ข้าพเจ้านางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง ประเภทประชาชน
หลักสูตร : โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย “มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”
“โคก หนอง นา” เป็นต้นแบบที่นำมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย พื้นที่สำหรับแหล่งน้ำ พื้นที่สำหรับเพาะปลูก พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ นี้อาจจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของเจ้าของพื้นที่ และความเหมาะสมของสภาพภูมิศาสตร์และสังคม
วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน 2654 เวลา 09.00 น. ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนได้เข้าร่วม กิจกรรมอบรมสร้างเว็บเพจโฆษณาผลิตภัณฑ์ “ของดีที่หนองโสน อำเภอนางรอง” ที่วัดบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อาจารย์ภูริสา วัชเรนทร์วงศ์ และมีวิทยากร 2 ท่านมาให้ความรู้แนะนำวิธีการสร้างเพจในครั้งนี้ คือ ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์และอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ เนื้อหาการอบรมมีดังนี้ Workshop โพส content / เนื้อหาไหนถึงปัง ชื่อสินค้า รสชาติ คุณสมบัติ ผลิตจากอะไร เรื่องราว ราคา ติดต่อ ข้อมูลสินค้า สินค้าจะต้องเป็นตัวหลักแต่ไม่ใช่ต้องโพสต์ตลอดเวลา และที่เราขาดไปในการโพสเกี่ยวกับสินค้าโดยส่วนใหญ่คือ เรา “ขาย” โดยที่ขาดการกล่าวถึงประเด็นปัญหาที่สินค้าเราช่วยแก้ปัญหาอะไร แทนที่จะขายเพียงอย่างเดียวต้องปรับแก้ให้เป็นแพทเทิร์น
ปัญหา > วิีธีการแก้ไข > สินค้าช่วยอย่างไร > สินค้่ามีจุดเด่นอย่างไร > โปรโมชั่นมีอะไร > ติดต่ออย่างไร
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
วันศุกร์ ที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 16.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัตืงานได้ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมตีข้่าว ณ โคกหนองนา นายสว่าง อุดมดัน ผลผลิตจากการทำโคกหนองนา มี รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อาจารย์ประจำหลักสูตร และกลุ่มแปลงโคกหนองนา ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย โดยการตีข้าวหรือฟาดข้าวแบบโบราณดั่งเดิมนี้ จะตีด้วยการใช้ไม้ตีข้าวด้วยวิธีเข้าไปยืนในผ้าแยงเขียวที่ปูไว้ แล้วเอารวงข้าวมาประมาณ 1 หอบยัดใส่ลงในไม้ตีข้าว หันรวงข้าวออกไปทางด้านหน้าของผู้ตี ก่อนจะฟาดอย่างต่อเนื่องกันหลายๆ ครั้งแล้วพลิกกลับมาตีอีกด้านหลายๆ ครั้งต่อเนื่องกัน เมื่อเห็นว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงแล้วก็จะใช้ไม้ตีฟ่อนข้าวเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง แล้วยกขึ้นมาเขย่าหลายๆ ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าวหมดแล้ว “การตีข้าวแบบนี้ไม่ค่อยจะมีให้เห็นบ่อยหนักถือว่า ยังคงรักษาวัฒนธรรมเก่าของชาวบ้านที่เคยใช้กันมาสมัยช่วงยังไม่มีรถเกี่ยวข้าว ซึ่งตนพยายามอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของปู่ของทวด เคยใช้เเรงงานคนเก็บเกี่ยวข้าว แล้วลงแขกโดยชวนพี่น้องและเพื่อนบ้านมาช่วยกันตีข้าวจนได้ข้าวเป็นเมล็ดข้าวเปลือก แต่ทุกวันนี้การทำแบบนี้หายไป เพราะยุคสมัยเปลี่ยนจากแรงคนเป็นเครื่องจักรกล” ตีข้าวเสร็จก็ได้มีการรับประทานอาหารร่วมกันที่แปลงโคกหนองนา นายสว่าง อุดมดัน หลังจากนั้นก็แยกย้ายกันกลับบ้าน
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
