HS02 อบรมการสร้างเพจตลาด online สำหรับผู้ประกอบการ กิจกรรมตีข้าว และการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อโปรโมทเพจให้กับคนในชุมชน         

ข้าพเจ้า นางสาวนุชราภรณ์ ฤทธิ์ไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)หลักสูตรเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล(HS02)

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ ณ วัดโคกว่าน อบรมการสร้างเพจตลาด online สำหรับผู้ประกอบการ โปรโมทผลิตภัณฑ์ที่มีในชุมชนให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์  เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นประธานเปิดโครงการ และมี ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการเป็นวิทยากร ให้ความรู้การสร้างเพจและแนะนำวิธีทำให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนผู้คนสามารถเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น และมีชาวบ้านตำบลหนองโสนและผู้ปฏิบัติงานทีมตำบลหนองโสน U2T เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย โดยมีรายละเอียดการให้ความรู้คร่าวๆดังนี้ ต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนเข้าถึงเลือกซื้อได้มากขึ้น การโฆษณาในเฟสบุคทำให้เรามีรายได้อีกช่องทางหนึ่ง ยิงแอดอย่างไรให้ปังเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน มีเทคนิคว่าทำยังไงให้คนซื้อ วันนี้จะแนะนำการสร้างเพจของตำบลหนองโสน เป็นอีกวิธีที่เรียกยอดขายได้ ก่อนที่จะสร้างเพจ เรามาดูว่าสินค้าในชุมชนมีอะไรบ้าง เป็นการรู้จักตนเอง ในตำบลหนองโสน มีสินค้าดังนี้ ข้าวเม่า ข้าว ปุ๋ยขี้ไก่ เครื่องจักรสาน กล้วยตาก ตะกร้าสาน มะพร้าวเผา กล้วยฉาบ ปุ๋ยขี้ควาย ผ้าไหม ทอเสื่อ ปลา เป็ด ผ้าขาวม้า ไข่ไก่ ไก่บ้าน น้ำอ้อยดอกดาวเรือง และก่อนที่จะทำการตลาดบนเฟสบุค สิ่งที่ควรรู้ ควรคิด 1.เป้าหมายในการสร้างเพจ แยกว่าสินค้าในชุมชน ทำไว้หากิน หรือทำไว้ค้าขาย โดยในชุมชนตำบลหนองโสนส่วนใหญ่ขายข้าวเม่า ทำไว้ค้าขาย จะมีข้าวเม่าทั้งหมด 12 รายการ 1.1) ข้าวเม่าโปร 1.2) ข้าวเม่ารางน้ำกะทิ 1.3) ข้าวเม่าลูกชิ้น 1.4) ข้าวเม่าทอด 1.5) ข้าวเม่ากระยาสาทร 1.6) ข้าวเม่าซีเรียล 1.7) ข้าวเม่าคั่ว 1.8) ข้าวเม่าคลุก 1.9) ข้าวเม่าหมี่สมุนไพร 1.10) ข้าวเม่าตู 1.11) ข้าวเม่าเบญจรงค์ 1.12) ข้าวเม่าแฟนซี ข้าวมี 6 รายการไว้ค้าขาย ได้แก่ 1.1) ข้าวหอมมะลิ 1.2) ข้าวเหนียว กข 6 1.3)ข้าวขาวไรเบอร์รี่ 1.4) ข้าวแตก 1.5) ข้าวเหนียวดำ 1.6) ข้าวเหนียวหอมสะเหงี่ยม 2. กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร เพศอะไร อายุช่วงไหน อาชีพอะไร 3. สินค้าที่จะขาย ที่จำเป็นต้องซื้อ และให้เชื่อว่าต้องขายได้แล้วครึ่งหนึ่ง 4. สร้างเพจ โดยมีการช่วยกันโหวตเลือกชื่อเพจ โดยได้เลือกตรงกัน ชื่อเพจว่า ของดีหนองโสน ที่อำเภอนางรอง 5. คอนเทนต์ รูป วิดีโอ ข้อความทำให้ดึงดูดใจ 6. เงินทุน ในการโปรโมทโฆษณา โดยมีแหล่งขายมากมาย เช่น เพจเฟสบุค ลาซาด้า ช้อปปี้ ขายในกลุ่มเฟสบุค เป็นต้น มีการสอนแต่งรูปให้ดึงดูดให้คนสนใจมากยิ่งขึ้น โดยใช้โปรแกรม canva หลังจากสอนการแต่งรูปแล้วก็ให้ผู้ปฏิบัติลองแต่งรูปโพสลงเพจของตำบลเพื่อโปรโมทสินค้าให้ชาวบ้านในชุมชน ทำให้ผู้คนรู้จักสินค้าของตำบลหนองโสนและสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น

