17 ตุลาคม 2564 งานเสวนา ชื่อเรียกว่าทางเลือกและทางรอด มีผู้ร่วมเสวนา และ นักเกษตรทฤษฎีใหม่ โคกหนองนาโมเดล จากผู้ที่ความรู้ และประสบการณ์มาแชร์และชีแนะนำ ให้มีทางเลือกและทางรอด ได้รู้จักนักเกษตรทฤษฎีใหม่โคกหนองโมเดล ทั้ง 11 แปลง จากคน และองค์กรความรู้จากผู้เสวนาในครั้งนี้ 8 ท่าน และ ตัวแทน โคกหนองนาโมเดล5 ท่าน ผมจึงได้ เข้าฟังวีดิโอ ผู้ร่วมเสวนา  ทั้งหมดได้มาถอดบทเรียน และจับใจความ ทำสรุป จากการถอดบทเรียน เพื่อนำมาลงบทความของประจำเดือน พฤศจิกายน 2564

จากการฟังวีดิโอจากผู้เสวนาทั้งหมดได้ถอดบทเรียนและจับใจความ และสรุปได้ ดังนี้

1.รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์  เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การพัฒนาที่อย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนา เพื่อขจัดความยากจน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน สังคม จนถึงระดับชาติ โดยยึดหลักสร้างสมดุล 3 เสาหลัก ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว การพัฒนาเป็นแนวคิดภายใต้หลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ในหลวงรัชกาลที่ 9  ที่ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนประชาชนทั่วไปตระหนักและให้ความสำคัญกับการนำหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” กับ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน องค์กรธุรกิจก็ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านหลากหลายกิจกรรม ต้องอาศัยการสร้างการรับรู้ เข้าใจ รวมทั้งให้ทุกภาคส่วนตระหนัก และเข้ามาเป็นหุ้นส่วน หรือมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงจึงจะสัมฤทธิผล เกิดความอุดมสมบูรณ์ พัฒนาชุนชม พ่อหลวง

รัชกาลที่9 เล่าไว้ นักเกษตรทฤษฎีใหม่ จะทำความเจริญได้ ต้องมีความพอเพียง ต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ไม่พูดมากไม่ทะเลาะกัน ต้องเข้าใจกัน

2.นางสาวดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตประจำตำบลหนองโสน

ตัวแทนทำเกษตรทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดลจากกรมพัฒนาชุมชนทำโคกหนองนาโมเดลอยู่ตนเองคิดว่าไม่รู้ว่าจะทำจริงมั้ย ถ้ามีโครงการเข้ามา

ก็มีความสนใจโครงการอยู่แล้วรอว่ามีมาเมื่อไหร่โดยพื้นที่ส่วนตัวอยู่โคกสูงปัญหาในพื้นที่น้ำแห้งมาก มีวัวที่เลี้ยงจึงไม่มีน้ำให้วัวกินจนต้องเอาน้ำมาจากบ้าน

สองกิโลเมตรเพื่อเอาน้ำมา ให้วัว ทางครอบครัวคิดทำยังไงให้จะให้มีน้ำเพราะแห้งมากจะทำนาก็ไม่ได้ ถึงสี่ห้าปี เพราะที่มันแห้งแล้งไม่มีน้ำ ดินก็เป็นดินหินขาวปลูกอะไรก็ยาก เลยมีโอกาสได้โครงการอบรม

สี่คืน ห้าวัน จึงได้มึความรู้ จากประสบการณ์หลายๆคนจากการเข้าร่วมโอกาสจึงได้รู้ ดินที่ไม่ดีจะปลูกต้นไม้ได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะแก้ไข มีน้ำใช้ให้พอเพียง ทุกสภาพดินแก้ไขได้หมด

นักพัฒนาชุนชม( นพต ) ได้เข้าดูแลครัวเรือน จากสอนไม่เป็นก็สอนให้เป็น ติดตามดูแลงานทุกอย่าง ที่ทำเกษตรหรือโคกหนองนาโมเดล ทำให้มีกำลังใจมากขึ้นจึงทำนักเกษตรทฤษฎีใหม่  ได้มีผลผลิต มีราคาได้ ขายออกได้ และช่วยเหลือกัน มีที่ขาย มีอยู่ มีกินและมีใช้ สิ่งที่คิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ก็สามารถเป็นได้ ถ้าไม่ลงแรง ไม่ลงใจมันก็ไม่เกิดประโยชน์ทั้งแรงและใจมากด้วยกัน ถ้าไม่อดทนก็ไม่มีวันนี้ และก็ยังอยู่ที่เดิม ประสบการณ์ให้เกิดความสำเร็จ เกิดความสุขตนเองและผู้อื่น

3.นาย สมซิต ไชยชาติ

ในยุคNew Normal โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่มีมานานแต่เดิมคือการแบ่งพื้นที่ ทำกิน 30% พื้นที่น้ำ 30%พื้นที่อยู่อาศัย10%รูปแบบที่ต่างกัน  ที่จะแก้ปัญหาของภัยแห้งแล้งเรื่องของน้ำ

สระน้ำ อยู่30% เหมือนเดิมตามทฤษฎีมาปั้นโคกสูงเป็นนาทองคำและยังมีพื้นที่นาเหลืออยู่การบริหารพื้นที่ใช้หลักสูตรทฤษฎีใหม่รูปแบบจะแบ่ง10%ส่วนจะเป็นที่อยู่อาศัย

ในพื้นที่ทำโคกหนองนาโมเดล 3-4 ไร่ แต่ละพื้นที่จะแบ่งเป็นตามส่วน แต่ละพื้นที่แบ่งส่วน1:3.1:2.1:1และ2:3 เหมือนกันหมด ทั้ง1ไร่ ทั้ง3ไร่ ที่นี้พอปลูกเสร็จจะเป็นโคกและจะเป็นป่า

การปลูกป่า การเป็นอยู่ป่าไม้เป็นประโยชน์สามถึงสี่อย่างการปลูกต้นไม้ อย่างแรกคือ ไม้สูง คือ ไม้สอยใช้ประโยชน์ ใช้เนื้อไม้ในการสร้างบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

ไม้กลาง ไม้ผลไม้ที่เราใช้กิน และไม้เตีย พืชผักที่ลดการออกมา และก็ไม้เลื้อย ประโยชน์คือเรื่องของน้ำเลี้ยงพืช

ปลุกไว้เพื่อสิ่งแวดล้อมและอนาคตของลูกหลาน และคนรุ่นใหม่ไว้สืบสานต่อดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติให้มันคงพื้นป่าและมีเกษตรไว้ทำกินเมื่อตกงาน

หรือว่างงานเพื่อ ที่เลี้ยงชีพ หรือได้ดำรงชีวิต ที่พออยู่ พอกิน ในทางรอดในชีวิตให้ทางเลือกของเขาต่อไป ปลูกไม้ เพื่อมาได้สร้างบ้านให้ลูกหลานได้นำสร้างบ้าน และ

สร้างรายได้และแก้ครอบครัว สิ่งใด้ในสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศความชุ่มชื่นดินจะกลับมา จะอุดมสมบูรณ์ธรรมชาติจะร่มเย็นปกป้องภัยพิบัติได้ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม

4. ปลัดกรุณา สวัสดิ์สิงห์

โคกหนองนาโมเดลจะสืบสานและจะต่อยอดสิ่งดีๆที่พ่อทำไว้สิ่งที่ดีอยู่แล้วก็ทำให้มันดีขึ้นไปเรื่อย ดียิ่งขึ้น ทฤษฎีสมัยท่านในการจัดการพื้นที่ถ้าเรามีพื้นที่การมาบริหารจัดการ
เช่น 1.ที่อยู่อาศัย 2.ที่ปลูกพืช 3.ที่เลี้ยงสัตว์ 4.ปลูกข้าว เป็นต้น หรือคนยุคใหม่ที่นักพัฒนาชุนชมได้พูดว่าทางเลือกหรือทางรอดถ้าเราไม่ทำหรือลงมือทำนี้จะไม่ประสบความสำเร็จแน่นอนคนที่จะเรียนจบหรือคนยุคใหม่ต้องขอบคุณโควิดด้วย โควิด-19ย้อนไปในอดีตของเกษตรในการก้าวสู่ยุคใหม่ ที่เร็ว  และการเปลี่ยนแปลง พอโควิดมาธรรมชาติก็ลงโทษ เราไปทำลายกับธรรมชาติไว้เยอะคือตัดไม้ ทำลายไม้ ความอุดมสมบูรณ์หายไป อากาศต่างๆก็ไปหาย พืช ผัก สัตว์น้ำ สัตว์บก สูญหายไป เพราะไม่มี การรักษาต่อ ยอดธรรมชาติจึงหายไป เกษตรทฤษฎีใหม่หรือโคกหนองโมเดล
 ประยุกต์ใช่ของเราถ้าเราไม่ทำก็ไม่เกิดถ้าเราทำและลงมือทำก็จะเห็นผล ต้องชอบด้วย ใจรักด้วย สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติได้ไม้ด่าง ไม้ประดับกำลังมา
 วัยรุ่นเราปลูกเลย เราศึกษาประโยชน์ต่างๆของแต่ละต้นไม้มาปลูกได้ คนส่วนใหญ่นิยม มุมกาแฟวัยรุ่นชอบถ่ายรูปแหล่งที่สวยๆงามๆ ใหม่ๆ แปลกๆ ที่สามารถสร้างรายได้
หาพื้นที่มาลงของเราเอง และพื้นที่ขายอาหารต้องประยุกต์เอาเป็นอะไรที่หลากหลายเช่น อาหารพื้นบ้านๆอาหารที่คนนิยม คนในพื้นที่ หรือคนชอบทานกัน แปลกใหม่ เข้ากับยุคทันสมัย
5.พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม  (ทองใส่)
ได้การรับฟังครั้งนี้จะได้ประโยชน์จาการเสวนาครั้งนี้การฟังเป็นการบำรุงจิต บำรุงใจ เป็นการบำรุงอาชีพของตัวเองเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านและของตัวเองคนได้ไปปลูกป่ารับวิทยุผู้เฒ่าเล่นเฟส
เล่นไลน์ดูยูทปไม่เป็น อาศัยฟังวิทยุเอาพระ คนก็ปลูกต้นไม้อยู่ ปลูกแต่ไม่ได้ทำลายอาชีพ ใครปลูกก็สร้างประโยชน์ต่างๆให้ลูกหลาน เพื่ออุดมสมบุรณ์ สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
น่าอยู่กับธรรมชาติรักษาคน ป้องกันโรคต่างๆ ภัยทางธรรมชาติได้จัดงานการเสวนาในครั้งนี้ได้รับฟังเอาภาษาอีสานไปแปลเองเดอะอาจารย์จะพูดไทยไม่คือแต่พูดอีสานได้
ตัวผมก็ฟังออก พอแปลได้เป็นบางคำ ก็จะฟังตามความเข้าใจและจับใจความมาการจัดการเทศการเสวนาเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่เข้าสู่ยุคโคกหนองนาคือรัฐบาล
ได้ช่วยทั้งเกษตรทฤษฎีใหม่ต่างคนต่างทำพอมีโครงการโคกหนองนาโมเดลได้เข้ามาช่วยเหลือเป็นโครงการได้จัดที่ตำบลทั้ง3ตำบล 1.ตำบลหนองกง  2.ตำบล หนองโสน
3.ตำบลหนองยายพิมพ์ ทำโครงการได้จากคน บางคนทำแล้ว ทำไม่ได้แล้วคืน พ่อแม่ ผัวเมีย ญาติต่างๆ  เสียดายนา บางคนเสียดายพื้นที เสียที่เสียทาง
ยุคปัจจุบันไม่เหมือนเก่าที่สามารถอยู่ที่บ้านได้ เรียนที่ไหนก็ได้เพราะโลกใบนี้มี ออนไลน์ดูยูทป เรื่องไหนก็ได้ บางคนดูการทำโคกหนองนาแบบตัวอย่างจากทางออนไลน์
ได้ ในยูทูปแล้วปฎิบัติตามแบบอย่าง สำเร็จ บ้างก็ดูละครแล้วทำตามแบบในละครก็มี เขาก็มีนา เราก็มีนา ก็อยากทำตามแบบเขาไม่มีความรู้ไม่มีเงินเดือนแต่มีนาบางคนมีทุกอย่างแต่ก็ไม่พร้อม
เพราะปัญหาต่างๆของแต่ละคนที่ไม่พร้อมก็ทำไม่ได้ ทำให้ประชาชนอยู่ไม่รอดลูกหลานพากันปลูกไม่เยอะ บางคนหลายๆส่วนพากันขับเคลื่อนกันไปพอมีโครงการโคกหนองนา
ก็มีหลายคนให้ความสนใจกันพอสมควร เช่น ครูดนัย พอเกษียณไป แทนที่จะได้ใช้เงินแบบสบายๆไม่ต้องทำอะไร แต่ท่านกลับทำโคกหนองนา เป็นครูสอนนักเรียนจนเหนื่อยแล้วจนครบ อายุ60 ปี
พอเกษียณควรจะพักแต่ท่านกลับทำโคกหนองนา