วันเสาร์ ที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องหลักสูตรระยะสั้นและการโฆษณาเพจตำบล ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หัวข้องานแบ่งดังนี้ กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ เป้าหมาย SDGs หลักสูตรระยะสั้นโคกหนองนาโมเดลเพื่อขจัดความยากจนอย่างยั่งยืนตรงกับเป้าหมาย SDGs ในข้อใด กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (ระบุจุดมุ่งหมายว่าจัดทำหลักสูตรเพื่ออะไร ทำให้เกิดผลการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้เรียน ทั้งนี้ต้องเขียนจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน สามารถวัดและประเมินผลได้) กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ เนื้อหาความรู้พื้นฐานเดียวกับโคกหนองนา แนวคิด จุดประสงค์การเรียนรู้ ขอบข่ายเนื้อหา
นางเปรมวิกา คนงาม (พี่หนอม)
ที่ตั้งแปลง : หมู่ 6 บ้านระนามพลวง ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ : 1ไร่ แบ่งสัดส่วน 1:3 ระยะเวลาทำโคกหนองนา : 5 เดือน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2564 โคก : ปลูกไม้ป่า ผักสวนครัว ไม้ผล ฯลฯ หนอง : เลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน บริเวณคลองไส้ไก่เลี้ยงปลานิล นา : ปลูกข้าวหอมมะลิรายได้จากการทำโคกหนองนา : 1,000 บาท/เดือน “โดยส่วนตัวเป็นคนชอบทำเกษตรอยู่แล้วค่ะ ชอบปลูกต้นไม้ ปลูกผัก อยู่กับไร่กับนาค่ะ พอดีมีโครงการโคกหนองนาโมเดลก็เลยเข้าร่วมโครงการค่ะ และคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ ชอบค่ะ” ปัจจุบันแปลงโคกหนองนาของพี่หนอมปลูก มะเขือยาว (มะเขือยาว)มะเขือเจ้าพระยา พริก🌶️ ข้าวโพด 🌽แมงลัก มันหวานญี่ปุ่น 🥔กระเจี๊ยบ ดาวเรือง บวบเหลี่ยม ถั่วพู และผักสวนครัวผักตามฤดูกาล
ภาพประกอบการปฏิบัติงาน
จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม พ.ศ 2564 ข้าพและผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเพจโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตำบล ชุมชน และกิจกรรมตีข้าว ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มโครงการ 11 เดือน ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การวางแผนการทำงาน กระบวนการทำงานเป็นทีม ได้เห็นบรรยากาศภายในตำบล ชุมชน ได้พบปัญหาหลายด้านในแต่ละชุมชน ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยกจน และได้รู้จักการทำแปลงโคกหนองนาโมเดล การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเห็นผล วิถีชีวิตการกินอยู่อย่างพอเพียง ชีวิตตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ การลงมือทำให้เกิดขึ้นจริง พึ่งพาตนเองได้จากการสร้างพื้นที่ทำกิน ที่มีอาหารมีน้ำไว้กินไว้ใช้ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ความมั่นคงยั่งยืนก็ตามมา ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักคุ้นเคยกับทีมผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำชุมชน ชาวบ้านในตำบลมากขึ้น และข้าพเจ้าได้อบรมทักษะ 4 ด้าน คือ 1.ด้านดิจิทัล 2.ด้านภาษาอังกฤษ 3.ด้านสังคม 4.ด้านการเงิน ควบคู่การทำงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตัวเองในการถ่ายทอดสู่ชุมชน มีความรู้และสมรรถนะด้านต่างๆ ข้าพเจ้าขอขอบคุณชาวบ้าน อาจารย์ประจำหลักสูตร และทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนทุกท่าน ที่ทำให้การทำงานสำเร็จบรรลุเป้าหมายไปด้วยดี ขอขอบคุณทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย