ข้าพเจ้า นางสาวเบญญา นิยมเหมาะ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564 ณ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ลงพื้นที่งานประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ.2564 ลงพื้นที่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 21 กค 2564 มีกิจกรรมปลูกป่าที่โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ เวลา 09.00 น. ร่วมกับตำบลหนองกง และหนองยายพิมพ์ ประโยชน์ของการปลูก (1) ต้นไม้จะช่วยคายออกซิเจน ในเวลากลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์ (2) บริเวณรากของต้นไม้ ที่ยึดผิวดิน ทำให้เกิดความแข็งแรงของบริเวณผิวดิน ซึ่งสามารถป้องกันการพังทลายจากดินถล่ม เพราะมีรากเป็นส่วนยึดผิวดินอยู่ ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ การสาธิต การนำหญ้าแฝกมาประยุกต์ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯซึ่งเป็นพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย อย่างยอดยิ่ง (3) ต้นไม้ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์ ฉะนั้น ขอให้ทุกท่านช่วยกันอนุรักษ์ป่าไม้ พร้อมกันนั้น ช่วยกันปลูกเสริมต่อไป ถ้าทุกคนในชาติให้ความสำคัญ และร่วมแรงร่วมใจกันส่งเสริมสนับสนุนโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ก็จักทำให้ลดภาวะโลกร้อนได้อย่างรวดเร็ว (4) ลำต้น สามารถนำมาแปรรูปทำประโยชน์ได้มากมาย เช่น บ้านเรือน ที่พัก อาศัย สะพาน เฟอร์นิเจอร์ เรือ เป็นต้น
กิจกรรมทำความสะอาดที่วัดบ้านหนองโสน เริ่มกิจกรรม เวลา 09.00 น. เป็นกิจกรรมครึ่งวัน เป็นกิจกรรมทำความสะอาดภายในบริเวณวัดเกือบทั้งหมด เช่น กวาดทำความสะอาดภายในโบสถ์ ภายในห้องครัว บริเวณรอบนอก ล้างจาน ฯลฯ และนำอุปกรณ์ทำความสะอาดมาบริจาคที่วัดบ้านหนองโสน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 เวลา 09.00น. ณ บริเวณเนินคลองตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลหนองยายพิมพ์ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองและศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต้นไม้ที่ปลูกเป็นต้นยางนา ลักษณะของยางนา ต้นยางนา จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นได้ถึง 50 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ โคนต้นมักเป็นพูพอน ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง เปลือกต้นเกลี้ยงเป็นสีออกเทาอ่อน หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลม ๆ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ ส่วนตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนและมีรอยแผลใบเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด (เด็ดปีกออกก่อนนำไปเพาะ เมล็ดจะงอกภายในเวลา 12 วัน และภายในเวลา 7 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงได้ประมาณ 30-35 เซนติเมตร และพร้อมที่จะย้ายไปปลูกได้) เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ชอบดินที่มีอินทรีย์วัตถุค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน (หลังต้นอายุ 1 ปี) มักขึ้นในป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ตามที่ต่ำชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป และตามหุบเขาทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-400 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่บังกลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามใต้ และมาเลเซีย ใบยางนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบสอบทู่ โคนใบกว้าง ส่วนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน แผ่นใบมีขนขึ้นปกคลุม ด้านท้องใบมีขนสั้น ๆ รูปดาว ใบอ่อนมีขนสีเทา ส่วนใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีขนขึ้นประปราย และมีหูใบขนาดใหญ่ ดอกยางนา ออกดอกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ แบบช่อกระจะ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ดอกมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร เป็นสีชมพูอ่อน มีช่อละ 4-5 ดอก ดอกขนาดใหญ่เรียงตัวหลวม ๆ เป็นช่อห้อยลงถึง 12 เซนติเมตร ที่ก้านช่อมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปขอบขนาน ปลายกลีบมนและบิดเวียน โคนกลีบดอกชิดกัน ชั้นกลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก แบ่งเป็นแฉกสั้น 3 แฉก และแฉกยาว 2 แฉก มีขนสั้น ๆ สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้มากกว่า 25 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ปลายอับเรณูมีรยางค์ลักษณะเป็นรูปเส้นด้าย รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียอ้วนและมีร่อง ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน สรรพคุณของยางนา ตำรายาไทยจะน้ำต้มจากเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถูนวดขณะร้อน ๆ เป็นยาแก้ปวดตามข้อ ประโยชน์ของต้นไม้ (1) ต้นไม้จะช่วยคายออกซิเจน ในเวลากลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์ (2) ช่วยดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดภาวะเรือน กระจก เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน (3) เป็นร่มเงา บังแดดให้เกิดความร่มรื่น