1. ข้าพเจ้า นายนัฐพงษ์ จันทร์คง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดล ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมพ.ศ. 2564

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. – 15.00 น. ได้มีการลงพื้นที่นัดหมายประชุม ณ วัดบ้านโคกว่าน อาจารย์ประจำหลักสูตรได้เชิญพิธีกร 2 ท่านได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเพจและดึงศักยภาพของดีประจำหมู่บ้านของแต่ละหมู่บ้าน โดยมี ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  และอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ  มาบรรยายและให้คำแนะนำบอกแนวทางการต่อยอดสินค้าในชุมชนเพื่อสร้างเพจไว้โปรโมทเพื่อที่จะให้แต่ละชุมชนมีรายได้เสริม ทั้งนี้จะเป็นการให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ของดีประจำตำบลหนองโสน เพื่อส่งให้ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรว่าของใครจะได้เป็นโลโก้ประจำเพจ ทั้งนี้ยังมีการโหวตชื่อเพจโดยมีทั้งหมด 4 ตัวเลือก

1. รวมทุกอย่างไว้โสน

2. ของดีโคกหนองนา หนองโสน

3. ของดีที่หนองโสน

4. หนองโสน บ้านเอ็ง U2T

และทางวิทยากรจึงให้ผู้ปฎิบัติงานทุกคนได้คิดหาของดีประจำตำบล ได้แก่ ตะกร้าจักรสาน เสื่อ ข้าวเม่า ข้าว กล้วยฉาบ ผ้าขาวม้าผ้าไหม ไก่บ้าน ไข่ไก่ มะพร้าวเผ่า  ดอกไม้ดาวเรือง ปุ๋ยขี้ควาย สิ่งเหล่านี้เป็นของดีประจำตำบลหนองโสน โดยมีผู้ปฎิบัติงานทุกคนเป็นแอดมินประจำเพจที่มีชื่อว่า ของดีที่หนองโสนที่อำเภอนางรอง

 

 

 

วันที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 16.00 น. – 18.00 น. ได้มีการนัดลงพื้นที่เพื่อช่วยชาวบ้านเพื่อลงแขกตีข้าว ณ นาพี่สว่าง บ้านหนองโสนน้อย โดยจะมีชาวบ้านมาคอยให้คำแนะนำการตีข้าวแบบสมัยก่อนซึ่งขั้นตอนการตีข้าวเป็นการทำให้ข้าวเปลือกหลุดออกจากรวง อุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมี ไม้หนีบที่มีเชือกคล้อง สำหรับรัดข้าวให้เน่น เพื่อความสะดวกในการฟาดข้าว ไม้หนีบทำจากไม้จริงหรือไม่ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว มีความยาวประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 ท่อน เจาะรูที่ปลายด้านหนึ่งของแต่ละท่อน แล้วใช้เชือก (บางคนใช้โซ่แทนเชือก) ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ร้อยกับไม้ทั้ง 2 ท่อน การลงแขกตีข้าวถือเป็นวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตที่มีความงดงาม เป็นวิถีที่แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาอาศัยกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจไมตรีและความสามัคคีของคนในหมู่บ้านหรือในชุมชน

 

 

 

วันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30 น. – 12.00 น. มีการนัดหมายประชุมกันเพื่อที่จะแบ่งงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน หมู่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจะมีการคุยกันในเรื่องชินงานระยะสั้น และเรื่องเพจแต่หลักๆ จะเป็นการคุยเรื่องเกี่ยวกับเนื่อหาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโคกหนองนาโดยจะมี 3 หัวข้อใหญ่ และ 3 หัวข้อย่อยดังต่อไปนี้

  1. แนวคิด(เกริ่นนำว่าทำไมต้องทำโคกหนองนา)
  2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (ที่ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ศึกษาโคกหนองนาผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้อะไรบ้าง)
  3. ขอบข่ายเนื้อหา ประกอบไปด้วย
  • ความรู้พื้นฐานโคกหนองนาหรือก็คือโคกหนองนาคืออะไร
  • การทำโคกหยองนาในตำบลหนองโสน มีทั้งหมดกี่แปลง แต่ละแปลงมีพื้นที่ทั้งหมดกี่ไร่ สัดส่วนเท่าไหร่
  • การแบ่งสัดส่วนโคกหนองนาเพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ (โคกหนองนา หนองโสนปลูกพืชอะไรบ้าง หนอง ทั้งสระและคล้องไส้ไก่เลี้ยงอะไรบ้าง และนาปลูกข้าวพันธุ์อะไรบ้าง)

และได้ทำการแยกย้ายกันไปทำในแต่ล่ะหัวข้อที่ได้แบ่งงานกัน ช่วงเที่ยงได้นัดรวมตัวกันกินข้าวด้วยกัน

 

 

วันที่ 6 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. ได้นัดหมายกันลงพื้นที่เข้าไปสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโคกหนองนาทั้ง 11 แปลง ว่ามี กี่แปลง พื้นที่ทั้งหมดกี่ไร่ สัดส่วนเท่า โดยจะยกตัวอย่างมา 6 เจ้าของของโคกหนองนา ได้แก่

1.เจ้าของแปลง โคกหนองนา นายบุญลือ นวลปักษี บ้านบุคราม หมู่ 11 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่แปลง 3 ไร้ สัดส่วนแปลง 3:2

2.เจ้าของแปลง โคกหนองนา นายมีชัย หรบรรพ์ บ้านโคกว่าน หมู่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่แปลง 3 ไร้ สัดส่วนแปลง 3:2

3.เจ้าของแปลง โคกหนองนา นายอุทัย งามแพง บ้านหนองโสน หมู่ 5 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่แปลง 3 ไร้ สัดส่วนแปลง 2:1

4.เจ้าของแปลง โคกหนองนา นางสาวดนุลดา ธรรมนิยม บ้านโคกสูง หมู่ 4 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่แปลง 3 ไร้ สัดส่วนแปลง 2:1

5.เจ้าของแปลง โคกหนองนา นางจิตรานุช โพธ์หิรัญ บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ 8 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่แปลง 1 ไร้ สัดส่วนแปลง 1:3

6..เจ้าของแปลง โคกหนองนา นายสว่าง อุดมตัน บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

พื้นที่แปลง 3 ไร้ สัดส่วนแปลง 2:3

โดยจะมีประมาณดังที่ได้นำมาเสนอคราวๆ6เจ้าของโคกหนองนา เป็นต้น

สรุปผลปฏิบัติงานในครั้งนี้ มีความรู้สึกที่ได้ปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานในที่ตำบลแห่งนี้ ชาวบ้านทุกท่านให้ความร่วมมือและให้ข้อมูลในการทำงานอย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้ก็ได้พบปัญหาในแต่ละครัวเรือนของชุมชนที่รับผิดชอบโดยแต่ละครัวเรือนจะมีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงทำให้ต้องเข้าไปสอบถามหาสาเหตุปัญหาที่ในแต่ละครัวเรือนพบเจอ หลังจากนั้นก็จะเป็นกิจกรรมต่างๆอย่างเช่นปลูกป่า พร้อมทั้งสำรวจพื้นที่ร่วมไปถึงช่วยสร้างศูนย์การเรียนรู้และอื่นๆ จนมาถึงเดือนสุดท้ายของปีจะมีการช่วยชาวบ้านตีข้าวแบบโบราณ เป็นต้นฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู