หลักสูตร์-HS02 ศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาโมเดลตำบลหนองโสน
ข้าพเจ้า นาย.พงศกร สุมงคล ประเภทบัณทิตจบใหม่ ประจำตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
บทความประจำเดือนสิงหาคม 2564 ปฏิบัติงานและกิจกรรม ทั้ง3กลุ่ม มีนักศึกษา ประชาชน และบัณทิตใหม่ ได้ร้่วมกันทำกิจกรรมต่าง เช่น ปลูกป่า ทำความสะอาด สำรวจโคกหนองนาโมเดล และกิจกรรมอื่นๆ ช่วยกันเหลือหลักๆยังคงเป็นการสำรวจแปลงโคกหนองนาโมเดล ซึ่งเป็นหลักสูตรของตำบลหนองโสนตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2564เวลา09.00-12.00 ที่โรงเรียน โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีปฎับัติงาน มีสามตำบลที่ร่วมกันปลูกป่าครั้งนี้
มี ตำบลหนองโสน ตำบลหนอกง และทำตำบลหนองยายพิมพ์ มีชาวบ้านแต่ละตำบลและต้นแบบโคกหนองโมเดลมาร่วมในงานครั้งที่ โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ และก็มีมีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง และะประธานกลุ่มรักนางรองสีเขียวยั่งยืนได้ทำการปลูกป่า บริเวณรอบของโรงเรียน โดยมีชาวบ้าน
และผู้ปฎิบัติงานทุกท่านได้ช่วยกันขุดหลุมไว้เพื่อปลูกต้มไมที่เตรียมมาไว้ที่ ปลูกต้นไม้
ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ พร้อมกับอยู่บนพื้นฐานของความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน
ผลที่เกิดขึ้นคือ เกิดการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศไทย เนื่องจากประชาชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าจากการใช้ประโยชน์ของป่าไม้ที่ปลูก โดยขอย่อประโยชน์ทั้ง 4 อย่างแนะนำดังนี้
- พออยู่ คือการปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยาวนานซึ่งจะเน้นประโยชน์โดยใช้เนื้อไม้เพื่อสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน และถือได้ว่า เป็นการออมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคต ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง ยางนา แดง สัก พะยูง พะยอม
2. พอกิน คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แฮ่ม กล้วย ฟักข้าว
3. พอใช้ คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้สำหรับใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน
การปลูกป่าและต้นไม้ดีต่อสุภาพอย่างไร
1.หายใจได้ดีขึ้น
โดยปรกติแล้วร่างกายของคนเราจะขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาและรับเอาก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ขณะที่ต้นไม้จะเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นออกซิเจน ดังนั้นแล้ว ต้นไม้จึงถือว่าเป็นมิตรกับคนในบ้าน เพราะจะช่วยเพิ่มออกซิเจนภายในพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย ทำให้อากาศแจ่มใสขึ้น และสามารถหายใจได้สดชื่นกว่าที่เคย
2.เพิ่มความชื้นในอากาศ
ตามกระบวนการทางธรรมชาติแล้ว พืชหรือต้นไม้จำเป็นที่จะต้องมีการคายน้ำอยู่เสมอ ไอความชื้นจากการคายน้ำนั่นเองจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับบรรยากาศโดยรอบ ซึ่งดีต่อระบบทางเดินหายใจ ยิ่งไปกว่านั้น จากผลการศึกษาของ The Agricultural University of Norway ยังพบว่า การที่พืชปล่อยความชื้นภายในบ้านและบริเวณที่อยู่อาศัยอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาผิวแห้ง การเป็นหวัด การเจ็บคอ หรืออาการไอแห้งได้
3.อากาศบริสุทธิ์
ในทุกๆ 24 ชั่วโมง ต้นไม้สามารถที่จะกำจัดสารพิษในอากาศได้มากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย หรือสาร VOCs (Volatile organic Compounds) ไม่ว่าจะเป็นสารพิษจากควันบุหรี่ จากเสื้อผ้า ฝุ่นผง หมึกจากหนังสือหรือเอกสาร หรือจากการเผาไหม้ต่าง ๆ ซึ่งสารพิษเหล่านี้อาจมีผลทำให้เป็นโรคหอบหืดได้ด้วย ดังนั้น การมีต้นไม้ในบ้าน จึงอาจช่วยลดโอกาสของการเป็นหอบหืดได้ และที่แน่นอนคือ สามารถช่วยกำจัดสารพิษในอากาศ ทำให้อากาศในบริเวณที่อยู่อาศัยบริสุทธิ์และสดชื่นขึ้นอย่างแน่นอน
4.ผ่อนคลายความเครียด
คนเรามีความรู้สึกเครียดได้ทั้งจากที่บ้าน และจากนอกบ้าน แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว บรรยากาศในบ้านควรจะเอื้ออำนวยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย แน่นอนว่าหนึ่งในตัวช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่บ้านก็คือ การปลูกต้นไม้เอาไว้ในบ้าน นอกเหนือไปจากเหตุผลเรื่องความสวยงามและความสบายตาแล้ว ยังมีผลการศึกษาที่กล่าวเอาไว้ในหนังสือชื่อ Holistic Solutions for Anxiety & Depression พบว่า การสัมผัสกับต้นไม้หรือพืชชนิดต่าง ๆ จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจ และใจเย็นมากขึ้น ทำให้ความเครียด ความกังวลจึงสามารถที่จะค่อย ๆ ลดระดับลงมาได้
5.เสริมสร้างสมาธิ
จากผลการศึกษาของหลากหลายสถาบันชั้นนำ เช่น The Royal College of Agriculture ที่ประเทศอังกฤษ แสดงสถิติให้เห็นว่า ผู้คนทั้งในวัยทำงาน และในวัยเรียน รู้สึกมีสมาธิ และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อได้ใช้เวลาอยู่ในห้องที่มีต้นไม้ ความคิดสร้างสรรค์และศักยภาพในการทำงานดีขึ้นเมื่อได้เห็นความเขียวขจีที่อยู่ใกล้ตัว
6. เจ็บป่วยน้อยลง
การมีต้นไม้ในห้อง หรือในบ้าน ไม่ได้หมายความว่าคุณจะแข็งแรงและไม่มีอาการเจ็บป่วยเลย แต่…การมีต้นไม้ ดอกไม้ อยู่ในบ้าน อาจมีส่วนช่วยให้คุณเจ็บป่วยน้อยลง โดยจากผลการศึกษาของ Kansas State University พบว่า ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในห้องที่มีต้นไม้ มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ดีกว่า มีอัตราของความดันโลหิตที่เป็นปกติ อาการอ่อนเพลียและอาการวิตกกังวลก็ลดน้อยลงมากกว่าผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในห้องที่ไม่มีต้นไม้ (“ต้นไม้ในบ้าน” ดีต่อสุขภาพอย่างไร? (sanook.com))
วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 เวลา13.00-16.00 การประชุมเขียนบทความและรายงานประจำเดือนผ่านทางานทางแอพพลิเคชัน Microsoft Team
ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทุกท่านเข้ารับฟังการแนะนำวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประเดือนเพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานครั้งถัดไป
มีผู้ปฎิบัติงานและคณะอาจารย์ผู้ดูแลตำบลในการร่วมการประชุมผ่านผ่านทางานทางแอพพลิเคชัน Microsoft Team มีดัง
13.00 ตำบลในความดูแลของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและคณะครุศาตร์
13.40 ตำบลในความดูแลของคณะมนุษยศาสตร์ฯ
14.20 ตำบลในความดูแลของคณะพยาบาลศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์
15.00 ตำบลในความดูแลของคณะวิทยาการการจัดการ ตำบลแสลงโทน ตำบลโคกย่าง และตำบลหินลาด
15.40 ตำบลในความดูแลของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ยกเว้น ตำบลแสลงโทน ตำบลโคกย่าง และตำบลหินลาด
วันที่30 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00-12.00น.ทำความสะอาดสถานที่วัดหนองโสน บ้านโสนน้อยพัฒนา ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
บ้านหนองโสนหมู่ที่ 5 และบ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12 ปัจจุบันเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในหลายๆจังหวัด ทำให้ลูกหลานของชาวบ้านตำบลหนองโสนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้เดินทางกลับมาที่บ้าน และตามมตราการการป้องกันโรคโควิด 19ที่ต้องมากักตัวที่นี้ วัดหนองโสนเป็นที่กักตัวบ้านหนองโสนหมู่ที่ 5 และบ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12 ที่จะต้องกลับมาอยู่บ้านก็ต้องมากักตัวที่นี้14วันและดูอาการส่งจะส่งต้องให้ที่โรงพยาบาลแและผู้รับผู้ชอบต่อไป ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
และผู้ปฎิบัติงานจึงได้ทำความสะอาดที่วัดหนองโสน และโบสถ์ ศาลาได้นำอุปกรณ์มาบริจาคและทำความวัดเช่น ไม้กวาด แปรงขัดห้องน้ำ น้ำยาล้างห้องน้ำ ขัน ที่ตักขยะ เป็นต้น
วันที่9สิงหาคม 2564 เวลา 10.00-15.00 ไปช่วยกันขุดหลุมเตรียมปลูกต้นไม้ ที่จะจัดงานขึ้นในวันที่12 สค เจอกันตรงคลองก่อนถึงศูนย์การเรียนรู้
เพื่่อเตรียมความพร้อมการจัดงานในนี้และมีต้มไม้หลายสายพันที่จะมาเพื่อในวันที่12 สิงหาคม 2564 ทำเป็นศูนย์การเรียนที่เป็นการดูแลธรรมชาติและสิงแวดล้อม
ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาชมดูกันได้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีต้นแบบ ในการทำโคกหนองโมเดล เพื่อไปปรับใช่และพัฒนาตัวเองในอนาคตแบบพอเพียง
วันที่12สิงหาคม 2564 เวลา
วันที่ 12 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น. เป็นลงพื้นที่ปลูกต้มไม้ ศูนย์การเรียน บ้านโค้กวาน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันแม่แห่งชาติภายใต้โครงการ ปลูกป่าและหญ้าแฝกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชชนนี พันปีหลวง ประจำปี 2564 มี สส.ไตรเทพ งามกมล นายกอบจ.จังหวัดบุรีรัมย์เป็นประธานในพิธี นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง นายกเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกอบต.หนองโสน นางบังอร ยินดีชาติ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติหน้าที่ นายกอบต.หนองกง นายเปลื้อง แผ้วพลสง นายกอบต.หนองยายพิมพ์ ปลัดกรุณา สวัสดิ์สิง ผศ.ดร อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม และร่วมด้วยชาวบ้านต้นแบบ โคกหนองโมเดล
และผู้ปฎิบัติงานที่มาร่วมงานครั้งนี้ และคณะอาจารย์ ผู้ดูแลประจำตำบล เป็นต้น หาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ คณะมนุษย์ศาสตร์ ในการร่วมปลูกต้มไม้ 2000 ต้น แล้วพื้นที่ ยาว 2 2 กิโลเมตร เชือมต่อกับคลองช่องแมว ต้มไม้ที่นำมาปลูกมีดังนี้ ต้นไม้สักทอง ต้นไม้ยางนา ต้นไม้มะฮอกกานี เป็นต้น
1.1.ต้นไม้สักทอง
ต้นสัก มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ลาว และไทย (สวนที่ติดภาคเหนือของไทย) โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ที่มีความสูงของต้นตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร มีลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกต้นหนาเป็นเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้น พอต้นแก่โคนต้นจะเป็นร่องและมีพูพอนขึ้นบ้างเล็กน้อย ตามกิ่งอ่อนเป็นรูปเหลี่ยม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลือง ส่วนลักษณะของเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง (เรียกว่า “สักทอง”) ถึงสีน้ำตาลแก่ และมักมีเส้นสีน้ำตาลแก่แทรกอยู่ (เรียกว่า “สักทองลายดำ”) เนื้อไม้สักเป็นเสี้ยนตรง เนื้อหยาบ มีความแข็งปานกลาง เลื่อยไสกบตกแต่งได้ง่าย และไม่ค่อยยืดหดหรือบิดงอง่ายเหมือนไม้ชนิดอื่น ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดและแบบไม่อาศัยเมล็ด (การติดตา, การปักชำ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ) ชอบขึ้นตามพื้นที่ทีเป็นภูเขา หรือตามพื้นราบที่มีดินระบายน้ำได้ดี และน้ำไม่ท่วมขัง หรืออาจจะเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีความลึกมาก ๆ (โดยเฉพาะดินที่เกิดจากหินปูน ที่แตกแยกผุพังจนกลายเป็นดินร่วนลึก) ต้นสักจะเจริญเติบโตได้ดีมาก โดยมักจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หรืออาจขึ้นปะปนกับไม้เบญจพรรณอื่น
ใบสัก ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ในแต่ละคู่จะตั้งฉากสลับกันไปตามความยาวของกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมีหางสั้น ๆ โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 12-35 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร พื้นใบด้านบนและด้านล่างสากมือ ท้องใบเป็นสีเขียวและมีขนปกคลุม มีก้านใบยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ที่ท้องใบของใบอ่อนเมื่อนำมาขยี้แล้วจะมีสีแดงคล้ายเลือด โดยจะผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง (ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม) และจะแตกใบใหม่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
ดอกสัก ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ โดยจะออกตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศที่มีทั้งเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีเขียวนวล มีกลีบดอก 6 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดและมีขนทั้งด้านนอกและด้านใน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5-6 อัน ยื่นยาวพ้นออกจาดอก ส่วนเกสรเพศเมียจะยาวเท่ากับเกสรเพศผู้และมี 1 อัน ที่รังไข่มีขนอยู่หนาแน่น ต้นสักจะออกดอกช่อดอกช่อแรกที่ปลายยอดสุดของแกนลำต้นก่อนกิ่งอื่น ๆ แล้วจึงจะเกิดดอกที่ปลายยอดของกิ่ง และดอกจะบานเพียง 1 วัน หลังจากนั้นดอกที่ได้รับการผสมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นผลต่อไปในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
ผลสัก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซติเมตร ผลจะมีชั้นของกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ มีลักษณะพองลมและบาง เป็นสีเขียว ในผลหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-4 เมล็ด (โดยทั่วไปเรียกผลสักว่า “เมล็ดสัก“) และเมื่อผลแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล (ผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม) เมล็ดจะอยู่ในช่อง ช่องละ 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.6 เซนติเมตร ซึ่งเมล็ดจะเรียงไปตามแนวตั้งของผลสัก ในแต่ละเมล็ดจะถูกห่อหุ้มไปด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดที่มีลักษณะบาง
ไม้สัก
ในด้านการใช้ประโยชน์จากไม้สัก จะมีการแบ่งคุณลักษณะของไม้สักโดยพิจารณาจากสีของเนื้อไม้ ความแข็ง ความเหนียว และการตกแต่งของเนื้อไม้ ออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่[2]
- ไม้สักทอง – เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลทอง เสี้ยนไม้ตรง ตกแต่งได้ง่าย[2]
- ไม้สักหิน – เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลหรือสีจาง ตกแต่งได้ง่าย[2]
- ไม้สักหยวก – เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีจาง ตกแต่งได้ง่าย[2]
- ไม้สักไข่ – เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลเข้มปนสีเหลืองและมีไขปนอยู่ ตกแต่งและทาสีได้ยาก[2]
- ไม้สักขี้ควาย – เนื้อไม้เป็นสีเขียวปนสีน้ำตาล น้ำตาลดำดูเป็นสีเลอะ ๆ[2]
สำหรับไม้สักที่นำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์จะแบ่งเป็น 3 เกรด คือ
- ไม้สักเกรดเอ หรือ ไม้เรือนเก่า – ไม้สักเกรดนี้จะได้มาจากการรื้อถอนจากบ้านเก่า มีราคาสูง ความชื้นต่ำ เพราะเนื้อไม้แห้ง สีค่อนข้างสวย ไม้จะหดตัวได้น้อยมาก และเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทองเข้ม
- ไม้สักเกรดบี หรือ ไม้ออป. หรือ ไม้สักสวนป่า (“ออป.” ย่อมาจาก องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) – จัดเป็นไม้สักที่มีคุณภาพดีพอสมควรเพราะปลูกในพื้นที่ภูเขา การหดตัวมีน้อย แก่นไม้เยอะกว่าไม้นส. สีเนื้อไม้เข้มกว่าไม้นส.
- ไม้สักเกรดซี หรือ ไม้นส. (“นส.” ย่อมาจาก หนังสือแสดงสิทธิทำกิน (นส.3)) – เป็นไม้สักที่มีปลูกในพื้นที่ของเอกชนหรือประชาชนทั่วไป ไม้มีคุณภาพปานกลาง มีกาดหดตัวมากกว่าไม้ออป. สีเนื้อไม้อ่อนออกเหลืองนวล และแก่นไม้มีน้อยกว่าไม้ออป.
หมายเหตุ : บางข้อมูลก็จัดให้ไม้เรือนเก่าเป็นไม้เกรด A+ ส่วนไม้ออป. เป็นไม้เกรด A และไม้นส. เป็นไม้เกรด B
สรรพคุณของสัก
- ใบนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)[3]
- เนื้อไม้และใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต (เนื้อไม้,ใบ)[3]
- ใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษโลหิต (ใบ)[3]
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (เนื้อไม้)[3]
- เปลือกไม้มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ (เปลือกไม้)[1]
- เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคตา (เมล็ด)[1]
- ใบใช้ทำเป็นยาอมแก้เจ็บคอ (ใบ)[3]
- ช่วยแก้ไข้ คุมธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)[3]
- เนื้อไม้ใช้รับประทานเป็นยาขับลมได้ดีมาก ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาขับลมเช่นกัน (เนื้อไม้,ใบ)[3]
- เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (เนื้อไม้) รับชมเรียนเกี่ยวต้นไม้สักทอง ได้ที่ เว็บ (สัก สรรพคุณและประโยชน์ของต้นสัก 20 ข้อ ! (สักทอง) (medthai.com)
1.2.ต้นไม้ยางนา
ต้นยางนา มีความสูงของต้นได้ถึง 50 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ โคนต้นมักเป็นพูพอน ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง เปลือกต้นเกลี้ยงเป็นสีออกเทาอ่อน หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลม ๆ เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ ส่วนตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนและมีรอยแผลใบเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด (เด็ดปีกออกก่อนนำไปเพาะ เมล็ดจะงอกภายในเวลา 12 วัน และภายในเวลา 7 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงได้ประมาณ 30-35 เซนติเมตร และพร้อมที่จะย้ายไปปลูกได้) เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ชอบดินที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน (หลังต้นอายุ 1 ปี) มักขึ้นในป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ตามที่ต่ำชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป และตามหุบเขาทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-400 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่บังกลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามใต้ และมาเลเซีย
ใบยางนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบสอบทู่ โคนใบกว้าง ส่วนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน แผ่นใบมีขนขึ้นปกคลุม ด้านท้องใบมีขนสั้น ๆ รูปดาว ใบอ่อนมีขนสีเทา ส่วนใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีขนขึ้นประปราย และมีหูใบขนาดใหญ่
ดอกยางนา ออกดอกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ แบบช่อกระจะ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ดอกมีขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร เป็นสีชมพูอ่อน มีช่อละ 4-5 ดอก ดอกขนาดใหญ่เรียงตัวหลวม ๆ เป็นช่อห้อยลงถึง 12 เซนติเมตร ที่ก้านช่อมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปขอบขนาน ปลายกลีบมนและบิดเวียน โคนกลีบดอกชิดกัน ชั้นกลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก แบ่งเป็นแฉกสั้น 3 แฉก และแฉกยาว 2 แฉก มีขนสั้น ๆ สีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้มากกว่า 25 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ปลายอับเรณูมีรยางค์ลักษณะเป็นรูปเส้นด้าย รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียอ้วนและมีร่อง ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
ผลยางนา ผลเป็นแผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย มีหลอดกลีบเลี้ยงหุ้มขนมิด ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร มีปีกขนาดใหญ่ที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง 2 อัน มีสีแดงอมชมพู ขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 11-15 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาล เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น ปักสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนกลางผลมีครีบตามยาว 5 ครีบ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.2-2.8 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีขนสั้นนุ่ม ที่ปลายมีติ่งแหลม ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
น้ำมันยางนา น้ำมันยางเป็นของเหลวข้น มีกลิ่นเฉพาะ เป็นน้ำยางที่ได้จากการเจาะโพรงเข้าไปในต้นยางนาแล้วเอาไฟลน น้ำยางจะไหลลงมาขังในแอ่งที่เจาะไว้ ซึ่งน้ำมันยางที่ได้จะเรียกว่า “Gurjun Balsam” หรือ “Gurjun oil” เมื่อนำไปกลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันระเหยง่ายร้อยละ 70 มีองค์ประกอบเป็น alpha-gurjuneneและ β-gurjunene
สรรพคุณของยางนา
- เปลือกนำไปต้มน้ำเป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักแสบ และใช้ทาถูนวดขณะร้อนๆแก้ปวดตาข้อ
- น้ำมันยางใช้ผสมกบเมล็ดกุยช่าย นำมาคั่วให้เกรียม บดละเอียดใช้เป็นยาอุดฟันแก้ฟันผุ
- เมล็ดและใบ นำมาต้มใส่เกลือ ใช้อมแก้ปวดฟัน
- ใช้น้ำมันยาง1ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน2ส่วน นำมารับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี
- ใบยางใช้รับประทานเป็นยาขับเลือด (ทำให้เป็นหมัน)
- น้ำมันยางดิบ ใช้เป็นยาถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ
- น้ำมันยางจากต้น ใช้สมานแผล ห้ามหนอง ใช้เป็นยาทาแผลเน่าเปื่อย แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน
เวชสำอาง/เวชภัณฑ์ จากยางนา
สารสกัดจากเปลือกยางนามีคุณสมบัติที่สำคัญเฉพาะในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ มีสารออกฤทธิ์ที่มีฤทธิ์เวชสำอางที่หลากหลาย และยังคงสามารถยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลามีน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ต้านการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกันให้ผิวสุขภาพดี สามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส จึงช่วยให้ผิวไม่มีริ้วรอยและกระจ่างใสขึ้น ซึ่งใช้เพียงหลอดเดียวสามารถเป็นทั้งครีมบำรุง กันแสงแดด และฟื้นฟูผิวพรรณอย่างครอบคลุมทุกสภาพผิว
ด้วยคุณสมบัติข้างต้น ทีมวิจัยจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิยาลัยขอนแก่น จึงได้สกัดสารจากพันธุ์ไม้ธรรมชาติอย่าง ยางนา มาทำเป็นเครื่องสำอางที่ใช้ได้จริง
ผศ.ดร.แคทรียา สุทธานุช ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็บอกว่า เครื่องสำอาง YANGNA ที่ได้จากงานวิจัยดังกล่าว เป็นผลงานที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ สวยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งทีมนักวิจัยได้ค้นพบว่า ต้นยางนานั้น เฉพาะส่วนของเปลือกมีฤทธิ์เชิงเวชสำอาง ทั้งยังคงเสริมสุขภาพผิว โดยในเปลือกยางนาสามารถนำมาสกัดสารเรสเวอราทรอล ซึ่งเป็นสารสำคัญตัวเดียวกันกับที่ใช้ในเครื่องสำอางแบรนด์ดังชั้นนำ และยังคงออกฤทธิ์องค์รวมครอบคลุมดูแลสุขภาพของผิว
ประโยชน์ของยางนา
- น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงเพื่อใช้ผสมชันไม้อื่นๆ ใช้ยาเครื่องจักรสานกันน้ำรั่ว ยาแนวเรืออุดรอยรั่ว ทาไม้ ใช้ผสมขี้เลื่อยจุดไฟ ใช้ทำน้ำมันชักเงา ฯลฯ
- ไม้ยางนาเป็นไม้ขนาดใหญ่ เปลาตรง สูง และไม่ค่อยมีกิ่งก้าน การตัดไม้ยางนามาใช้จึงได้เนื้อไม้มาก โดยเนื้อไม้ที่ได้จะมีความแข็งปานกลาง สามารถนำมาเลื่อยไสกบตกแต่งให้เรียบได้ง่าย ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้ประโยชน์จากไม้ยางนากันมาตั้งแต่อดีต โดยนิยมนำมาเลื่อยทำเสาบ้าน รอด ตง ไม้พื้น ไม้ระแนง ไม้คร่าว โครงหลังคา ฝ้าเพดาน เครื่องเรือนต่าง ๆ ทำรั้วบ้าน ทำเรือขุด เรือขนาดย่อม แจว พาย กรรเชียง รวมไปถึงตัวถังเกวียน ถังไม้ หมอนรองรางรถไฟ ฯลฯ
- ไม้ยางนาจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซาส์ (Micorrhyzas) ซึ่งเป็นตัวเอื้อประโยชน์ในการเจริญเติบโต โดยเชื้อราเหล่านี้จะสร้างดอกเห็ดเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงฝนแรกของทุกปีจะมีดอกเห็ดหลายชนิดให้หาเก็บมารับประทานได้มากมาย เช่น เห็ดชะโงกเหลือง เห็ดเผาะ เห็ดน้ำหมาก เห็ดยาง เป็นต้น
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฝั่งถนน เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านนิเวศ ให้ร่มเงา กำบังลม ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ
- น้ำมันต้นยางนา ณ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาทำไบโอดีเซลอีกด้วย
-
เรื่องโดย : ธนาวัน เพลินทรัพย์ เจ้าหน้าที่เทคนิค ทีมหมอต้นไม้
ติดตามรับชมต้นยางนาได้เว็ป(ยางนา..ประโยชน์ที่มีมากกว่าตาเห็น – Yangna.org)1.3 ต้นไม้ต้นไม้มะฮอกกานีหากพูดถึงต้นไม้ที่มีชื่อว่า “มะฮอกกานี” เชื่อว่าหลายคนก็คงสงสัยเพราะไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยรู้จักต้นไม้ชนิดนี้มาก่อน แต่หากทุกคนได้ทราบถึงข้อมูล รวมถึงเข้าใจลักษณะโดยทั่วไปของต้นมะฮอกกานี หลายคนก็คงร้องอ๋อ ขึ้นมาทันทีเพราะอาจจะเคยเห็นต้นไม้ชนิดนี้มาบ้างแล้ว ตามสองข้างทาง ริมฝั่งถนน หรือปลูกไว้ตามบ้านเรือน โดยในวันนี้เราจะมาให้ข้อมูลหรือสาระที่สำคัญเกี่ยวกับต้นมะฮอกกานี จะได้สนใจแค่ไหนตามไปชมกันเลย
- ต้นลักษณะของต้นมะฮอกกานี จะมีลำต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร โดยมีขนาดเป็นทรงพุ่ม กว้างประมาณ 4-6 เมตร เปลือกของลำต้นมีความหยาบ หนา และขรุขระ แตกออกเป็นร่องตามทางยาวของลำต้น และบางครั้งอาจหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็กๆ โดยเปลือกจะมีมีสีน้ำตาลปนสีดำ หรือมีสีน้ำตาลอมเทา
- ใบลักษณะของใบมะฮอกกานีเป็นใบประกอบแบบขนนก ซึ่งออกเวียนเรียงสลับกัน โดยมีใบย่อยประมาณ 3-4 คู่ ใบจะออกตรงข้ามกันหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบของมะฮอกกานีจะมีลักษณะเป็นรูปทรงรี มีความกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตรและยาว 10-15 เซนติเมตร โคนใบมนเบี้ยว ส่วนปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบจะมีสีเขียวคล้ายแผ่นหนัง โดยมีก้านใบยาวประมาณ 0.3 – 0.5 เซนติเมตร
- ดอกของมะฮอกกานี จะมีสีเหลืองหรือเหลืองแกมสีเขียว ดอกมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ซึ่งจะออกดอกตามซอกใบหรือบริเวณปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงดอกมีสีเขียวอ่อนประมาณ 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่ดอกจะมีความกว้างประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร เกสรตัวผู้มี 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันคล้ายรูปแจกัน มีสีแดง ส่วนก้านเกสรตัวเมียสั้นและยอดเกสรตัวเมียจะแผ่แบนคล้ายกับร่ม
- ผลมะฮอกกานีจะออกผลเป็นลักษณะผลเดี่ยว ที่มีขนาดใหญ่ รูปทรงกลมหรือรูปทรงรี ผลมีสีน้ำตาล เปลือกหนาและแข็ง โดยมีความกว้างประมาณ 7-12 เซนติเมตรและยาว 10-15 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 5 พู ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมากเมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลแบนและบาง โดยมีปีกบางๆ กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาว 5-6 เซนติเมตรรู้หรือไม่ว่า ต้นมะฮอกกานี เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นำเข้ามาจากต่างประเทศคราวที่เสด็จประพาสยุโรปและมีการนำไปปลูกครั้งแรกเมื่อ รศ. 129 ที่บริเวณถนนราชดำเนิน ถนนราชดำริ ถนนดำรงรักษ์และถนนบริพัตร จังหวัดเพชรบุรี
ประโยชน์ของต้นมะฮอกกานี
- ใช้สร้างเป็นร่มเงา ทำให้เกิดความร่มรื่น นิยมปลูกไว้ที่บริเวณบ้านเรือน โรงจอดรถ หรือริมถนน ยิ่งปลูกเป็นต้นเดี่ยวเรียงกันเป็นแถวตามแนวรั้วหรือกำแพง ก็จะสามารถช่วยปิดบังสายตาจากคนภายนอก ทำให้ดูมีความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น
- มะฮอกกานีเป็นไม้ยืนต้น ที่มีเนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน สามารถนำมาแปรรูปเป็นสิ่งของเครื่องใช้ หรือใช้สร้างบ้านทำเครื่องดนตรี ฯลฯ ได้มากมายตามความต้องการ
- มะฮอกกานี จัดอยู่ในต้นไม้สมุนไพรไทยที่สามารถรักษาโรคได้หลายอาการอย่างเช่น เปลือกสามารถนำมาต้มเป็นยาเจริญอาหาร เนื่องจากมีสารเทนนินเป็นส่วนประกอบและมีรสฝาด นอกจากนั้นเปลือกยังสามารถนำมาใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ไข้ ส่วนเนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อนๆ เมล็ดมีรสขมฝาดใช้เป็นยาแก้ไข้พิษหรือบรรเทาอาการปวดศีรษะ เป็นต้น ในส่วนของใบอ่อนและดอกสามารถนำมารับประทานได้
เมื่อพูดถึงการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ มะฮอกกานี ถือได้ว่าเป็นต้นไม้ที่มีมูลค่าสูง ด้วยลักษณะที่โดดเด่นของแก่นไม้ ซึ่งจะมีสีแดงหรือสีชมพู ยิ่งหากต้นมีอายุมากขึ้น แก่นไม้จะเป็นสีชมพูเข้มไปจนถึงสีน้ำตาล ส่วนกระพี้ไม้จะมีสีออกเหลืองๆสามารถนำมาใช้ทำเครื่องไม้เครื่องมือ คุณสมบัติมีความแข็งแรง ทนทาน อีกทั้งนำมาขัดแล้วไม่แตกหักหรืองอ ในขณะที่เสี้ยนจะมีความละเอียดและค่อนข้างหยาบ ผิวลื่น สามารถใช้ทำแผงควบคุม กรอบประตู หน้าต่างหรือโค้งเครื่องเรือนตลอดจนใช้ปูพื้นทำไม้อัด ไม่เพียงแต่คุณภาพที่แข็งแรงทนทาน แต่เนื้อไม้ยังมีความสวยงามและเป็นที่นิยมในตลาดอีกด้วย
การปลูก การขยายพันธ์ และการดูแลรักษามะฮอกกานี
การปลูก อันดับแรกให้เตรียมดินที่เหมาะสม ควรปักหลักตามแนวปลูกและขุดหลุมที่มีขนาด 30 * 30 เซนติเมตร โดยหลุมควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และแนะนำให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก สิ่งสำคัญต้องใช้กล้าไม้ที่มีอายุประมาณ 5-6 เดือน โดยมีขนาดความสูงประมาณ 30- 50 เซนติเตร ก่อนปลูกให้ทำการฉีกถุงออกก่อน เมื่อนำลงหลุมแล้วให้กลบดินให้แน่น ควรปลูกในช่วงฤดูฝนหรือช่วงกลางฤดูฝน เพื่อให้กล้าไม้มีช่วงเวลาสำหรับการตั้งตัวและมีความแข็งแรงหรือมีโอกาสรอดตายสูงไปจนถึงฤดูแล้ง ดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินทรายปนดินเหนียวเล็กน้อยที่สามารถระบายน้ำได้ดี หรือน้ำไม่ท่วมขัง อุณหภูมิ มะฮอกกานีเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอากาศร้อนอุณหภูมิโดยเฉลี่ยคือ 10-36 องศาเซลเซียส ส่วนปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,542 – 5,080 มิลลิเมตรต่อปี แม้ต้นมะฮอกกานีจะสามารถทนต่อสภาพอากาศได้ดี แต่ก็ไม่สามารถทนต่อพายุหรือทนต่อการถูกน้ำท่วมขังนานๆ ได้เพราะอาจทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโต จนอาจทำให้เกิดการยืนต้นตายได้ในที่สุด ส่วนสภาพภูมิประเทศ มะฮอกกานีสามารถเจริญเติบโตได้ตั้งแต่พื้นที่ระดับต่ำจนถึง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล
การขยายพันธุ์ ต้นมะฮอกกานีนิยมการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
วิธีการบำรุงดูแลรักษา เริ่มต้นที่การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยครั้งแรก ควรใส่หลังจากปลูกลงหลุมแล้วประมาณ 1 สัปดาห์และควรใส่ปุ๋ยในปริมาณ 30 กรัมต่อ 1 ต้น ส่วนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ควรใส่เมื่อต้นตั้งตัวได้แล้วหรือมีอายุประมาณ 3 เดือนและใส่ปุ๋ยขณะช่วงที่ฝนตก จะช่วยให้ต้นไม้สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ต่อมา คือ การกำจัดวัชพืชควรทำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยการกำจัดครั้งแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการแก่งแย่ง และครั้งที่ 2 เมื่อเข้าฤดูฝนเป็นการกำจัดวัสดุเชื้อเพลิงที่อาจก่อให้เกิดไฟป่า อาจใช้กำลังคนในการถาง หรือใช้เครื่องจักรกล รถไถ เครื่องตัดหญ้า ไปจนถึงการใช้สารเคมี แต่ควรใช้สารเคมีในกรณีที่มีวัชพืชจำนวนมากในแปลง เช่น ยาฆ่าหญ้า
ทั้งหมดนี้ คือ ข้อมูลและสาระที่น่ารู้เกี่ยวกับต้นมะฮอกกานีไม้ยืนต้นที่สามารถนำเนื้อไม้มาแปรรูปหรือใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากเนื้อไม้มีความแข็งแรงทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน อีกทั้งยังมีลวดลายของแก่นไม้ที่สวยงาม สีสันเป็นที่ต้องการของตลาด เท่านั้นยังไม่พอ มะฮอกกานี ยังมีประโยชน์สามารถปลูกเพื่อสร้างร่มเงาบริเวณรอบบ้าน ปลูกในสวน หรือริมสองฝั่งของถนน จะทำให้เกิดความร่มรื่น อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่จัดอยู่ในสมุนไพรไทย เนื่องจากมีสรรพคุณในการรักษาโรคได้หลากหลายอาการ ซึ่งถูกใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในส่วนวิธีการปลูก การขยายพันธุ์ และการดูแลรักษานั้น การปลูกต้นมะฮอกกานีมันก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ผู้ปลูกจะต้องศึกษาถึงวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และบางครั้งอาจสามารถนำมาขายสร้างรายได้อย่างมากมายมหาศาล เนื่องจากมะฮอกกานีจัดได้ว่าเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง และหากใครที่ต้องการซื้อต้นกล้าของมะฮอกกานีมาปลูกสามารถหาซื้อได้จากร้านขายพันธุ์ไม้ทั่วไป หรือจะสั่งซื้อได้จากช่องทางออนไลน์ก็สะดวกสบายไปอีกแบบ แต่ก็ต้องมองหาร้ายจำหน่ายพันธุ์ไม้ที่มีความน่าเชื่อถือด้วย ไปจนถึงกระบวนการขนส่งที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วต้นมะฮอกกานีที่มีความสูงประมาณ 5 เมตรขึ้นไปจะขายในราคาหลักพันต้นๆ ส่วนเนื้อไม้ที่มีความสวยงามและไม่มีตำหนิ อาจมีราคาสูงถึงหลักหมื่นหลัก หรือหลักแสนเลยทีเดียวที่มาแหล่งรับชม (https://www.forest.go.th/)
วันที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30-15.00 ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจโคกหนองโมเดลและสมาชิกโคกหนองนาโมเดลเพิ่มเติม4แปลง
แปลงสมาชิกโคกหนองนาโมเดลมีดั่งนี้
แปลงที่ 1.กำนันบุญทัน ห้าวหาญ บ้านหนองม่วง ม.3 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
แปลงที่ 2.นายวงศกร สุดาจันทร์ บ้านห้วย ม.7 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
แปลงที่ 3.นางเปรมวิกา คนงาม บ้านระนามพลวง ม.6 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
แปลงที่ 4.นางจิตรานุช โพธิ์หิรัญ บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
และมีการเก็บภาพภ่ายมุนสูงและได้สัมภาษณ์เจ้าของแปลงต่อละแปลงว่า เป็นยังไงบ้าง ความภาคภูใจและ
ความประทับใจและความสำเร็ว และได้อะไรจากทำโคกหนองนาโมเดลและติดตามผลงานเจ้าของแปลงแต่ละแปลง
ว่าเป็นยังไงบ้าง