ข้าพเจ้านายนนทกร บ่อไทย ประเภทประชาชน รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 โดยข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2564 ดังต่อไปนี้

         เมื่อวันที่ 26 พฤศจิการยน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฎิบัติทุกท่านและคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เข้าร่วมอบรมการทำเพจในการขายสินค้าออนไลน์ ณ บริเวณลานวัฒนธรรม วัดบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการและมีชาวบ้านที่สนใจในการทำเว็บเพจได้เข้าร่วมการอบรมอีกด้วยโดยภายในกิจกรรมได้มีวิทยากรมาบรรยายทั้งสองท่าน ซึ่งท่านได้มีความรู้ความสามารถในการทำเพจขายสินค้าออนไลน์ มีดังนี้

  1. ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  2. อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

โดยวิทยากรได้อบรมเกี่ยวกับการทำเพจเพื่อที่จะใช้เพจในการขายสินค้าทางออนไลน์ให้กับคนในตำบลหนองโสน โดยก่อนอื่นจะทำเพจเราทุกคนต้องรู้เกี่ยวกับข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายของเราก่อนว่ากลุ่มลูกค้าของเราคือใคร เพศอะไร อายุเท่าไร ทำอาชีพอะไร รายได้ประมาณเท่าไรเพื่อที่จะให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องและผู้ที่สนใจ  ดังนั้นวิทยากรจึงให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้คิดหาของดีภายในตำบลหนองโสนที่หลังจากเราได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลมาแต่ละคนก็ได้เสนอสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวเม่า ข้าว ปุ๋ยขี้ไก่ กล้วยตาก กล้วยฉาบ ผ้าไหม ไข่ไก่ ไก่บ้าน ปุ๋ยขี้ควาย เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้เป็นสินค้าที่มีอยู่ภายในตำบลหนองโสน ในส่วนของการทำเพจครั้งนี้ได้มีการเลือกชื่อเพจโดยมีการเสนอจำนวน4 ชื่อดังนี้ 1.รวมทุกอย่างไว้ที่หนองโสน 2.ของดีโคกหนองนา หนองโสน 3.ของดีที่หนองโสน 4.หนองโสนบ้านเอ็งu2t หลังจากนั้นได้มีการโหวตชื่อส่วนใหญ่จะโหวตชื่อของดีที่หนองโสนหลังจากนั้นจึงได้เลือกสินค้าที่มีเยอะที่สุดในตำบลหนองโสนก็คือข้าวเม่าโดยวิทยากรได้มอบหมายงานให้ออกแบบสื่อการขายข้าวเม่าเป็นรายบุคคลและส่งก่อนที่จะรับประทานอาหารกลางวัน และกิจกรรมสุดท้ายก็เป็นการแบ่งกลุ่มเพื่อที่จะทำการทำสื่อลงเพจเพื่อเป็นการโปรโมทเพจเพื่อเป็นการกระจายข่าวผ่านช่องทาง Facebook โดยมีผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลหนองโสนเป็นผู้ดูแลและเป็นแอดมินเพจ “ของดีหนองโสน ที่นางรอง

รูปภาพกิจกรรมการอบรมการทำเพจในการขายสินค้าออนไลน์

        

         เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฎิบัติตำบลหนองโสนและคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เข้าร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคีตีข้าวแบบโบราณดั้งเดิม ณ  แปลงโคกหนองนาของนาย สว่าง อุดมดัน ที่บ้านสี่เหลี่ยมน้อยพัฒนา ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์   

วิธีการตีข้าวแบบโบราณดั่งเดิม

เป็นวิถีชีวิตของคนในชนบท เป็นการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง เพื่อให้ข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าวโดยการตีข้าว หรือฟาดข้าวด้วยการใช้ไม้ตีข้าว
1.ด้วยวิธีเข้าไปยืนในผ้าแยงเขียวที่ปูไว้
2.เอาข้าวรวงข้าวมาตีที่ละ 1 ฟ่อน (1 หอบ)
3.หันรวงข้าวออกไปทางด้านหน้าของผู้ตี ก่อนจะฟาดอย่างต่อเนื่องกันหลายๆ ครั้ง
4.พลิกข้าวรวงกลับเอารวงข้าวที่อยู่ด้านล่างขึ้นมาตี
5.เมื่อเห็นว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงแล้ว ก็จะใช้ไม้ตีฟ่อนข้าว ทีเข้าไปที่รวงข้าวเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง
6.ยกขึ้นมาเขย่าหลายๆ ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าวหมดแล้วก็ตักใส่กระสอบถุงปุ๋ยไปเก็บที่บ้าน
การตีข้าวแบบนี้ไม่ค่อยจะมีให้เห็นบ่อยนักถือว่ายังคงรักษาวัฒนธรรมเก่าของชาวบ้านที่เคยใช้กันมาสมัยช่วงยังไม่มีรถเกี่ยวข้าว ซึ่งก็ยังมีหลายๆคนยังอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่เคยใช้เเรงงานคนเก็บเกี่ยวข้าว แล้วลงแขกโดยชวนพี่น้อง และเพื่อนบ้าน มาช่วยกันเกี่ยวข้าวและตีข้าวจนได้ข้าวเป็นเมล็ดข้าวเปลือก แต่ทุกวันนี้การทำแบบนี้หายไป เพราะยุคสมัยเปลี่ยนจากแรงคนเป็นเครื่องจักรกล