ต้องมาตากแดด ตากฝน ตากลม  ที่เป็นแบบนี้ครูตอบว่าอยากมาทำราชการที่เกษียณแล้วอยากกลับมาทำสู่พื้นฐานข้าวปลาเป็นเรื่องของปกติที่ต้องกินต้องใช้ไม่ได้เป็นเรื่องจริง แต่ไม่รู้
ว่าเป็นเรื่องจริงหรือปลอมมีมหาเศรษฐีมีเงินเยอะ ทุกอย่างเป็นทองหมดเวลาตายก็เอาไปไม่ได้ ส่วนครูส่วนข้าราชการมีแต่นักร้องดารา ก็มาทำโคกหนองนาแล้ว ที่
สุรินทร์ ดาราแพนเศ้กมาทำได้หลายปีแล้ว นักร้องก้อง ห้วยราช ที่สกลนครปลูกไม้ยางได้สองปีเก็บเห็ดกินขายกันเต็มมีเงินเยอะก็จริงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง แต่กลับ
มาสู่โคกหนองนาเป็นทางเลือกและทางรอดแลกกับความเหนื่อยถ้าไม่อดทนก็ทำไม่ได้ ถ้ากลัวแดด กลัวดำ ถ้าอดทนก็ทำได้ ไม่มีทุกสิ่ง กล้าทำก็ทำได้ถ้าทำทุกวันนี้
ก็ไม่ลำบากเพราะมีอุปกรณ์ช่วยหลายอย่าง เมื่อก่อนขุดสระต้องขุดเอง เมื่อก่อนขุดเองทุกอย่าง ปัจจุบันไม่ต้องทำไรเองตอนนี้พร้อมที่จะกลับมาแล้ว ภาคการเกษตร
ก็เป็นทางเลือกให้เราอยู่ได้ก่อนจะมีทฤษฎีใหม่ โคกหนองนา เป็นพระก็เข้าห้างได้ในห้างมีผักหลายอยู่ในห้างต่างๆและหลายชนิดที่เกิดจากภาคเกษตรเป็น
ทางเลือกและทางรอดสู่ลูกสู่หลานอยู่สูงขนาดไหนก็กินข้าวไม่มีคนไหนไม่กินข้าวทุกคนต้องกินข้าวทุกมื้อ ความอุดมสมบูรณ์ในน้ำต้องมีปลา ชาวนาไม่มีเงินก็อยู่ได้
แต่อยู่ในเมืองกรุงเทพเมืองต่างๆถ้าไม่มีเงินอยู่ไม่ได้ ซื้อข้าว น้ำ กับข้าว ซื้อของต่างๆก็ต้องใช้เงิน ถ้าอยู่บ้าน ก็มีของให้กิน เช่น ของในสวน สัตว์น้ำ ไม่มีเงิน ก็
สร้างความสุขได้
6. ท่าน อาจารย์ดนัย
นักพัฒนาพื้นที่และต้นแบบ(นพต)มีโอกาสได้ร่วมขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาให้โครงการโคกหนองนาประสบความสำเร็จให้ผู้ร่วมโครงการสมหวัง ไหนเรื่องหวังเอาไว้
สำหรับจะนำเสนอหน้าที่ ได้ปฎิบัติการคือ( นพต) ส่งเสริมด้านวิชาการให้ความรู้ศาสตร์ของพระราชาทำงานหลักกรรมธรรมชาตินั้นเองทำไงให้พื้นที ดินใช้ได้
สามารถปลูกอะไรได้บ้างสามารถใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้างทิศทางที่เราจะสร้างปศุสัตว์จะรวมทั้งนั้นอยู่เลยนอกจากนักวิชาการแล้วให้ความร่วมมือกับพละกำลังด้วย
ร่วมปฎิบัติควบคู่ครัวเรือนในต้นแบบจะมีเครือข่ายการปฎิบัติงานจะลงไปดูพื้นที่ว่าจะเหมาะสมหรือมั้ยทิศทาง ดิน น้ำลม ไฟ ลมมาทางไหน ยังไง น้ำเข้าทางไหน
ออกทางไหนจะวางแผนว่าสระไว้ตรงไหน ที่พักอาศัยไว้ตรงไหน เราจะเข้าไปคุยกับครัวเรือนแล้วเอาพื้นที่มาจะได้ไปถอดแบบที่เราคลาดหวังเอาไว้ หลังจากนั้น
เราก็เริ่มพัฒนาพื้นที่นั้นให้ตามเป้าหมายที่วางไว้ปลุกป่าสามอย่างและก็ประโยชน์สี่อย่างบนโคกหลังจากขุดเสร็จแล้วป่าไม้ห้าระดับสิ่งทีแน่ที่สุดคือหลักกรรมธรรม
ชาติในครัวเรือนนั้นทับดินสร้างดินให้มีชีวิตการจะสร้างดินให้มีชีวิตนั้นต้องสร้างจุลินทรีย์พ่อหลวงรัชกาลที่9 ได้เล่าไว้ ว่า ในหิน ในดินนั้น มีอาหารของพืชอยู่
เพียงแต่มันไม่มีจุลินทรีย์จะมีกรดอยู่ผสมกับน้ำจะย่อย ย่อยหิน ย่อยทราย ย่อยต่างๆๆจุลินทรีย์วัสดุให้มาเป็นอาหารของพืช ให้ดินเลี้ยงพืช ทฤษฎีที่นำมาใช่ เป็น
ทฤษฎี 9 ขั้น สิ่งให้ทำตามระดับไม่ทำลัดหรือขั้นที่9เลยหลายท่านเห็นแล้วอยากทำทำตามมีเงินมีทองลงมือทำเลย มีคนงานเท่าไร มีต้นไม้เท่าไร พอมาปลูก
ไม่พอสองเดือนต้นไม้หายหมดแต่เราทำตามทีละตอนที่ละขั้นทำตามกำลังของเรา เช่นผู้ใหญ่ลือ ช่วงแรกของท่านนิ น้ำไม่ออกเลยตั้งแต่ขุดมานิ ท่านก็ไม่ปลูก
อะไรไว้เยอะปลูกทีละ10ต้น แล้วขนน้ำจากบ้านไปลดพอติดดีก็ปลูกใหม่อีกการเดินที่ละเก้าปฎิบัติตามหลักทุกอย่างที่เป็นหลักตอนนี้สีเขียวสวยงามตอนนี้
