ข้าพเจ้า นางสาวกาญจนาธุระทำ

ประเภทนักศึกษา  ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาลัย “มหาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ” หลักสูตร (HS02) โคกหนองนาโมเดลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

โดยข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานในเดือนกันยายน 2564 มีดั้งต่อไปนี้

 

วันเสาร์ ที่ 21 สิงหาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการนัดหมายเพื่อซ่อมและปลูกต้นไม้ ณ บริเวณพื้นที่คลองโนนตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง ในเวลา 09.00 น. ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงานทุกท่านนำโดย พระครูวิสุทธิ พัฒนาภิรมย์ และพระลูกวัด               นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกอบต.หนองโสน ปลัด กรุณา สวัสดิ์สิง ผศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม อาจารย์ชมพู อิสริยวัฒน์ รวมถึงประครั้งนี้เป็นการปลูกครั้งที่ 2 ซึ่งปลูกต้นไม้ลงไปทางทิศใต้ของโนนตะโก ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ได้มีต้นไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ต้นยางนา ต้นพะยูง และหญ้าแฝก และปลูกทั้ง 2 ฝั่งของคลอง ซึ่งในวันข้างหน้าบริเวณที่แห่งนี้จะเป็น landmark ที่ให้คนได้มาเช็คอินในอนาคตซึ่งข้าพเจ้าถือว่าเป็นโครงการที่ดีมากเนื่องด้วยยิ่งมีป่ามากยิ่งทำให้โลกของเราเป็นสีเขียวเพิ่มขึ้นช่วยลดภาวะโลกร้อนทำให้สัตว์ไมมีที่อยู่อาศัยความถึงเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับชาวมนุษย์โลกอีกด้วย

อีกทั้งยังมีหญ้าแฝกซึ่งช่วยในการทำให้หน้าดินไม่ถล่มในช่วงหน้าฝนเมื่อนำมาก็จะช่วยเป็นเกราะป้องกันหน้าดินได้เป็นอย่างดีซึ่งถือเป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 9 กีฬาที่ท่านได้ออกแนวทางไว้ในการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันหน้าดินถล่ม

 

 

 

ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างของหญ้าเเฝกมาเป็นเกร็ดความรู้เล็กนัอย

หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด

 

 

1.กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ

.2กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น

มือวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 IECA ได้มีมติถวายรางวัล The International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้อนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝก ชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (award of recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในประเทศไทย ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก

คุณสมบัติของหญ้าแฝก

โครงการวิจัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริพบว่าหญ้าแฝกสามารถนำมาปลูกเป็นแถวเป็นแนวเพื่อเป็นปราการธรรมชาติ ช่วยกรองตะกอนดินที่ถูกชะล้างมากักเก็บไว้ ชะลอความเร็วของน้ำตามธรรมชาติและทำให้ดินดูดซับน้ำได้ทัน หญ้าแฝกสามารถนำมาใช้ในการปกป้องและอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติได้ เช่น ปลูกตามแนวคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำและหนองบึง รวมทั้งไหล่ถนนและบริเวณใกล้สะพาน รากที่สานกันแน่นเหมือนตาข่ายจะพยุงดินไว้ กลายเป็น ‘กำแพงใต้ดินที่มีชีวิต’ ช่วยชะลอแรงน้ำ ทำให้น้ำซึมลงในดินได้มากขึ้น ช่วยป้องกันหน้าดินถูกกัดเซาะพังทลาย ในส่วนของบริเวณเชิงเขาแนวรั้วหญ้าแฝกยังช่วยหยุดยั้งการพังทลายของดินด้วยเช่นกัน

หลังจากนั้นเมื่อเวลาประมาณ 11.00 นข้าพเจ้ากลุ่มนักศึกษาได้รับหน้าที่ให้สัมภาษณ์คณะคณบดีธนาคารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผศดร.อัครพล เนื้อไม้หอม ซึ่งนักศึกษาได้รับมอบหมายให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกิจกรรมการปลูกป่าที่ผ่านมา

1. คือเป้าหมายที่ได้มีการเข้าร่วมโครงการกับกลุ่มรักนางรองสีเขียวและประชาชนในตำบลหนองโสนคืออะไร

2.สิ่งที่คาดหวังเกี่ยวกับโครงการในครั้งนี้

ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการพักทานอาหารกลางวันซึ่งได้มีการเตรียมมาไว้สำหรับพูดแบบนั้นทุกท่านอย่างเพียงพอซึ่งแสดงถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนรวมไปถึงการยินดีที่ได้มีกลุ่มปฏิบัติงานมาลงพื้นที่ในครั้งนี้

 

 

 

12 กันยายน 2564 ได้มีการนัดหมายเพื่อที่จะถอดบทเรียนในสิ่งที่ได้ปฏิบัติงานมาเป็นเวลา 5 เดือนซึ่งคณะจะได้มีการนัดหมายเวลา 9.00 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสนอ เภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อาจารย์ได้มีการชี้แจงในเบื้องต้นว่าให้กลุ่มนักศึกษาบัณฑิตและประชาชนได้เขียนถึงข้อมูลที่ได้ปฏิบัติงานมาเป็นเวลา 5 เดือนที่ผ่านมาว่าได้ทำอะไรบ้างซึ่งหลักๆมี 3 ด้านด้วยกัน 1 ด้านเกษตรกร 2 ด้านปศุสัตว์และ 3 ด้านการประมงซึ่งในครั้งนี้เป็นการระดมความคิดของทั้ง 3 กลุ่มเพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นจริงและมีความสมบูรณ์มากที่สุดเพื่อนำมาจัดในนิทรรศการในวันที่ 17 ตุลาคม 2564

และสิ่งที่เราได้ทำให้กับตำบลหนองโสนในครั้งนี้ได้แก่ 1 คือด้านเกษตรกรคือเราได้ลงพื้นที่ทำเกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดลรวมถึงการปลูกผักและผลไม้และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อไม่ให้เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์

2 ด้านการปศุสัตว์เป็นการเลี้ยงปลาที่สามารถไว้ทั้งอุปโภคและบริโภคซึ่งจะทำให้มีสุขภาพที่ดีแล้วยังปลอดภัยอีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

3 ในด้านของการประมงในด้านนี้ซึ่งยังไม่ได้มีการลงพื้นที่เนื่องด้วยส่วนใหญ่การลงพื้นที่จะเป็นในด้านของโคกหนองนาจึงทำให้ด้านประมงยังไม่ได้มีการลงพื้นที่แต่คาดว่าในอีกไม่นานกลุ่มผู้ปฏิบัติงานจะได้ลงพื้นที่เกี่ยวกับด้านนี้อย่างแน่นอน

เมื่อได้มีการคิดข้อมูลและเขียนลงในกระดาษเพื่อนำเสนอเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้มีการพักรับประทานอาหารกลางวันเวลาประมาณ 12.00 น

หลังจากนั้นอาจารย์ได้มีการแจ้งนัดหมายให้กลุ่มนักศึกษาบัณฑิตและประชาชนได้จัดทำป้ายไวนิลเกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดลทั้ง 11 แปลงเพื่อที่จะจัดนิทรรศการในวันที่ 17 ตุลาคม 2564

วีดีโอการปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน 2564

 

ข้าพเจ้านางสาวกาญจนาธุระทำขอขอบพระคุณบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ทำให้การปฏิบัติงานในครั้งนี้ผ่านไปได้อย่างราบรื่น

ขอบคุณค่ะ

 

อื่นๆ

เมนู