตัวได้ อาจจะต้องมีการขับเคลื่อนที่เปลี่ยนไปเพื่อที่จะดึงอักษรคนเหล่านั้น ให้เข้าไปสู่ระบบสังคม ไปสู่การเป็นคนของรัฐไปสู่การเป็นคนของชุมชนไปสู่การเป็นคนของเอกชน สรุป keyword คือเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญวิธีการเป็นเรื่องที่ต่างกันได้มันต้องสามารถที่ทำให้เป้าหมายเห็นภาพให้ชัดเจนแล้วเป้านี้พร้อมที่จะเช็คได้ว่าเป้า 1 ปี 2 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 20 ปีหรือท้ายสุดมาเมื่อเป้าของชีวิตมันไปถึงจุดจุดหนึ่งคนจะมีเป้าหมายประเทศจะมีเป้าหมายอย่างไร มหาวิทยาลัยจะมีเป้าหมายอย่างไร ถ้าเราบอกว่าคนแยกออกมาเป็น 3 กลุ่มกลุ่มนึงคือกลุ่มที่ไม่รู้อะไรเลยแต่หัวใจเต็มเปี่ยม อีกกลุ่มนึงคือรู้บ้างแต่หัวใจเต็มเปี่ยม อีกคนอีกกลุ่มนึงก็คือรู้และทำได้ สามารถแยกกลุ่มตามกลุ่มนี้ ผมเคยพูดก็คือปรัชญา 3H คือ Heart and Hand คือหัวใจมันสมองได้ 20,000 บาท ถ้า 3 กลุ่มนี้ครบทั้ง 3 H มันจะเดินหน้าและขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่แต่ถ้า 3 กลุ่มขาดตัวนึงคือ Heart เมื่อไหร่ลำบาก เราต้องสร้างคนที่หัวใจ การสร้างคนที่หัวใจจะเกิดสมาทของ People ขึ้นคือใจมันต้องสู้ การเรียนรู้กับมันเปลี่ยนไม่ต้องมานั่งเรียนอาจารย์สอน นั่งฟังอาจารย์พรุ่งนี้ตื่นเช้า มาเปิด Google เช็คดูใน Facebook ดูใน LINE ความรู้มีเพียบ เรียนรู้ตรงไหนก็ได้มันเข้ามาหาเราได้หมดทุกทาง มหาวิทยาลัยจึงเป็นพื้นที่ที่จะประสาน 3 กลุ่มนี้เอาคนที่มีหัวใจมาใส่ความรู้ เอาคนที่มีความรู้มาใส่หัวใจ หาพื้นที่ในการลงมือทำ แล้วกระจายพื้นที่ในการลงมือทำ เพราะฉะนั้นการลงมือคือเรื่องสำคัญมหาวิทยาลัย แล้วก็น้องๆนักศึกษาจะต้องเปลี่ยนมายเซ็ทใหม่ในการทำงานต่อไปข้างหน้า จึงจะสามารถที่จะเดินเข้าไปสู่การเป็น smart People ได้เมื่อสมัคร Vigo ขับเคลื่อน Smart University ก็ตามเมื่อ Smart University สมาร์ทซิตี้ก็ตาม เพราะว่ามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรหลักที่จะเดินเข้าไปสู่การเป็น smart City ในการเรียนการสอนจึงสามารถที่จะเปลี่ยนไปการเปลี่ยนโลก มันจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะมาตรฐานและคุณภาพเป็นเรื่องที่เราต้องเดินไปให้ถึงตอนนี้การสร้างคนไปเป็นผู้ผลิต อยู่ในความสมดุลของหลักสถาปัตย์หรือหลักความงาม อันที่ 1 คือ Unity 2.Balance 3.โดมิแนนท์ ถ้าเราทำสิ่งใดโดยยึดหลักนี้ มันเป็นเหมือนศาสนา เป็นศาสนาของของทุกอย่าง คือผมเรียกศาสนาความงาม ในองค์กรคุณขาด Unity ไม่ได้เลยอย่างเช่น ผมออกแบบต้องผสมผสานทุกอย่างให้เกิดภาพของอยู่ในสิ่งที่ 2 คือ Balance คุณทำอะไรต้องเกิดความสมดุล ทำอะไรม่สมดุล ก็เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างต้องอยู่ในความเป็นสมดุลแต่สมดุลมี 2 อย่างสมดุลไม่ได้หมายความว่า สมดุลสองข้าง จะต้องเหมือนกะความสมดุลมันไม่จำเป็นต้องเหมือนกันแต่มันต้องเท่ากันมัน จึงต่างกันที่การวัดตัวชี้วัด จึงเกิดความสวยงามไม่ได้ 2 อย่างเหมือนกันต้องเข้ากันหมดแล้วแต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวชี้วัดจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีอะไรที่ 50 50 ไม่จำกัดมากจะเป็น 60/30/10,70/30 จึงเป็นเรื่องที่ต้องเอามาเรียนรู้กัน อีกอย่างนึงคือถ้าคุณทำสมดุลแล้วคุณทำบาลานซ์ แต่คุณขาดการโดมิแนนท์หรือจุดเด่นไม่ได้ ต้องเด่น ต้องงาม คุณต้องเป็นดวงอาทิตย์ให้ได้ เป็นเรื่องที่สำคัญในการที่เราจะเปลี่ยนแปลงองค์กร หรือตัวเอง หรือการหาองค์ความรู้ต่างๆมา เราจะต้องเริ่มต้นจาก 3 อย่างนี้ ต่อไปคือการพัฒนาคนให้เท่าเทียมยั่งยืนต่างๆ     

        ผู้เข้าร่วมเสวนาคนที่ 4 คือ นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ เรื่อง SCG ก็คือทำเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน เราดำรงชีวิตตามแนวทางที่เราใช้มาทั้งหมดทั้งโลกเนี่ย 200 – 300 ปี คือเป็นการเดินทางที่ผิดมหันต์ ทั้งโลกนะตอนครูวิทย์มาเป็นคนออกข้อสอบให้เรา พอข้อสอบมาปุ๊บปรากฏว่าเราสอบตกทั้งโลก ไม่มีใครสอบผ่านสักคน ไม่มีใครสอบผ่านเลย ไม่ว่าด้านสังคม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ทุกอย่างมันเจ๊งหมด เมื่อโลกของเราเปลี่ยนไปแต่ทำไมคนไทยไม่เปลี่ยนแปลง 80 ปี 100 ปีมันจบแล้วทุกอย่าง อย่างน้อยก็ต่างเข้ามาพูดเรื่องการฟื้นฟูเรื่องความยั่งยืนเรื่องสิ่งแวดล้อม สภาพสิ่งแวดล้อม Un กับทั้งหมดคงไม่ฟังเราแน่ๆ ระดับรัฐบาลไทยก็ยังไม่ฟังเรา เราจะทำอะไรได้หลายอย่างที่เราคิดว่าอยากจะไป จะทำให้ยั่งยืนร่ำรวยอยากจะให้อะไร แต่มันจำเป็นต้องลบออกความร่ำรวยมันต้องต้องรู้ว่าไอ้เรื่องนั้นมันไม่เป็นจริง ถ้าเราไม่เอาเรื่องความร่ำรวยมา เราเอามาทำเรื่องเริ่มต้นจากไม่อดไม่อยากได้ไหม ไม่ต้องรวยหรอก ถ้าทำให้ไม่อดไม่อยาก มันจะเริ่มต้นจากเล็กๆได้สเกลเล็กขนาดไหนก็ไม่อยาก ก่อนมันไม่รวยก็ไม่เป็นไร นี่ก็รู้สึกดีอยู่นะ ทรัพยากรชุมชน ถ้ามีฝนจะตกแล้วเนี่ย โลกเก่าเนี่ยเราใช้วิธีคิดแบบเก่ามันไปไม่ได้เราก็รู้แล้ว มันต้องเปลี่ยน เขตที่สามารถฟื้นฟูได้มากมายเปลี่ยนแน่นอนแต่ตอนนี้เขาก็มี มื้อนี้เริ่มต้นใหม่เนี่ยเริ่มต้นที่ชนบทที่ชุมชน ไม่อยากไม่อยากไม่อยากเนี่ยมันเป็นเรื่องคุณภาพชีวิตมันเรื่องของคุณภาพชีวิตเราเรื่องคุณภาพชีวิตที่นี่การสนองตอบคุณภาพชีวิติมันสนองตอบได้ด้วยตัวเองคนอยู่ในตัวเองได้แต่ทุกวันนี้มันมาด้วยตัวเอง มีคลิปโตมีอะไรต่างๆก็เลยขึ้นมามันมี bitcoin มีอะไรก็มามันก็เป็นการหนีตายเพื่อจะได้มั่นใจไม่มั่นใจในการบริหารเงินของตัวเองราคาต่างกันมันต่างกันไปตามคำพูดถึงมือของผู้บริหารอาจจะราคาแพงเงินของการบริหารหลายๆเรื่องทุกคนเคยเชื่อเรื่องเงินพอสุดท้ายเอาเงินมานั่งฟังเสียงภายในการบริหารประเทศ บอกไม่รู้ มันก็เหมือนเดิม คิดได้แค่นี้หรอ มาตลอดชีวิต เราก็อยากจะกินผักหวาน เราหวนนึกถึงตอนเด็กๆเราไปเก็บผักหวานสดๆ มามันก็ไม่ค่อยอยากกินไข่มดแดง สะดวกสะอาดปลอดภัยฟรี 

         ผู้เข้าร่วมเสวนาคนที่ 5 คือ รศ.ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ ทฤษฎีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตนพอแล้วก็เผื่อแผ่ไปยังผู้อื่นเข้า กับทฤษฎีพ่อคำแดง ไม่อดไม่อยากแล้วก็เผื่อแผ่ในรูปของการแจกจ่าย ด้วยองค์ความรู้ วันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษาและของกระทรวงเป็นของกระทรวงการอุดมศึกษา ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่งมาตรา 24 วรรค 3 ก็ได้มีการประกาศกำหนด ให้จัดสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด โดยจัดเป็นกลุ่มตามพันธกิจยุทธศาสตร์และศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา นั้นสรุปแล้ว มหาลัยทั้งหมดในประเทศไทยเกือบ 200 แห่งนี้ได้ถูกจัดกลุ่มเป็น 6 กลุ่มเรียบร้อยตามราชกิจจานุเบกษานะครับโดยกลุ่มที่ 1 ก็คือกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลกและไม่ได้เป็นมหิดล จุฬา ธรรมศาสตร์ เป็นต้นกลุ่มที่สองก็คือพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมมอราชมงคล ก็อาจจะอยู่ในกลุ่มนี้ กรมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนในแต่ละกลุ่มแต่ละกลุ่ม พัฒนาและคุณธรรมหลักศาสนา มหาจุฬามหามกุฏ หรือโรงเรียนศาสนาอิสลามปอเนาะ จะอยู่ในกลุ่มนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเส้นทางด้านวิทยาลัยของทหารอากาศ ของตำรวจพรุ่งนี้ก็อยู่ในกลุ่มยี่ห้อสรุปแล้วตอนนี้ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อย ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมาของการจัดกลุ่มมหาลัยมหาลัยนะครับสิ่งที่การกุศลในการจัดทำนโยบายของกระทรวงในเรื่องของการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยก็คือ reinventing University นี่แหละครับโดยมีกลุ่มเป้าหมายในการหยุด 3 เรื่องก็คือ 1.สร้างและพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งก็จะไปสอดคล้องกับ SCG ขององค์การสหประชาชาติ 2.คือการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศนะครับตามทางแบรนด์ bershka มีเส้นผมจะได้ถามท่านผู้ทรงเหมือนกันนะครับในเรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือเครดิตมูลค่าสูงอะไรครับหรือแปรรูป based economy ตามเป้าหมายของการผลิตออกมาเมื่อไหร่ 3 ตัวหน้าที่ตอนนี้ทุกมหาลัยต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นและบริบทของมหาลัยก็คือ BCG ที่อยู่ภายใต้แบรนด์ bershka นี่ตัวแรกก็คือไป omiya นี่ก็คือเศรษฐกิจชีวภาพอันที่ 2 คือ C circular economy คือเศรษฐกิจหมุนเวียนสารก็คือ Green economy เศรษฐกิจสีเขียว อยู่ในทฤษฎีเขียวหมื่นปี ทำให้โลกเกิดความเขียวขจีร่มรื่นนะ BCG Bio economy Celestica นี่ก็อยู่ภายใต้เป้าหมายการพลิกโฉมมหาลัยคือแปรรูปแบบอะตอม ว่าจะสามารถทำให้เกิด Bio economy จนถึง Green Green economy ได้อย่างไรในบริบทของมหาวิทยาลัย 3.เป้าหมายของการพลิกโฉม คือการทำงานแบบจตุรภาคี มหาวิทยาลัย หน่วยงานเอกชน หน่วยงานราชการ และชุมชน หน่วยงานศาสนาเป็นจตุรภาคี ซึ่งจตุรภาคีตรงนี้ก็เป็นเป้าหมายในบริบทของมหาลัย เพราะว่า SCG หรือการพัฒนาอย่างเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน sustainable urban GT Gold แปลว่าเป้าหมายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลายข้อ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มอันดับ 1 ของ SCG ข้อนี้ใช่ไหมครับมหาลัยทั้งหมดในโลกนี้รวมทั้งของมหาลัยด้วยต้องกำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความสมดุล 4 ด้านด้านหนึ่งก็คือด้านการวิจัยภูมิศาสตร์ ด้านที่2 ก็คือด้านการปฏิบัติการและกำกับดูแลการ ที่ 3 คือการเอาและการบริการสังคมและสังคมสังคมไทยและสังคมโลกเมื่อคืนนี้ จตุรภาคีนี่แหละครับจะต้องเชื่อมโยงกันนี่แหละสุดท้ายเกิดการเรียนการสอนใน teaching จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อเรื่อง          จุดเริ่มต้นของการตั้งชื่อเรื่องก็คือจตุรภาคีศรีประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนซึ่งคณะมนุษยศาสตร์มีผู้ทรง 4 ท่านเป็นคณะกรรมการประจำคณะอยู่แล้วให้คำแนะนำตลอด แล้วก็เชื่อมประสานทั้ง 4 ส่วน 4 ฝ่าย จะนำสู่การสร้างงาน สมควรแต่เราต้องเดินหน้าต่อ มีสิ่งอื่นอีกมากมายเช่น จะต้องเดินหน้าทำต่อ ผู้ทรงคุณวุฒิมาเก็บข้อมูล เพื่อที่จะนำไปเป็นกรณีพิเศษ ภายในการลงพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สุดท้ายเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นต่อไป                                             

     

        จากการปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้ให้ความร่วมมือ สามัคคีเป็นอย่างดี คอยให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันภายในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ข้าพเจ้าก็ขอขอบคุณชาวบ้านตำบลหนองโสนที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้ข้าพเจ้าได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการทำงานในครั้งนี้ด้วย

 

อื่นๆ

เมนู