ข้าพเจ้า นางสาววิลาวัลย์ โกเมน ประเภทประชาชน เป็นผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาลัย “มหาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ” ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร (HS02)

ในวันที่ 21 กรกฏาคม 2564 ข้าพเจ้า ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอนางรอง นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) เจ้าคณะวัดตาไก้พลวง นายกตำบลหนองกง นายกตำบลหนองโสน นายกตำบลหนองยายพิมพ์ ผอ.โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ ประธานกลุ่มรักนางรองสีเขียวและชาวบ้านระแวงใกล้เคียงได้ร่วมด้วยช่วยกันปลูกต้นสัก ต้นพะยูง

ต้นพะยูง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดหนองบัวลำภู ต้นพะยูงจัดเป็นไม้มงคลนาม ตามชื่อที่พ้องกับคำว่า “พยุง” จึงมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นพะยูงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย และต้นพะยูงยังจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือก่อฐานประดิษฐ์วัตถุต่าง ๆ และยังจัดเป็น 1 ใน 9 ของไม้มงคลไทยอีกด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย ราชพฤกษ์, ชัยพฤกษ์, ขนุน, ทองหลาง, ทรงบาดาล ไผ่สีสุก, สัก, กันเกรา, และพะยูง

ลำต้น / เรือนยอด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับต้นประดู่ โดยมีความสูงประมาณ 15-25 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีลักษณะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นช่อแบบขนนก ช่อติดเรียงสลับ ยาว 10-15 เซนติเมตร ผลัดใบช่วงสั้น ๆ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว ทรงรูปดอกถั่ว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ผลฝัก ผิวเกลี้ยง แบน และบอบบาง รูปขอบขนาน กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร

การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องแกะสลัก หวี ไม้เท้า และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ได้สวยงาม ทนทาน และมีราคาแพง   ไม้พะยูง เป็นไม้ที่สามารถนำมาเลี้ยงครั่งได้ดีชนิดหนึ่ง โดยสามารถให้ผลผลิตสูงถึงต้นละประมาณ 50 กิโลกรัม และทำให้ครั่งได้มาตรฐานจัดอยู่ในเกรดเอ

สรรพคุณ :  ยาพื้นบ้านอีสานใช้ เปลือกต้นหรือแก่น ผสมแก่นสนสามใบ แก่นแสมสาร และแก่นขี้เหล็ก ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง เปลือกต้นหรือแก่น ผสมลำต้นหวาย ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน ตำรายาไทย ราก ใช้รับประทานแก้พิษไข้เซื่องซึม  เปลือก ต้มเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อย ปากแตกระแหง  ยางสด ใช้ทาแก้เท้าเปื่อย

 

 

ต้นสัก  มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ลาว และไทย (สวนที่ติดภาคเหนือของไทย) โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ที่มีความสูงของต้นตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร มีลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกต้นหนาเป็นเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้น พอต้นแก่โคนต้นจะเป็นร่องและมีพูพอนขึ้นบ้างเล็กน้อย ตามกิ่งอ่อนเป็นรูปเหลี่ยม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลือง ส่วนลักษณะของเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลทอง (เรียกว่า “สักทอง”) ถึงสีน้ำตาลแก่ และมักมีเส้นสีน้ำตาลแก่แทรกอยู่ (เรียกว่า “สักทองลายดำ”) เนื้อไม้สักเป็นเสี้ยนตรง เนื้อหยาบ มีความแข็งปานกลาง เลื่อยไสกบตกแต่งได้ง่าย และไม่ค่อยยืดหดหรือบิดงอง่ายเหมือนไม้ชนิดอื่น ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดและแบบไม่อาศัยเมล็ด (การติดตา, การปักชำ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ) ชอบขึ้นตามพื้นที่ทีเป็นภูเขา หรือตามพื้นราบที่มีดินระบายน้ำได้ดี และน้ำไม่ท่วมขัง หรืออาจจะเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีความลึกมาก ๆ (โดยเฉพาะดินที่เกิดจากหินปูน ที่แตกแยกผุพังจนกลายเป็นดินร่วนลึก) ต้นสักจะเจริญเติบโตได้ดีมาก โดยมักจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หรืออาจขึ้นปะปนกับไม้เบญจพรรณอื่น ๆ

สรรพคุณของสัก

1.ใบนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด

2.เนื้อไม้และใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต

3.ใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษโลหิต

4.ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย

5.เปลือกไม้มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ

6.เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคตา

7.ใบใช้ทำเป็นยาอมแก้เจ็บคอ

8.ช่วยแก้ไข้ คุมธาตุในร่างกาย

9.เนื้อไม้ใช้รับประทานเป็นยาขับลมได้ดีมาก ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาขับลมเช่นกัน

10.เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ

 

 

 

 

วันที่ 24 กรกฏาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมการประชุม แนะนำวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนและการลงเวลาเข้า-ออกงาน ผ่านทางแอพพลิเคชัน Microsoft Team

วันที่ 30 กรกฏาคม 2564 ข้าพเจ้า ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรในลงพื้นที่ทำความสะอาดสถานที่กักตัว ณ วัดหนองโสน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อไวรัส COVID-19 แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดที่เดินทางไปทำงานที่กรุงเทพ หรือพื้นที่เสี่ยงสีแดง  ทยอยกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ทั้งนี้จังหวัดบุรีรัมย์ก็มีคนที่เดินทางกลับมาจากกรุงเทพฯเป็นจำนวนมากทำให้ทาง สาธารณะสุขจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีมาตรการป้องกันโควิดโดยให้จัดตั้ง สถานที่กักตัวในแต่ละอำเภอเพื่อที่จะรองรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง (สีแดง) โดยผู้ที่จะเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงให้ดำเนินการติดต่อผู้นำในชุมชนเพื่อจะให้ผู้นำในชุมชนได้ติดต่อประสานงานกับสาธารณสุขผู้ที่ดูแลสถานที่กักตัวเพื่อที่จะได้ทำการจัดหาเตียงสำหรับรองรับผู้ที่จะกลับมารักษาตัวได้ สถานที่กักตัว ณ วัดหนองโสนจะมีสาธารณสุข อสม.ประจำหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องคอยดูแลช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 14 วัน ยัง มีชาวบ้านนำอาหาร น้ำดื่มและของใช้ที่จำเป็นมาบริจาคอีกด้วยแสดงถึงความมีน้ำใจในชุมชน

ในวันที่ 12 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้า ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาลัย “มหาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ”หรือ U2T ร่วมมือกับ อบต.หนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่ปลูกต้นไม้เพื่อแม่ ณ บ้านโคกว่าน ความยาวคลองประมาณ 1 กิโลเมตร มีท่านพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และท่านส.ส.ไตรเทพ งามกมล เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ท่านเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ท่านปลัด ท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลหนองโสน และชาวบ้านระแวกใกล้เคียงมาร่วมกันปลูก ต้นยางนา ต้นพะยูง ต้นตะเคียน

เนื่องจากต้นพะยูง เป็นไม้มงคลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เป็นไม้ทนแล้ง มีลักษณะเนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ไม้ตะเคียน ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วสีดำ เป็นเสี้ยนสน เนื้อละเอียด เหนียวแข็ง ทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว จึงนิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก หวี ไม้เท้า ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ หรือแม้แต่ทำเครื่องดนตรี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาสมุนไพร โดยนำเปลือกมาต้มเอาน้ำใช้อมรักษาอาการปากเปื่อย ปากแตกระแหง ส่วนรากยังนำมาใช้รับประทาน รักษาไข้พิษ เชื่องซึม และยางสดยังใช้ทาปากรักษาโรคปากเปื่อยได้อีกด้วย สำหรับความเชื่อดั้งเดิม ยังเชื่อด้วยว่าต้นไม้ประเภทนี้จะช่วยประคองให้ผู้ปลูกอยู่ในสภาพปกติ ช่วยให้ทรงตัวไว้ และจะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ ฐานะดีขึ้น ทั้งนี้ ต้นพะยูงจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร หรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ ซึ่งคนไทยได้จัดลำดับ “พะยูง” ให้อยู่ใน 9 ชนิดไม้มงคลที่ปลูกไว้ในบ้าน ส่วนต้นยางนา เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้ ซึ่งกำลังสูญหายไปจากระบบป่าของไทย ยางนาเป็นไม้อเนกประสงค์แทบทุกส่วนสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นแหล่งอาหารป่า แหล่งนันทนาการ ใช้น้ำมันยางเป็นสมุนไพรและเนื้อไม้เหมาะสำหรับใช้สอยทั่วไป จนพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2454 ได้ให้ความสำคัญของไม้ยางนา เท่าเทียมกับไม้สัก ยางนาให้มูลค่าทางเศรษฐกิจมากเมื่อมีอายุ 20 ปี จะมีมูลค่า 15,000 – 20,000 บาทเท่ากับมีมูลค่าเฉลี่ยวันละ 8 บาท หากปลูกยางนาไว้ 100 ต้น จะมีรายได้วันละ 800 บาท เดือนละ 24,000 บาท เฉลี่ยปีละ 288,000 บาท

 

 

อื่นๆ

เมนู