ข้าพเจ้า นางสาวทิฆัมพร บุญรอด ประเภท นักศึกษา ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดลตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น ได้ลงพื้นที่ วัดบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการอบรมเรื่องของตลาด online สำหรับผู้ประกอบการ ท่านที่ร่วมบรรยายและให้ความรู้ในการสร้างเว็บเพจในการโปรโมทขายสินค้าตลาด Online คือ ท่าน ดร วิษณุ ปัญญายงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ ในทางนี้คือ ตำบลหนองโสนเราได้จัดทำเกี่ยวกับโคกหนองนาโมลเดลจะมีทั้งหมด 11 แปลง นี้คือประเด็นที่เราจัดการอบรมสร้างเพจคือ ทั้ง 11 แปลงในแต่ล่ะแปลง จะมีสินค้าที่สามารถจำหน่ายหรือพร้อมที่จะที่ส่ง ก็สามารถนำมาลงในเพจของตำบลเราได้ เพื่อสร้างรายได้กับอีกทาง ทั้งนี้ในแต่ละหมู่ที่มีสินค้าที่สามารถนำขายได้ ก็นำมาลงโพสขายได้ในเพจของเราได้เช่นกัน เพราะฉนั้น ในช่วงที่เราอบรม ผู้ที่เข้าร่วมอบรมก็ได้ร่วมกันคิดตั้งชื่อเพจ และมีผู้เสนอมาทั้งหมด4 ชื่อ คือ 1. รวมทุกอย่างไว้ที่หนองโสน 2.ของดีโคกหนองนาหนองโสน 3.ของดีที่หนองโสน อำเภอนางรอง 4.หนองโสน บ้านเอ็ง U2T พวกเราได้ร่วมกันโหวดให้กับชื่อที่นำมาสร้างเพจ และชื่อที่มีผู้โหวดให้มากที่สุด คือ ของดีที่หนองโสน อำเภอนางรอง และสรุปก็คือชื่อ ของดีที่หนองโสน อำเภอนางรอง ได้เป็นชื่อเพจขายสินค้าของตำบลหนองโสนเรา การจัดอบรมในครั้งนี้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลหนองโสน ได้ช่วยโปรโมทและช่วยโพสขายให้สินค้าให้กับทุกท่านที่พร้อมนำสินค้ามาขาย ผลิตภัณฑ์ในตำบลหนองโสนของเรามีสินค้ามากมาย เช่น
1.ข้าวเม่า 2. ข้าวสาร 3.ปุ๋ยขี้ไก่ 4.ปุ๋ยคอก 5.ตะกร้า 6.กล้วยตาก 7.กล้วยฉาบ 8.ไข่ไก่ 9.ผ้าไหม 10.ดอกดาวเรือง 11.น้ำตาลอ้อย 12.พันธุ์ไม้ 13.เป็ด 14.ปลา 15.เสื่อทอ 16.ไก่บ้าน 17.ผ้าขาวม้า 18.ผ้าฝ้าย 19.มะพร้าวเผา
และยังมีอีกมาย ดังนั้นก่อนที่เราจะสร้างเพจสิ่งที่ควรรู้ ก่อนทำตลาด Online
การตลาดบน Facebook เรียกได้ว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งเป็นโลกออนไลน์ไปเสียแล้ว และ Facebook นับว่าเป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่มาแรงที่สุด ทำให้เหล่าแบรนด์สินค้าและบริการต่างเปิดเพจบน Facebook เป็นจำนวนมาก ทาง Digital Marketing Wow จึงอยากจะแนะแนวทางการทำตลาดบนเฟซบุ๊กอย่างไร ที่ช่วยเพิ่มยอดไลก์ ยอดแชร์ เรียก Engagement ได้
1.>ตอบโจทย์ให้ได้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ก่อนทำ การตลาดบน FACEBOOK อันนี้เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานของการทำตลาดทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนว่าลูกค้าหรือลูกเพจของคุณต้องการอะไรจากสินค้าและบริการของคุณ เช่นคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ เมื่อรู้แล้วก็เสิร์ฟข้อมูลเหล่านั้นให้กับลูกค้าของคุณผ่าน Facebook
2.>มีปฏิสัมพันธ์กับแฟนเพจบ้าง สำหรับแฟนเพจที่มาแสดงความคิดเห็น หรือกดแชร์คอนเทนต์ของเพจ เราสามารถกดไลก์หรือแสดงความคิดเห็นตอบได้ เพราะการทำการตลาดบน Facebook จำเป็นที่จะต้องมีการสื่อสารสองทาง ให้ลูกเพจได้รับรู้ว่าแบรนด์สินค้าหรือบริการของเราเข้าถึงได้ง่าย และเป็นกันเอง
3.>ใช้ FACEBOOK ในการแชร์ลิงก์จากเว็บไซต์ เฟซบุ๊กคือเครื่องมือในในการทำการตลาดออนไลน์ชนิดหนึ่งเท่านั้น เปรียบเสมือนเราเช่าพื้นที่เฟซบุ๊กในการเผยแพร่ข้อมูลคนเทนต์ต่างๆ ส่วนเว็บไซต์นั้นเปรียบเสมือนสิ่งที่เป็นของเราอย่างแท้จริง ดังนั้นการเขียนบทความยาวๆ หรือรีวิวสินค้าหรือบริการ ควรทำลงในเว็บไซต์เป็นหลัก จากนั้นจึงใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อเพิ่มยอด Traffic ให้เว็บไซต์ได้อีกด้วย
4.>ใส่ใจกับปุ่ม CALL TO ACTION ในการแชร์ลิงก์บนเว็บไซต์หรือการโฆษณาผ่าน Facebook ก็ควรใส่ใจเรื่องเล็กๆน้อยๆ กับปุ่ม Call to Action ควรเลือกให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็น “Book now, Sign up, Download, Shop Now, Learn more” ถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรมองข้าม
5.>หัดใช้รูปภาพเพื่อดึงดูดโพสต์ ขนาดบทความยังมีรูปประกอบ โพสต์ข้อความก็ควรจะมีรูปประกอบได้ด้วยเช่นกัน เพราะรูปจะเป็นสิ่งที่สะดุดสายตา ช่วยดึงดูดให้แฟนเพจอ่านโพสต์ได้ อย่างน้อยก็ดีกว่าการโพสต์เป็นข้อความอย่างเดียว
6.>ลองใช้คำถามปลายปิด กระตุ้นยอดคอมเมนต์ การใช้คำถามปลายปิดในบางสถานการณ์ (เช่นคำถามที่ลงท้ายด้วยใช่หรือไม่) จะช่วยกระตุ้นยอดคอมเมนต์ได้มากกว่าคำถามปลายเปิด เพราะแฟนเพจสามารถคอมเมนต์ได้ง่าย เพียงแค่พิมพ์เล็กน้อย และไม่จำเป็นต้องคิดมากแบบคำถามปลายเปิด แต่ก็อย่าลืมความสำคัญของคำถามปลายเปิดด้วยล่ะ
7.>อิงกระแสบนโลกออนไลน์ การโพสต์อิงกระแสบนโลกออนไลน์ ถ้าทำถูกที่ถูกเวลา จะเรียกยอดคอมเมนต์และยอดแชร์ได้เป็นอย่างมาก แต่การทำแบบนี้ได้จะต้องมีความรวดเร็วและทันเหตุการณ์ตลอดเวลาเช่นกัน
8.>แฮชแท็กใช้ให้ดี มีประโยชน์ ที่เคยกล่าวไปในบทความที่แล้ว การจัดแคมเปญโดยใช้แฮชแท็กช่วย และแฮชแท็กยังช่วยจัดหมวดหมู่ของโพสต์ได้ทางอ้อม ค้นหาได้ง่ายมากขึ้น
9.>แชร์โพสต์จากเพจอื่นที่เกี่ยวข้อง เพจอื่นๆ ที่มีคอนเทนต์หรือเนื้อหาใกล้เคียง และตอบโจทย์กับแฟนเพจ ก็สามารถแชร์ได้ ซึ่งจะช่วยให้ยอด Engagement เพิ่มมากขึ้น
10.>เมนชั่นเพจอื่น การกล่าวถึงหรือเมนชั่นเพจอื่น ที่มีแนวโน้มของฐานแฟนเพจที่ใกล้กัน จะทำให้โพสต์ของเราปรากฏใน Feed ของแฟนเพจที่เราเมนชั่นถึง ซึ่งมีโอกาสทำให้เราได้แฟนเพจเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
และการโพส ต้องใส่เนื้อหาไหนถึงจะปัง
โพส Content /เนื้อหา ไหนถึงจะปัง -ชื่อ สินค้า -รสชาติ -คุณสมบัติ ผลิตจากอะไร เรื่องราว –ราคา ติดต่อ –รับรองความอร่อย#สด#สะอาดใหม่ส่งถึงบ้านลูกค้าเลยจ้า ใส่#









วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่ เวลา 09.00 น ทางกลุ่มผู้ปฎิงานได้นัดกันประชุมที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง ประชุมชี้แจงหลักสูตรระยะสั้นและเพจของตำบล และแบ่งหัวข้องานให้กับกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน 3 กลุ่มคือ กลุ่มนักศึกษา กลุ่มบัณทิตจบใหม่ และประชาชน ดิฉันได้รับคือ . เป้าหมาย SDGs หลักสูตรระยะสั้นโคกหนองนาโมเดลเพื่อขจัดความยากจน อย่างยั่งยืน ตรงกับเป้าหมาย SDGs ในข้อใด
