ข้าพเจ้านางสาวปลิตา กุลวิเศษ ประเภทนักศึกษา รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรโคกหนองนาโมเดลHSO2ในวันที่28 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาออนโลน์จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านระบบzoom ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ1ตำบล1มหาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ประจำเดือนพฤศจิกายน
เมื่อวันที่25ตุลาคม2564ข้าพเจ้าได้ทำการถอดคำพูดเสวนาวิทยากรทั้ง7คนในวันที่เสวนาวันที่17ตุลาคม2564 วิทยากรคนแรกท่านนายก เกียงศักดิ์ แผ้วพล ได้กล่าวไว้ว่า ผมเป็นคนเกิดในแผ่นดินหนองโสนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2507 ในช่วงปีพ.ศ. 2507 แถวนี้จะเป็นป่าหมดเส้นทางที่พวกเราเดินทางมาจากบ้านนามพลวงเข้ามานี้สมัยนั้นยังเป็นทางเกวียนตรงสะพานลำปะเทียที่จะข้ามมาบ้านโคกว่านฝังเนี่ย ไม่มีสะพานนะครับสมัยนั้นถ้าจะมาก็ต้องใช้เรือนะครับ มันจะมีเรือแล้วก็พาย พายแล้วมาขึ้นที่บ้านบุคราม แล้วก็เดินเท้าเข้ามาที่บ้านโคกว่านแห่ง เพราะว่าสมัยนั้นคุณพ่อผมก็จะพามาหาปู่ย่าตายายและก็เพื่อนท่านมีปู่นาค มีปู่ตาโชค ที่เป็นเพื่อนท่าน ก็เคยมา ฉะนั้นในป่าแถวเนี่ยนะครับมันจะเป็นป่าเหมือนกับป่าดงดิบเลย หลายสิ่งหลายอย่างในป่านี้นะครับมันจะมีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นพวกพืช ผัก สัตว์ต่างๆ กระต่ายสมัยนั้นเค้าจะมาหาของป่าในป่านี้ พวกผัก อีนูน ผักหวานป่าพวกนี้สมัยนั้นไม่ต้องปลูกนะครับ เดินเข้ามาในป่าก็หาได้ยิ่งฤดูฝนตกอย่างนี้ไม่จำเป็นต้องไปขุดสระน้ำไล่ตามนาถ้าฝนตกแล้วเป็นคนสมัยรุ่นนั้นเมื่อ 40 ปีที่แล้วก็จะออกมาหาปู หาปลาครับ หอยก็จะเดินไปตามที่น้ำมันไหลตามทางที่เปลี่ยนปลาก็จะขึ้นส่วนมากก็จะเป็นไปตามธรรมชาตินี่คือสมัยนั้น 40 กว่าปีที่กผ่านมา ท่านที่สอง อาจารย์ชมพู ได้เป็นพิธีกรกล่าวเปิดงานผมได้รับมอบหมายให้นักศึกษาไปสัมภาษณ์เจ้าของแปลงโคกหนองนาเห็นแล้วรู้สึกมีความสุขเพราะเห็นว่าแต่ละท่านบอกว่าได้ 1000 ถึง 2000 บาทบางท่านไม่ขายแต่แจกเพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาร่วมถอดบทความในการเสวนาชื่อว่าเกษตรทฤษฎีใหม่สู่โตกหนองนาโมเดลทางเลือกและทางรอดในยุคนิวNew Normalวันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าอันไหนคือทางเลือกอันไหนคือทางรอกในยุคใหม่เมื่อเรามาถึงยุคNew Normal เราจะทำอย่างไรกับชีวิตให้มันเกิดความมั่นคงในชีวิตเราวันนี้เราจะมาฟังแต่ละท่านว่าแต่ละท่านน่าจะพูดยังไงในทฤษฎีใหม่จะมีอยู่สามประเด็นที่พูดยาวนานคือ1พออยู่ 2พอกิน 3พัฒนาเพื่อจัดทำธุรกิจการค้าเพื่อจะให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขเป็นทฤษฎีที่เราได้เรียนรู้มาแต่เราประยุกต์ทฤษฎีใหม่มาสู่โคกหนองนาจะทำยังไงให้เราได้ขยายาสื่อให้กว้างใหญ่ไพศาลโดยเฉพาะนางรองมีกลุ่มนางรักษ์สีเขียวเยอะแยะมากมาเขาได้ปลูก
ท่านที่3รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้กล่าวว่า ตอนนั้นประเทศไทยก็พยายามอย่างหนักที่จะก้าวเข้าไปเป็นเสือตัวที่5ของเอเชียซึ่งเขาเรียกว่าเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียตัวที่5ในหลวงคิดว่าประเทศไทยยังไม่จำเป็นต้องไปถึงจุดนั้น อย่าลืมว่าเบื้องหลังเบื้องหน้าของประเทศไทยคือประเทศเกษตรกรรมเพราะฉะนั้นประเทศไทยจะอยู่รอดได้ก็ต้องอาศัยการทำเกษตรกรรมอย่าพึ่งไปเป็นเสือเลย เสือคือประเทศที่เป็นอุตสาหกรรม แต่ประเทศไทยยังไม่ใช่งาน จึงเกิดการนำไปสู่การคิดค้นทฤษฎีมากมายด้านเกษตร เพราะเกษตรกรรมทำให้คนอยู่รอดในโลกนี้ได้เพราะทุกคนต่างต้องกินข้าวในยุคNew Normal เห็นได้ชัดคนไปไหนไม่ได้ถ้าไม่มีอาหารไม่มีผลไม้ตุนไว้ก็อยู่ไม่ได้คนต้องอยู่ต้องกินเพราะฉะนั้นเกษตรทฤษฎีใหม่จึงเหมาะอย่างยิ่งในทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะในยุคข้าวยากหมากแพง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชาชินีนาถ บรมราชชนรณีพันปีหลวงได้กล่าวไว้ในตอนที่ในหลวงรัชกาลที่9ยังมีชีวิตอยู่ว่าในหลวงเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า
ท่านที่4นายสมชิต ไชยชาติ ได้กล่าวเกี่ยวการอยู่รอดหนึ่งเราจะมีพืชผักสวนครัวผลไม้ ไม้ผักไว้บริโภคมีปลาในสระ มีไม้ยืนต้นตรงนี้จะแตกยอดออกไปคือพอกินพอกินคือมีพอได้กินพอกินก็จะมีผัก ไม้ผล ที่เราจะปลูกคือปลูกยังไงจะให้พอในครัวเรือนให้ได้กิน พอใช้ไม้ เหล่านั้นก็จะใช้ทำพืชใช้ทำถานเครื่องใช้สอยต่างๆก็จะมีพวกไม้ค่า แต่ถ้าพออยู่นี้ก็คือ ไม้ยืนต้นก็อย่างที่คนเรามักจะคิดว่าปลูกแล้วไม่ได้ใช้ก็ไม่คิดที่จะปลูก แต่ไม่ได้คิดว่าปลูกเพื่อสิ่งแวดล้อมปลูกเพื่อลูกเพื่อหลานฉะนั้น พออยู่นี้หมายถึงปลูกให้พืชใหญ่โตแล้วลูกหลานได้เอามาสร้างบ้าน ไม้ที่พ่อปลูกไว้ให้ลูกส่วนอันสุดท้ายก็จะเปลี่ยนพอร่มเย็น ก็คือในเรื่องของสิ่งแวดล้อม
ท่านที่5ปลัดกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ได้กล่าวไว้ว่า ทางเลือกของตัวเราไม่ทำทุกคนที่พูดมามันจะมีความสำเร็จอะไรมัน คือปัญหาว่าเด็กยุคใหม่ที่กำลังเรียนจบซึ่งจะมีชีวิตใหม่หรือมีอาชีพเป็นของตัวเอง ยุคโควิด ทำให้เราย้อนกลับไปสู่ เกษตรวิถีเกษตรพอเราจะเข้าสู่ยุคดิจิตอลพอโควิดมาทุกคนกลับมาอยู่บ้านเพื่อทำเกษตรทางเลือกทางรอดถ้าเรายังทำยังไงมันก็รอด รอดมีกิน มีรายได้เริ่มจากตัวเองโดยการปลูกผักรอบรอบบ้านมันจะวัดใจว่าเราชอบปลูกผักหรือไม่เราชอบตามกระแสหรือเปล่า แต่ถ้าเราชอบจริงมองเห็นว่าวิถีเกษตรกรรมยังไงเราก็ทิ้งไม่ได้เพราะว่ามันคู่คนไทยมายาวนานการทำทฤษฎีใหม่หรือได้ง่ายเราบริหารพื้นที่จัดหาของเราทำยังไงให้เกิดรายได้คำว่ารวยเกิดรายได้อย่างถ้าเรามีโคกหนองนาเราทำ เราก็จัดสรรค์
