ข้าพเจ้า นางสาวอาทิตยา ราชสมบัติ  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดล ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564

วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ร่วมกิจกรรมปลูกป่าที่โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ ร่วมกับตำบลหนองกง และตำบลหนองยายพิมพ์ ซึ่งภายในงานมีการพูดคุยถึงก่อนที่จะเริ่มการปลูกป่า ณ บริเวณโดมของโรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ โดยมีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง และนายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ร่วมภายในงาน หลังจากนั้นก็ได้เริ่มทำการลงไปปลูกป่า มีคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการทั้ง 3 ตำบลได้แก่ตำบลหนองโสน ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง ประชาชน ชาวบ้าน และคณะสงฆ์ ร่วมกันปลูกภายในงาน ซึ่งต้นไม้ที่ปลูกได้แก่ต้นสัก ต้นพะยูง ต้นมะฮอกกะณี ร่วมมือร่วมใจปลูกป่าหลังจากร่วมกันปลูกป่าเรียบร้อยก็ได้ร่วมรับประทานอาหารโรงทานของทางโครงการจัดไว้ให้ มีก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ส้มตำ ลูกชิ้นทอด น้ำมะพร้าวสด น้ำส้มแช่แข็ง เป็นต้น  ต้นพะยูง (ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia cochinchinensis) เป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ขะยุง, พยุง, แดงจีน และประดู่เสน

พะยูงเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดหนองบัวลำภู

ลักษณะ  พะยูงเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15–25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7–9 ใบ ขนาดกว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 4–7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4–6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1–4 เมล็ด

วันที่ 24 กรกฎาคม 2564  ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานทุกท่านร่วมประชุมฟังการแนะนำวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนเพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานครั้งถัดไป ผ่านทางแอพพลิเคชัน Microsoft Team  โดยตำบลหนองโสนและตำบลที่อยู่ในความดูแลของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ร่วมเข้ารับฟังเวลา 13.40 น.  ในการรับฟังคำบรรยายอาจารยได้ให้ความรู้เรื่องแนวทางการเขียนรายงานปฏิบัติงานเพื่อให้มีความเข้าใจตรงการในการเขียนและการอัพเผยแพร่ผลงานลงสู่ใน www.u2t.bru.ac.th  อาจารย์สอนการคัดลอกลิงค์คลิปรายงานประจำเดือน การแคปการลงเวลาเข้า-ออกงาน การเขียนใบลาป่วย-กิจ  เพื่อให้ครั้งถัดไปที่เขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนมีความถูกต้องและเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น

วันที่ 30  กรกฎาคม 2564  ข้าพเจ้าร่วมทำความสะอาดที่วัดบ้านหนองโสน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง  ภายในงานมีผู้ใหญ่บ้านหนองโสน และนายก อบต.หนองโสน นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง ได้มาทำการชี้แจงเกี่ยวกับการทำความสะอาดว่าทำจุดใด สถานที่ตรงใดบ้าง โดยได้ทำความสะอาดที่โบสถ์ที่สร้างขึ้นใหม่ บริเวณหน้าศาลา  พอชี้แจงสถานที่เรียบร้อยทางข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานจึงเริ่มทำความสะอาด หลังจากเสร็จสิ้นการทำความสะอาดจึงได้มอบอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อที่ทางวัดจะได้นำไปใช้ทำความสะอาดต่อไป  เมื่อเสร็จจากการทำความสะอาดและมอบอุปกรณ์ก็มีการเลี้ยงเพลพระ และหลังจากนั้นก็ได้รับประทานอาหารร่วมกันจึงเสร็จภาระกิจ


วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ร่วมขุดหลุมเพื่อจัดเตรียมในการปลูกในวันแม่แห่งชาติ โดยมีตัวแทนในการไปร่วมขุดหลุมคือ บัณฑิตจบใหม่ 5 คน และ ประชาชน 2 คน สถานที่ ณ บ้านโคกว่าน คลองบ้านโคกว่าน  ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ทาง ผศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม ได้นำน้ำอัดลม และขนมขบเคี้ยวมาร่วมภายในงาน และยังได้นำป้ายที่จะนำมาใช้ในงานวันแม่ที่ 12 มาให้ไว้ ในการร่วมขุดหลุมได้มีผู้นำชุมชน ชาวบ้าน คณะสงฆ์ มาร่วมด้วยช่วยกันในการขุด ซึ่งพื้นที่ในการขุดดินบางจุดขุดง่ายดินร่วน แต่บางที่ก็ขุดยากพื้นดินมีความแข็ง การขุดดินก่อนที่จะขุดมีการได้มีการปักไม้ไผ่ที่ผ่าออกเป็นท่อนๆเอาไว้ ซึ่งการขุดเราได้มีการวัดและใช้ไม้ไผ่ในการปักทำสัญลักษณ์เอาไว้ การขุดเราควรขัดห่างออกมาจากไม้ไผ่ประมาณข้อนิ้วเพื่อที่ตอนปลูกต้นไม้เราจะสามารถเอ่เชือกมามัดต้นไม้และไม้ไผ่ด้วยกันได้ ต้นไม้จะได้ไม่ปลิวตามสายลมและยึดอยู่ที่ไม้ไผ่ หลังจากทำการขุดหลุมก็ได้ร่วมกันรับประทานอาหาร มีข้าวเหนียว ไก่ทอด ส้มตำ และข้าวเม่า ให้รับประทาน

