ผม นายวิษณุ นวลปักษี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)หลักสูตรเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล(HS02)
วันอาทิตย์ที่17 ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 09.00 น งาน “เสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal ” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
สรุปการเสวนา
พระครูวิสุทธิพัฒนภิรมย์ หรือท่านพระอาจารย์ทองใส เจ้าอาวาสวัดหนองตาไก้
ตั้งแต่มีเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ามานี้ ชาวไร่ชาวนาก็พากันต่างคนต่างทำ แต่มีโครงการโคกหนองนาเข้ามาทางรัฐบาลก็ได้เข้ามาช่วยเหลือ เป็นโครงการแบ่งไปแต่ละตำบลว่าตำบลนี้ได้ทำกี่คน แต่บางคนพอได้งบประมาณมาแล้วก็คืนกลับไปเพราะกลัวที่จะเสียทีทำนา เนื่องจาก ว่ายังไม่เข้าใจหลักในการทำโคกหนองนา แต่สมัยนี้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทางในยูทูปหรืออินเทอร์เน็ตต่างๆ และโคกหนองนาหรือเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ทำเฉพาะในข้าราชการคุณครู ทุกวันนี้ แม้แต่ดารานักร้อง ก็หันมาทำโคกหนองนากันแล้ว เพราะมันเป็นพื้นที่ทำให้เรายั่งยืนมีอยู่มีกินเเบบไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นมากนัก เราจะสังเกตุเห็นได้ว่าทุกวันนี้ เมื่อเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าต่างๆและไปที่แผนกอาหารเราจะเห็นผักผลไม้ ที่เราสามารถปลูกกินเองได้ที่สวนหลังบ้านมันมาอยู่ที่ตรงนี้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นการทำโคกหนองนาคือทางเลือกทางรอดที่ดีที่สุดของเราทุกคนที่จะสามารถสืบทอดความมั่งคั่งมั่นคงความมีอยู่มีกินให้กับลูกกับหลานของเราได้
นายสมชิต ไชยชาติ (นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ ผู้ที่นำโครงการโคกหนองนาโมเดลเข้ามาสู่ตำบลหนองโสน)
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่เดิมมีมานานแล้ว เพียงแต่ว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ตอนนั้น คือการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ที่จะเป็นพื้นที่ทำกินสามสิบเปอร์เซ็นต์แล้วก็พื้นที่น้ำ10% เพื่อที่ใช้ในการดูแลพืชและพื้นที่ปลูกป่า30% แล้วก็ที่อยู่อาศัย10% แต่ตรงนั้นคือแบบที่ต่างกันแต่ยังมีโมเดล โคกหนองนา เป็นการใช้ศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาภัยแล้งเรื่องของน้ำ แต่ศาสตร์น้ำยังคงอยู่ในการเก็บน้ำ30% เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าโคกก็จะมาปั้นให้สูงเป็นคันนาทองคำ แล้วยังมีที่นาเหลืออยู่ ก็คือการบริหารจัดการพื้นที่ใช้สูตรของทฤษฎีใหม่ เพียงแต่ว่ารูปแบบจะต่างกัน10% แต่ปัจจุบันก็คือครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการก็จะเป็นกระท่อมที่นั่งพักเพราะว่าเป็นที่พักผ่อนนั่งหลบแดดร้อน โคกหนองนาโมเดลพื้นที่ชั้นบนสัดส่วน 1:3,1:2,1:1,2:3 เหมือนกันหมดทั้ง1 ไร่และ3 ไร่ ส่วนที่เป็นโคก ก็จะมีการปลูกป่า3 อย่าง ประโยชน์4 อย่าง หรือปลูก4 อย่างประโยชน์5 อย่าง การปลูกต้นไม้จะเป็นอันดับแรกก็คือไม้สูงคือไม้ใช้สอย ไม้ประโยชน์ที่จะใช้เนื้อไม้ในการสร้างบ้านแล้วก็ใช้ประโยชน์จริงๆ กลุ่มถัดมาที่จะปลูกก็คือว่าพวกไม้ผล ทีเราใช้กิน อีกก็จะเป็นไม้เตี้ยเป็นพวกพืชผักสวนครัวต่างๆ น้ำที่มีอยู่ในสระก็จะไปหล่อเลี้ยงพืชเหล่านี้ให้โตขึ้น เมื่อหน้าแล้งรากของไม้ก็จะดึงน้ำลงไปยังสระเพื่อที่จะใช้ในการเกษตรในฤดูแล้งได้ รูปแบบของสระก็จะเป็นแบบ Free From ก็คือรูปทรงอิสระ ก็จะมีตะพัก ตะพักจะใช้ในการปลูกผัก เพื่อบริโภคได้
ปลัดกรุณา สวัสดิ์สิงห์
เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลเป็นศาสตร์รัชกาลที่9ในยุคนี้เข้าสู่รัชกาลที่10 ได้พัฒนาขึ้นมาจากเดิม ราชการที่10ได้พูดว่าจะสืบสานรักษาต่อยอดสิ่งดีๆพี่พ่อทำไว้รักษาต่อยอดสิ่งไหนที่มันดีอยู่แล้วจะทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิม เกษตรทฤษฎีใหม่คือการจัดพื้นที่ 1.มีที่อยู่อาศัย2.ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ทางเลือกสู่ทางรอดทางเลือกของเรา โควิดทำให้เราย้อนกลับไปสู่วิถีเกษตรกรรม เริ่มจากตัวเองโดยการปลูกผักรอบๆบ้าน มันจะวัดใจว่าเราชอบปลูกผักจริงหรือไม่ ถ้าเราชอบจริงเราจึงมองเห็นว่าวิถีเกษตรกรรมยังไงเราก็ทิ้งไม่ได้ เพราะว่ามันคู่คนไทยมายาวนาน การทำเกษตรทฤษฎีใหม่หรือโคกหนองนาโมเดลการบริหารพื้นที่จัดสรรของเราทำยังไงให้เกิดรายได้ ต่อไปมันก็จะต่อยอดออกมาเอง ถ้าเราทำให้มันเกิดมันก็จะเกิด พอมันเกิดแล้วเราสามารถปรับเปลี่ยนทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เสริมพวกไม้ประดับ เสริมร้านกาเเฟ เพราะทุกวันนี้คนชอบท่องเที่ยว ชอบเช็คอินที่ เรามีไอเดียเราก็ศึกษาและลงมือทำ มีที่ขายอาหาร เราก็ประยุกต์เอา ความรู้อยู่ที่ฝ่ามือเราเดี๋ยวนี้เด็กเรียนรู้อยู่ที่บ้าน เห็นได้ว่าโควิดทำให้วิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไปมาก พ่อแม่ทุกวันนี้ต้องนั่งเรียนออนไลน์อยู่กับลูกหลาน เพราะฉะนั้น สิ่งต่างๆเหล่านี้เราเรียนรู้ได้ว่าจะทำยังไง ทางเลือกก็คือ “ทำ” ทางรอดก็คือ “มีกินมีใช้”
คุณ ดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนันตำบลหนองโสน
โดยส่วนตัว ครอบครัวก็คิดจะทำโคกหนองนาอยู่แล้ว แต่ไม่ทราบว่าโครงการโคกหนองนาจะมีจริงหรือเปล่า เราก็เป็นชาวบ้านเมื่อมีโครงการนั้นโครงการนี้เข้ามาเราก็สนใจทุกอย่าง คิดว่าแล้วจะมาเมื่อไหร่เมื่อไหร่จะได้ทำ โดยพื้นที่ส่วนตัวอยู่ที่บ้านโคกสูงหมู่4 แล้งมาก น้ำไม่มี แล้งจนวัวไม่มีน้ำจะกิน ต้องขนน้ำจากที่บ้านระยะทาง2กิโลเมตรเพื่อเอาไปให้วัวกิน ทางครอบครัวเราก็คิดแล้วว่าจะทำยังไงถึงจะได้มีน้ำ ทำไมมันแล้งเช่นนี้ ทำนาก็ไม่ได้ข้าวกิน เมื่อ4-5ปีที่แล้ว แล้งหมดเลยขาดทุนทุกอย่าง มีอย่างเดียวที่เห็น คือกล้วยในสวน ดินก็เป็นดินหินขาว เหนียว ปลูกอะไรก็ไม่ได้กินนอกจากล้วยอย่างเดียว พอหลังจากเข้ารับการอบรม 4 วัน 5 คืน เหมือนโดนล้างสมองเลยจากที่ไม่ค่อยรู้ก็รู้มากขึ้น ได้เพื่อนได้แชร์ประสบการณ์ ดินไม่ดีไม่ได้เกี่ยวว่าจะปลูกต้นไม้ไม่ได้ หลักสูตรอบรมมีวิชาการให้เราได้เรียนรู้ ทุกสภาพดินแก้ไขได้หมด และในส่วนที่กลับมาทำที่ตำบลหนองโสน พัฒนาชุมชน น.พ.ต. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดูแลครัวเรือนดีมากเหมือนจับมือทำเลย จากไม่เป็นก็สอนให้เป็นติดตามดูแลงานทุกอย่าง การที่เราจะทำได้นั้นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นท่านนายก ท่านกำนัน ทุกคนเหมือนสิ่งรอบตัว เหมือนมันเป็นกำลังใจเป็นแรงผลักดันให้ครัวเรือน ทำมันให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ณ ตอนนี้ก็มีศูนย์ขายของอยู่ ซึ่งทำให้คนที่ทำโคกหนองนาหรือเกษตรกรทั่วๆ ไป ทุกคนในตำบล ว่าถ้าทำแล้วเราก็มีที่อยู่ มีกิน ซึ่งตอนนี้ผลผลิตของดิฉัน ก็ใช้ได้แล้ว มีพืชผัก สวนครัวต่างๆ และปลา แบ่งปันให้กับญาติพี่น้อง แบ่งปันให้กับคนที่เขาอยากจะซื้อ ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่สนับสนุน เพราะทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการผลักดันที่ทำให้เกิดตรงนี้ขึ้นมาจริงๆ ขอบคุณค่ะ
อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.)
นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ เป็นฟันเฟืองเล็กๆที่มีโอกาสได้ร่วมขับเคลื่อนศาสตร์ของพระราชาโคกหนองนาโมเดลให้ประสบความสำเร็จให้แก่เกษตรกรที่ได้เข้าร่วมโครงการเพื่อประสบความหวังที่คาดหวังเอาไว้ แล้วพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ มีหน้าที่ส่งเสริมทางด้านวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชา การทำงานตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ทำยังไงดินในพื้นที่ของเราจะใช้งานได้ ทิศทางที่เราจะสร้างปศุสัตว์ นอกจากจะเป็นทางด้านวิชาการแล้ว เราก็ให้ความร่วมมือทางด้านพละกำลังด้วย เราจะรวมปฏิบัติไปควบคู่กับครัวเรือนต้นแบบ ซึ่งจะมีเครือข่ายด้วย โดยการปฏิบัติงานของนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ นพต.ก็จะเริ่มจากการลงไปดูพื้นที่ที่เหมาะสม ทิศทาง ดิน น้ำ ลม ไฟมาทิศทางไหน น้ำไหลมาจากทางไหน แล้วเราก็จะไปวางแผนเอาไว้ ว่าสระจะวางไว้ตรงไหน แล้วก็จะไปถอดสแกนตามแบบที่เราคาดหวังเอาไว้ หลังจากนั้นเราก็จะมาเริ่มกับครัวเรือน ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์4 อย่าง บนโคก หลังจากขุดสระเสร็จแล้ว ก็ปลูกป่าไม้5 ระดับ ซึ่งในสิ่งที่เราเน้นที่สุดก็คือ หลักกสิกรรมธรรมชาติ โดยการให้ครัวเรือนนั้นมีการถมดิน คือ สร้างดินให้มีชีวิตนั่นเอง เพราะว่าการที่ทำให้ดินมีชีวิตนั้นเราจะต้องสร้างจุลินทรีย์ ซึ่งพ่อหลวงรัชกาลที่9 ท่านบอกไว้ว่า ในหินนั้น ในทรายนั้น มันก็มีอาหารของพืชอยู่ เพียงแต่มันไม่มีจุลินทรีย์ เพราะจุลินทรีย์ตัวเขาเองจะมีกรดอยู่ใช้กรดตัวนั้นผสมกับน้ำไปย่อยหิน ไปย่อยทราย ย่อยอินทรีย์วัตถุให้มาเป็นอาหารของพืช เพราะฉะนั้น ท่านจึงบอกว่าให้เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช ที่เราใช้9 ขั้น ซึ่งท่านบอกให้ทำตามลำดับอย่าไปทำลัด อย่าไปทำเอาขั้นที่9 เลย ก็มีหลายท่านที่เห็นเขาทำก็ทำตามกันเป็นกระแส อยากทำ มีเงินมีทอง ลงทุนทำเลย มีต้นไม้จ้างคนงานมาปลูกไม่พอ2 เดือน ต้นไม้ก็หายหมด แต่ของเราทำทีละขั้น ทีละตอน เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำตามกำลังของเรา ผมรับรองว่าผู้ที่สนใจไม่ต้องคิดว่าเป็นทางเลือก บอกได้เลยว่าเป็นทางรอดแน่นอน
รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
“ถ้าย้อนกลับไปเมื่อสมัยรัชการที่9 ยังทรงพระชน ทุกท่านคงเคยเห็นภาพอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ชื่อ พัน กี-มุน เป็นชาวเกาหลีใต้ เคยเข้าเฝ้า ในหลวง ร.9 อยู่บ่อยครั้ง และก็มีการพูดคุยกันจึงนำไปสู่การตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการ UN นั่นคือ SDGs ซึ่งย่อมาจาก Sustainable Development Goal นั้นก็คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดกับ ร.9 ร.9ท่านก็คิดหาทางออกให้กับประเทศ ตอนนั้นประเทศไทยก็พยายามอย่างหนักที่จะก้าวเข้าไปเป็นเสือตัวที่5ของเอเชีย ซึ่งเขาเรียกว่าเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียตัวที่5 ในหลวงคิดว่าประเทศไทยยังไม่จำเป็นต้องไปถึงจุดนั้น อย่าลืมว่าเบื้องหน้าเบื่องหลังของประเทศไทยคือประเทศเกษตรกรรม เพราะฉะนั้นประเทศไทยจะอยู่รอดได้ ก็ต้องอาศัยการทำเกษตรกรรม อย่างพึ่งไปเป็นเสือเลย เสือคือประเทศที่เป็นอุตสาหกรรม แต่ประเทศไทยยังไม่ใช่ จึงเกิดการนำไปสู่การคิดค้นทฤษฎีมากมายด้านการเกษตร เพราะเกษตรกรรมทำให้คนอยู่รอดในโลกนี้ได้ เพราะทุกคนต่างต้องกินข้าว ในยุค New Normal เห็นได้ชัด คนไปไหนไม่ได้ ถ้าไม่มีอาหาร ไม่มีผลไม้ตุนไว้ ก็อยู่ไม่ได้ คนต้องอยู่ต้องกิน เพราะฉะนั้นเกษตรทฤษฎีใหม่จึงเหมาะอย่างยิ่งในทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะในยุคข้าวยากหมากแพง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต พระบรมราชินีนาถ บรมราชชนนี พันปีหลวง ได้กล่าวไว้ในตอนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังมีชีวิตอยู่ว่า “ในหลวงเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า” ท่านมีความผูกพันในเรื่องของธรรมชาติกับในหลวงมานานถึงกับได้ตรัสไว้ว่า ในหลวงเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า จึงนำไปสู่โครงการป่ารักน้ำ และนี่แหละที่เป็นที่มาของตรงนี้ โครงการป่ารักน้ำ จะพูดอยู่ 2 เรื่องคือ ป่ากับน้ำ เพราะป่ากับน้ำจะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง ป่ากับน้ำ จะนำไปสู่การทำให้เกษตรเกิดความยั่งยืน มีน้ำหล่อเลี้ยงข้าวปลา ทำให้มีปลา มีกุ้ง มีหอยอุดมสมบูรณ์ ป่ากับน้ำจึงมีความสำคัญ ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบรมราชินี พันปีหลวงจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ในหลวงก็คิดทฤษฎีมาตลอดจนนำไปสู่ทฤษฎีด้านการเกษตรซึ่งเรียกว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ มีหลายโครงการเยอะมากเป็น 40-50 ทฤษฎีและนำไปสู่โคงการมากมายที่สอดคล้องกันนำไปสู่การพัฒนาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น จากภูผาสู่มหานทีก็คือจากโคก ให้น้ำไหลลงมาเกิดความอุดมสมบูรณ์ และกรมการพัฒนาชุมชนได้น้อมนำทฤษฎีโคกหนองนา หรือบ้านเราเรียกว่า หนองนาโนน ทฤษฎีมาจากภาษาอังกฤษ เรียกว่า Theory คำนี้ตกผลึกมาจากคำว่า Thought คือแนวความคิด ฉะนั้นจะมาเป็นทฤษฎีได้ความคิดต้องตกผลึก ในหลวงท่านกลั่นกรองแนวความคิดด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่นานมากจนตกผลึกออกมาเป็นทฤษฎี ทฤษฎีใหม่เป็นทฤษฎีที่ตกผลึกแล้ว ในหลวงท่านเป็นต้นเรื่องของทฤษฎี ลักษณะตอนนั้นเขาเรียกว่า ฟ้าร้อง ฟ้าร้องแต่ไม่รู้ฝนจะตกหรือไม่ตก ในหลวงท่านร้องอยู่นาน แต่ไม่ตก ท่านเลยได้คิดโครงการในพระราชดำริออกมา นั่นคือฟ้าร้องนำไปสู่ฝนตก คนที่เจ๋งจริงต้องทำให้ฟ้าร้องได้และฝนตกได้ด้วย ในหลวงคือของแท้ ทฤษฎีได้ ปฏิบัติเห็น ฉะนั้นพวกเราในฐานะพสกนิกรของท่าน มีที่มีทางทำเลย ลุยเลย ฟ้าร้องก่อนแล้วฝนจะตกตามมา เพราะฉะนั้นทฤษฎีฟ้าร้องฝนตกต้องทำให้ได้ ในเรื่องของการประยุกต์ไปสู่โคกหนองนา โคกหนองนาคือนวปฏิบัติ ท่านดนัย ท่านสมชิตพูดว่า เมื่อโคกหนองนา สัมฤทธิ์ผลทั้ง 11 แปลง ต้องนำไปสู่การเรียนรู้ต่อยอดของท่านอื่นๆ เขาจึงเรียกสู่การเห็นผลและต่อยอดองค์ความรู้จึงเป็นที่มาของการเสวนาครั้งนี้ ฉะนั้นพวกเราในฐานะเป็นพสกนิกรชาวไทย รักเทิดทูนในหลวง ต้องปฏิบัติตามท่าน ท่านคิดจนตกผลึกนำไปสู่การสร้างปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง ผมชอบ คำของนักปราชญ์ได้กล่าวไว้ ซึ่งน่าสนใจมาก “ถ้ามีไม่พอ ต้องทำให้พอ มีเกินพอ ให้รู้จักพอ แล้วเผื่อแผ่ไปยังผู้อื่น” ความเก่งของคนที่หลากหลายคือความงามของโลกนี้ โลกใบนี้คือแจกัน ทุกท่านที่มีความสามารถที่หลากหลายคือดอกไม้ที่หลากสี แจกันจะมีความสวยงามก็เพราะดอกไม้ที่หลากสี โลกใบนี้มีความน่าอยู่ มีความสมดุลเพราะความสามารถที่หลากหลายของผู้คน เพราะฉะนั้นความพอเพียง ทุกคนสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ให้เกิดผล ทุกท่านเดินทางมาถูกแล้ว เราเป็นพสกนิกรของท่าน เราจะต้องน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลให้ได้เพราะพระองค์กล่าวไว้ว่า ความพอเพียงคือเราสามารถยืนอยู่บนขาตัวเองได้ ผมขอสรุปตามพระราชดำรัสของพระองค์ไว้เลยนะครับว่า “เศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจใหม่ 2 อย่างนี้ จะทำความเจริญได้ ต้องมีความเพียร ต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้”
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. เข้าร่วมฟังการเสวนาออนไลน์ Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านระบบ ZOOM
ประธานเปิดโครงการเสวนา รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ผู้ดำเนินการเสวนา นายชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยากรผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ ,รศ.ดร. ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ,นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์ ,นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน ,รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
การเสวนา จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นการร่วมมือกันระหว่าง รัฐ/ชุมชน/เอกชน/และมหาวิทยาลัย ลงพื้นที่สอบถามปัญหาต่างๆของชุมชนและนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อให้เกิดแนวคิดในการนำไปพัฒนาชุมชน
