หลักสูตร : HS02 เกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล

 นางสาวอาภาศิริ  มาลา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

             กิจกรรมปลูกป่าสามัคคีของกลุ่มนางรองรักษ์สีเขียวที่ดำเนินการปลูกป่าไม้ทั่วพื้นที่อำเภอนางรอง ยังคงมีการดำเนินการต่อเนื่องโดยมีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ ประธานกลุ่มนางรองรักษ์สีเขียว พร้อมทีมงาน ชาวบ้าน อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และผู้ปฏิบัติงาน U2T ทั้ง 3 หนอง ได้แก่ ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกงและตำบลหนองยายพิมพ์ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันปลูกต้นไม้ในบริเวณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่บริเวณด้านหลังโรงเรียนหนองยายพิมพ์ โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์ และที่อื่นๆอีกมากมาย และเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2564 ได้มีการปลูกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันแม่แห่งชาติ จำนวน 2000 ต้น บริเวณคลองบ้านโคกว่าน ซึ่งเป็นคลองสายยาวราว 2 กิโลเมตร ต้นไม้ที่ปลูกนั้นจะเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงาถาวร เช่นต้นสักทอง ต้นยางนา ต้นพยูง ทั้งนี้บริเวณคลองบ้านโคกว่านมีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดินไม่ให้มีการพังทลายของหน้าดินไว้ด้วย  ในวันที่ 21 สิงหาคม 2564 ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนได้ลงพื้นที่ปลูกต้นไม้เพิ่มเติม ต้นไม้ที่ปลกยังคงเป็นต้นพยูง ต้นสักทอง ต้นยางนาและปลูกหญ้าแฝก เพิ่มเติมเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และกลุ่มบัณฑิตได้เข้าไปสัมภาษณ์พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ ประธานกลุ่มนางรองรักษ์สีเขียว เกี่ยวกับความรู้สึกที่ได้เข้ามาปลูกต้นไม้ในพื้นที่ต่างๆทั่วอำเภอนางรองแบบนี้ ดิฉันได้ทำการถอดบทสัมภาษณ์ของพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ โดยท่านได้ให้คำตอบว่า

พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ : “ความรู้สึกก็มีเจตนา มีความตั้งใจว่า ต้นไม้จะเป็นที่ที่เราอยู่ เราจะต้องอยู่ด้วยกัน ถ้าไม่มีป่า เราก็จะไม่มีน้ำ เราก็จะขาดความอุดมสมบูรณ์  เพราะฉะนั้นจุดเริ่มต้นของน้ำ จุดเริ่มต้นของความสมบูรณ์ ในเรื่องของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม  เริ่มต้นจากต้นไม้ ก็เลยเห็นประโยชน์ตรงนี้ ก็เลยต้องหันมาปลูกตันไม้ทั้งในที่วัด ในที่สาธารณะ ในโรงเรียน และรมฝั่งคลอง อย่างตอนนี้ก็ ฝั่งคลองบ้านโคกว่านเพราะความยาว 1 กิโลเศษๆ 2 ฝั่งข้างทาง เที่ยวที่แล้วลงต้นไม้ 2,000 กว่าต้น เที่ยวนี้ก็ 1,000 กว่าต้น ไม้ยางนากับไม้พยูงเป็นหลัก อย่างอื่นก็ประปราย เพราะไม้ยางนาเป็นพญาไม้ ในหหลวงรัชกาลที่ 9  ท่านบอกว่าไม้ยางนาเป็นพญาไม้ และไม้ยางนานี่แหละ รากเขาจะหยั่งลึก สามารถที่จะเก็บอุ้มน้ำไว้ให้เราได้ เพราะฉะนั้นดินฝั่งคลอง ฝั่งห้วยก็จึงลงยางนาเป็นหลัก เพื่อประโยชน์ต่อลูกหลานในภายภาคหน้า แล้วต้นไม้นี่ก็เป็นต้นบุญ ใครอยากได้บุญตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนให้ปลูกต้นไม้ เพราะเราปลูกเพียงแค่ต้นนึงไม่ถึง 1 นาทีแล้วก็ต้นไม้ต้นนี้ที่เราปลูกไม่ถึง 1 นาที ต้นไม้จะให้บุญกับเราทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะฉะนั้นใครที่อยู่ใกล้ต้นไม้ อารมณ์ดี ใครที่ปลูกต้นไม้มันจะเจริญ เพราะฉะนั้นก็เลยอยากให้ได้บุญทั้งคนปลูกและคนที่อยู่ร่มแล้วก็คนที่ได้อาศัยเพราะว่าต้นไม้จะทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล อันนี้คือเห็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า ก็เลยรณรงค์ในเรื่องของการปลูกและในเรื่องของแหล่งน้ำ เราไม่ได้ไปทำบุญที่วัดแต่เราสามารถทำบุญที่หัวไร่ปลายนา ทำบุญที่ฝั่งคลอง เพราะฉะนั้นนักศึกษามาช่วยกันปลูกวันนี้ก็ถือว่ามาปลูกต้นบุญของตนเองให้เจริญทั้งกลางวันและกลางคืน อันนี้คือประโยชน์ทั้ในปัจจุบันและภายภาคหน้า” 