โคกหนองนาโมเดล ทั้งหมดแปลง ที่เข้าร่วมโครงการ ขั้น1-4 เป็นที่เรียบร้อยแล้วมีการร่วมมือสามัคคีวันไหนมีภาคีเครือข่ายเยอะแยะเลยมาร่วมมีหลายภาคส่วน
ที่มาร่วมกันวันนั้นครัวเรือน ต่างอำเภอก็มาร่วมบ้านสิงห์ก็มาร่วม โดยเฉพาะคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฎบุรีรัมย์ นำมาร่วมเอามือ
จนประสบความสำเร็จทุกแปลงมีภาพถ่ายเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้4ขั้น จากวันนั้นมาถึงวันนี้ไปดูเมื่อวาน4ขั้นท่านสำเร็จแล้วมีผลผลิตแล้ว หลังจากนี้ไป
พวกท่านจะได้ผลผลิตอีกมากมายจากการผลิตแบ่งปั่นก็สามารถไปทำบุญทำทานเอาไปเก็บเมล็ดพันธุ์เอาไว้ในครัวเรือน ทีเหลือก็เอาไปขาย
หลังจากนั้นจะมีเครือข่ายสานงานกันมาตั้งแต่เริ่มต้นเครือข่ายเรานั้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆเรียกว่าเครือข่ายเกษตรเกษตรโยธิน
เป็นสุดยอดบันได9ขั้น ของพ่อหลวงที่ให้เรามา เป้าหมายของพวกเรานั้นจากบันได9ขั้นแล้วจะต่อยอดให้เป็นโคกหนองนาโมเดล ทั้งหมด
จะเป็นแหล่งเรียนรู้อยากจะศึกษาก็สามารถมาบริการในพื้นที่ของเราได้เราจะมีครัวเรือนเป็นวิทยากรแนะนำเป็นพันธมิตร นพต จะส่งเสริม
กับครัวเรือนนั้นสร้างรายได้โดยการทำเพจของแต่ละแปลงเพื่อท่านสามารถ สร้างรายได้ในยุค  New Normal จะเห็นว่าคบ บันได9ขั้นแล้ว
เราจะมีความมันคงเรืองด้านอาหาร ผลผลิดมีเยอะแยะหลากหลาย เช่นท่านมีชัย ขายปลาตัวละร้อย 10ตัวก็อยู่ได้ ส่วนของท่านปรีดา
ข้าวงามๆมากผลผลิตในในร่องน้ำปลาเยอะมาก นี้คือผลผลิตโคกหนองนาโมเดลตามศาสตร์ของพระราชาคิดว่าเป็นทางเลือกและเป็นทางรอดแน่นอน
การจะเป็นโคกหนองนาโมเดล คือจะต้องมีแผนละขั้นตอนไหน ทำไปที่ละเก้าไม่ต้องรีบ ถ้าทำตามที่ละขั้น ประสบความสำเร็จและจะมีอยู่มีกิน มีใช้
มีขายสร้างรายได้ให้คงอยู่รอดได้และเป็นทางเลือกสำหรับ ลองทำโคกหนองนาโมเดล ของศาสตร์พระราชา ให้ ประชาชนพออยู่พอกิน
7.อดีตนายก เกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง
ตอนนี้ท่านอดีตนายก อ.บ.ต ได้ลงสมัคร นายก อบต ทางผู้ติดต่อไปได้เชิญมาแลกเปลี่ยนความคิดโดยไม่ได้มาเสวนาก็ได้ ที่เคยร่วมงานกันมาตลอด
การแสดงความคิดเห็นนี้ต้องเป็นเรื่องจริงมีหลักฐานสามารถตรวจสอบได้ ไม่สามารถพูดเรื่องเพ้อฝัน อย่าไปสร้างถนนทองคำ อย่าไปพูด สร้างป่าให้เป็นเพชรงาม
ท่านก็บอกว่าเป็นการเพ้อฝัน ช่วยเชื่อ ขออนุญาติ แสดงความคิดในความเป็นจริง อนุญาติจะบันทึกเสียงของตัวเองไว้ด้วย เกิดในพื้นแผ่นดินหนองโสน ตั้งแต่ปี
2507 ช่วงในปี2507 แถวนั้นจะเป็นป่าหมดทางเดินมาจากบ้านระนามพลวงเข้ามานี้ สมัยนั้นยังเป็นทางทางเกวียน ตรงสะพานลำปะเทียข้ามมาบ้านโคกว่าน
ไม่มีสะพาน ข้ามมา สมัยนั้นต้องใช้เรือ จะมีเรือ ลงเรือแล้วก็พ่าย แล้วก็มาขึ้นที่บ้านบุครามและก็เดินเท้าเข้ามาที่โคกว่านแห่งนี้ สมัยเดินทางมาหาญาติพี่น้อง
เพื่อน ในป่าแถวนี้จะเป็นป่า เหมือนป่าดงดิบเลย หลายสิ่ง หลายอย่างในป่าเยอะมากเช่น พืช ผัก  สัตว์ต่างๆๆ กระต่ายจะหากันในนี้สมัยนั้น ผักหลายชนิด
ถ้าเป็น ฤดูน่าฝนนี้ไม่ต้องไปขุดตามสระ ตามไร่ ตามนา สมัยนั้นจะออกมาหาปู หาปลากัน หอยก็เดิน ตามทางเกวียน ปลาจะขึ้นไปส่วนมากจะเป็นปลาธรรมชาติ
คือสมัย40กว่าปี ที่ผ่านมา มาปัจจุบันปูก็หายไป ปลาธรรมชาติก็หายไป ต้นไมป่า หายไป ถูกตัด สมัยนั้นที่สร้าง ไม่มีอิฐ ไม่มีปูนแบบสมัยนั้น ทุกอย่างจะใช้ไม้
ทั้งหมดเลยทั้งแต่เสา ฝ่า บ้านเรือนสมัยโบราณจะใช่เป็นบ้านทั้งหมดเลย นี้คือบ้านเมืองสมัยนั้นหลังจากนั้น ป่าไม้เราก็เริ่ม สูญหายไปจากนั้น และก็สูญพันธ์ไป
และก็เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์หลายอย่างและมายุคปัจจุบัน ยกตัวอย่าง หลังอนามัย หลังโรงพยาบาลสุขภาพตำบลบ้านจะอยู่ใกล้ตรงนั้น
สมัยเลิกเรียน จะเอาข่ายไปดักนก ไปเก็บผักต่างๆแถวนั้น ไม่อดกินหรอก สมัยไปเรียนหนองยายพิมพ์เดินมา มีเพื่อนไปเรียนบ้านโคกว่านอยู่สองสามคน
จะมีทุกหมู่บ้าน จะเก็บผักมาตามทางระหว่างเดินทางกลับบ้านและเดินตามลำห้วยความอุดมสมบูรณ์สมัยนั้น เรื่องหน้าน้ำไม่ต้องเป็นห่วง อาหารเยอะแยะหมด
เช่น หอย ปู ปลา มาปัจจุบันสิ่งต่างๆเล่านั้นหายไปสูญพันธุ์ไป เดี่ยวนี้มาในยุคหนึ่ง ในยุคเศรษฐกิจพอเพี่ยงผมชอบมาก องค์พระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทางวางแนวทางเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สมัยนั้นบูมมาก ใคร ๆ ก็ทำเศรษฐกิจพอเพียง ผมเองก็ให้ความสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ปี 2557  ผมมีอยู่แปลง1 เป็น มรดกของพ่อของแม่เนี่ย จะมีอยู่ด้วยกันสามหลัง ในขณะนี้ เมื่อปี57 มีลูกชายไปเรียนมหาวิทยาราชภัฎบุรีรัมย์ กำลังศึกษา ในระดับปริญญาตรี เริ่มสนใจปลูก ต้นไม้  พาลูกพาแม่บ้าน ซึ่งแม่บ้านผมเนี่ยเป็นคนบ้านเดียวกับพ่อผาย สร้อยสักกลาง เป็นคนตำบลโคกล่าง แม่บ้านก็จะพาไปดูพ่อผาย ลูกชายก็พาไปดูของคุณพ่อคำเดื่องบ้าง อาจารย์ไพรัตน์ คุณคำนึงก็พาไปดูมาก็มาเริ่มต้นปี57ก็ได้ทำกระท่อมเล็กๆหลังหนึ่ง เสา 6 ต้น ตอนนั้นผมได้ไปอยู่ หลังแรกเป็นของคุณอบ อักสีดำ แล้วหลังที่สองก็เป็นของผม หลังที่สามพึ่งไปอยู่เมื่อปี 2564  ก็คือคุณสมพร นาแพง หรือว่าคุณตุ นะครับพึ่งไปอยู่ปี 2564 เริ่มทำเศรษฐกิจพอเพียงแล้วก็มีสระเล็กๆ อยู่หนึ่งลูก คุณหมอยังเคยไป บ้านของคุณอบนายกยังจำได้เคยไปหา กฐิน ผ้าป่าลูกหลานในกรุงเทพไปกับพระสงฆ์ไปหาลูกหลานในกรุงเทพส่วนมากอยู่แต่ตามบ้านเช่าพอเขาเห็นเราเขาจะหาอาหาร หาปลามา วิ่งไปซื้อข่าตะไคร้ใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี ซื้อเขาทุกอย่าง มาเพื่อมาทำให้พระฉันท์ เพื่อมาทำให้พวกเราได้ทาน เวลาไปรถยนต์เราจะคุยกันเป็นอยู่ก็ยากพอแล้ว ก็ต้องมาซื้อกินให้พวกเราอีกผมในครอบครัวลูกหลานห้ามไปซื้อ ต้นหอมผักซี เขากิน เมื่อตอนนั้นไม่มีกระท่อมจะสื่งต่างมาปลูกเพื่อได้กิน ไม่ต้องไปซื้อ อีกอย่างหนึ่งผมจะไม่ซื้อน้ำกิน ที่บ้านมีโอ่งไว้
เก็บน้ำฝน สมัยโบราณ เกือบสิบโอ่งใส่น้ำเอาไว้ แต่ที่บ้านที่ต่อต้านนิดเพราะมีนกพิราบ สมัยก่อนไม่มี เมื่อก่อนมีแต่น้ำฝนกัน ถึงฤดูใส่น้ำฝนไว้เต็มโอ่งหมดและก็พอกิน
มาปัจจุบันสิ่งที่พูดมาเริ่มหายไป ท่านพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมณ์ ท่านพระอาจารย์ทองใสเนี่ย ผมก็ทำงานเคียงคู่กับท่าน ผมก็พาท่านผู้ว่าไปดูเพื่อจะช่วยผลักดันเรื่องงบประมาณ แล้วเราก็ได้งบประมาณมาจริง พอท่านผู้ว่าไปเห็นทำไมกระท่อมถึงไม่สวย เป็นถึงนายก ฝนตกมา ใส่หมด นายกบอกว่าผมค่อยๆๆทำ ผ้าใบรถล้อ มากัดไว้
เพื่อไม่ให้ฝนตกใส่ พระอาจารย์ทองใสเนี่ย จะไปยืนอยู่ใกล้ๆกระท่อมผม จึงไม่กล้าเข้ามา พาไปดูน้ำแต่ยังไม่เรียบร้อย เสร็จลูกชายผมก็เรียนจบปริญญาโท มหาวิทยาราชภัฎบุรีรัมย์ ลูกชายก็เริ่มสนใจ เห็นต้นแบบต่างๆๆเริ่มสนใจเรื่องต้นไม้ มาครั้งแรกจะเอาธงไปปัก 4-5 ธง สมัยนั่นผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสนี อุที คือท่านผู้ใหญ่หนอง ท่านถามจะสร้างวัดใช่มั้ย
เห็นพื้นที่เหมือนวัดเลย และต้นไม้ใหญ่มาก ต้นยางนาเป็นร้อยต้นเลย แล้วก็ในพื้นที่มันประมาณ 10 ไร่ ปลา เป็ด ไก่ เลี้ยงหมดเลย ทุกวันนี้ไม่เหลืออะไรเลย
หมามันก็กัดตายหมด 20-30 เป็ดไข่ร้อยตัว บางที่ไม่มีเวลาไปดู เพราะทำงาน หมาก็เข้ามากัดได้ เลยเปลี่ยนมาเลี้ยงหนู แทน พอหนูโตขึ้น ก็เอามาทำอาหาร และแบ่งปั่น ชาวบ้าน
เห็นด้วยกับโคกหนองนาโมเดลกับเศรษฐกิจพอเพียงในบ้านเมืองข้าวบ้านเราก็สู้ข้าวที่อื่นไม่ได้ สิ่งที่รัฐบาล และข้าราชการเข้ามาช่วยเหลือ และเกิดการเปลี่ยนขึ้นมา
มีโอกาสเข้าไปดูของนายมีชัย หรบรรณ์ ที่โคกหนองนาโมเดลติดถนนเส้นโคกว่าน ผมนึกภาพตามนี้นะครับ ตั้งแต่บ้านบุครามมา เริ่มจาก อบต. ที่มีแหล่งน้ำ 300-400 ไร่ เลยช่วงนั่นมาจะเป็นสวนตายาย เลยสวนตายายมา เป็นสระว่ายน้ำปัจจุบันเลยสวนตายายมาก็เป็นสวน ลุงก้าวสุข ติดจากสวนเก้าสุขก็เป็นโคหนองนาของคุณมีชัย หรบรรณ์ ผมคิดว่าในอนาคตคนที่มาเที่ยวตรงนี้ ก็จะเที่ยวตามลำดับมาแล้วก็จะได้เข้าไปยังโคกหนองนาของคุณมีชัย มีทั้งน้ำ ต้นกล้วย ปลานิล ที่สามารถเอามาทำปลาเผาได้ 
8.เสวนา ท่าน อาจารย์ชมพู อาจาย์คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏบุรีรัมย์
งานเสวนาครั้งนี้เกิดมาจากการดำเนินของท่านคณบดีและทีมงานของเรา ต้นน้ำ กลางน้ำ ตอนนี้มาถึงปลายน้ำ เราได้ทำอะไรไปบาง ท่านคณบดีเลยบอกว่า จัดเวทีเพื่อให้ทุกคนได้เห็นว่างานที่เราทำมันเกิดอะไรบ้าง ผมได้มอบหมายให้นักศึกษาไปสัมภาษณ์จึงได้มาถอดบทเรียนเสวนาในครั้งนี้ว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ สู้โคกหนองนาโมเดลทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal สิ่งที่ได้เรามาเรียนรู้ว่าอันไหนคือทางเลือกและอันไหนคือทางรอดในยุคใหม่จึงอยากจะรู้แต่ละท่านจะพูดกันยังไง สามหลักๆที่ พูดกันยาวนาน พูดเกี่ยวทฤษฎี ใหม่ 1.พออยู่ 2.พอกิน  3.พัฒนาเพื่อจะทำธุรกิจในการค้า เพื่อจะให้เราอยู่ได้ อย่างมีความสุข คือทฤษฎีที่เราได้เรียนรู้มา แต่เราประยุกต์ทฤษฎีใหม่นำมาสู้โคกหนองนาโมเดล ได้ขยายให้มันกว้างใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มนางรองเรามีกลุ่มรักสีเขียว ผมมองว่าอีก 30 ปีข้างหน้านางรองจะเป็นโอเอซิสของโลก คือเป็นขุมทรัพย์ของโลก ใครๆก็อยากมา ใส่ในลงยูทูป และมีสองภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และเป็นแหล่งเที่ยวอำเภอนางรอง ในอนาคตข้างต่อไปและก็มีการพัฒนาไปเรื่อยเพื่อศูนย์เรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
9.1 ท่าน นายบุญลือ นวลปักษี
ผมเองก็เป็นครัวเรือนโคกหนองนาโมเดล แรงบันดาลใจที่ทำให้ผมมาทำโคกหนองนาโมเดล คือการได้ไปเรียนรู้กับพ่อกำเดื่อมไปอบรมอยู่ประมาณ 5 วันเมื่อก่อนผมไม่รู้ว่าการปลูกต้นไม้ มีประโยชน์อย่างไร ทำอะไรได้บ้าง  ได้หัวหน้าสมคิด ชัยชาติ ก็มาลงให้เป็นแปลงโคกหนองนาโมเดล ตอนแรกผมก็เสนอชาวบ้าน ชาวบ้านไม่มีใครเอา เพราะว่าไม่มีใครต้องการ ที่นี้ผมเอง ก็เลยทำ ที่นาก็เป็นที่ของเจ้าเอง แม่บ้านไม่เอา เพราะว่าเขาไม่ชอบ ทำไปทำมาเขาก็เลยสงสาร เขาก็เลยมาช่วยตอนแรกก็ทำตามท่านอาจารย์ในการปลูกต้นไม้ครังแรกปลุกต้นกล้วยสามสิบต้นเอาน้ำไปรดทำไปทำมาก็ปลูกต้นไม้ไปอีก ตอนนี้ สามสิบต้นก็รดน้ำไปเรือยๆแต่ตอนนี้ผมปลูกกล้วยประมาณสองร้อยกว่าต้นแล้ว ต้นไม้ยืนต้นสองร้อยกว่าต้น  ไม้ผลก็เยอะก็ไปเรื่อยๆค่อยเป็นค่อยไปไม่รีบเกินไปผมหาบน้ำรด ร้อยกว่าหาบตื่นแต่เช้าก็หาบๆๆรายได้เก็บพริก ขายได้120 บาท แต่มะเขือกำลังออก กระเจียบเขียวกก็ขายได้ ผักบุ้กนา ไม่มีสารเคมีเก็บได้ทุกวันและขายได้ทุกวัน20-30บาท
9.2 ท่าน นายสว่าง  อุดมดัน.
ได้ทำโคกหนองนาโมเดล ได้ผลผลิตที่เห็นผล แล้วคือ ปลูกต้นไม้หลายๆอย่าง ลงปลาในน้ำหลายตัว และก็ปลูกพืชผัก เช่น ฟักทอง แตง ก็ได้แบ่งปั่นแจกชาวบ้านแล้วน้ำก็จะเริ่มท่วม
ปลาก็เริ่มจะออกไปหมด
9.3 ท่าน นายมีชัย  หรบรรพ์