ท่านที่6 พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม(ทองใส) กล่าวไว้ว่าการจัดโครงการ เสวนาเรื่องของทฤษฎีใหม่ประยุกต์เข้าสู่โตกหนองนาก็คือรัฐบาลช่วยเหลือแต่เกษตรทฤษฎีใหม่คือพี่น้องต่างคนต่างทำแต่พอมีโครงการโคกหนองนาโมเดลทางรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือตำบลหนองกี่ได้กี่ที่ ตำบลหนองโสนได้กี่ที่ตำบลหนองยายพิมพ์ได้กี่ที่มีทั้งหมดกี่คน เพราะว่าบางคนได้โครงการมาแล้วคืนโครงการเพราะเสียดายนาแม่ยายไม่ให้ เมียไม่ให้ ผัวไม่ให้เสียดายที่เพราะยังไม่เข้าใจยุคสมัยนี้มันไม่เหมือนสมัยก่อน
ท่านที่7อาจารย์ดนัย สุริยะวงศรีเล่าว่า โดยการปฎิบัติงานของนักพัฒนา พื้นที่ต้นแบบ นพต นั้น ก็จะเริ่มจากการลงไปดูพื้นที่เหมาะสมหรือไม่ ทิศทางลม ดิน น้ำ ไฟ ลมมาทางไหน น้ำไหลมาทางไหน แล้วก็จะไปวางแผนเอาไว้ว่าสระจะวางไว้ตรงไหน ที่พักอาศัยจะวางไว้ตรงไหน แล้วก็จะไปคุยกับครัวเรือนมาแล้วออกแบบพื้นที่มาแล้วก็จะไปถอดสแกนตามแบบที่เราคาดหวังเอาไว้หลังจากนั้นเราก็จะเริ่มกับครัวเรือนปลูกป่า3อย่างประโยชน์4อย่างบนโคกหลังจากขุดสระเสร็จแล้ว เหมือนดังที่ท่านหัวหน้าได้พูดไปแล้วนั้นว่าป่า3อย่างประโยชน์4อย่างมีอะไรแล้วก็ป่าไม้5ระดับซึ่งในสิ่งที่เราเน้นที่สุดก็คือหลักกสิกรรมธรรมชาติโดยการให้ครัวเรือนนั้นมีการถมดินคือสร้างดินให้มีชีวิตนั่นเอง
เมื่อวันที่28ตุลาคม2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนได้เข้าร่วมรับฟังเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน(Quadruple Helix) โดยศูนย์ประสานงาน ชุมชนสัมพันธ์ HUSOC คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เสวนาออนไลน์ เวลา 9.00 น -12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมี หาวิทยาลยัราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา และอาจารยช์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนษุย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา มีวิทยากร5ท่าน สรุปได้ดังนี้
ท่านที่1.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำและการบลอิสาน ได้กล่าวว่าการขับเคลื่อนชุมชนความสามัคคีของคนในชุมชน และการมีส่วนร่วมใน การพัฒนาชุมชนในด้านความเป็นอยู่ด้านอาหารและด้านสิ่งแวดล้อมของคน ในชุมชนรวมทั้งการทำความเข้าใจกับผู้คนที่อยู่ในชุมชนทาให้ชุมชนเป็นชุมชนสามัคคีเพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา
ท่านที่2.รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้กล่าวไว้ว่าการศึกษาการจัดการเรียนการสอนซึ่งต้องไม่เน้นเนื้อหาวชิาการ อย่างเดียวแต่ต้องเน้นการลงพื้นที่การลงมือปฏิบัติ ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ การเป็นผู้ประกอบการที่ดีต้องคำนึงถึงสิ่งแล้วล้อมอยู่เสมอ
ท่านที่3.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวไว้ว่าโลกของเราทุกวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้วการยึดติดกับเรื่องเดิมๆอาจช้าเกินไปซึ่งเราต้องรู้จักการปรับตัวให้ทันโลกทันเหตุการณ์ ปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ท่านยังได้กล่าวถึงทฤษฎี 3H คือ Heart Head and Hands หัวใจสมองและสองมือเมื่อมีทั้ง 3สิ่งนี้จะทำให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างมั่นคง
ท่านที่4นายคาเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรรีรัมย์ ได้กล่าวว่าก่อนอื่นทุกคนต้องเข้าใจคำว่าจบ การฟื่นฟูธรรชาติและสิ่งแวดล้อม คนเกิดมาอยู่ในโลก แต่ไม่รู้จักทรัพยากรในโลก ทุกคนอยากให้โลกเหมือนเดิมแต่ไม่เคยคืนให้โลก เมื่อเราทำผิดต่อทรัพยากรบนโลกเราต้อง รู้จักคืนให้ทรัพยากรให้โลกด้วย ถ้าตัดเรื่องความร่ำรวยออกให้เริ่มต้นจากการไม่อดไม่อยาก คือคุณภาพชีวิต
ท่านที่5รศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กล่าวว่าง การทำงานกับชุมชนจะคนเดียวไม่ได้คือต้องประสานงานกับทุกทิศคือการติดต่อกับผู้นำชุมชน การทำงานต้องรู้จักสี่ ประสาน บ้าน วัด โรงเรียนและโรงบาลชุมชน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) การทำงานกับชุมชนถ้า ไม่มีการประสานกับชุมชนงานก็อาจจะไม่ราบรื่นหรือเดินหน้าต่อไปได้ สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการเข้ารับฟังเสวนาครั้งนี้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานกับชุมชนที่ต้องประสานกับผู้นำชุมชนทุกครั้งและการฟื้นฟูธรรมชาติ
ในวันที่1 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ทำการกรอกข้อมูลแอพพลิเคชั่นu2tเพิ่มเติมจากอันเก่า
และในวันที่15พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าได้ทำแบบสำรวจข้อมูลโควิดของเดือนพฤศจิกายน แบบสำรวจที่พักอาศัย ข้าพเจ้าได้ได้รับผิดชอบบ้านสี่เหลี่ยมน้อยหมู่8และบ้านโคกตะโกหมู่ที่9
สรุปรายงานประจำเดือนพฤศจิกายนข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าร่วมรับฟังเสวนาจตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน(Quadruple Helix) โดยศูนย์ประสานงาน ชุมชนสัมพันธ์ HUSOC คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เสวนาออนไลน์ เวลา 9.00 น -12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM และได้ทำการถอดคำพูดวิทยากรทั้ง5ท่าน เก็บข้อมูลแแอพพลิเคชั่นในวันที่1 พฤศจิกายน 2564 และเก็บแบบฟอร์ม06สำหรับที่พักอาศัยในวันที่15 พฤศจิกายน 2564 และงานครั้งนี้จะสำเร็จไม่ได้เลยถ้าผู้ปฎิบัติงานไม่ร่วมมือกันขอบคุณผู้ปฎิบัติงานและคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน