หลักสูตร : HS02 เกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล

ดิฉัน นางสาวเบญจวรรณ   ศรีพนม ประเภทประชาชน

การปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสน ได้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ดังนี้

 -วันที่ 21  สิงหาคม 2564 ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนได้ลงพื้นที่ไปยังคลองบ้านโคกว่านอีกครั้ง เพื่อทำการปลูกต้นไม้เพิ่มเติม จากที่ได้ทำการปลูกไปแล้วเป็นจำนวนมากเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมา เป็นการปลูกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมงานดังนี้ กลุ่มนางรองรักษ์สีเขียว โดยมีพระอาจารย์ทองใสเป็นประธานกลุ่ม นายกอบต.หนองโสน คณะครูอาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้ปฏิบัติงาน U2T และชาวบ้านตำบลหนองโสนที่ร่วมด้วยช่วยกันปลูกต้นไม้ในในครั้งนี้

ต้นไม้ที่นำมาปลูกยังคงเป็นพันธุ์ไม้เดิม คือต้นยางนา   ต้นสักทอง ต้นพยูง ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงาถาวร และมีประโยชน์ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะใช้เป็นยารักษาโรคหรือการนำมาทำเป็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ นอกจากนี้มีการปลูกหญ้าแฝกเสริมเข้าไปเพื่อป้องกันการพังทลายของดินบริเวณปากคลอง

ต้นสักทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ – Tectona grandis L.f.

ชื่ออื่นๆ – เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี

ชื่ออื่นๆ (อังกฤษ) – Teak

ลักษณะทั่วไป

ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิด

ลำต้น – เป็นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เปลือกหนาประมาณ 0.3-1.7 เซนติเมตร เนื้อไม้มีสีเหลืองทองถึงน้ำตาลแก่ เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ

ใบ – เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ยาว 25-30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก ผิวใบมีขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด

ดอก – มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม

ผล – เป็นผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1-3 เมล็ด

ประโยชน์

ไม้สักทองเป็นไม้โตเร็วปานกลางและเป็นไม้เนื้อแข็ง ที่มีลักษณะพิเศษกว่าไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะเนื้อไม้ มอด ปลวก และแมลง ไม่ทำอันตราย เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง ลวดลายสวยงาม เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย จึงนิยมใช้ทำบ้านเรือนที่ต้องการความสวยงาม ในสมัยโบราณไม้สักทองหาง่าย ราคาไม่แพง การสร้างบ้านเรือน ใช้ไม้สักทองทำเสาเรือนด้วย เพราะมีความทนทาน สามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานานๆ ปัจจุบันไม้สักทองหายากและมีราคาแพง จึงต้องใช้ไม้สักทองอย่างประหยัด และคุ้มค่า

ที่มา http://www.satitm.chula.ac.th/cudbiomap/plants_pages/teak.h

ต้น ยางนา

ลักษณะต้น

ต้นยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 40 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบหนาสีเทา  โคนต้นมีพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม

ใบยางนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบ สอบทู่ โคนใบกว้าง เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน แผ่นใบมีขนขึ้นปกคลุม  ด้านท้องใบมีขนสั้น ๆ รูปดาว ใบอ่อนมีขนสีเทา ส่วนใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยา มีขนขึ้นประปราย  และมีหูใบขนาดใหญ่

ดอกยางนา ดอก เป็นสีชมพูอ่อน ออกดอกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ แบบช่อกระจายตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง มีช่อละ 4-5 ดอก ดอกขนาดใหญ่เรียงตัวหลวม ๆ เป็นช่อห้อยลง ที่ก้านช่อมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

ผลยางนา ผลเป็นแผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย มีหลอดกลีบเลี้ยงหุ้มขนมิด มีปีกขนาด ใหญ่ที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง 2 อัน มีสีแดงอมชมพู ผลเมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด  เมล็ดมีขนสั้นนุ่ม ที่ปลายมีติ่งแหลม ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

น้ำมันยางนา น้ำมันยางเป็นของเหลวข้น มีกลิ่นเฉพาะ เป็นน้ำยางที่ได้จากการเจาะโพรงเข้าไปในต้น ยางนาแล้วเอาไฟลน น้ำยางจะไหลลงมาขังในแอ่งที่เจาะไว้

สรรพคุณของยางนา

  • ตำรายาไทยจะน้ำต้มจากเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถู นวดขณะร้อน ๆ เป็นยาแก้ปวดตามข้อ (เปลือกต้น)
  • น้ำมันยางใช้ผสมกับเมล็ดกุยช่าย นำมาคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ใช้เป็นยาอุดฟันแก้ฟันผุ (น้ำมันยาง
  •  เมล็ดและใบมีรสฝาดร้อน นำมาต้มใส่เกลือ ใช้อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
  • ใช้น้ำมันยาง 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน 2 ส่วน แล้วนำมารับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี หรือใช้จิบเป็นยาขับเสมหะก็ได้ (น้ำมันยาง)
  • ใบและยางมีรสฝาดขมร้อน ใช้รับประทานกินเป็นยาขับเลือด ตัดลูก (ทำให้เป็นหมัน)
  • น้ำมันยางดิบมีรสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ (น้ำมันยางดิบ)
  • น้ำมันยางจากต้นมีรสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล ห้ามหนอง ใช้เป็นยาทาแผลเน่าเปื่อย  แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองในและเป็นยากล่อมเสมหะ (น้ำมันยาง)

ประโยชน์ของยางนา

  • น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้โดยตรงเพื่อใช้ผสมชันไม้อื่น ๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว ยาแนว เรือเพื่ออุดรอยรั่ว หรือใช้ทำไต้จุดไฟส่องสว่างหรือทำเป็นเชื้อเพลิง ทำด้วยไม้ผุคลุกกับน้ำมันยาง หรือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบ ของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์
  • เนื้อไม้ยางนาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี ยิ่งเมื่อนำมาอาบน้ำยาให้ ถูกต้องก็จะช่วยทำให้มีความทนทานมากขึ้น  สามารถนำไปใช้กับงานภายนอกได้ทนทานนับ 10 ปี โดยนิยมนำมาเลื่อยทำเสาบ้าน ไม้พื้น ไม้ระแนง โครงหลังคา ฝ้าเพดาน เครื่องเรือนต่าง ๆ ทำรั้วบ้าน ทำเรือ รวมไปถึงหมอนรองรางรถไฟ
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฝั่งถนน เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านนิเวศ ให้ร่มเงา กำบังลม ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ

ที่มา http://www.pttreforestation.com/Plantview.cshtml?Id=48

ภาพกิจกรรมปลูกต้นไม้

-วันที่ 12 กันยายน  2564  ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสน พร้อมทั้งอาจารย์ชมพู  อิสริยวัฒน์ได้เดินทางไปยังศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ โนนตะโก บ้านโคกว่านหมู่ที่ 1 อาจารย์ได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมด้วยช่วยกันถอดบทเรียนจากการไปศึกษา ลงพื้นที่ดูการทำโคกหนองนาโมเดลของชาวบ้านตำบลหนองโสน ซึ่งมีทั้งหมด 11 แปลงด้วยกัน การถอดบทเรียนเป็นการพูดคุยกันว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง ได้พบเจออะไรบ้างจากการลงพื้นที่ดูโคกหนองนา  ตามวัตถุประสงค์ของโครงการโคกหนองนาโมเดลที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการ ได้แบ่งวัตถุประสงค์เป็น 3 ด้านคือ ด้านเกษตร ด้านปศุสัตว์และด้านประมง จากการที่ดิฉันได้ลงศึกษาแปลงโคกหนองนาดิฉันได้เรียนรู้ดังนี้

ด้านเกษตร  ได้ทราบถึงการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ในการทำ คือบางที่ใช้พื้นที่แค่ 1 ไร่แต่บางที่ใช้ 3 ไร่ ทั้งนี้ตามความสะดวกของเจ้าของแปลง มีการลงปลูกต้นไม้พันธุ์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ยืนต้นเช่น ต้นพยูง ต้นยางนา ต้นมะฮอกกานี ต้นสักทอง และพืชอื่นๆตามที่เจ้าของแปลงต้องการปลูก

ด้านปศุสัตว์ มีบางแปลงที่มีพื้นที่พร้อมในการเลี้ยงสัตว์แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงวัว

ด้านประมง  มีการลงพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาทับทิม เป็นต้น

หลังจากนั้น ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนได้เข้าไปสัมภาษณ์ นายมานพ  บุญรอดหรือพี่ต้อย เจ้าของที่ที่บริจาคพื้นที่เพื่อทำเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง เนื่องจากพี่ต้อยก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ด้วย ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนจึงได้สัมภาษณ์ถึงวิธีการปลูกป่าที่จะต้องมีการวัดระยะความห่างของต้นไม้  การขึงเชือกเพื่อให้ต้นไม้ตรงกัน และจะต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับต้นไม้ที่จะนำมาปลูก ต้องดูสภาพแวดล้อมรอบๆด้วยเพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกนั้นเจริญเติบโตงอกงามมาเป็นอย่างดี

ภาพกิจกรรมถอดบทเรียนจากการลงพื้นที่ศึกษาโคกหนองนาโมเดล

อื่นๆ

เมนู