วันที่ 12 สิงหาคม 2564 ร่วมโครงการปลูกต้นไม้และหญ้าแฝกเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ณ คลองบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง โดยมีคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกง และตำบลหนองยายพิมพ์ ร่วมภายในงาน โดยมีนายไตรเทพ งามกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และมีนางสาวเพรชรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง   นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ร่วมภายในงานและได้ลงมือร่วมกันปลูกต้นไม้และหญ้าแฝก หลังจากทำการปลูกต้นไม้ได้มีการรับประทานอาหารโรงทาน มีก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และยังมีข้าวเม่าสินค้าขึ้นชื่อของบ้านโคกว่านมาให้รับประทานกัน

หญ้าแฝก (ชื่อวิทยาศาสตร์Chrysopogon zizanioides) เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายขอบแหลม ยาว 35-80 เซนติเมตร มีส่วนกว้าง 5-9 มิลลิเมตร สามารถขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้ หญ้าแฝกมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ

  • หญ้าแฝกดอน รากไม่มีกลิ่น, ใบโค้งงอ, สูงประมาณ 100-157 เซนติเมตร ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย
  • หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ
  • หญ้าแฝกหอม มีรากที่มีกลิ่นหอม, ใบยาวตั้งตรง, สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตรหญ้าแฝกกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม   การที่หญ้าแฝกได้รับการนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ คือ มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง มีการแตกหน่อ และใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ มีใบยาว ตัด และแตกใหม่ง่าย แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลาย ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป

    การปลูกหญ้าแฝกส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของดิน การช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน แต่จากผลของการวิจัยยพบว่า หญ้าแฝกยังมีลักษณะในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรดินด้วย ซึ่งช่วยให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟู และปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้น เนื่องจากผลของอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมของจุลินทรีย์บริเวณรากหญ้าแฝก รวมทั้งการมีความชื้นที่ยาวนานขึ้น สภาพดินจึงมีการพัฒนา และความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

    ในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมหญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ในสภาพดินที่มีโลหะหนัก ลักษณะดังกล่าวจึงมีการนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และดูดซับโลหะหนักจากดิน สำหรับวิธีการที่นำหญ้าแฝกไปปลูกเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาสภาพแวดล้อม ได้แก่ การปลูกหญ้าแฝกรอบขอบบ่อบำบัดน้ำทิ้งเพื่อให้หญ้าแฝกช่วยดูดซับโลหะหนักบบางชนิด การปลูกหญ้าแฝก เพื่อดูดซับโลหะหนักจากดิน การปลูกหญ้าแฝกแล้วให้น้ำทิ้งไหลผ่านในอัตราการไหลที่เหมาะสม

    แหล่งอ้างอิงที่มา     https://th.wikipedia.org/wiki

วันที่ 13 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่สำรวจแปลงโคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสนอีก 4 แปลง ที่เหลือโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้มาถ่ายภาพมุมสูงเพื่อเก็บข้อมูลและสนับสนุนการพัฒนาโคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง แปลงที่จะลงพื้นที่คือ

แปลงที่ 1  แปลงโคกหนองนาโมเดลของกำนันบุญทัน ห้าวหาญ  ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยพัฒนา

แปลงที่ 2  แปลงโคกหนองนาโมเดลของนายวงศกร สุดาจันทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยพัฒนา

แปลงที่ 3  แปลงโคกหนองนาโมเดลของนางเปรมวิกา คนงาม ตั้งอยู่ที่ในเขตบ้านหนองโสน

แปลงที่ 4  แปลงโคกหนองนาโมเดลของนางจิตรานุช โพธิ์หิรัญ  ตั้งอยู่ที่บ้านระนามพลวง

การปฏิบัติงานในครั้งนี้ได้เข้าร่วมหลากหลายกิจกรรม ได้ร่วมมือทำกิจกรรมและยังได้ทราบถึงความเป็นมาของการปลูกต้นไม้ ทราบถึงประโยชของต้นไม้ชนิดต่างๆและยังได้ทราบถึงการทำหนองนาโมเดลมากยิ่งขึ้น ทราบถึงแนวทางการพัฒนา การวางแผนในระยะยาว ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

 

 

 

อื่นๆ

เมนู