วันที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 16.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดหมายลงพื้นที่ ณ นาของนายสว่าง อุดมดัน หมู่ 5 ตำบลหนองโสน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์  เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์,อาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์,อาจารย์สมยงค์ โสมอินทร์,นายสมชิต ไชยชาติ(นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ) อาจารย์ดนัย สุริยะวงค์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ชาวบ้านตำบลหนองโสนและผู้ปฏิบัติงานทีมตำบลหนองโสน U2T ได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย กิจกรรมตีข้าวหรือการฟาดข้าว เป็นการเอามัดข้าวที่แห้งดีแล้วไปตีเพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดออกจากรวงข้าว อาจจะตีกับพื้น ใช้ไม้ตีไปที่มัดข้าวโดยตรง นำมัดข้าวไปตีกับไม้สำหรับใช้ตีข้าว เมื่อฟาดข้าวได้ตามที่ต้องการก็จะกวาดเศษฟางข้าวที่หักออกจากกองเมล็ดข้าวด้วยไม้กวาดทางมะพร้าว หลังจากที่ร่วมกิจกรรมตีข้าวแล้ว ก็ร่วมรับประทานอาหารเย็น ย่างหมู แล้วแยกย้ายกลับบ้าน

วันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน ประชุมผู้ปฏิบัติทีมตำบล U2T มอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน โดยนักศึกษาได้รับมอบหมายในหัวข้อ เป้าหมาย SDGs หลักสูตรระยะสั้นโคกหนองนาโมเดล เพื่อขจัดความยากจน อย่างยั่งยืน ตรงกับเป้าหมาย SDGs ในข้อใด กลุ่มประชาชนได้รับมอบหมายในหัวข้อ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (ระบุจุดมุ่งหมายว่าจัดทำหลักสูตรเพื่ออะไร ทำให้เกิดผลการเรียนรู้อะไรกับผู้เรียน ทั้งนี้ต้องเขียนจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้) กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้รับมอบหมายในหัวข้อ เนื้อหาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโคกหนองนา 1. แนวคิด(เกริ่นนำว่า ทำไมถึงต้องทำโคกหนองนา อธิบาย) 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (ที่เราลงพื้นที่โคกหนองนา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รู้เรื่องอะไรบ้าง) 3. ขอบข่ายเนื้อหา ประกอบไปด้วย 3.1) ความรู้พื้นฐานโคกหนองนา (อธิบายว่าโคกหนองนาคืออะไร ถ้าเอามาจากเว็บไซต์ให้ใส่ที่มาด้วย) 3.2) การทำโคกหนองนาในตำบลหนองโสน (อธิบายว่ามีกี่แปลง แต่ละแปลงใช้พื้นที่กี่ไร่ สัดส่วนเท่าไร) 3.3) การแบ่งสัดส่วนโคกหนองนาเพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ (อธิบายว่าโคกหนองนาหนองโสน โคกปลูกอะไร หนอง คลองไส้ไก่เลี้ยงอะไร และนาปลูกข้าวพันธุ์อะไร) หลังจากนั้นได้แบ่งกันช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลผลิตจากแปลงโคกหนองนาแต่ละแปลงว่ามีอะไรบ้างที่พร้อมขาย โดยข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีก 1 ท่าน ได้รับมอบหมายไปหาข้อมูลเพิ่มเติมแปลงโคกหนองนาของนายอุทัย งามแพง โดยจะมีพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนและพอได้ขายบ้างเล็กน้อย ส่วนปลาที่เลี้ยงไว้คลองไส้ไก่และหนอง ยังเล็กไม่พร้อมขาย โดยนายอุทัยได้หาพันธุ์ไม้มาปลูกหลายหลายชนิด เพื่อให้ได้ผลผลิตไว้บริโภคไม่ต้องไปซื้อที่อื่น และหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าในชุมชนว่ามี สินค้าประเภทไหนพร้อมขายบ้าง โดยข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานอีก 1 ท่าน ได้รับมอบหมายให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมของการทอเสื่อ ของหมู่บ้านบุคราม โดยผู้ใหญ่บ้านบุคราม นายบุญลือ ได้ให้ข้อมูลว่า ส่วนใหญ่แล้วทำไว้ใช้เอง มีบางส่วนที่รับทำตามออเดอร์ชาวบ้านที่สนใจจองสินค้า ก็จะทำเท่าจำนวนที่จองมาเท่านั้น หลังจากไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว ก็ร่วมรับประทานอาหารที่บ้านผู้ปฏิบัติงานที่ตำบลหนองโสน แล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน

 

 

 

 

จากการปฏิบัติงานเดือนธันวาคม ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้ให้ความร่วมมือ สามัคคีเป็นอย่างดี ชาวบ้านยังต้อนรับดีเหมือนทุกๆครั้งที่ลงพื้นที่ ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานทั้ง 12 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านดิจิทัล ในรายวิชารู้เท่าทันสื่อ Media Literacy (10 ชั่วโมงการเรียนรู้) IT Literacy (10 ชั่วโมงการเรียนรู้) 2. ด้านภาษาอังกฤษ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (24 ชั่วโมงการเรียนรู้) 3.ด้านการเงิน ในรายวิชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2 ชั่วโมงการเรียนรู้) ชีวิตดี เริ่มต้นที่การวางแผน (2 ชั่วโมงการเรียนรู้) คัมภีร์ 4 รู้ วางแผนดี ชีวิตมั่นคง (2 ชั่วโมงการเรียนรู้) เตรียมความพร้อม..สู่ทางเลือกอาชีพในฝัน (2 ชั่วโมงการเรียนรู้) วางแผนสร้างเงินออม..เพื่ออนาคต (2 ชั่วโมงการเรียนรู้) วางแผนลดหนี้มีออมสำหรับบัณฑิตยุคใหม่ (2 ชั่วโมงการเรียนรู้)  หมดหนี้มีออม (2 ชั่วโมงการเรียนรู้) 4. ด้านสังคม ในรายวิชาจิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน (8 ชั่วโมงการเรียนรู้) การสร้างเครือข่ายด้วยการสื่อสาร ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (6 ชั่วโมงการเรียนรู้) การสร้างทีมงานเพื่อพัฒนางานแบบมืออาชีพ (6 ชั่วโมงการเรียนรู้) การอบรมในครั้งนี้ทำให้มีความรู้เพิ่มเติมในหลายๆด้านและนำมาปรับใช้กับการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจากการลงพื้นที่แต่ละเดือนข้าพเจ้าได้เรียนรู้และหาความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านตำบลหนองโสน ชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก ทำให้ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นๆ มีประสบการณ์ นำความรู้ที่ชาวบ้านแนะนำการทำโคก หนอง นา มาประยุกต์ใช้กับชุมชนของตนเอง การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย พึ่งพาตนเอง ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน 12 เดือนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานท่านอื่นๆ ก็คอยปรึกษาแนะนำการทำงานอยู่เสมอ ทำให้มีความสนิทกันและเข้าหากันได้ง่าย เวลามีการลงพื้นที่ก็จะสามัคคีกัน แบ่งหน้าที่กันได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน ชาวบ้านตำบลหนองโสน และผู้ปฏิบัติงาทีมตำบลหนองโสน ที่ทำให้การดำเนินงานผ่านไปด้วยดี

อื่นๆ

เมนู