ข้าพเจ้า นางสาวอาทิตยา ราชสมบัติ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนาโมเดล ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2564
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีกลุ่มของบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มของประชาชน และกลุ่มนักศึกษา ของตำบลหนองโสน และยังมีผู้ปฏิบัติงานอีก 2 ตำบลมาร่วมคือ ตำบลหนองกงและตำบลหนองยายพิมพ์ ผู้นำชุมชน ชาวบ้านตำบลหนองโสน ได้ร่วมกันปลูกป่าสามัคคีของกลุ่มนางรองรักษ์สีเขียว ซึ่งได้มีการปลูกเมื่อวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2564 ครั้งนี้ได้มีการลงพื้นที่ปลูกต้นไม้และหญ้าแฝกเพิ่มเติม ณ คลองบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง ซึ่งต้นไม้ที่ปลูกก็ยังคงเป็นต้นไม้ยืนต้นสามารถเป็นที่นั่งพักมีร่มเงายามที่ต้นไม้เจริญเติบโต เช่น ต้นสักทอง ต้นพยูง โดยมีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เป็นผู้นำทีมในการปลูกต้นไม้และหญ้าแฝกในครั้งนี้ หลังจากที่ร่วมกันปลูกต้นไม้และหญ้าแฝกเป็นที่เรียบร้อยก็ได้มีการร่วมกันรับประทานอาหาร ซึ่งมีข้าวเหนียว ไก่ทอด (ในการรับประทานอาหารทางผู้ปฏิบัติงานทุกท่านก็ได้เว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัยในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ) หลังจากรับประทานอาหารเรียบร้อยก็ได้ทำการแยกย้ายกัน
ไม้สักทอง เป็นไม้โตเร็วปานกลางและเป็นไม้เนื้อแข็ง ที่มีลักษณะพิเศษกว่าไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะเนื้อไม้ มอด ปลวก และแมลง ไม่ทำอันตราย เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง ลวดลายสวยงาม เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย จึงนิยมใช้ทำบ้านเรือนที่ต้องการความสวยงาม ในสมัยโบราณไม้สักทองหาง่าย ราคาไม่แพง การสร้างบ้านเรือน ใช้ไม้สักทองทำเสาเรือนด้วย เพราะมีความทนทาน สามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานานๆ ปัจจุบันไม้สักทองหายากและมีราคาแพงมากขึ้น
สภาพพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกต้นสัก
ต้นสักเจริญเติบโต และให้คุณภาพของเนื้อไม้ดี ต้องการสภาพพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,000 เมตร ดินควรเป็นดินร่วนปนทรายที่กำเนิดมาจากหินปูน เนื่องจากมีธาตุแคลเซียมสูงเป็นที่ต้องการของต้นสัก หน้าดินลึกระบายน้ำได้ดี มีฝนเฉลี่ย 1,250-2,500 มิลลิเมตร ต่อปี ต้องการแสงจ้าและอุณหภูมิระหว่าง 13-40 องศาเซลเซียส ต้นสักจะให้ผลดียิ่งขึ้นถ้าปลูกในพื้นที่มีความลาดเอียง 15 เปอร์เซ็นต์
การปลูก ขุดหลุมลึก 20 เซนติเมตร วางเหง้าสักลงในหลุมให้ตั้งตรง กลบดินระดับ คอเหง้า หรือรอยต่อระหว่างรากกับต้น กลบดินอัดให้แน่นพอประมาณอย่าให้มีโพรงอากาศในหลุมปลูก เพราะน้ำจะขังหลังฝนตก หรือในช่วงแล้งเหง้าจะแห้งตาย ช่วงปลูกที่ดีที่สุดต้องปลูกในต้นฤดูฝนจะมีอัตรารอดตายสูงเหง้าที่สมบูรณ์อายุ 1 ปี ต้นสักจะเจริญเติบโตให้ความสูง 2-3 เมตร ต้นที่ตายให้ปลูกซ่อมทันที
ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 25 กรัม ต่อต้น ปีละ 2 ครั้ง ต้นฝนและปลายฝน ระยะ 1-2 ปีแรก ลิดกิ่งระโยงระยางที่ไม่ต้องการทิ้งไป ปีต่อไปอาจใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราต้นละ 200 กรัม โรยรอบโคนต้นแล้วกลบดิน หากเห็นว่าเจริญเติบโตแข็งแรงดีควรเว้นการใส่ปุ๋ยบ้างก็ได้ ส่วนศัตรูของต้นสักไม่ค่อยรุนแรง อาจพบหนอนกินใบสักเข้าทำลาย ในบางฤดูสามารถกำจัดได้โดยสารเคมีตามความจำเป็น ไฟป่า อาจเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในช่วงแล้ง จึงหมั่นดูแลแปลงปลูกอยู่เสมอ ครบ 15 ปี ตัดฟันไปใช้ประโยชน์ได้
แหล่งอ้างอิงที่มา https://www.technologychaoban.com
วันที่ 12 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าและผู้ร่วมปฏิบัติงานโครงการ U2T ได้มาทำการร่วมประชุมและร่วมกันถอดบทเรียน โดยมีกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มประชาชน และกลุ่มนักศึกษา ได้มาที่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ โนนตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง ซึ่งได้มีการร่วมพูดคุยปรึกษากันเรื่องของการลงพื้นที่แปลงโคกหนองนาโมเดลทั้ง 11 แปลง ของตำบลหนองโสน มีดังนี้
1.แปลงนายบุญลือ นวลปักษี
2.แปลงนายจุล ชื่นชู
3.แปลงนายมีชัย หรบรรพ์
4.แปลงนางสาวดนุลดา ธรรมศิริ
5.แปลงนางสาวปรีดา จรกระโทก
6.แปลงนายอุทัย งามแพง
7.แปลงนายสว่าง อุดมดัน
8.แปลงกำนันบุญทัน ห้าวหาญ
9.แปลงนางเปรมวิภา คนงาม
10.แปลงนางจิตรนุช โพหิรัญ
11.แปลงนายวงศกร สุดาจันทร์
ซึ่งผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันถอดบทเรียนในครั้งนี้มีทั้งหมด 3 ด้าน คือ 1.ด้านเกษตรกร 2.ด้านปศุสัตว์ 3.ด้านประมง การถอดบทเรียนจะแยกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัญหาที่พบ และประโยชน์ที่ได้รับในการลงพื้นโคกหนองนาโมเดลทั้ง 11 แปลง และหลังจากที่ร่วมกันถอดบทเรียนเป็นที่เรียบร้อยอาจารย์ประจำหลักสูตรก็ได้ชี้แจงงานชิ้นถัดไปคือการจัดนิทรรศการณ์โคกหนองนาโมเดลของทั้ง 11 แปลงโดยผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมหาลือและทำการแบ่งเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมและจัดทำป้าย เพื่อจะใช้ในงานในครั้งต่อไป
การลงพื้นที่ในเดือนกันยายนครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และรวมถึงกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานทุกคน ทำให้ผ่านกิจกรรมต่างๆไปได้ด้วยดีและราบรื่นไม่ว่าจะเป็นการลงพื้นที่ทำกิจกรรมปลูกต้นไม้และหญ้าแฝกที่ดำเนินการปลูกเพิ่มเติมจากวันที่ 12 สิงหาคม 2564 หรือจะเป็นการลงพื้นที่ร่วมพูดคุยปรึกษากันถอดบทเรียนภายในกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง ก็มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้ดี หากใครมีข้อสงสัยหรือเกิดความขัดข้องใจก็สามารถพูดคุยกันได้อย่างดี ซึ่งการได้ลงพื้นที่เรายังได้พัฒนาการเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย และการลงพื้นที่ครั้งนี้ก็ได้รับความรู้ รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงประโยชน์ของการทำโคกหนองนาโมเดลเป็นอย่างดี เข้าใจมากยิ่งขึ้น และจะคงดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอีกต่อไป