ข้าพเจ้า นางสาวสุทธิดา เอ็มประโคน ประเภทกลุ่ม บัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ : (U2T)
หลักสูตร : HS02 โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
กิจกรรมการอบรมสร้างเว็บเพจโฆษณาผลิตภัณฑ์ของดีโคกหนองนาที่อำเภอนางรอง
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564
กิจกรรมการอบรมสร้างเว็บเพจโฆษณาผลิตภัณฑ์ของดีโคกหนองนาที่อำเภอนางรอง จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ณ วัดโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรอาจารย์ ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ จากสาขารัฐประศาสนศาสตร์ และ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง จากสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และ รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานในการอบรม
การจัดกิจกรรมการอบรมสร้างเว็บเพจโฆษณาผลิตภัณฑ์“ของดีโคกหนองนาที่อำเภอนางรอง” เป็นการสร้างเว็บเพจเพื่อโฆษณาสินค้าในตำบลหนองโสน เพื่อเป็นศูนย์กลางของการโฆษณาสินค้าต่างๆที่มีให้เป็นที่รู้จักและส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชน อีกทั้งยังทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการขายสินค้าและเรียนรู้เรื่องการตลาดแบบออนไลน์อีกรูปแบบหนึ่ง
การเรียนรู้ก่อนที่เราจะสร้างเว็บเพจโฆษณาผลิตภัณฑ์ใน Facebook1. เราจะต้องรู้จักสินค้าเป้าหมายที่จะขายอย่างเช่นของที่ขึ้นชื่อในตำบลหนองโสน 2. ต่อมาสิ่งเราต้องรู้คือ“สินค้าทำมาหากิน”กับ“สินค้าทำมาค้าขาย”สินค้าทำมาหากิน คือ สินค้าที่ทำกินแล้วเหลือขาย ส่วนสินค้าทำมาค้าขาย คือ การทำเพื่อขายสินค้าอย่างเดียว 3. สินค้าที่จะขายเป็น“สินค้าที่จำเป็นต้องซื้อ” หรือ “สินค้าที่ไม่จำเป็นจะต้องซื้อ” สินค้าที่จำเป็นต้องซื้อ คือ ให้คิดไปเลยว่าขายได้ครึ่งนึงแล้ว ส่วนสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องซื้อแต่จะซื้อเพราะสินค้ามี story เรื่องราว ซื้อเพราะเราทำไมต้องซื้อสินค้าของคุณ 4. การสร้างแฟนเพจในการขายสินค้า 5. ห้าการสร้างคอนเทนท์ต่างๆที่ให้เกิดความสนใจยกตัวอย่าง เช่น รูปภาพ คลิปวิดีโอ ข้อความ และสุดท้าย 6. เงินทุนในการซื้อโฆษณา
การสร้างเพจ Facebook ท่านวิทยากรให้ผู้ปฏิบัติงานคิดชื่อเพจ Facebook ที่ดีที่สุดให้กับตำบลหนองโสนโดยเสนอขึ้นมาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน อาจารย์ และชาวบ้านช่วยกันโหวตเพื่อหาชื่อเพจ Facebook ที่เหมาะสมกับตำบลหนองโสน โดยชื่อที่เสนอกันมามีทั้งหมด 4 ชื่อ คือ
1.รวมทุกอย่างที่ตำบลหนองโสน
2.ของดีโคกหนองนาหนองโสน
3.ของดีหนองโสน ที่อำเภอนางรอง
4.หนองโสนบ้านเอ้ง
และชื่อที่ชนะในการโหวตในครั้งนี้คือ “ของดีหนองโสนที่อำเภอนางรอง”
สินค้าในตำบลหนองโสนเป็นสินค้าที่ชาวบ้านในชุมชนผลิตขึ้นมาและสร้างขึ้นมามีทั้งของกินของใช้หรือเป็นสินค้าจากการเกษตรโคกหนองนาโมเดลได้แก่
1.ข้าวเม่า
2.ข้าวสาร
3.ปุ๋ยขี้ไก่
4.ตะกร้า
5.เสื่อทอ
6.ปลา
7.กล้วยตาก
8.กล้วยฉาบ
9.กล้วยเบรกแตก
10ผ้าไหม
11ผ้าขาวม้า
12ไข่ไก่
13มะพร้าวเผา
14ไก่บ้าน
15ดอกดาวเรือง
16น้ำอ้อย
17ปุ๋ยขี้ควาย
เมื่อเรียนรู้กระบวนการในการสร้างเว็บเพจ Facebook แล้วต่อมาท่านวิทยากรได้ให้ผู้ปฏิบัติงานแบ่งกลุ่มออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่ม“ของกิน” กับ กลุ่ม“ของใช้” โดยให้ผู้ปฏิบัติงานเลือกสินค้าจาก 17 รายการที่ผู้ปฏิบัติงานได้เสนอขึ้นมา ให้แบ่งประเภทเป็นสินค้าประเภทของกิน และ สินค้าประเภทของใช้ โดยสินค้าประเภทของกินที่ถูกเลือกขึ้นมา คือ ข้าวเม่า ข้าวสาร มะพร้าวเผา น้ำตาลอ้อย ส่วนประเภทของใช้ คือ ตะกร้า ผ้าไหม เสื่อทอ ผ้าขาวม้า และกลุ่มของดิฉันได้ประเภทสินค้าของกิน โดยได้แบ่งกลุ่มประเภทสินค้าแยกออกมายกตัวอย่าง เช่น ข้าวเม่า โดยสินค้าประเภทข้าวเม่าสามารถจำแนกตามชนิดของรสชาติได้ทั้งหมด 12 รสชาติ คือ
- ข้าวเม่าโปร
- ข้าวเม่าคลุก
- ข้าวเม่าทอด
- ข้าวเม่าลูกชิ้น
- ข้าวเม่าคั่ว
- ข้าวเม่าหมี่สมุนไพร
- ข้าวเม่าซีเรียล
- ข้าวเม่าตู
- ข้าวเม่ารางน้ำกะทิ
- ข้าวเม่าเบญจรงค์
- ข้าวเม่าแฟนซี
- ข้าวเม่ากระยาสารท
และหาราคากลางที่จะโพสต์สินค้าขายในเพจ Facebook และสินค้าประเภทอื่นๆเช่นกัน เมื่อหาราคากลางได้แล้วให้ผู้ปฏิบัติงานแบ่งกลุ่มและให้ผู้ปฏิบัติงานคิดคอนเทนท์ในการโพสต์สินค้า อย่างเช่น story เรื่องราวของข้าวเม่า ความน่าสนใจของข้าวเม่า และรวมถึงการตกแต่งรูปภาพในการโพสต์แต่ละครั้ง ก็มีความสำคัญที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้า โดยท่านวิทยากรให้ผู้ปฏิบัติงานดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น canva เพื่อใช้ในการตกแต่งรูปภาพในการโพสต์ขายสินค้าแต่ละครั้งแอพพลิเคชั่น canva เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานสะดวกและสามารถแต่งรูปภาพได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม และเมื่อคิดคอนเทนท์และแต่งรูปภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ผู้ปฏิบัติงานโพสต์ลงในเพจ Facebook ของดีหนองโสน ที่อำเภอนางรอง
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
กิจกรรมสามัคคีตีข้าวพื้นที่โคกหนองนาโมเดล
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564
กิจกรรมการตีข้าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ณ พื้นที่โคกหนองนาโมเดลของ นายสว่าง อุดมดัน โดยมีท่าน รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ อาจารย์ชมพู ผู้ปฏิบัติงาน และชาวบ้านแปลงโคกหนองนาโมเดลมาร่วมด้วยช่วยกันในการจัดกิจกรรมการตีข้าวในครั้งนี้ โดยมีนายสว่าง อุดมดัน เจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดล เป็นผู้สาธิตการตีข้าวให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน เมื่อสาธิตให้ผู้ปฏิบัติงานดูแล้ว ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ไปร่วมกิจกรรมในการตีข้าวก็ลงมือปฏิบัติงานตีข้าวจนแล้วเสร็จ เมื่อตีข้าวเสร็จแล้วผู้ร่วมกิจกรรมก็ร่วมรับประทานอาหารเย็น
การตีข้าวกิจกรรมการตีข้าว ฟาดข้าว เป็นการนวดข้าวแบบโบราณดั่งเดิม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านในชนบท เป็นการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง เพื่อให้ข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว การตีข้าวหรือฟาดข้าวแบบโบราณดั่งเดิมนี้ จะตีด้วยการใช้ไม้ตีข้าวด้วยวิธีเข้าไปยืนในผ้าแยงเขียวที่ปูไว้ แล้วเอารวงข้าวมาประมาณ 1 มัดยัดใส่ลงในไม้ตีข้าว หันรวงข้าวออกไปทางด้านหน้าของผู้ตี ก่อนจะฟาดอย่างต่อเนื่องกันหลายๆ ครั้งแล้วพลิกกลับมาตีอีกด้านหลายๆ ครั้งต่อเนื่องกัน เมื่อเห็นว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงแล้วก็จะใช้ไม้ตีฟ่อนข้าวเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง แล้วยกขึ้นมาเขย่าหลายๆ ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าวหมดแล้ว อ้างอิง https://www.naewna.com