ผมก็เป็นครัวเรือนหนึ่งที่ได้ทำโคกหนองนาโมเดลตอนแรกว่าจะไม่ได้ทำโคกหนองนาโมเดลกับเขาเพราะเห็นผู้ใหญ่จุลได้ทำโคกหนองนาโมเดลอยู่แล้ว แต่หัวหน้าสมชิตเลยแนะนำให้
ลองทำดูผมก็เลยรับไว้ปกติผมก็ไม่เคยคิดที่จะทำหรือที่จะโคกหนองนาตรงนี้ พอได้ไปอบรมาก็รู้สึกว่าชอบจนทุกวันนี้ได้ปลูกหลายอย่าง สำหรับปลูกต้นไม้มีหลายชนิดผลผลิตตอนนี้ได้กินอยู่ได้ขายนิดๆหน่อยๆขายทีแรกคือลูกปลา ตอนนี้ก็ใหญ่พอจะได้กิน จะได้ขาย ลงปลาไปประมาณ สี่พันตัว ลูกออกมาเป็นแสนแล้วมั้ง
9.4 ท่าน นายอุทัย  งามแพง
อยู่ที่บ้านหนองโสน หมู่ 5 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเจ้าของแปลงนาโคกหนองนาโมเดล ทำไม่ได้ครบ ทำแบบของตัวเองด้วย
เรามีวัว เรามีควาย มีปลา ปลาให้ไปคือปล่อยไปตามน้ำเลยไม่ใช่ว่าเกษตรเราจะทำนาโคกหนองนาโมเดลอย่างเดียวเราควรจะเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เลี้ยงแค่สองตัวสวยๆและก็มี ควายเผือกสามตัว ผมปลูกหญ้าหวานไว้ ตารางวาละ 40 กว่าต้น และใน 1 ตารางวาปลูกเป็น 4 แถว เลี้ยงควาย 2 ตัวกินไม่หมด
บางคนต้องไปหาหญ้า มาให้วัว ควาย ถึงไกล ก็ต้องซื้อ บางคนเขาก็ไปเอาที่ละหานลาย บางคนก็ไปเอาที่บุรีรัมย์ แต่สไหรับผมไม่ต้องซื้อ  ไปเก็บเมล็ดหว่านเลยครับ ต้นไหนสวย ผมเอาเห็มเป็นแถวเป็นแนว
9.5 ท่าน นายจุล  ชื่นชู
 ผมก็เป็นคนขยันมาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่เรียนป.1.-ป.2แล้ว  ไม่เคยไปขอเงินพ่อแม่เลย และ ได้รับการชื่นชมจากพ่อแม่ว่าเป็นาถ้าเปรียบเป็นวัวเป็นควายไม่ต้องสนสะพาย เป็นเองเลยโดยไม่ต้องสอน
ก็ได้ช่วยทางบ้านปลูกผักไปขาย ร่อง หาบน้ำรดตอนเช้าตอนเย็น มีเวลาก็ไปขาย พ่อสอนเลี่้ยงไก่ไว้แม่สองแม่ มีโคกหนองนาโมเดลมาพอดีผมยิ่งลำบากมากกว่าเดิมยิ่งอายุมากว่าจะพอว่าเลิกล่ะ อายุ60ปีว่าเกษียณผู้ใหญ่บ้านมีโคกหนองนาโมเดลพอดี  ปลูกผักก็ได้ขายบาง ข้าวโพด ก็ได้ขายหลายรุ่นละ พริกก็ได้ขายและก็แบ่งพี่น้องกินฝนตกทำให้น้ำเจิ่งนองเขาเรียกว่ามันตกหล่ม มันก็เลยตาย ก็เลยต้องปลูกใหม่รากมันโดนฝน รากเลยเน่าหมดเลย สิ่งที่ปลูกไว้ก็ล่มหมด ช่วงนี้ปลาก็เต็ม สระก็เต็ม คลองไส่ไก่ปลาก็เต็มเยอะ
           
วันที่28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00-12.00  ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมงานโครงการเสวนา ชื่อ โครงการเสวนา “Quadruple Helix: จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่าง ยั่งยืน
ผ่านระบบออนไลน์ที่มีชื่อ ว่า ZOOM เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด จึงได้จัดการงานเสวนาได้อย่างทั่วถึงทางมหาวิทยาราชภัฎบุรีรัมย์ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานทั้ง 11ตำบล และประชาชนทุกภาดส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน นักศึกษา วิทยากร ผู้เสวนา เพื่อเข้าร่วมในระบบออนไลน์ กับ งานโครงการเสวนา ครั้งนี้ ประธานเปิดงานเสวนา รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พิธีกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คำภีรภาพ อินทะนูรองคณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์
โดยมีผู้ร่วมเสวนา เรื่อง “Quadruple Helix: จตุรภาคีสี่ประสานสู่ การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM ดั้งนี้
1.นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
2.รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาณ
4.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
6.ดำเนินเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์