DGs คืออะไร – หลังจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals – MDGs ) ซึ่งต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ได้สิ้นสุดลงเมื่อปี 2015 นั้น องค์การสหประชาชาติ จึงจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ทั้งหมด 17 ข้อ มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คาดว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030
Sustainable Development Goals –SDGs ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ ดังนี้
1.No Poverty ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่
2.Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
3.Good Health and well-being รับรองการมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ
4.Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน
5.Gender Equality บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง
6.Clean Water and Sanitation รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน
7.Affordable and Clean Energy รับรองการมีพลังงาน ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ยั่งยืน ทันสมัย
8.Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า
9.Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรม
10.Reduced Inequalities ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
11.Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
12.Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
13.Climate Action ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
14.Life Below Water อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
15. Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
16.Peace and Justice Strong Instiutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
17.Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
หลักสูตรระยะสั้นโคกหนองนาโมเดลเพื่อขจัดความยากจน อย่างยั่งยืน ตรงกับเป้าหมาย SDGs ในข้อใดหลักๆแล้วดิฉันคิดว่ามี 2 เป้าหมายคือ
เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน (No Poverty) เป้าหมายแรกของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในมิติสังคม คือ การขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ (End poverty in all its forms everywhere) โดยในทั่วโลก ผู้คนกว่า 800 ล้านคน ต้องอยู่ด้วยเงินน้อยกว่า 1.25 ดอลลาห์ต่อวัน ขาดการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด อาหาร และสุขอนามัยที่เพียงพอ โดย SDGs มีเป้าหมายที่จะขจัดความยากจนในทุกรูปแบบให้แล้วเสร็จภายในปี 2573 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงในการเข้าถึงทรัพยากรและการบริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายที่ 2: ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) เป้าหมายต่อมาคือ การขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน (End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture) โดยมุ่งขจัดความหิวโหยในหลายเรื่อง เช่น การเข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการ การยุติภาวะทุพโภชนาการ การเพิ่มผลิตภาพ การเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสต่าง ๆ ของเกษตรกรรายย่อย เป็นต้น ปัจจุบันการเติบโตของเศรษฐกิจและผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ทำให้การขาดแคลนอาหารลดลง เป้าหมายนี้จึงคืบหน้าไปค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม SDGs มุ่งเป้าขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบภายในปี 2573 เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนได้รับการเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการเพียงพอ และมีการทำการเกษตรที่ยั่งยืน
และอีกงานที่ดิฉันได้รับมอบหมายคือการนำสินค้ามาโพสขายในเพจของตำบล ดิฉันลงพื้นที่สอบถามสินค้าของหมู่ 1 บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้สอบถามผลิตภัณฑ์การแปลรูปจากข้าวเม่า จากคุณประไพพิมพ์ หรบรรพ์ สินค้าที่ฉันได้โพสลงในเพจคือ ข้าวเม่าหมี่สมุนไพร
สนใจติดต่อ/สอบถามได้ที่ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่า บ.โคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 089-522-5495
และยังมีผลิตภัณฑ์ที่แปลรูปจากข้าวเม่าอีกมากมาย อย่างเช่น
-ข้าวเม่าคลุกเบญจรงค์ ” อิ่มนาน ทานอร่อย กินบ่อยๆ สุขภาพแข็งแรง “
ข้าวเม่าคลุกเดิมที่เกิดจากคนเฒ่าคนแก่นำข้าวที่ทำกินในชุมชนในครัวเรือนหรือนำไปทำบุญถวายพระมีเพียงสีเดียวคือสีธรรมชาติและจึงได้คิดค้นนำสีจากธรรมชาติคือ ดอกอัญชัน งาดำ บีทรูท ใบเตย นำมาต้มคั้นน้ำ แล้วนำมาคลุกข้าวเม่าเพื่อให้ได้สีสันน่ารับประทานยิ่งขึ้น และได้คุณค่าจากสารอาหารต่างๆจากสีธรรมชาติและมีรสกลมกล่อมหอมอร่อย
–ข้าวเม่าทอด “กรอบนอก นุ่มใน สดใหม่ ทุกวัน”
เป็นขนมพื้นบ้านที่ทำกินกันในครัวเรือน ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และสืบทอดกันมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน มีส่วนผสมของงาดำ-งาขาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ
-ข้าวเม่าตู “หอม หวาน มัน กลมกล่อม”
เกิดจากการนำปลายข้าวเม่ามาบดละเอียด แล้วนำมาคลุกเคล้ากั[วัตถุดิบ น้ำตาล กะทิ ซึ่งดัดแปลงมาจากข้าวตู ซึ่งข้าวเม่าตู จะเป็นการถนอมอาหารเก็บไว้ได้ประมาณ 1 อาทิตย์ เป็นขนมพื้นบ้านที่รสชาติ กลมกล่อม หอมหวาน
-ข้าวเม่าลูกชิ้น “กรอบนอก นุ่มใน อร่อยถูกใจ”
เข้ามาเอาลูกชิ้นทอดพัฒนามาจาก ข้าวเม่าทอดที่ทางชุมชนหมู่ บ้านโคกว่าน เคยมีมาแล้วแต่เนื่องจากทางชุมชนได้รับเชิญให้ไปแสดงสินค้าที่งาน ลูกชิ้นยืนกินที่บุรีรัมย์ จึงมีความคิดที่จะทำข้าวเม่าทอดแต่เดิม ให้คล้ายลูกชิ้น คือ ปั้นเป็นก้อนเล็กๆแล้วเสียบไม้ จึงเรียกว่าข้าวเม่าลูกชิ้น เอกลักษณ์ที่โดดเด่นอีกอย่างของคำว่า ลูกชิ้น คือ การทานง่าย สะดวกและหลากหลายไส้ มีทั้งกล้วยไข่ มีทั้งไส้สับปะรด และไส้มะพร้าวอ่อน เป็นต้น
-ข้าวเม่าซีเรียล “กรุบ กรอบ เคี้ยวเพลิน เกินห้ามใจ”
ข้าวเม่า เป็นขนมไทยโบราณพื้นบ้าน ที่ทำชุมชนของเรา คือหมู่บ้าน โคกว่าน มีมานานนับช่วงอายุคน รุ่นปู่ย่าตายาย ลักษณะของข้าวเม่าซีเรียลคือการนำเอาข้าวเม่า มาทอดจนเหลืองกรอบ เมล็ดข้าวเม่าจะพอง แล้วนำมาคลุกเคล้าเนยอบ จากนั้นนำไปอบในอุณหภูมิที่เหมาะสม เมื่อนำมาทานจะได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชุมชนเรา ทางชุมชนของเราจึงได้มีการปรับปรุง ให้มีความหลากหลายของรสชาติ ตอนนี้ชุมชนของเรามีหลายรสชาติให้ทาน เช่น กาแฟช็อกโกแลต วนิลา คาราเมล กรอบเค็ม เป็นต้น