ข้าพเจ้า นางสาวทิฆัมพร บุญรอด ประเภท นักศึกษา ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดลตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

สรุปการเสวนาวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา เรื่อง “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมลเดล :ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal”    ฉ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ.โคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง“ถ้าย้อนกลับไปเมื่อสมัยรัชการที่9ยังทรงพระชน ทุกท่านคงเคยเห็นภาพอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ชื่อ พัน กี-มุน (Ban Ki-moon) เป็นชาวเกาหลีใต้ เคยเข้าเฝ้า ในหลวง ร.9 อยู่บ่อยครั้ง และก็มีการพูดคุยกันจึงนำไปสู่การตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการ UN  นั่นคือ SDGs ซึ่งย่อมาจาก Sustainable Development Goal นั้นก็คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดกับ ร.9 ร.9ท่านก็คิดหาทางออกให้กับประเทศ ตอนนั้นประเทศไทยก็พยายามอย่างหนักที่จะก้าวเข้าไปเป็นเสือตัวที่5ของเอเชีย ซึ่งเขาเรียกว่าเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียตัวที่5  ในหลวงคิดว่าประเทศไทยยังไม่จำเป็นต้องไปถึงจุดนั้น อย่าลืมว่าเบื้องหน้าเบื่องหลังของประเทศไทยคือประเทศเกษตรกรรม เพราะฉะนั้นประเทศไทยจะอยู่รอดได้ ก็ต้องอาศัยการทำเกษตรกรรม อย่างพึ่งไปเป็นเสือเลย เสือคือประเทศที่เป็นอุตสาหกรรม แต่ประเทศไทยยังไม่ใช่ จึงเกิดการนำไปสู่การคิดค้นทฤษฎีมากมายด้านการเกษตร เพราะเกษตรกรรมทำให้คนอยู่รอดในโลกนี้ได้ เพราะทุกคนต่างต้องกินข้าว ในยุค New Normal เห็นได้ชัด คนไปไหนไม่ได้ ถ้าไม่มีอาหาร ไม่มีผลไม้ตุนไว้ ก็อยู่ไม่ได้  คนต้องอยู่ต้องกิน เพราะฉะนั้นเกษตรทฤษฎีใหม่จึงเหมาะอย่างยิ่งในทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะในยุคข้าวยากหมากแพง คำว่า เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุคสู่โคกหนองนาโมเดล เป็นศาสตร์รัชกาลที่ 9 ในยุคนี้เข้าสู่รัชกาลที่ 10 ได้พัฒนาขึ้นมาจากเดิม รัชกาลที่ 10 ได้พูดว่า จะสืบสานและรักษาต่อยอดสิ่งดีๆ ที่พ่อทำไว้รักษาต่อยอดสิ่งไหนที่มันดีอยู่แล้วจะทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิม เกษตรทฤษฎีใหม่คือการจัดการพื้นที่ ในหลวงท่านบอกไว้ถ้าเรานำพื้นที่มาบริหารการจัดการ 1.มีที่อยู่อาศัย 2.มีที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง นายสมชิด ไชยชาติ พัฒนาชุมชนชำนาญการอำเภอนางรอง อ.ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต.) นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นางกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นางดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อ.ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์(ผู้ดำเนินการเสวนา) และเจ้าของแปลงโคกหนองนาโมลเดลทั้ง 11 ท่านได้แก่ 1.นายจุล ชื่นชู 2.นายบุญลือ นวลปักษี 3.นางปรีดา จรกระโทก 4.นายมีชัย หรบรรพ์ 5.บายอุทัย งามเเพง 6.นางเปรมวิกา คนงาม 7.นางจิตรานุช โพธิ์หิรัญ 8.นางสาวดนุลดา ธรรมนิยม 9.นายสว่าง อุดมดัน 10.นายวงศกร ลุดาจันทร์ 11. นายบุญทัน ห้าวหาญ และเจ้าของพื้นที่ คือ นายมานพ บุญรอด และผู้ร่วมรับฟังในการงานเสวนาคือกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์การเสวนาครั้งนี้เกิดมาจากการดำริของท่านคณบดีและทีมงานของเรา เพื่อมาดูว่าเมื่อเราทำแล้ว ต้นน้ำ กลางน้ำ ตอนนี้มาถึงปลายน้ำ เราจะทำอะไร ท่านคณบดีเลยบอกว่า จัดเวทีเพื่อให้ทุกคนได้เห็นว่างานที่เราทำมันเกิดอะไรบ้าง อาจารย์ชมพูได้มอบหมายให้นักศึกษาไปสัมภาษณ์เจ้าของแปลงโคกหนองนา ในการเสวนา ชื่อว่า เกษตรทฤษฎีใหม่ สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal วันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าอันไหนคือทางเลือก อันไหนคือทางรอดในยุคใหม่ เมื่อเรามาถึงยุคNew Normal เราจะทำยังไงกับชีวิตให้มันเกิดความมั่นคงในชีวิตเรา เพราะฉนั้นเราจะเเลกเปลี่ยนความคิดและมาฟังแนวคิดแต่ละท่านว่า แต่ละท่านท่านจะพูดยังไง ในทฤษฎีใหม่จะมีอยู่ 3 ประเด็นที่พูดยาวนานคือ 1.พออยู่ 2.พอกิน 3.พัฒนาเพื่อจะทำธุระกิจการค้าเพื่อจะให้อยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุขเป็นทฤษฎีที่เราได้เรียนรู้มาแต่เราประยุกต์ทฤษฎีใหม่มาสู่โคกหนองนา จะทำยังไงให้เราได้ขยายสื่อให้กว้างใหญ่ไพศาล

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น. ทางคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ได้จัดเสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting เรื่อง Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยผู้ดำเนินการเสวนา คือ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ โดยผู้กล่าวรายงานคือ รศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์ในดังนี้คือ (1).เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน (2).เพื่อที่จะประสานเครือข่ายชุมชนที่คณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับพี่น้องชาวบ้านเพื่อที่จะได้ทำงานร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนต่อไป การจัดการเสวนาชุมชนในครั้งนี้ ก็เนื่องมาจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ที่กำลังจะเข้าสู่การประเมินผลงานจากไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชั่น (Times Higher Education) ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยื่น หรือ SDG เป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ในเรื่องของเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ซึ่งนำโดยท่านอธิการบดีมีความพร้อมในการจะนำมหาวิทยาลัยเข้าสู่ในการประเมินจาก ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชั่น (Times Higher Education) เพราะทางมหาลัยได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพราะฉนั้นวันนี้ได้จัดงานเสวนาขึ้นในนามของคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์เพื่อสนองนโยบายของมหาลัยดังกล่าวทางจตุรภาคีสี่ประสานหรือ Quadruple Helix คำนี้เป็นคำที่กระทรวงอุดมการศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและวัฒนธรรมได้ใช้ในการดำเนินการนโยบายเรื่องพิกโสมมหาวิทยาลัย ชึ่งสอดล้อกับ SDG ขององค์การสหประชาชาติและเป็นไปตามตัวชี้วัดของ ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชั่น (Times Higher Education) ว่า มหาวิทยาลัย ถ้าจะทำงานนี้ในพื้นที่ชุมชนจะต้องเชื่อมประสานกับ สี่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จตุรภาคีดังกล่าวมีดังนี้ (1). มหาวิทยาลัย (2).ชุมชนและวัดวาอาราม (3).หน่วยงานเอกชน (4).หน่วยงานราชการ เชื่อมกับสี่ประสานที่จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เพราะ ฉะนั้น วันนี้ทางคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ มีความยินดีอย่างสูงยิ่งจากผู้ทรงคุณวุติทั้ง4ท่าน ซึ่งเป็นคณะกรรมการของคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ ได้แก่( 1.พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราญชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์) (2.ท่านสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน) (3.ท่านณัชอิสร์ สรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์) และ (4.ท่าน รศ.ดร ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ) บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ขอกราบเรียนเชิญ ท่านอธิการ รศ.มาลินี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ได้กรุณากล่าวเปิดงานและให้โอวาทแก่ผู้ร่วมเสวนาออนไลน์ จำนวน 200 กว่าคนในวันนี้ ในประเด็นเรื่อง Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

โดยท่านแรกที่จะเสวนาให้ฟังในวันนี้ คือ ท่านสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา โดยงานของท่านโครงสร้างพื้นฐานของท่านเยื่ยมอยู่แล้วแต่ท่านมายอดเยี่ยมเรื่องหนึ่งคือเรื่องซีโร่เอ็ด ซึ่งทำให้เป็นต้นแบบเป็นโมเดลของจังหวัดบุรีรัมย์ดังไปทั่วโลก ดังนั้นวันนี้ท่านจะมาคุยให้ฟังว่า ท่านมีแนวคิดอย่างไรร่วมกับใครแล้วทำยังไงจึงให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาแล้วทำให้เป็นโมเดลแล้วคนทุกคนสนใจที่จะมาดูงาน คือท่านได้ใช้วิชาการท่านได้ล่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์เอามาทำเรื่องทำอย่างไรเราจะพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน ฉะนั้นการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนก็คือการเปลี่ยนแปลงคนและเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้นโดยใช้ความร่วมมีอทางภาครัฐเอกชนหรือประชาชนทุกคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วม หรือว่ากำนัน ผู้ใหญบ้าน กลุ่มต่างๆ กลุ่มสตรี กลุ่ม อสม กลุ่มเยวชน แม้กระทั่งผู้สูงอายุ ทุกภาคส่วนต้องมาร่วมหรือเรียกว่า บ ว ร. บ้าน วัด โรงเรียน และสี่ประสาน โดยการหลักก็คือว่า จตุรพิธ เอามาขับเคลื่อนชุมชนอย่างยั่งยืน โดยท่านก็มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักเพราะว่าประชาชนต้องการให้บ้านเมืองเจริญคือ ทางสัมนาสะดวกหนทางสะดวกฉะนั้นตรงนี้จะพัฒนาไปเรื่อยๆและการให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและก็มีสิ่งเเวดล้อดที่ดี โดยระดับประเทศอยากให้ชุมชน และเทศบาลหรือ อบต.ได้ทำ COS เพื่อที่ชุมชนจะน่าอยู่ ท่านก็เลยทำมาจน 5-6 ปี กว่าจะสำเร็จ ได้รับรางวัลระดับประเทศเมื่อปี 2560 ของรัชกาลที่10 เป็นถ้วยใบเเรกของท่านที่ได้รับพระราชทานมา เราได้ Zero waste เป็นชุมชนขนาดใหญ่ระดับประเทศเมื่อปี 2560 ได้ทำร่วมกันมาเป็นถ้วยรางวัล เป็นเงินรางวัล 50,000 บาท ที่เป็นของขวัญ สิ่งที่ดีใจที่สุดคือทั้งชุมชน หมู่ที่.5 หรือหลายชุมชนสามัคคีกันชาวบ้านรู้รักษามัคคีกัน จริงๆแล้วการพัฒนาอย่างยั่งยืนถ้าชุมชนนั้นๆ ไม่รู้รักษาสามัคคีกันเราจะพัฒนายากมากไม่ว่าเรื่องใดๆ ถ้าจะให้เขาเอาไปใช้หรือให้องค์ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนนั้นๆยากมากเพราะว่า ประชาชนแต่ล่ะระดับไม่เหมือนกัน มีทั้งยากจน หาเช้ากินค่ำ มีทั้งราชกาล โดยราชการต้องออกไปทำงานตามหน่วยงานต่างๆ มี่ทั้งคนเฒ่า คนแก่ในหมู่บ้านบางครั้งก็เลี้ยงหลานอยู่เฉยๆ บางคนก็อยู่เฉยๆไม่ได้ทำอะไร บางคนก็ทำไร่ทำนา คือการพัฒนาชุมชนกว่าจะรวมกันได้ถือว่าเป็นสิ่งที่ยาก แต่ถ้าทำให้ประชาชนเข้าใจอะไรแล้วก็จะเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น โดยจะต้องร่วมมือกันไม่ว่า หลวงพ่อ หรือผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน หรือกลุ่มต่างๆ ต้องร่วมแรงร่วมใจ ต้องมีการมีส่วนร่วมพัฒนา การจะได้รับรางวัลนานมาก 4-5 ปี เพราะว่า เราจะต้องทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชนกับชาวบ้านว่าอย่างไร แต่ส่วนมากก็คือทำแล้วก็ปล่อยเลยทำแล้วก็ไม่อยากทำอีก เพราะว่าเสียเวลา แต่จริงๆแล้วเราก็มีแรงจูงใจให้กับชุมชนนั้นๆเพื่อจะมาพัฒนาร่วมกันแต่ที่ลืมไม่ได้เลยคือมหาวิทยาลัยส่งนักศึกษา สาขาสิ่งแวดล้อมลงมาดูงานที่ตำบลอิสาน เราก็ได้ใช้เด็กพัฒนาร่วมกันกับเรากับหน่วยงานเทศบาล จนทำให้เทศบาลอิสานได้รับรางวัลต่างๆ

ท่านที่ 2 คือท่าน รศ.ดร ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ในเเนวคิดของสหประชาชาติพูดถึงเรื่องของ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ก็มีมองด้วยกัน 3 มิติ คือ มิติที่ (1).ว่าด้วยเรื่องของสังคม ซึ่งสังคมปัจจุบันก็มีความหลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทย ความหลากหลายทางความคิด ทางวิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้ชีวิต ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ มาจากเรื่องเทคโนโลยี เรื่องการศึกษา ทาง อว. ปรากฎว่าปัจจุบันเรียนแล้ว ท่านจะเรียนกี่ปีก็ได้ จะจบกี่ปีก็ได้ นั้นแสดงว่าตรงตามแนวคิดปรัชญาการศึกษา ซึ่งประกาศในวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมาในราชกาลภิเบกษา บอกว่าเป้าหมายของด้านปรัชญาการเรียนการสอน ในระดับอุดมศึกษาก็คือ 1 ว่าด้วยเรื่องของ 3L การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งก็ตรงตามยุคสมัยใหม่ ซึ่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรามองภาพว่า เรียนจริงๆเรียนยังไงให้จบตามหลักสูตรกำหนดตามที่ใบปริญญาให้แต่ปัจจุบันก็เน้นเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่าใบปริญญาไม่มีความสำคัญจำเป็นอาจจะลดทอนคุณค่าลงไป แต่ในมุมมองของท่าน อะไรที่บ่งบอกว่าอะไรคือมาตรฐานของการจัดการเรียนการสอนที่คุณภาพ ฉ.นั้น คุณวุติต่างๆก็ยังมีส่วนสำคัญอยู่ อันนี้คือเรื่อง (Lifelong Learning ) การเรียนรู้ตลอดชีวิต (2). คือ ตัวสรรถนะ หรือ Competency  คือในใบปริญญาอุดมศึกษาก็ประกาศไว้ชัดเจนว่า การเรียนการสอนต่อไป เราคงไม่เน้นที่เนื้อหาวิชาอย่างเดียว แต่จะต้องเอาคนไปอญุ่กับชุมชนสังคมด้วย ซึ่งเขาต้องเจอในเรื่องประเด็นปัญหา แล้วก็แก้ปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งอันนี้ก็คือสมรรถนะที่สำคัญที่อุดมการศึกษาอยากจะได้ ในส่วนที่ (3).ก็คือเน้นของเรื่อง โลกที่มันผันผวน คือ ไม่สามารถทำนายได้ กำหนดได้เพราะโลกมันเปลี่ยนแปลงได้มันผันผวนบ่อย (4). การแข่งขัน ซึ่งวันนี้ทางมหาลัยราชภัฎบุรีรัมย์จะจัดในเรื่องของ (Times Higher Education) โดยเฉพาะ SDG เรื่องของ การแข่งขัน อันนี้จำเป็น คือตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่าเราทำอะไรอยู่จนกว่าเราจะไปเปิดเวทีในเรื่องของการจัด Ranking อันนี้เป็นประเด็นสำคัญของมหาวิทยาลัย อีกเรื่อง1 ที่SDG พูดถึงทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันก็มีการแข่งขันกันเยอะมากโดยเฉพราะ เรื่องเทคโนโลยี เรื่องของความรู้ เรื่องของวิทยาการต่างๆเพราะมีคนถามว่าเราปั้นผู้เรียนขึ้นมาเพื่อเป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ ถ้าเป็นผู้ผลิตก็คือเน้นป้อนความรู้ให้ ถ้าเป็นผู้ประกอบการคือต้องใส่สถานการณ์เข้าไปด้วย แต่การเป็นผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม คน และก็สังคมด้วย ไม่ใช่แค่ว่าป้อนผู้ประสบผู้ประกอบแล้วเอาเฉพราะในเรื่องของเศรษฐกิจเรื่องของความได้มากได้น้อย ซึ่งแนวคิดนี้อาจจะไม่ค่อยสมดุลเท่าไร อีกแนวคิด1 คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันก็มีความเสื่อมโทรมสูง แต่ทำอย่างไรให้คนอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้อยู่กับเศรษฐกิจได้อยู่กับสังคมได้ ก็คือแนวคิดจากองค์รวมนั้นเอง ซึ่งแนวคิดจากองค์รวมจริงๆไม่ใช่เรื่องใหม่ ก็คือตั้งแต่สมัยอดีตในหลวงท่านได้ตรัสไว้ตั้งแต่ ร9. รวมไปถึงแนวคิดต่างประเทศด้วยไม่ว่าจะเป็นของ โทมัสคุก เขาพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกระบวนทัศใหม่ คือถ้าตอนนี้เรายังคิดแยกส่วนแบบเดิมนี้ มันคงขับเคลื่อนยากถ้าเราย้อนกลับไปในระบบการศึกษาไทยจะพูดถึงว่า บ ว ร. บ้าน วัด โรงเรียน เเต่ตอนนี้เติมมาอีกคำหนึ่งว่า มหาวิทยาลัยเข้าไปด้วย ปัจจุบันแต่ล่ะส่วนก็แยกกัน เพราะ บ้าน ปัจจุบันพอมาเจอสถานการณ์โควิด ต่างคนก็ต่างอยู่บ้านหลังเดียวกัน ความคิดก็หลายความความคิด ฉะนั้นรากฐานสำคัญก็บ้าน ถ้าบ้านอยู่ได้ ครอบครัวอบอุ่น ที่เหลือก็จะนำไปสู่เรื่องของวัด แล้วก็โรงเรียนแล้วก็ส่งต่อให้มหาวิทยาลัย การมองภาพแบบองค์รวมถือว่าจำเป็น ในการนำไปสู่เรื่องของ SDG อีกเรื่อง1 ที่พูดถึงก็คือ ในเรื่องของมิติในเรื่องของการพัฒนาของบอกว่า สังคม เศรษฐกิจ สิ่งเเวดล้อม อีกคำหนึ่งคือ สัณติภาพ และการเป็นผู้มีหุ้นส่วนในการพัฒนา หุ้นส่วนตรงนี้คือ การมีส่วนร่วม ซึ่งเราใช้คำว่าประชาธิปไตย คือการมีส่วนร่วมหมายความว่าไงไม่ใช่แค่การไปโหวดไปลงคะแนนเสียง แต่คือการร่วมคิด ร่วมตัดใน ร่วมพัฒนา ร่วมรับผิดชอบ ทุกส่วนในนี้ ถัดมาในเรื่องของเป้าหมายจริงๆ ของ SDG พูดถึงเรื่องของ 5 อย่าง คือ (1).ด้านขจัดความยากจน (2).ความหิวโหย (3).การมีสุขภาพที่ดี (4).การศึกษาที่เท่าเทียม (5).ความเท่าเทียมทางเพศ.

ท่านที่ 3 คือท่าน ณัชอิสร์ สรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจอุตสาหกรรมออกแบบเยอะแยะมากมาย เมื่อสักครูู่ท่านจับประเด็นในหลายๆเรื่องได้จากท่านผู้ทรงทั้ง2ท่าน ก็จะนำมาเสวนาเเลกเปลี่ยนกัน ในมุมมองของท่าน ทางมหาวิทยาลัยได้วางภาพของจตุรภาคี คือมีรัฐ ชุมชน เอกชน และก็มหาวิทยาลัย ทั้ง4ด้าน เหล่านี้มาร่วมมือกันในการขับเคลื่อนชุมชน หรืออาจจะเป็นแนวคิดในการขับเคลื่อนประเทศด้วยซ้ำ แต่ก่อนอื่นเลย คือ เป็นสิ่งที่เรากำลังมองกันต่อไป ก็คือว่า เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า “โลกใบนี้มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว”ต้องพูกซ้ำๆให้นักเรียนนักศึกษาฟังด้วย และสิ่งที่ท่านจะพูดต่อไปนี้ท่านจะกลั่นกรองจากสิ่งที่เราเป็นอยู่แล้วเราเห็นภาพซ้ำๆ “โลกใบนี้มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว” ถ้าเรายังคิดอะไรแบบเดิม ทำอะไรแบบเดิม มันช้า มันเปลี่ยนไปเร็วมาก มันเปลี่ยนไปจนชนิดที่ว่า เราต้องเรียนรู้เรียนรู้เพื่ออยู่กับมัน แล้วก็ไม่ยึดติดกับเรื่องเดิมๆ เราเห็นอะไรใหม่ๆ เราต้องพร้อมเพื่อจะปรับตัวแล้วก็เดินแก้เกมอะไรใหม่ๆ ฉะนั้นเหมือนที่ท่าน รศ.ดร ประสาท กล่าวเมื่อสักครู่ มันไม่มีอะไรตายตัว มันเป็นอะไรที่เราต้องเรียนรู้และแก้ไข แล้วก็เดินหน้าไปด้วยกัน คนๆนี้จะเป็นคนประเภทไหนล่ะถึงจะทำได้ แน่นอนครับ อาจารย์ชมพูได้พูดถึง ก็ (Smart People) เราต้องสร้าง (Smart People) ขึ้นมา ต่อมาคำว่า สมาร์ทซิตี้ (Smart City)  ที่กำลังจะพูดถึง เดิมทีในอดีตเรามองว่ามันสวยหรูมาก มันฟังดูแล้วมันไกลตัวเหลือเกิน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่  สมาร์ทซิตี้ไม่ได้เป็นการสร้างเมืองด้วยเทคโนโลยีแต่อย่างเดียว แต่มันเป็นการสร้างทุกองคาพยพของเมืองสร้างทุกองคาพยพของคนในเมือง สร้างสิ่งเเวดล้อม สร้างทุกอย่างให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกให้เท่าทัน แค่เปลี่ยนให้ทัน เราอาจจะมองภาพว่าการเปลี่ยนทัน ทำไมมันฟังดูแล้วมันดูไม่เร้าใจจริงๆ มันต้องไปสุดภาพของอนาคตภาพอนาคตคือสิ่งที่มองเห็น แต่การที่จะเปลี่ยนทุกองคาพยพ ให้มันไปถีงอนาคตหรือไปถึงล่วงหน้าได้ ท่านมองว่าทำได้แต่เราต้องเปลี่ยนให้ทัน เราเห็นต้องมองเห็นภาพนั้นก่อนเเล้วทำเหมือนกันได้ อย่างไรภาพเหล่านั้นจึงจะภาพให้เห็นทุกคน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ การจะปรับเปลี่ยนได้ทั้ง จตุรภาคีต้องมีภาพที่ตรงกันหรือใกล้เคียงกัน รัฐต้องมองเห็นภาพนั้น เอกชนต้องมองเห็นภาพนั้น ชุมชนต้องมองเห็นภาพนั้น และที่สำคัญมหาวิทยาลัยหรือผู้ที่จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมองค์ความรู้ไปทุกๆส่วนต้องมองเห็นภาพนั้นเหมือนกันทั้งสี่ภาค ถ้ามองภาพคนละภาพหรือเป้าหมายคนล่ะเป้าหมายการเดินและการวางแผนก็จะขับเคลื่อนองค์กรหรือประเทศหรือขับเคลื่อนชุมชนเป็นไปได้ยาก ท่านจึงมองว่านี้เป็นอีกเวที1 ซึ่งจะเป็นเวทีที่เรามาจูดภาพก่อนไหมว่า ภาพนั้นมันคืออะไร ยกตัวอย่างง่ายๆ เดิมทีใครจะไปคิดว่าการเรียนการสอนเหมือนที่เรามานั่งคุยกันนี้ ต่างคนต่างอยู่ในพื้นที่ที่ต่างกัน แต่พวกเราอยู่กันทั้งโลกทั้งใบ หรืออยู่ในที่ๆตรงไหนก็ได้แต่เรามาเจอกันในที่ๆเดียวกันได้ เรามีการเรียนการสอนการเสวนาพูดคุยกัน ซึ่งต่างคนต่างอยู่ก็มาอยู่ในที่เดียวกัน ณ จุดนี้ได้ไม่จำเป็นต้องเปิดห้องเรียน เห็นไหมว่าโลกมันเปลี่ยนไป แล้วการเปลี่ยนแปลงนี้จริงๆแล้วมันเป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีมานานแล้วแต่เราพึ่งมาใช้กันในช่วงที่ว่า New normal แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ New  มันเป็นสิ่งที่ normal ที่เราไม่ได้ normal ซึ่งมันมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ normal แบบนี้ มันไม่ใช่เรื่องใหม่เลย Z00m ก็เกินขึ้นมานานแล้ว ห้องเสวนาการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ก็เกิดขึ้นมานานแล้ว ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปหมด แล้วถ้าเป็นอย่างงี้ มหาวิทยาลัยเห็นภาพนี้หรือไม่ นักเรียนเห็นภาพนี้หรือไม่ อะไรคือข้อบวกข้อลบ อะไรคือข้อที่มันต้องปรับ ในโลกใบนี้ต่อไปข้าง อนาคตข้างหน้าการเรียนมันอาจจะเปลี่ยนไปอีก นั้นหมายความว่าการเรียนและการสอนและการปรับตัวของรายวิชาของมหาวิทยาลัยก็ต้องเปลี่ยนไป เมื่อ (Smart People) ขับเคลื่อน (Smart University)  ตามมา (Smart City)  ก็ตามมาเพราะว่ามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรหลักๆที่จะเดินเข้าไปสู่การเป็น (Smart City) เพราะฉะนั้นการเรียนการสอนจึงสามารถที่จะเปลี่ยนไป การเปลี่ยนโลกเพื่อจะเกิดการ Disruption การล้มหายตายจากอะไรที่เวอร์ไม่ใช่ไม่ดีแต่มันไม่ทันมันก็จะล้มไปเรื่อยๆ ทุกอย่างก็จะต้องเปลี่ยนไป การหามาตรฐานหรือคุณภาพที่ท่าน รศ.ดร ประสาท พูดไว้ มันจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะมาตรฐานและคุณภาพเป็นเรื่องที่เราต้องเดินไปให้ถึง

ท่านที่ 4 คือ พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราญชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนั้นวันนี้ท่านจะมาคุยให้ฟังว่าการที่ขับเคลื่อนชีวิตของท่านตั้งแต่ต้นจนปัจจุบันนี้ท่านก้าวยังไงให้ทันโลกทันเหตุการณ์ แล้วทำยังไงให้คนเห็นแล้วว่างานท่านที่ทำนาธรรมชาติตอนนี้มาเป็นโมลเดลของทุกๆที่ที่ขับเคลื่อนไป วันนี้ท่านก็รูู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งเพราะเรื่องที่เราจะมาคุยกันมันตรงกับสิ่งที่ทำอยู่แล้วคือไม่ต้องมาคิดอะไรมากมาย เพียงเเค่ว่ามาสรุปการดำรงชีวิตของเรา โดยเฉพราะที่ดีใจมากก็คือทางมหาลัยเราก็ขับเคลื่อนให้มันสอดคล้องกับของ ยูเนสโก (Unesco) ที่เขาทำเรื่อง SDG คือการพัฒนาที่ยั่งยืน จริงๆเรื่องนี้หน้าจะพูดมาสัก 80 ปีที่แล้ว ก็มาพูดวันนี้แต่ก็ไม่เป็นไร ที่มาพูดวันนี้เพราะว่าเราดำรงชีวิตตามแนวทางที่เราใช้มาทั้งหมดทั้งโลก 200-300ปี คือเป็นการเดินทางที่ผิดมหรรทั้งโลก แล้วที่รู้อย่างไรว่าผิดเพราะสรุปว่าตอนโควิดมาเพราะโควิดเป็นคนออกข้อสอบให้เรา ผลปรากฏว่าสอบตกกันทั้งโลก ไม่ว่าด้านสังคม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครองทุกอย่างมันเจ่งกันระเนระนาดเลย ทีนี้จากที่ฟังหลายๆท่านก็เห็นว่า เมื่อโลกของเราเปลี่ยนไปแต่ทำไมคนไทยไม่เปลี่ยนแปลงมันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โลกเรายังหวญเหมือนอยากจะได้โลกใบเก่าคืนมา แต่จริงๆแล้วโลกใบเก่าเราใช้มา70-80 ปี เหมือนกับเราไปนั่งดูหนัง เรานั่งดูหนังมา 80 ปี ตอนนี้หนังเรื่องนั้นมันจบมาแล้ว แล้วหนังก็เลิกเเล้ว เพราะดวงอาทิตย์ขึ้นแล้วหนังสว่างมาแล้วจบแล้ว หนังก็คือหมายถึงว่าเราคิดต่างว่าเราอุดมชีวิตมาแล้ว สิ่งแวดล้อมที่ดี  แต่ทุกคนอยากหวญให้มันกลับมาฉายอีกรอบอยากจะกลับไปเป็นเหมือนในหนัง เมื่อวานเป็นอย่างนู้นเมื่อวานนี้เป็นอย่างงี้ อยากให้มีอีก มันไม่ใช่ เราลุกขึ้นเถอะ เราตื่นเถอะ ทั้งโลกนี้ตื่นได้แล้ว หนังมันจบแล้ว แต่ดีตรงที่อย่างน้อยๆก็ทางสหประชาชาติต่างๆก็เข้ามาพูดเรื่องการฟื้นฟูเรื่องความยั่งยืนเรื่องสิ่งแวดล้อม สภาพสิ่งแวดล้อมจริงๆแล้วถ้าลองย้อนกลับไปดูแล้วมันไม่มีอะไรเยอะมันมี คน ชีวิตคน แล้วก็โลก แต่ถ้าคนอยู่กับโลกดาวอังคารมันก็ไม่ใช่ก็ลำบากแน่ๆ แต่คนอยู่กับโลกใบนี้ใบโลกของเรานี้ โลกใบนี้มันมีเฆก มีอากาศ มีความอุดมสมบูรณ์ มันมีอะไรต่างๆที่ผลิตแล้วได้ อย่างเช่น มีมะม่วงปลูกลงไปแล้วงอกขึ้นมา มีลูกได้ คนกินได้ โลกใบนี้มันสมบูรณ์ มันมีคนกับโลกผลปรากฎว่าคนเกิดมานี่ 7 พันล้านคนเกิดมาอยู่ในโลกใบนี้ ไม่รู้โลกเลยมีแต่รู้ว่ามีทรัพยากรในโลก แล้วก็มีมาหาความรู้ในการที่จะแข่งขันการไปแย่งกันมา แย่งทรัพยากรกันมา แล้วก็แย่งกันไปแย่งกันมา ผลปรากฎว่า คนที่แย่งไม่เคยเอาคืน คนที่จับปลาในทะเลจับออกมาก็ไม่เคยเอาไปใส่คืน ตัดต้นไม้มาก็ไม่ใส่คืน ทุกคนอยากให้โลกมันเหมือนเดิม ก็สรุปแบบนี้ คือเอาออกมาแต่ไม่ใส่คืนแต่ อยากให้ปลาในห้วยเยอะ แต่เอาออกมาไม่เคยใส่คืน เอาอะไรออกมาก็ไม่เคยใส่คืน เอาความอุดมสมบูรณ์ออกมาแต่ก็ไม่ใส่คืน เอาอากาศออกมาแต่ไม่ใส่คืน เอาทุกสิ่งทุกอย่างออกมาแต่ไม่ใส่คืนแล้วไม่ได้เอามาแต่พอดี บางคนเอามาจนเหลือเฟื่อ แต่ถ้าเอามาแล้วกินพอดี แต่นี่เอามากองๆ แล้วก็อวดรวยสำเร็จเอามาวัดความสำเร็จคือ แย่งมาได้เยอะ เอามากองไว้แล้วก็ตายจาก เมื่อโลกมันไปอย่างงี้เเล้วเราจะมาโหยหาอะไรได้ เรากำลังทำผิดมหรร เราต้องมาทบทวน ฉะนั้นเราก็ต้องมาทำในพื้นที่ๆเล็กๆ ทำในพื้นที่สเกลในขนาดเล็กของเราหลายอย่างที่เราคิดว่า เราอยากจะไปจะทำให้ยั่งยืนร่ำรวย มันต้องลบออกความร่ำรวยมันต้องรู้ว่าเรื่องนั้นมันไม่เป็นจริง มันเป็นแค่หนัง มันไม่จริง แต่ถ้าเราไม่เอาเรื่องความร่ำรวยมานี่เราเอามาทำเรื่องไม่อดไม่อยากได้ไหม ไม่ต้องรวยหรอก แต่ไม่อดไม่อยาก ไม่อดไม่อยากคืออะไร คือทรัพยากร ทรัพยากรคือ ปัจจัย 4 มันสร้างได้ แล้วมันสร้างได้ไม่อยาก แต่เราต้องมาปรับเปลี่ยนวิธีคิด ความไม่อดไม่อยากสามารถเป็นทางรอดของโลกนี้ได้

   เกียรติบัตรผู้ที่เข้าร่วมเสวนาเรื่องQuadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

 วันที่ 29 ตุลาคม 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD ใน application และข้อมูลที่ได้เก็บ จะมีดังนี้ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พัก/โรงเเรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.อาหารที่น่าสนใจในท้องถิ่น 6.เกษตรในท้องถิ่น 7.พืชในท้องถิ่น 8.สัตว์ท้องถิ่น 9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น และในส่วนที่ดิฉันได้ลงไปเก็บข้อมูลคือหมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 12 คือบ้านสีเหลี่ยมน้อยพัฒนา ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และ บ้านโสนน้อยพัฒนา ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์  จากที่ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ดิฉันได้พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่จะเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว,ควายเป็นต้น และส่วนมากที่เลี้ยงจะเป็นการเลี้ยงเพื่อไว้จำหน่ายและมีบางส่วนจะเลี้ยงเพื่อเป็นไว้เป็นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์บางแต่เป็นส่วนน้อย และก็มีการทำนา ปลูกผักสวนครัว ทั้งนี้การปลูกผักสวนครัว จะได้ทั้งผลผลิตคือ ได้ทั้งเก็บกินในครอบครัวและเหลือจากที่ได้กินแล้วก็สามารถนำมาจำหน่ายเพื่อให้มีรายได้ในครอบครัวอีกด้วย และ ส่วนหมู่ที่8. บ้านสี่เหลี่ยมน้อยพัฒนาผู้เฒ่าผู้แก่ จะมีอาชีพหลักคือการทอเสื่อ เป็นอาชีพที่อยู่มานานหลายรุ่นจนปัจจุบัน การทอเสื่อของชุมชนได้กลายเป็นสินค้า โอท็อป (otop) และได้นำไปเผยแพร่ในหลายๆพื้นที่ จนมีผู้คนรู้จักและสามารถไปศึกษาเรียนรู้ได้ในชุมชน

รูปภาพบางส่วนที่ได้ลงไปเก็บข้อมูล

 

   

 

 

อื่นๆ

เมนู