หญ้าแฝก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ซึ่ง นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 สรุปความว่า ให้ศึกษา ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนพื้นที่อื่น ๆ โดยให้พิจารณาการปลูกตามความเหมาะสมของภูมิประเทศ และควรเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษา ทดลอง ให้ครอบคลุมทุกด้านด้วย

ลักษณะของหญ้าแฝก

หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่

1.กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ

2. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น

หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน แน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน

ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก

การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้

1.มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง

2.มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก

3.หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี

4.ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้

5.มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย

6.ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ

7.บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์

8.ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป

9.ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง

ขอบคุณข้อมูลจาก :   http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/75

           ในวันที่ 12 กันยายน 2564 ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานได้ประชุมและร่วมด้วยช่วยกันถอดบทเรียน ความรู้ที่ได้รับ สิ่งที่พบเจอจากการลงพื้นที่สำรวจแปลงโคกหนองนาทั้งหมด 11 แปลง ซึ่งเป็นเครือข่ายการทำโคกหนองนาในตำบลหนองโสน โดยมีแปลงต่างๆมีดังนี้

1.แปลงนายบุญลือ   นวลปักษี                                                2.นายจุล   ชื่นชู

3.นายมีชัย  หรบรรพ์                                                              4.นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ

5.นางสาวปรีดา  จรกระโทก                                                    6.นายอุทัย   งามแพง

7.นายสว่าง   อุดมดัน                                                              8.กำนันบุญทัน   ห้าวหาญ

9.นางเปรมวิภา  คนงาม                                                          10.นางจิตรนุช   โพหิรัญ

11.นายวงศกร    สุดาจันทร์

ผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งข้อมูลการถอดบทเรียนตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ทำการศึกษา 3 ด้านคือ ด้านเกษตกร ด้านปศุสัตว์ และด้านประมง โดยแบ่งหัวข้อเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัญหาที่พบเจอและประโยชน์ของการทำโคกหนองนาในด้านนั้นๆ 

1.ด้านเกษตร

  •  มีการแบ่งสัดส่วนโคก-หนอง-นา เป็นการแบ่งพื้นที่ในการทำประโยชน์ในแต่ละด้านและมีการจัดสรรพื้นที่การทำเกษตรขนาดย่อมคือ 1 ไร่ และ 3 ไร่
  • มีการจัดการแก้ไขปัญหาสภาพดิน ก่อนการปลูกพืชต่างๆ โดยการปลูกพืชคลุมดินก่อนเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมแก่การปลูก
  • ได้เรียนรู้ชนิดพืช ลักษณะทางพันธุศาสตร์และประโยชน์ใช้สอยต่างๆของต้นไม้ที่นำมาปลูก เช่นต้นสักทอง ต้นยางนา ต้นพยูง ต้นมะฮอกกานี เป็นต้น

2. ด้านปศุสัตว์ 

  • ได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างที่อยู่ให้กับสัตว์
  •  สัตว์ส่วนใหญ่ที่เลี้ยง จะเป็นวัว ควาย 
  •  มีการเลี้ยงสัตว์โดยใช้อาหารที่สามารถผลิตเองได้ โดยมีการนำเอารำข้าว ข้าวโพดบด ใบข้าวโพด มาทำเป็นอาหารสัตว์เพื่อความประหยัดต้นทุน

3.ด้านประมง 

  • มีการลงพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงแหนแดง เพื่อไว้จำหน่าย
  • ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลาแต่ละสายพันธุ์
  • ได้เรียนรู้วิธีการกำจัด และบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เหมาะแก่การเลี้ยงปลา

ปัญหาที่พบ 

  • เรื่องปัญหาสภาพดินที่มี่ลักษณะเป็นดินแข็งมากกว่าดินร่วน อีกทั้งยังเป็นดินที่มีกรวดแข็.จำนวนมาก ทำให้การปลูกพืชต่างๆค่อนข้างยาก
  • ปัญหาสภาพน้ำ บางแปลงมีน้ำน้อยเนื่องจากฝนไม่ตก มีความแห้งแล้ง และน้ำมีสีขุ่นมัว ไม่ใส

ประโยชน์จากการทำโคกหนองนา

  • เกิดการพึ่งพาตนเอง มีผลผลิตไว้รับประทานเอง นอกเหนือจากรับประทานสามารถนำไปจำหน่าย ทำให้มีรายได้เข้าครัวเรือน
  • เกิดการพึ่งกันเอง มีการสร้างเครือข่ายโคกหนองนาอีกหลายแปลง เพื่อแบ่งปันความรู็ในการทำโคกหนองนาให้แก่กันและกัน
  • ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • เป็นการปรับใช้พื้นที่นาของตัวเองให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ
  • พืชที่ปลูก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆด้าน อาทิเช่านไม้ยืนต้น นอกจากจะให้ร่มเงาแล้วยังสามารถตัดมาทำเป็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ พืชผักผลไม้ก็สามารถนำมารับประทานและจำหน่ายได้

       การปฏิบัติงานในเดือนกันยายนนี้ ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนทุุกท่านต้องขอขอบคุณชาวบ้านตำบลหนองโสน เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม การร่วมแรงร่วมใจปลูกต้นไม้เพื่อสร้างผืนป่า และทั้งนี้การประชุมกัน ช่วยกันเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่ศึกษาแปลงโคกหนองนาของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆระหว่างผู้ปฏิบัติงานเองด้วย

วิดีโอประจำเดือนกันยายน

อื่นๆ

เมนู