ข้าพเจ้านางสาวอำพร รัตนาธิวัด ประเภทประชาชน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1มหาวิทยาลัยสร้างรากแก้วให้ประเทศ HS02หลักสูตรโคกหนองนาโมเดล
การปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม 2564มีดังต่อไปนี้
วันศุกร์ที่ 26 พ.ย.2564เวลา09.00น.ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เข้ารับฟังอบรมการสร้างเพจที่ ศาลาวัดโคกว่าน บ้านโคกว่าน โดยมีวิทยากรดังนี้ ดร. วิษณุ ปัญญายงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ
อาจารย์อบรมเรื่องที่ 1 ตลาด online สำหรับผู้ประกอบการเทคนิคการขายของในเฟสไม่จำเป็นจะต้องมียอดไลท์เยอะแต่บางทีเวลาเราขายของชอบให้คนมากดมารู้จักเฟสเราเยอะแต่จะบอกว่าตอนนี้เฟสบุ๊คซึ่งมีกฏหลายๆๆอย่างซึ้งจะปิดกั้นการมองเห็นเพราะฉะนั้นการที่จะทำให้เฟสมองเห็นจะต้องมีการอัพเรื่อยๆๆๆอัพให้ความรู้อัพเกี่ยวกับสินค้าของเราและที่สำคัญก็คือจะต้องยิงโฆษณาทำไมสินค้าหลายตัวแต่โฟสขายไปไม่มีใครซื้อแม้ว่ามียอดfoloเป็น1,000แต่ไม่มีคนซื้อเพราะเฟสบลุ๊คทุกวันนี้เขาอยากได้เงินจากเราถ้าเราไม่ให้เงินเขาเขาก็ไม่โฆษณาให้เราเพราะตอนนี้ตลาดโฆษณาที่ใหญ่ที่สุดคือตลาดเฟสบลุ๊ค 2. รู้จักตนเอง ก็คือในตำบลหนองโสนมีผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง และในแต่ละหมู่มีผลิตภัณฑ์อะไรบ้างเช่น 1.ข้าวหอมมะลิ ปุ๋ยขี้ควาย หมู่ 6 บ้านระนามพลวง
2.ทอเสื่อ ผ้าซิ่นตีนแดง หมู่8 บ้านสี่เหลี่ยมน้อย
3.ผ้าไหม ผ้าฝ้าย หมู่ 5 บ้านหนองโสน
4.ข้าวเม่า มะพร้าวเผา หมู่1 บ้านโคกว่าน ไก่บ้าน
5.ปลูกดอกดาวเรือง หมู่ 4 บ้านโคกสูง
6.ปุ๋ยขี้ควายใส่ถุง หมู่ 6 บ้านระนามพลวง
7.ข้าวหลามเผา หมู่11 บ้านบุคราม
ซึ่งจะเห็นได้ว่าตำบลหนองโสนมีผลิตภัณฑ์มากมายทั้งของกินของใช้ที่มีการจำหน่ายไปแล้ว
3.ก่อนจะทำการตลาดบนFaceFook สิ่งที่ควรรู้/ความคิด เป้าหมายในการทำเฟสเพื่ออะไร เช่น
ทำมาหากินก็คือ ทำแล้วเหลือกินแล้วเอาไปขายเช่นปลูกผักสวนครัวในบ้านพอมันเหลือกินเราก็เอาไปขาย
ทำมาค้าขาย คือทำเพื่อขายว่าเราพร้อมที่จะขายไหม
ส่วนหัวข้อต่อไปคือ
รู้จัก Facebook Profile/Group/Page แตกต่างกันอย่างไร
1.Profile เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลมีความเป็นส่วนตัวมากถ้าไม่ใช้เพื่อนไม่มีสิทธิ์เห็นหรือไม่สามารถเห็นได้หากคุณไม่อนุญาต
2.Group สร้างขึ้นเพื่อสื่อสารให้ข้อมูลบางอย่างเฉพาะกลุ่มนั้นๆไปเช่น กลุ่มเปิด กลุ่มปิด กลุ่มลับ
3.Page เป็นการสร้างหน้าเพื่อโปรโมทแบรนด์สินค้าหรือโปรโมทธุรกิจที่คุณกำลังทำอยู่เพื่อใช้ในการติดต่อและหาลูกค้า
อะไรบ้างที่เราควรโพสต์ในเฟซบุ๊ค
1.ข้อมูลสินค้า
สิ่งนี้ต้องเป็นตัวหลักแต่ไม่ใช้ต้องโพสต์ตลอดเวลาและเราขาดไปในการโพสต์เกี่ยวกับสินค้าโดยส่วนใหญ่คือเราขายโดยที่ขาดการกบ่าวถึงประเด็นปัญหาที่สินค้าเราข่วยแก้ปัญหาอะไรแทนที่จะขายเพียงอย่างเดียวลองปรับแก้ให้เป็นแพทเทิร์นอย่างนี้ 1.ปัญหา 2. วิธีการแก้ 3. สินค้าขายอย่างไร 4. สินค้ามีจุดเด่นอย่างไร 5. โปรโมชั่นมีอะไร 6.ติเต่ออย่างไร
2.สาระที่เกี่ยวกับสินค้า
นอกจากสินค้าแล้วสิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนที่มาติดตามแฟนเพจเราความรู้เล็กๆๆน้อยๆๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับสินค้าเรา
ต่อไปเรื่องที่เราจะต้องโพสต์ต้องมี
โพสต์ Content/เนื้อหาไหนถึงปัง ชื่อสินค้า รสชาติ คุณสมบัติ ผลิตจากอะไร เรื่องราว ราคา ติดต่อ
จากนั้นอาจารย์ให้โหวตชื่อที่จะลงในเฟสโดยมีทั้งหมด 4ชื่อ ดังนี้
1.รวมทุกอย่างที่หนองโสน
2.ของดีโคกหนองนาหนองโสน
3.ของดีที่หนองโสน
4.หนองโสนบ้านแอ๋ง
ชื่อที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ
ของดีที่หนองโสนเพื่อที่จะได้นำไปสร้างในเฟสต่อไปโดยอาจารย์ได้ให้เข้าไปในแอพพลิเคชั่นในการสร้างคือCanvaเพื่อที่จะนำไปใช้ในการออกแบบในการสร้างเพจต่อไป
วันศุกร์ที่ 3ธันวาคม 2564 เวลา16.00น.ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร
รองศาสตราจารย์ ด.ร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม อาจารย์ชมพู อิสริยยศวัฒน์ อาจารย์ศุภกิจ อาจารย์ดนัย สุริยวงศ์ศรี นานสมชิต ไชยชาติ นายจุล ชื่นชูผู้ใหญ่บ้านโคกว่าน นายบุญลือ นวลปักษี ผู้ใหญ่บ้านบุครามได้ร่วมกิจกรรมลงพื้นที่แปลงนาของคุณ สว่าง อุดมดัน เจ้าของแปลงโคกหนองนา หนองโสน กิจกรรมคือการตีข้าว หรือนวดข้าว
ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักการลอมข้าวกันก่อน ลอมข้าวเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นการนำฟ่อนข้าวคือร่วงจ้าวที่มีส่วนของลำต้นติดอยู่ที่ผ่านการเกี่ยวด้วยมือนำไปตากให้แห้งผูกรวมให้เป็นมัดมากองรวมกันบนลานข้าวหรือผ้าแยงโดยจัดวางซึ่งสามารถสูงได้หลายเมตรขึ้นอยู่กับปริมาณของฟ่อนข้าวก่อนนำไปนวดเพื่อที่จะเป็นเมล็ดข้าวเปลือกต่อไปซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญคือวิธีการจัดการป้องกันความเสียหายได้ไม่ว่าฝนจะตกหนักเพียงใดก็ตาม
ต่อไปจะเป็นการตีข้าวหรือนวดข้าวแบบดั่งเดิมมีวิธีดังต่อไปนี้
-เข้าไปยืนในผ้าแยงที่ปูไว้
-เอาข้าวรวงข้าวที่มัดไว้มาตีทีละฟ่อน(1หอบ)
-หันรวงข้าวออกไปทางด้านหน้าของผู้ตีก่อนจะฟาดอย่างต่อเนื่องกันหลายครั้ง
-พลิกข้าวรวงกลับเอาร่วงข้าวที่อยู่ด้านล่างขึ้นมาตี
-เมื่อเห็นว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงแล้วก็ใช้ไม้ตีฟ่อนข้าวที่เข้าไปที่ร่วงข้าวเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง
-ยกขึ้นมาเขย่าหลายๆๆครั้งเพื่ให้แน่ใจว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าวหมดแล้วก็ตักใส่ถุงปุ๋ยไปเก็บที่บ้าน
การตีข้าวแบบนี่้ไม่ค่อยจะมีให้เห็นบ่อยนักถือว่ายังคงรักษาวัฒนธรรมเก่าของชาวบ้านที่เคยใช้กันมาสมัยยังไม่มีรถเกี่ยวข้าวซึ่งก็ยังมีหลายๆๆคนพยายามอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของปู่ทวดที่เคยใช้แรงงานคนเกี่ยวข้าวแล้วลงแขกโดยชวนพี่น้องและเพื่อนบ้านมาช่วยกันเกี่ยวข้าวและตีข้าวจนได้ข้าวเป็นเมล็ดข้าวเปลือกแต่ทุกวันนี้การทำแบบนี้หายไปเพราะยุคสมัยเปลี่ยนจากแรงงานเป็นเครื่องจักร
หลังจากตีข้าวเสร็จแล้วก็รับประทานอาหารตอนเย็นร่วมกันแล้วต่างพากันแยกย้ายกันกลับบ้าน
วันเสาร์ที่4 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกว่านได้ประชุมพูดคุยและแบ่งงานเรื่องการทำหลักสูตรระยะสั้นและคุยเรื่องการทำเพจซึ่งผู้ปฏิบัติงานในแต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายงานดังนี้
กลุ่มนักศึกษา ได้หัวข้อ
-เป้าหมายSDGs หลักสูตรระยะสั้นโคกหนองนาโมเดลเพื่อขจัดความอยากจนอย่างยั่งยืนตรงกับเป้าหมายSDGsในข้อใด
กลุ่มบัณฑิตได้หัวข้อ
1.แนวคิด(เกริ่นนำว่าทำไมต้องทำโคกหนองนาให้อธิบาย)
2.จุดประสงค์การเรียนรู้(ที่เราลงพื้นที่ศึกษาโคกหนองนาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รู้เรื่องอะไรบ้าง)
3.ขอบข่ายเนื้อหาประกอบไปด้วย
-ความรู้พื้นฐานโคกหนองนางอธิบายว่าโคกหนองนาคืออะไร
-การทำโคกหนองนาในตำบลหนองโสนอธิบายว่ามีกี่แปลงแต่ละแปลงใช้พื้นที่กี่ไร่สัดส่วนเท่าไร
-การแบ่งสัดส่วนโคกหนองนาเพื่ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์อธิบายว่าโคกหนองนาหนองโสนโคกปลูกพืชอะไรบ้างหนองทั้งสระและคลองไส้ไก่เลี้ยงอะไรบ้างและนาปลูกข้าวพันธุ์อะไรบ้าง
กลุ่มประชาชนได้หัวข้อ
-จุดมุ่งหมายของหลักสูตรระบุจุดมุ่งหมายว่าจัดทำหลักสูตรเพื่ออะไรทำให้เกิดผลการเรียนรู้อะไรกับผู้เรียนทั้งนี้ต้องเขียนจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนสามารถวัดและประเมินผลได้
แบ่งงานกันเสร็จแล้วก็ต่างแยกย้ายกันลงพื้นที่ที่รับผิดชอบ
เวลา13.00น.ข้าพเจ้าและทีมงานที่ได้รับผิดชอบได้ลงพื้นที่แปลงโคกหนองนาของ นาง เปรมวิกา คนงามเพื่อเก็บข้อมูลที่จะนำมาลงในการขายตลาดออนไลน์ แปลงของ นางเปรมวิกา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6บ้านระนามพลวงมีพื้นที่ 1ไร่ ในสระจะเลี้ยงปลานิล บนโคกจะปลูกดอกดาวเรืองเพื่อส่งขายในวันพระ ส่วนผักกะจะมี บวบ ฟักทอง ตะไคร้ ต้นแมงลัก ต้นกระเพรา ถั่วพลู ไม้ผลมี กล้วย มะนาวมะม่วง มะละกอ เจ้าของแปลงบอกว่าแต่ละเดือนจะมีลูกค้าตามหมู่บ้านสั่งผักต่างๆๆบางวันก็นำไปฝากขายในร้านค้าในหมู่บ้านจึงทำให้แต่ละเดือนมีรายได้เข้าใช้จ่ายภายในครอบครัวต่อไป
จากการลงพื้นที่ในเดือนธันวาคมนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักการทำเพจการขายสินค้าในตลาดออนไลน์และได้รู้ว่าในตำบลหนองโสนมีผลิตภัณฑ์และสินค้ามากมายที่ข้าพเจ้าไม่เคยรู้มาก่อนและได้เรียนรู้ในเรื่องของการทำโคกหนองนาในแต่ละแปลงว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปได้เยอะมากและที่สำคัญคือการทำงานกันเป็นทีมความสามัคคีกันจึงทำให้งานที่ทำในแต่ละครั้งที่ผ่านมาและประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี
จากการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลา11เดือนเริ่มจากข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงาน u2t ได้เข้าอบรมพัฒนาทักษะ 4ด้านคือ 1.ด้านการเงิน 2.ด้านดิจิทัล 3. ด้านภาษาอังกฤษ 4.ด้านสังคม ผ่านการเรียนออนไลน์ทาง Thai Mooc ซึ่งเป็นการเรียนเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและในส่วนการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในชุมชน,หมู่บ้านตำบลหนองโสนทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านสภาพความเป็นอยู่ซึ่งจะพบปัญหาคือการว่างงานและคลาดแคลนงานทำ ปัญหาความอยากจน และหนี้สิน จะพบเจอในหมู่บ้านและสิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจคือชาวบ้านมีอัทธาศัยดีเป็นกันเองให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่ทุกครั้งตลอดการทำงานและในส่วนการลงพื้นที่โคกหนองนาในแต่ละแปลงทำให้ข้าพเจ้าได้รับรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ประการณ์ต่างมากมายได้รู้จักการวางแผนบริหารจัดการในพื้นที่ทำกินทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและได้ประโยชน์มากที่สุดเพื่อให้เพียงพอกับตนเองและครอบครัวในวันข้างหน้า
ขาพเจ้าจึงขอขอบคุณคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร รศ.ด.ร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม อาจารย์ชมพู อิสริยะวัฒน์ อาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์ อาจารย์ภูณิศา วัชเรนทร์วงศ์ และผู้ปฏิบัติงาน u2t ทุกท่านที่ทำให้งานทุกอย่างประสบความสำเร็จและผ่านไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณค่ะ