จากการเข้าร่วมฟังการเสวนาผมก็จับใจความได้ว่า การที่จะไปช่วยเหลือชุมชนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนั่น จะต้องมีการลงพื้นที่อย่างจริงจังเพื่อไปสอบถามสภาพปัญหาการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชน สภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนว่าเป็นอย่างไร แล้วเราจะได้ข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีการพูดถึงโลกปัจจุบันนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีโควิดระบาดเข้ามาจนทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวในการดำเนินชีวิตใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนในรูปแบบออนไลน์แทนออนไซต์ และการทำงานจากที่บ้านแทนที่ออฟฟิศ ขายของก็เป็นในรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์แทบจะทุกอย่าง ถ้าไม่มีการปรับตัวตัวก็ไม่สามารถที่จะอยู่ในสังคนปัจจุบันได้เพราะจะต้องกลายเป็นบุคคลที่ล้าหลังตามผู้อื่นหรือคู่แข่งไม่ทัน ซึ่งโลกปัจจุบันนี้ก็เป็นโลกที่ไร้พรมแดนทุกคนสามารถเชื่อมต่อหากันได้ทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ต่างประเทศ,ที่นาหรือที่ไหนๆก็ตามหรือแม้กระทั้งในห้องน้ำ
การเสวนาก็พูดถึงเรื่องสภาพปัญหาในชุมชนที่มีการเป็นอยู่ในแบบที่ไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันทางสังคมระหว่างคนกับคนรวย คนจนบางครอบครัวก็จนจนจะไม่มีข้าวจะกินต้องทำงานหนักเพื่อเเลกกับเงินเพราะไม่มีเงินที่จะไปศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้ได้งานดีๆทำ ส่วนคนรวยก็รวยจนไม่รู้จะนำเงินไปทำอะไร ซึ่งประเด็นปัญาหาเหล่านี้ทำให้เกิดการร่วมมือกันของรัฐ/เอกชน/ชุมชน/และมหาวิทยาลัยในการเข้ามาช่วยเหลือคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีทั้งหมด 17เป้าหมาย
- ขจัดความยากจน : No Poverty
- ขจัดความหิวโหย : Zero Hunger
- มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี : Good Health and Well-being
- การศึกษาที่เท่าเทียม : Quality Education
- ความเท่าเทียมทางเพศ : Gender Equality
- การจัดการน้ำและสุขาภิบาล : Clean Water and Sanitation
- พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ : Affordable and Clean Energy
- การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ : Decent Work and Economic Growth
- อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน : Industry, Innovation and Infrastructure
- ลดความเหลื่อมล้ำ : Reduced Inequality
- เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน : Sustainable Cities and Communities
- แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน : Responsible Consumption and Production
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : Climate Action
- การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล : Life Below Water
- การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก : Life on Land
- สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก : Peace and Justice Strong Institutions
- ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : Partnerships to achieve the Goal
แบ่งออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)