ข้าพเจ้า นางสาวสุวนันท์ สีโกตะเพชร ประเภทกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ (กพร.)
หลักสูตร : HS02 โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
การปฏิบัติงานในเดือนพฤศจิกายน มีการปฏิบัติงานดังนี้ จัดเตรียมงาน และเข้าร่วมงานเสวนา เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล “ทางเลือก และทางรอดในยุค NEW NORMAL” เข้าร่วม เสวนาออนไลน์ จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM เก็บข้อมูล CDB ในแอปพลิเคชัน U2T
จากการจัดเตรียมงาน และเข้าร่วมกิจกรรมงานเสวนา เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล “ทางเลือก และทางรอดในยุค NEW NORMAL” ในช่วง วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2564 และวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2564 อาจารย์ได้มอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยการให้ผู้ปฏิบัติงาน ช่วยกันถอดบทเรียนของวิทยากรที่ เข้าร่วมบรรยายในการเสวนา โดย สามารถจำแนกชื่อวิทยากร ได้ดังต่อไปนี้
- พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง
- นางสาวกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ปลัด อบต. ตำบลหนองโสน
- อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.)
- รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม่หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
- อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- นายสมชิต ไชยชาต พัฒนากรชุมชนชำนาญการ อำเภอนางรอง
- นางสาวดนุลดาธรรมนิยม สารวัฒกำนัน ตำบลหนองโสน
โดยทั้ง 7 ท่านจะเป็นวิทยากรหลักในการเสวนา และมีผู้เข้าร่วมเสวนาในช่วงท้ายเพิ่มเข้ามา เพื่อความเหมาะสมได้แก่ อดีตนายก อบต. นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง และเจ้าของแปลงโคกหนองนา ได้แก่ นายบุญลือ นวลปักษี นายอุทัย งามแพง นายสว่าง อุดมดัน นายมีชัย หรบรรพ์ และนายจุล ชื่อชู รวมไปถึงนายมานพ บุญรอด (พี่ต้อย) เจ้าของแปลงที่จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง เข้ามาชี้แนวทาง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำโคกหนองนาโมเดล ในพื้นที่ ตำบลหนองโสน
หลังจากได้รับมอบหมายจากอาจารย์ในการให้ถอดบทเรียน ข้าพเจ้าได้รับ ผิดชอบการถอดบทเรียน ของ อดีตนายก อบต. นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง และนายมานพ บุญรอด (พี่ต้อย) เจ้าของแปลงที่จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง โดย ข้าพเจ้าได้ถอดบทเรียน ณ วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2564 และสามารถสรุปการถอดบทเรียนคล่าว ๆ ได้ ดังต่อไปนี้
อดีตนายก อบต. นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง
//วันนี้ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องการทำโคกหนองนา เพราะว่าเริ่มจากเศรษฐกิจพอเพียงมาจนถึงปัจจุบัน เราทำไร่ทำนาอย่างเดียว ซึ่งเป็นอาชีพตั้งแต่ปู่ย่าตายาย มา มาวันนี้ถ้าเราติดตามสถานการณ์บ้านเมือง ข้าวของเรา เราก็สู่ของเขาไม่ได้ วันนี้สิ่งที่รัฐบาลส่งเสริมมา หน่วยงานราชการที่เข้ามาสนับสนุน เรื่องโคกหนองนาวันนี้มันเปลี่ยนแปลงเลยครับ ในนั่นมีทั้งโคก มีทั้งหนอง มีทั้งนา มีแหล่งน้ำ ผมได้มีโอกาสเข้าไปดูของนายมีชัย หรบรรณ์ ที่โคกหนองนาติดถนนเส้นโคกว่าเนี่ย ผมนึกภาพตามนี้นะครับ ตั้งแต่บ้านบุครามมา เริ่มจาก อบต. ที่มีแหล่งน้ำ 300-400 ไร่ เลยช่วงนั่นมาจะเป็นสวนตายาย เลยสวนตายายมา จะเป็นสระว่ายน้ำวอเทอปาร์ค ปัจจุบันเลยสวนตายายมาก็เป็นสวน เก้าสุข ติดจากสวนเก้าสุขก็เป็นโคหนองนาของคุณมีชัย หรบรรณ์ ผมคิดว่าในอนาคตคนที่มาเที่ยวตรงนี้ ก็จะเที่ยวตามลำดับมาแล้วก็จะได้เข้าไปยังโคกหนองนาของคุณมีชัย มีทั้งน้ำ ต้นกล้วย ปลานิล ที่สามารถเอามาทำปลาเผาได้ มันก็จะเริ่มเป็นที่มาของรายได้ ในส่วนของร้านตรงข้ามโคกหนองนาของนายมีชัย ผมก็ได้เคยพูดว่าในอนาคตจะต้องมีร้านจักรยานให้เช่า อาจจะมีสามล้อพ่วงข้างให้ยืม มีมอเตอร์ไซต์ขี่ ไปเที่ยวตามเส้นทางบริเวณดังกล่าว เห็นไหมครับก็จะเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว และที่สุดท้ายก็อาจจะมายังศูนย์เรียนรู้ ณ จุดนี้ นะครับ//
![]() |
![]() |
![]() |
นายมานพ บุญรอด (พี่ต้อย) เจ้าของแปลงที่จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง
“จะสางไปจนสาย ดูเดียวดายอยู่ดักดาน
เงียบงมอยู่กับงาน และก้มเงยจนกร่านดำ
เสื้อแสงก็เหม็นสาบ มือก็หยาบอยู่ทุกยาม
ฝ่าฟันใต้ฟ้าคราม จนงดงามด้วยแรงงาน”
//คำนี้นะครับเป็นคำที่ผมใช้กับตัวเองมา 20 กว่าปี ก่อนที่จะมาเริ่มดังนี้ นะครับ หนึ่งเรื่องของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกัน โดยฉะเพราะเรื่องภูมิคุ้มกัน ผมถือได้ว่าเป็นหลักสำคัญในการทำโคกหนองนาโมเดลนะครับ ณ ตอนนี้เราอาจจะไม่คิดอะไร เราอาจจะมีโมเดลทำ คิดอะไรไม่มากอยากทำอะไรก็ทำแต่เราอย่าลืมว่าถึงจุดหนึ่งมันจะเป็นทางตัน ถ้าถึงจุดนั่นเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ผมอยากให้ทุกคนเอาความภูมิคุ้มกันมาใช้ อย่างของผมนั่นผมรู้ว่า ณ วันหนึ่งถ้าเกิดอะไรขึ้นผมสามารถเลี้ยงชีวิตครอบครัวได้ เลี้ยงคนในชุมชนได้ เพราะผมจะสร้างภูมิคุ้มกันไว้ให้มันดีระดับหนึ่ง นั่นคือภูมิคุ้มกัน โดยฉะเพราะการทำเศรษฐกิจพอเพียง หรือหลักโคกหนองนาโมเดล สมมุติว่าเราปลูกพืชไปเยอะ ๆ แบบนี้ ต่างคนต่างปลูก เมื่อไรกล้วยราคาถูก ผักราคาถูกเราจะทำยังไง ถ้าเราไม่มีภูมิคุ้มกันมันจะเป็นปัญหาแน่นอน แต่สิ่งที่ผมอยากฝากไว้ทุกคนครับ ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์หน้าจะไปคู่กันนะครับ ในระหว่างที่เราทำโคกหนองนาโมเดล ผมอยากให้ท่านเลี้ยงสัตว์ สัตว์อะไรก็ได้นะครับที่สามารถมารองรับผลผลิตที่ผลิตจากโคกหนองนาของเรา ไม่ว่าจะเป็นเป็ด ไก่ หมู วัว ควาย เราเอาตรงนี้มารวมและสามารถให้มันเชื่อมโยงกันให้ได้นะครับ เมื่อนั่นเราจะไม่วิตกนะครับ อย่างของผมผมทำ เมื่อไรผักราคาถูก ผมมีหมูป่า ผมมีวัว เป็ด เมื่อไรอะไรราคาแพงอันอื่นหยุดผมเอาอันที่แพงขายก่อน เพราะว่าเราไม่รู้หรอกครับว่าอะไรข้างหน้าจะเกิดขึ้น ภูมิคุ้มกัน เป็นหลักที่ใช้ทำให้มีภูมิที่ดีที่สุด แล้วก็เรื่องของความง่าย ไว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืน และมีความสุข ตัวนี้อย่าลืมนะครับ เอามาใช้กับโคกหนองนา เราทำอะไรก็ได้นะครับเป็นเรื่องของใหม่ ๆ และทำได้ไว แล้วก็สามารถพัฒนาทำให้มันได้เร็ว กับระยะเวลาสั้น ๆ ทำไปด้วย แล้วถามตัวเองด้วยว่ามีความสุขไหม ถ้าเรามีความสุขกับทำ แสดงว่าผลสำเร็จเริ่มเห็นแล้วนะครับ อย่าทำไปด้วยทุกข์ไปด้วยเมื่อไร ถ้าเราทำไปด้วยทุกข์ไปด้วยมันจะเหมือนกับเวลาที่เจอปัญหาเราจะมองปัญหาว่าเป็นอุปสรรค แต่ถ้าเราทำด้วยความสุขเวลาเจอปัญหามันจะมีความสุขกับการแก้ปัญหา มันต้องขอบคุณปัญหานะครับ ทุกอย่างถ้าเจอปัญหาเมื่อไร เอาปัญหามาเป็นเพื่อน มาเป็นสิ่งที่เรียนรู้กับเรามันจะมีความสุข สุดท้ายนะครับต้องยั่งยืน มองด้วยครับ ถ้าทำแล้วมันจะยั่งยืนไหม เพราะว่าผมเห็นหลาย ๆ อย่างที่ทำมาส่วนมากจะทำตามกระแส ทำปับ ๆ สุดท้ายความยั่งยืนไม่ได้ มันจะเป็นปัญหาอันนี้ขอฝาก แล้วก็อย่าไปคิดเรื่องความร่ำรวยเอามาเป็นที่ตั้ง เหมือนปราชญ์ผู้หลักผู้ใหญ่เขายังบอกว่าทำการเกษตรคุณอย่าไปคิดเรื่องความร่ำรวย//
![]() |
![]() |
![]() |
วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้รับการแจ้งงานเกี่ยวกับการลงทะเบียนเพิ่อเข้าร่วมงานเสวนาออนไลน์ จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM โดยให้สแกน QR Code เพื่อลงทะเบียนการเข้าร่วมงาน ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 วันเสวนาออนไลน์ จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาดังกล่าว โดยเริ่มการเสวนา ตั้งแต่ช่วง 09.00 น. ในการเสวนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา ดังนี้ อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์ และภูมิทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และ ผศ.ดร. คำภีรภาพ อินทะนู รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และมาตราฐานการศึกษา เป็นผู็ดำเนินการเสวนา รศ. มาลิณี จุโฑปมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานในการเปิดงาน วิทยากรในการเสวนา มีด้วยกันทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่ นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศบาลตำบลอีสาน รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายณัชอิสธ์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์ นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ และ รศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเนื้อหาที่ใช้ในการเสวนาครั้งนี้ หลัก ๆ ได้แก่ Modernize Farmer Smart University
นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศบาลตำบลอีสาน
//การพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน ก็คือ การเปลี่ยนแปลงคน เปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้น โดยใช่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคนในชุมชน ผู้ที่มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มคนต่าง ๆ กลุ่มสตรี อสม. ในหมู่บ้าน กลุ่มเยาวชน แม้กระทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ทุกภาคส่วนจะต้องมาร่วมกัน 4 ประสานที่ว่าก็คือ อย่างที่ราชภัฏตั้งหัวข้อ จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ที่จะนำมาสู่การขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน//
รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
//แนวคิเรื่อง SCG เป็นแนวคิดที่สหประชาชาติได้กำหนดขึ้นมา เป็นแนวคิดที่บอกว่าจะทำยังไงให้การศึกษาหลายคนมีความเท่าเทียมกัน ในส่วนของสหประชาชาติที่พูดถึงความยั่งยืน สามารถแยกออกได้สามมิติด้วยกัน คือ 1 ก็ว่าด้วยเรื่องทางสังคม คือ สังคมที่มีความหลากหลายมากขึ้น หลากหลายทางความคิด หลากหลายทางวิธีการ วิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้ชีวิต 2 สมรรถนะ เราต้องลงไปเจอประเด็นปัญหา การแก้ไขปัญหา ด้วยตัวเอง ซึ่ง ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญ 3 การแข่งขัน การจัดมาตราฐานการจัดหาคุณภาพ และ SCG ยังกล่าวเกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจ ที่มีการแข่งขันกันมากในเรื่องของ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ การแข่งขันกันต่าง ๆ//
นายณัชอิสธ์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
//เราต้องยอมรับว่า โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมแล้ว ถ้าเรายังคิด และทำอะไรแบบเดิม มันจะช้าแล้ว เราจะทำอะไรแบบเดิม ๆ ไม่ได้ แล้ว เราต้องเดินหน้าตามการเปลี่ยนแปลง เราต้องเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันโลกอนาคต ภาพอนาคตเป็นภาพที่เรามองเห็นแต่การที่เราจะเปลี่ยนเพื่อไปถึง ณ จุดนั่น เราต้องเปลี่ยนยังไง เราทำได้ เพียงแต่เราต้องทำไปในแนวทางไหนเพื่อให้ทุกกลุ่ม ทุกทั้งจตุรภาคี ให้สามารถมองเห็นภาพอนาคตนั่นเป็นภาพเดียวกัน เอกชน ชุมชน ประชาชน มหาวิทยาลัย ต้องมองเห็นเป้าหมายที่ไปในแนวทางเดียวกัน//
นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์
//เราต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพราะโรคแบบเก่าที่เราอยู่เนี่ยมันไปต่อไม่ได้ เราต้องเปลี่ยน ถึงเราไม่อยากเปลี่ยน แต่มันก็เหมือนเราโดนบังคับให้เราเปลี่ยน แต่ผมคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขต ร้อนชื่น หากจะเปลี่ยน หรือเตรียมทรัพยากร ให้เพิ่มขึ้นแบบนี้มันทำได้ มันฟื้นตัวได้เร็วโดยการเริ่มที่ชนบทที่ชุมชน มันจะต้องเริ่มที่การไม่อดไม่ยาก เอาคุณภาพชีวิตเป็นเรื่องใหญ่ในการเริ่มชีวิต เพื่อการดำเนินชีวิต//
รศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
//การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย โดยมีการพลิกโฉมด้วยกันอยู่ 3 เรื่อง คือ 1. สร้างและพัฒนาคนในศตวรรณที่ 21 ซึ่งก็จะไปสอดคล้องกันเรื่อง โครงการของ SCG องค์การสหประชาชาติ 2. การสร้างองค์ความรู้ระดับนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ 3. การทำงานแบบจตุรภาคี มันอยู่ในเป้าหมาย เพราะทางกระทรวงมองดูแล้วมหาวิทยาลัยไม่สามารถทำงานเองได้ด้วยหน่วยงานเดียว แต่จะต้องร่วมด้วยช่วยกันในการสานต่องาน //
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ข้าพเจ้าได้รับการแจ้งงานจากอาจารย์ผู้ดูแลโครงการให้เข้าเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติมในแอปพลิเคชัน U2T โดยให้ลงเก็บข้อมูลในพื้นที่ตำบลหนองโสนเพิ่ม โดยข้าพเจ้าได้ทำการนัดหมายกับ เพื่อนในตำบลเพื่อลงเก็บข้อมูลในบริเวณบ้านสวนตายาย วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. โดยได้รับการขออนุญาติจากเจ้าของสวน นางปทุมมา ชีพธรรมกุล ได้ให้ความร่วมมือในการให้ความสะดวกในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้แยกย้ายการเก็บข้อมูลกับ เพื่อนในตำบล โดยแบ่งการเก็บเป็นโซน ข้าพเจ้าได้เข้าเก็บต้นไม้ จำพวก ไม้ประดับ บอนสี ฯลฯ ได้แก่ เหยือบารมี ประกายทอง กวักโพธิ์ทอง บัลลังค์เงิน กิ่งเงินกิ่งทอง กวีกทองคำ วาเลนไทน์ คฑามงคล เศรษฐีพันล้าน เจริญรุ่งเรือง รัศมีเงิน มอนสเตอร่า กุมารทอง เรียกทรัพย์ เสน่ห์จันทร์แดง เศรษฐีเงินหนา ฯลฯ
ไม้ประดับ หมายถึงพืชที่ปลูกไว้เพื่อความสวยงามที่มากขึ้น ใช้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนให้เกิดความเจริญตา ส่วนใหญ่ไม้ประดับมักเป็นพืชดอก จึงเรียกรวมกันว่า ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม้ประดับไม่จำเป็นต้องมีดอกก็ได้ เพียงมีใบที่ดูดีหรือมีสีสันสวยงามก็ใช้ได้ ไม้ประดับมีขนาดเล็กหรือขนาดย่อมพอเหมาะแก่พื้นที่จัดตกแต่ง อาจปลูกไว้ในกระถาง ปลูกลงดิน หรือแขวนห้อยไว้ก็ได้
ไม้ในร่ม
เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกในโรงเรือนหรือในร่ม มีทั้ง ‘ไม้ยืนต้น’ เช่น หมากแดง หนวดปลาหมึก ปาล์มหลายชนิด เป็นต้น ประเภท ‘ไม้พุ่ม’ เช่น กวนอิม ขิงแดง คล้า จั๋ง วาสนา สาวน้อยประแป้ง หมากผู้หมากเมีย เอื้องหมายนา อโกลนีมา เป็นต้น ประเภท ‘ไม้คลุมดิน’ เช่น เฟิร์น กำแพงเงิน สับปะรดประดับ เป็นต้น และประเภท ‘ไม้เลื้อย’ เช่น พลูด่าง ฟิโลเดนดรอน โฮย่า เป็นต้น โดยพันธุ์ไม้เหล่านี้สามารถอาศัยอยู่ในสภาพร่มเงาได้ดี
พันธุ์ไม้หอม
พันธุ์ไม้หอมมีความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของไทยที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรมอันยาวนาน ซึ่งปรากฏในวรรณคดีไทยหลายยุคหลายสมัย มีการนำพรรณไม้หอมมาปลูกเลี้ยงกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ แรกเริ่มสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นที่คัดเลือกมาจากป่า เป็นไม้ไทยพื้นเมือง เช่น จำปี พุด ลำดวน สารภี บุนนาค มะลิ เมื่อนำมาปลูกเลี้ยงก็สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพถิ่นที่อยู่ใหม่ได้ดี
ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีการนำพันธุ์ไม้หอมจากต่างประเทศเข้ามาปลูกในประเทศไทย ดังปรากฏในหลักฐานทางวรรณคดีที่กล่าวถึงไม้หอมต่าง ๆ ได้แก่ การเวก กระดังงา กุหลาบมอญ ส้มโอ พุทธชาด พุดซ้อน สายหยุด พิกุล เป็นต้น ต่อมาความนิยมได้เพิ่มมากขึ้น จึงมีการนำเข้าพรรณไม้จากต่างประเทศโดยเฉพาะสมัยรัตนโกสินทร์และจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ลักษณะของไม้หอมมีหลากหลายชนิดและหลากหลายสกุล มีทั้งที่เป็นไม้พื้นเมืองหรือกระจายพันธุ์มาจากประเทศใกล้เคียง เช่น ไม้หอมวงศ์กระดังงา ไม้หอมวงศ์โมก วงศ์จำปา วงศ์มะลิ วงศ์เข็ม พันธุ์ไม้หอมที่เกี่ยวกับพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศไทย ได้แก่ กุหลาบควีนสิริกิต์ โมกราชินี จำปีสิรินธร
ไม้มงคล
ต้นไม้บางชนิดจะให้ดอกที่มีสีสันสวยงามและให้คุณประโยชน์ มีไม้บางชนิดที่กำหนดให้เป็นไม้มงคล จากความเชื่อที่ว่าทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของหรือผู้ปลูก และมีไม้มงคล 9 ชนิด ที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์ ก่อนการสร้างอาคารบ้านเรือน โดยปักไม้มงคลลงพื้นและลงอักขระที่เรียกว่า หัวใจพระอิติปิโส ได้แก่ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ลงบนท่อนไม้ชนิดละอักขระ พร้อมทั้งปิดทองทั้ง 9 ท่อน โดยปักวนจากซ้ายไปขวา(ทักษิณาวรรต) ไม้มงคลทั้ง 9 ชนิด ได้แก่ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ กันเกรา สัก ทองหลาง พะยูง ขนุน ทรงบาดาล และไผ่สีสุก
ไม้ดัด
ไม้ดัด คือ ไม้ที่นำมาปลูกลงในกระถางหรือปลูกลงดิน แล้วตัดกิ่ง ก้านและตัดแต่งใบให้เป็นพุ่มหรือตัดแต่งให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ หรือตามแบบแผนที่เป็นที่นิยมกันมาในหมู่ผู้ชื่นชอบไม้ดัดมาแต่โบราณ ไม้ดัดจัดได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทนำต้นไม้ใหญ่มาทำให้เป็นต้นไม้เล็ก เช่น ไม้เอนชาย ไม้ญี่ปุ่น และประเภทนำไม้ใหญ่มาตัดให้เป็นรูปทรงแบบต่าง ๆ การเลือกพันธุ์ไม้ดัดมาปลูกเลี้ยงนั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงคุณลักษณะที่สำคัญของพันธุ์ไม้ชนิดนั้น ๆ คือ มีกิ่งเหนียวสามารถดัดให้โค้งงอได้ตามต้องการ ไม่เปลี่ยนแปลงรูปทรงหลังจากดัดแล้ว ไม่เจริญเติบโตเร็วเกินไป ใบมีขนาดเล็กเพื่อเหมาะสมกับหุ่น เปลือกควรมีความสวยงาม เช่น ผิวขรุขระหรือมีรอยแยก เป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนนาน ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นพันธุ์ไม้ที่หาง่ายในท้องถิ่น ไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดัด ได้แก่ ตะโก ตะโกนา ตะโกสวน ตะโกพนม มะสัง ข่อย ไกร ไทรย้อยใบแหลม ไทรย้อยใบทู่ โพธิ์ มะเดื่ออุทุมพร โมกบ้านโมกป่า เฟื่องฟ้า มะเกลือ มะขาม มะขามเทศ ชาปัตตาเวีย มะนาวเทศ ทับทิม ทับทิมหนู ฮกเกี้ยน เป็นต้น
ในส่วนของการส่งเสริมวิชาชีพเกษตรของวิทยาลัยเกษตรกรรมทั่วทั้งประเทศไทยก็ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่มีความสนใจในการปลูกเลี้ยงไม้ประดับชนิดต่าง ๆ เพื่อประดับบ้านเรือนหรือเพื่อเป็นการหารายได้
ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://th.wikipedia.org//wiki/ไม้ประดับ
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จาการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ และได้ความรู้มากมายจากการเข้าร่วมเสวนาของทั้งสองกิจกรรม จากข้างต้นที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ถึงพันธุ์ไม้ประดับที่ข้าพเจ้าได้ลงเก็บข้อมูล ณ สวนตายาย เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าต้องขอขอบพระคุณผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมต่าง ๆ มา ณ ที่นี้ด้วย