ไม้นวดข้าว หรือไม้ตีข้าว เป็นเครื่องมือของชาวนาใช้สำหรับรัดฟ่อนข้าวเพื่อตีรวงข้าวที่มัดอยู่ในฟ่อนให้เมล็ดข้าวกระเด็นออกมาจากรวงไม้นวดข้าวทำจากไม้ไผ่ที่มีเนื้อแน่น ไม้แก่จัด ข้อสั้น ลำต้นเล็ก มีขนาดพอดีมือ กำได้รอบการทำไม้นวดข้าวเริ่มจากการตัดไม้มา 2 ท่อนให้มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร เหลาไม้ให้เรียบ หากใช้ไม้จริงต้องใช้กบไสแล้วใช้บุ้งถูให้เรียบ เจาะรูที่ปลายไม้ทั้ง 2 ท่อน ห่างจากปลายไม้ประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกยาวประมาณ 50 เซนติเมตร หรือให้ยาวประมาณเส้นรอบวงของฟ่อนข้าว ร้อยรูไม้ที่เจาะทั้ง 2 ท่อนแล้วขมวดปมที่ส่วนปลายเชือก

รูปภาพกิจกรรมเอามื้อสามัคคีตีข้าวแบบโบราณดั้งเดิม

 

         เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้ประชุมร่วมกับผู้ปฏิบัติงานU2Tตำบลหนองโสนเป็นการประชุมวางแผนสรุปงานเพื่อรับมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบรายละเอียดของงานโดยมีการพูดทั้งหมด 2 เรื่องหลักๆ คือ1.การสรุปหลักสูตรของการทำโคกหนองนาโมเดล 2.การสอบถามความพร้อมของชุมชนในการขายสินค้าออนไลน์ลงเพจ Facebook “ของดีหนองโสน ที่อำเภอนางรอง”เพื่อเป็นการสร้างตลาดออนไลน์ในกับตำบลหนองโสน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และหลังจากประชุมเสร็จก็ได้มีการแยกย้ายการไปลงพื้นที่ที่แต่ละคนได้รับมอบหมายส่วนข้าพเจ้าได้รับมอบหมายไปยังสวนของผู้ใหญ่จุล ชื่นชูและได้ถ่ายรูปสินค้าพร้อมที่จะขายลงในเพจของดีหนองโสน ที่อำเภอนางรอง

รูปภาพกิจกรรมประชุมวางแผนสรุปงานและลงพื้นที่

         การปฏิบัติงานของข้าพเจ้าในเดือนธันวาคม 2564 เป็นเดือนสุดท้ายของการทำงานข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มประชาชน ตำบลหนองโสนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำโคกหนองนาโมเดลและการทำเพจออนไลน์และได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในพื้นตลอดหลักสูตรทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้และประสบการณ์มากและได้เรียนรู้การใช้ชีวิตของคนในพื้นที่ในการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพและข้าพเจ้ายังสนุกกับการลงพื้นที่ทุกๆครั้งในการลงแต่ละครั้งชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีในพื้นที่ตำบลหนองโสนโดยการทำงานครั้งนี้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างได้เจอได้ร่วมงานกับสมากชิกทุกๆคนและทุกคนมีการช่วยเหลือกันและกันในการลงพื้นที่ในแต่ละครั้งและท้ายสุดข้าพเจ้าจะนำความรู้จากการทำงานไปต่อยอดและพัฒนาชุมชนตัวเองให้มีความพร้อมและพัฒนาอาชีพ ให้เกิดผลสำเร็จแก่ตัวเองสังคมและประเทศชาติต่อไป และในแต่ละกิจกรรมก็ได้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์จึงต้องป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด COVID-19 และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัดทำให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีสุดท้ายนี้ต้องขอบคุณทางผู้นำชุมชน ชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลเป็นอย่างดี และค่อยช่วยเหลือ หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

วีดิโอประจำเดือนธันวาคม 2564

อื่นๆ

เมนู