ข้าพเจ้า นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

เดือนสิงหาคมได้ลงพื้นที่พร้อมด้วยทีมงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ณ บ้านโคกตะโก หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูล 10 หัวข้อใน Applications. U2T ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลผ่าน Applications. U2T ในพื้นที่บ้านโคกตะโก  หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม.ในชุมชนวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดอย่างเคร่งครัด การลงพื้นที่เก็บข้อมูล 10 หัวข้อในApplications. U2T ได้แก่ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก/โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่นเพิ่มเติม และเก็บข้อมูลของ 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) ประจำเดือนกรกฎาคม โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม มีหัวข้อมูลการเก็บข้อมูลจำนวน 4 หัวข้อ ดังนี้ 1. แบบสำรวจชุดที่ 1สำหรับที่พักอาศัย  2. แบบสำรวจชุดที่ 2 สำหรับตลาด  3. แบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน  4. แบบสำรวจชุดที่ 4 สำหรับโรงเรียน การเก็บข้อมูลในครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งงานเก็บข้อมูลคนละ 40 ครัวเรือน ซึ่งในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี

วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติงานในกิจกรรมปลูกป่าเนื่องในวันอาสาฬหบูชา ณ โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ ร่วมกับ ตำบลหนองกง และหนองยายพิมพ์ ภายในกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ช่วยกันปลูกต้นไม้เศรษฐกิจ เช่น ต้นพะยูง ต้นสัก ต้นประดู่ ต้นยางนา และปลูกต้นไม้ประเภทกินผล เช่น ต้นกล้วย ต้นมะม่วง ต้นขนุน ต้นมะเขือ เป็นต้น วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติงานในกิจกรรม Nongsano Health Care เพื่อทำความสะอาดวัดบ้านหนองโสน ภายใต้กิจกรรม U2T รวมพลัง ฉีดวัคซีนพิชิตภัย COVID ด้วยวัคซีน “U2t รวมพลัง ปกป้องชีวิต พิชิตภัย covid ด้วยวัคซีน” ในขั้นตอน STEP 1 คลีน พื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด “กิจกรรมการทำความสะอาดพื้นที่ เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ทำให้สภาพแวดล้อมสะอาด ปลดเชื้อ ทำให้ตำบลของเราน่าอยู่มากขึ้น ช่วยป้องกันการระบาดของเชื้อโรค” ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรม covid week STEP 2 สร้าง SAFF ZONE เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด “การเตรียมความพร้อมการใช้พื้นที่อย่างปลอดภัย ศึกษาคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุข สำรวจและกำหนดบริเวณพื้นที่ และพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง ออกแบบและเผยแพร่มาตรการการใช้สถานที่ร่วมกันอย่างปลอดภัย” STEP 3 จัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อมกับสถานการณ์โควิด-19 “จัดหาและบริหารจัดการอุปกรณ์ให้พอและพร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย เจลแอลกฮอล์ ฉากกั้น และอื่นๆ ที่มีความความจำเป็นต้องการป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19”  เป็นกิจกรรมเชิงรุกทำความสะอาดพื้นที่ ณ วัดบ้านหนองโสน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จะเป็นการทำความสะอาดบริเวณรอบๆ อุโบสถ,หน้ากุฏิพระ,บริเวณลานวัด,บริเวณภายในครัว เป็นต้น ต่อจากนั้นได้ร่วมกิจกรรมถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์และก็มีการมอบอุปกรณ์ทำความสะอาดให้วัดและผู้ที่กักตัว ซึ่งวัดบ้านหนองโสนได้เปิดเป็นสถานที่กักกันตัวผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง(โรคโควิด-19) และรับประทานอาหารร่วมกัน

วันที่ 12 สิงหาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติงานในกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ณ บ้านโคกหว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง ภายในกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ช่วยกันปลูกต้นไม้เศรษฐกิจ เช่น ต้นพะยูง ต้นสัก ต้นประดู่ ต้นยางนา เป็นต้น วันที่ 13 สิงหาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่สำรวจโคกหนองนาโมเดลเพื่อถ่ายภาพมุมสูงร่วมกับสมาชิกเครือข่ายโคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาโคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง
จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่สำรวจในแปลงโคกหนองนาโมเดลที่ยังไม่ได้รับการสำรวจและถ่ายภาพมุมสูง ดังนี้ 1.กำนันบุญทัน ห้าวหาญ  2.นายวงศกร สุดาจันทร์  3.นางเปรมวิกา คนงาม  4.นางจิตรานุช โพธิ์หิรัญ และร่วมรับประทานอาหารกลางวันที่สวนสองมือเราและได้มีการสัมภาษณ์เจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดลทั้ง 4 แปลง เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญของการทำโคกหนองนาโมเดล ว่า
“โคกหนองนาโมเดล” สืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการบริหารทรัพยากรทั้งดิน น้ำ ลม แดด ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง”ตามแนวทางพระราชดำริ/ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)/ขุด“คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้/ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุดและพื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน/ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนาน

อื่นๆ

เมนู