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การประชุมการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นและการประชุมเกี่ยวกับการโปรโมทเพจ Facebook ของดีของดีหนองโสน ที่อำเภอนางรอง
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564
การประชุมการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นและการประชุมเกี่ยวกับการโปรโมทเพจ Facebook ของดีของดีหนองโสน ที่อำเภอนางรอง ได้จัดการประชุมที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโนนตะโก ตำบลหนองโสนอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีหัวข้อในการประชุมดังนี้
1.การจัดทำหลักสูตรระยะสั้นโคกหนองนาโมเดล
2.การโปรโมทเพจ Facebook ของดีหนองโสนที่อำเภอนางรอง
ในหัวข้อการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นโคกหนองนาโมเดล มีรายละเอียดในหลักสูตรดังนี้
1.เป้าหมาย SDGs สูตรระยะสั้นของโคกหนองนาโมเดล เพื่อขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน
2.จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ระบุจุดมุ่งหมายว่าจัดทำหลักสูตรเพื่ออะไรที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้กับผู้เรียนอย่างไร
3.เนื้อหาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโคกหนองนา
-แนวคิด
-จุดประสงค์การเรียนรู้
-ขอบข่ายเนื้อหา ประกอบไปด้วย ความรู้พื้นฐานโคกหนองนา การทำโคกหนองนาในตำบลหนองโสน การ แบ่งสัดส่วนโคกหนองเพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์
หัวข้อการโปรโมทเพจ Facebook ของดีหนองโสนที่อำเภอนางรอง โดยแบ่งงานให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคนจะมีหัวข้อ ของกิน และของใช้ จากการประชุมผู้ปฏิบัติงานได้เสนอและเลือกสินค้าที่คิดว่ามีเพียงพอที่จะลงขายในเพจ Facebook ของดีหนองโสนที่อำเภอนางรอง โดยให้ผู้ปฏิบัติงานลงไปสอบถามข้อมูลกับชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านว่ามีสินค้าชนิดไหนบ้างที่จะพอมีขาย ในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่ไป ณ บ้านจันดุม ตำบลหนองโสน จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อไปสอบถามข้อมูลการทำตะกร้าจักสานจากพลาสติก โดยได้พบกับคุณ หน่อย ผู้ที่ทำตะกร้าจักสานได้ให้ข้อมูลว่า การทำตะกร้าจักสานส่วนมากทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง ไม่ได้มีตลาดไปวางขาย จะขายในพื้นที่เฟสบุ๊คส่วนตัวเป็นส่วนมาก ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานอีก3ท่านจึงได้เสนอแนวคิดเรื่องการโฆษณาสินค้าในเพจเฟสบุ๊คของดีหนองโสนที่อำเภอนางรองให้กับคุณหน่อย และได้สอบถามราคาของตะกร้า โดยจะมีราคาเริ่มต้นที่ 150-300 บาทขึ้นอยู่กับลักษณะของลายตะกร้า
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การลงพื้นไปปฏิบัติงานในหมู่บ้านโคกสูงเพื่อสอบถามข้อมูลสินค้าโคกหนองนาโมเดล
ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2564
การลงพื้นไปปฏิบัติงานในหมู่บ้านโคกสูง ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อไปสอบถามข้อมูลสินค้าโคกหนองนาโมเดลที่จะนำมาโฆษณาสินค้าในเพจ Facebook ของดีหนองโสนที่อำเภอนางรองโดยมีเจ้าของแปลงคือพี่ปรีดา จรกระโทก และพี่ดนุดา ธรรมนิยม จากการสอบถามข้อมูลสินในโคกหนองนาของแปลงพี่ปรีดา จรกระโทก จะมี ตะไคร้ ปลานิลแปลรูปหรือปลาส้ม พันธุ์หญ้าหวาน และแปลงของพี่ ดนุดา ธรรมนิยม จะมี ปลานิล ปุ๋ยขี้วัว เป็นต้น โดยสินค้าที่มีผู้ปฏิบัติงานจะนำมาโฆษณาในเพจ Facebook ของดีหนองโสนที่อำเภอนางรอง เพื่อเป็นเสนอสินค้าในอีกหนึ่งช่องทางให้กับเจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลได้มีพื้นที่ในการขายสินค้า
![]() |
![]() |
![]() |
จากการอบรมการสร้างเว็บเพจ Facebook ได้เรียนรู้วิธีการที่จะรู้จักตนเองก็คือรู้จักสิ่งของหรือสินค้าในตำบลนั้นๆ เป็นอย่างดี เรื่องการกำหนดเป้าหมายของสินค้าที่จะลงขาย การแบ่งประเภทของสินค้า ประเภทของกินของใช้ ของที่จำเป็นจะต้องซื้อและของที่ไม่จำเป็นจะต้องซื้อว่ามีอะไรบ้าง และร่วมถึงการเขียนคอนเทนท์ที่ทำให้สินค้ามีความน่าสนใจ การตกแต่งรูปภาพจากแอพพลิเคชั่น canva ให้ดูสวยงามและน่าสนใจมากขึ้น การลงพื้นที่การปฏิบัติงานการตีข้าวได้ความรู้จากชาวบ้านในเรื่องของการตีข้าว หรือ ฟาดข้าว และถือเป็นการได้ร่วมลงมือทำด้วยตนเองเพื่อที่จะเรียนรู้วิธีการตีข้าว ต้องตีในลักษณะไหน ตีอย่างไรให้ข้าวร่วงดี และใช่วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างในการตีข้าวแต่ละครั้ง ส่วนการลงพื้นที่ไปสอบถามข้อมูลสินค้าที่จะนำมาโฆษณาในเพจ Facebook ของดีหนองโสนที่อำเภอนางรอง ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้านตลาดออนไลน์ให้กับชาวบ้านกับผู้ที่มีสินค้าแต่ยังไม่มีช่องทางการค้าขายมากพอที่จะทำให้เป็นที่รู้จักของตลาด
กิจกรรมการปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการในตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาดิฉันได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการอบรม การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน การลงพื้นที่ไปสอบถามข้อมูลกับชาวบ้าน และการเรียนรู้กับชาวบ้านตำบลหนองโสนในการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน การทำโคกหนองนาโมเดล เพื่อการจัดการพื้นที่ให้เหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ เกษตรกรที่ทำโคกหนองนาในตำบลหนองโสนมีทั้งหมด 11 แปลงด้วยกันซึ่งทั้ง11แปลงมีการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ผลไม้ ต้นไม้ การเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด-ไก่ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค หากของที่เพาะปลูกเหลือก็สามารถนำมาขายเพื่อหารายได้เสริมให้กับครัวเรือนและชุมชน และสุดท้ายนี้ดิฉันอยากจะขอบคุณชาวบ้านตำบลหนองโสน ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการลงพื้นปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง ขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน และเพื่อนๆพี่ๆน้องๆผู้ปฏิบัติงานu2t ที่คอยช่วยเหลือกันให้คำปรึกษาต่างๆในการทำงานให้ผ่านมาด้วยดีขอบคุณค่ะ😊