ข้าพเจ้า นางสาววิลาวัลย์ โกเมน ประเภทประชาชน เป็นผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมราย ตำบลแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาลัย “มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร (HS 02)
วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมทำกิจกรรมเสวนาทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู้โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal โดยมีผู้เข้าร่วมคือเจ้าของแปลงทั้ง 11 แปลง ผู้ปฏิบัติงานทั้ง 3 หนอง หนองยายพิมพ์ หนองกง หนองโสน เข้ามาดูการเสวนาและเยี่ยมชมนิทรรศการป้ายไวนิลที่ผู้ปฏิบัติงานได้เตรียมไว้ มีผู้เข้าร่วมเสาวนาหลักๆ 7 ท่าน ได้แก่ พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง นางสาวกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ปลัด อบต. ตำบลหนองโสน อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายสมชิต ชยชาต พัฒนาการชุมชนชำนาญการ อำเภอนางรอง และ นางสาวดนุลดาธรรมนิยม สารวัฒกำนัน ตำบลหนองโสน หลังจากฟังการเสวนาเสร็จประมาณ 12.00 น. ได้รับประทานร่วมกัน จากนั้นทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนก็ช่วยกันเก็บสถานที่แยกย้ายกันกลับบ้าน
จากการฟังเสวนาข้าพเจ้ากับสมาชิกประเภทประชาชนทั้ง 2 ท่าน คือ นางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง และนางอำพร รัตนาธิวัด กลุ่มข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ถอดคำพูดของปลัดกรุณา คำว่า เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุคสู่โคกหนองนาโมเดล เป็นศาสตร์รัชกาลที่ 9 ในยุคนี้เข้าสู่รัชกาลที่ 10 ได้พัฒนาขึ้นมาจากเดิม รัชกาลที่ 10ได้ พูดว่าจะสืบสานและรักษาต่อยอดสิ่งดีๆ ที่พ่อทำไว้รักษาต่อยอดสิ่งไหนที่มันดีอยู่แล้วจะทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิม เกษตรทฤษฎีใหม่คือการจัดการพื้นที่ ในหลวงท่านบอกไว้ถ้าเรานำพื้นที่มาบริหารการจัดการ 1.มีที่อยู่อาศัย 2.มีที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แต่ตามจริงอย่างพวกเรา ทางเลือกสู่ทางรอด ทางเลือกของตัวเราไม่ทำทุกคนที่พูดมามันจะมีความสำเร็จอะไร มันคือปัญหาว่าเด็กยุคใหม่ที่กำลังเรียนจบ ซึ่งจะมีชีวิตใหม่หรือมีอาชีพเป็นของตัวเอง ยุคโควิด ทำให้เราย้อนกลับไปสู่เกษตร วิถีเกษตรกรรม พอเราจะเข้าสู่ยุคดิจิตอล พอโควิดมาทุกคนกลับมาอยู่บ้านเพื่อทำเกษตร ทางเลือกทางรอดถ้าเราทำยังไงมันก็รอด รอดมีกิน มีรายได้ เริ่มจากตัวเองโดยการปลูกผักรอบๆบ้าน มันจะวัดใจว่าเราชอบปลูกผักหรือไม่ เราชอบตามกระแสหรือป่าว แต่ถ้าเราชอบจริงมองเห็นว่าวิถีเกษตรกรรมยังไงเราก็ทิ้งไม่ได้ เพราะว่ามันคู่คนไทยมายาวนาน การทำเกษตรทฤษฎีใหม่หรือ โคกหนองนาโมเดลง่ายๆ เราบริหารพื้นที่จัดการของเราทำยังไงให้เกิดรายได้ คำว่ารวยเกิดรายได้
วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนได้เข้าร่วมฟังเสวนาออนไลน์ เรื่อง Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมี รศ.มาลิณี จุโทปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา จตุรภาคีสี่ประสาน Quadruple Helix เป็นการทำงานร่วมกับระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน สังคม มหาวิทยาลัยที่ต้องทำงานร่วมกัน โดยมีวิทยากรผู้ร่วมเสวนาดั้งนี้ นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์
ดร.ประสาท เนืองเม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กล่าวว่า แนวคิด SDGs ย่อมาจาก Sustainable Developmet Goals SDGs เป็นแนวคิดที่สหประชาชาติกำหนดขึ้นมา เป็นแนวคิดจะทำยังไงให้การศึกษาให้คนมีความเท่าเทียมกัน การพัฒนายังยั่งยืน มีมุมมองด้วยกัน 3 มิติ มิติที่1 ว่าด้วยเรื่องทางสังคม สังคมมีความหลากหลายมากขึ้น สังคมไทยตอนนี้มีความหลากหลายทางความคิด วิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้ชีวิต ซึ่งผลเหล่านี้มาจากเรื่องของเทคโนโลยี เรื่องของการศึกษา มิติสังคมที่ประกอบด้วยเป้าหมาย 5 ข้อ ได้ขจัดความยากจน ขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียมกัน
นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ
กล่าวว่า พัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน ก็คือ การเปลี่ยนแปลงคนและเปลี่ยนแปลงชุมชนให้ดีขึ้น โดยใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนทุกคนให้มีส่วนร่วมไม่ว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มต่างๆ กลุ่มสตรี กลุ่ม อสม. กลุ่มเยาวชน แม้กระทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ทุกภาคส่วน ต้องมาร่วมกัน ประชาชนต้องการให้บ้านเมืองเจริญ คมนาคม หนทางสะดวก น้ำไหล ไฟสว่าง จะพัฒนาไปเรื่อยๆ แต่ด้านการกินอยู่หรือปากท้องประชาชนทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ทำให้ประชาชนจิตใจดี ไม่มียาเสพติด
นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า มันเป็นแนวคิดในการขับเคลื่อนประเทศ เราต้องยอมรับโลกใบนี้ มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว ถ้าเรายังคิดอะไรแบบเดิม ทำไรแบบเดิม มันช้ามันเปลี่ยนไปเร็วมาก เราต้องเรียนรู้เพื่อจะอยู่กับมัน ไม่ยึดติดกับเรื่องเดิมๆ เราเห็นอะไรใหม่ๆ เราต้องพร้อมที่จะปรับตัว แล้วเราต้องเดินแก้เกมส์อะไรใหม่ๆ มันไม่มีอะไรตายตัว มันเป็นอะไรที่เราต้องเรียนรู้และแก้ไข แล้วเดินหน้าไปด้วยกัน
นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวนบุรีรัมย์
กล่าวว่า เมื่อโลกเปลี่ยนไปแต่ทำไมคนไทยไม่เปลี่ยนแปลง คนเรามักทำแต่สิ่งเดิมๆ รู้ว่าทรัพยากร อากาศ น้ำ ก็พากันไปแย่งกัน ทำให้เกิดปัญหา เกิดปัญหาต้องหาวิธีแก้ไข เริ่มจากไม่อดไม่อยาก เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อนคนส่วนใหญ่จะทำอยู่ การกระทำ 3 อย่าง และไม่ทำอยู่ 3 อย่าง คนทั่วโลกทำอยู่ 3 อย่าง คือ ทำสิ่งที่ไม่รู้ ทำสิ่งที่ไม่รัก ทำแล้วไม่จบ เราต้องทำ 3 อย่างกลับกัน คือ ทำสิ่งที่รู้ไม่รู้อย่าทำ ทำสิ่งที่รักไม่รักอย่าทำเพราะมันไม่มีความสุข ทำแล้วต้องจบ
รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวถึงความหมายของ Quadruple Helix จตุภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน รากศัพท์มาจากภาษากรีก Quadruple แปลว่า 4 Helix แปลว่า แกน เกลียว ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปก็มีการเพิ่มคำว่า 4 ประสาน ก็คือต้องปรับกับบริบทของกลุ่มมหาวิทยาลัยทางกระทรวงเอง การทำงานถัดไปเราจะทำงานในบริบทของการทำงานแบบจตุภาคีหรือ Quadruple Helix บริบทของมหาลัย คือ มหาวิทยาลัย หน่วยงานเอกชน หน่วยงานราชการ และชุมชน เป็นจตุภาคี ซึ่งจตุภาคีเป็นเป้าหมายในบริบทของมหาลัยในกลุ่มว่าจะเชื่อมโยงยังไง หลักการสำคัญคือการเชื่อม 4 แกน 4 เกลียว จะทำให้ฐานของการทำงานประสบความสำเร็จ
และในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผ่านแอป U2T เพิ่มเติมจากเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลหลายด้านของชุมชน มีทั้งหมด 10 หัวข้อคือผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืช สัตว์ ภูมิปัญญา และแหล่งน้ำในท้องถิ่น ของตำบลหนองโสนทั้ง 3 หมู่บ้านที่รับผิดชอบ บ้านโคกสูง บ้านโคกน้อย และบ้านระนามพลวง จากการสำรวจชาวบ้านในชุมชนทำให้ข้าพเจ้ารู้ถึงวิถีการใช้ชีวิตของคนในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร เช่น ปลูกข้าว ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์เป็นต้น ชาวบ้านเป็นกันเองและยังให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
จากการลงพื้นที่ปฎิบัติงานในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้เรียนรู้สภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของคนในท้องถิ่น รู้จักสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของคนในชุมชน ได้นำความรู้จากการเข้าร่วมฟังเสวนาการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน