ข้าพเจ้านางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง ประเภทประชาชน
หลักสูตร : โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย “มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”
วันเสาร์ ที่ 21 สิงหาคม 2564 ข้าพเจ้าทีมผู้ปฏิบัติงาน อาจารย์ประจำหลักสูตร นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นางกรุณา สวัสดิสิงห์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานจ้างฯ ผศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พระครูวิสุทธิ พัฒนาภิรมย เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์ และชาวบ้านโคกว่าน ได้ลงพื้นที่ร่วมปลูกต้นไม้ ณ บริเวณคลองบ้านโคกว่านตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ต้นไม้ที่ก็จะมี ต้นพะยูง ต้นยางนา และหญ้าแฝก
ต้นพะยูง
ชื่อพฤกษศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis
วงศ์ FABACEAE
ชื่อพื้นเมือง กระยง,กระยุง,ขะยุง,แดงจีน,ประดู่ตม,ประดู่ลาย,ประดู่เสน,ประดู่น้ำ,พะยูงไหม,หัวลีเมาะ
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
มีการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100–250 เมตร
ความสำคัญ ต้นพะยูงเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดหนองบัวลำภู ต้นพะยูงจัดเป็นไม้มงคลนาม ตามชื่อที่พ้องกับคำว่า “พยุง” จึงมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นพะยูงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย และต้นพะยูงยังจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือก่อฐานประดิษฐ์วัตถุต่าง ๆ และยังจัดเป็น 1 ใน 9 ของไม้มงคลไทยอีกด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย ราชพฤกษ์, ชัยพฤกษ์, ขนุน, ทองหลาง, ทรงบาดาล ไผ่สีสุก, สัก, กันเกรา, และพะยูง
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
ลำต้น / เรือนยอด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับต้นประดู่ โดยมีความสูงประมาณ 15-25 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีลักษณะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ เปลือกสีเทาเรียบ
ใบ เป็นใบประกอบ ออกเป็นช่อแบบขนนก ช่อติดเรียงสลับ ยาว 10-15 เซนติเมตร ผลัดใบช่วงสั้น ๆ
ดอก มีขนาดเล็ก สีขาว ทรงรูปดอกถั่ว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด
ผล ฝัก ผิวเกลี้ยง แบน และบอบบาง รูปขอบขนาน กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตรลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
การขยายพันธุ์ / การปลูกและการดูแล
การขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันก็คือ การนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและนิยมกันมาก สำหรับวิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยการนำเหง้ามาปักชำ สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี และเนื่องจากเป็นไม้เศรษฐกิจ หากต้องการใช้เนื้อไม้ เพื่อให้เนื้อไม้เกิดความสวยงาม เมื่อต้นไม้เติบโตในระยะ 3-4 ปี ให้ทำการลิดกิ่งที่อยู่ในระดับความสูง 2 ใน 3 ของเรือนยอด โดยลิดกิ่งให้ชิดกับลำต้นมากที่สุด ไม่ก่อให้เกิดบาดแผล และหลังจากทำการลิดกิ่งควรทาปูนขาว/ยาป้องกันเชื้อรา บริเวณที่ิลิดกิ่งออกสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตเนื่องจากตามสภาพธรรมชาติไม้พะยูงจะขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศไทย พะยูงเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง ปลูกได้โดยทั่วไปในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วม ดังนั้นจึงสามารถปลูกพะยูงได้ในหลายพื้นที่ทั้งภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ การเตรียมพื้นที่ปลูกพะยูงก็มีวิธีการปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกพรรณไม้ป่าชนิดอื่น โดยสามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี โดยระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพะยูง ควรจะปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นหรือกลางฤดูฝน
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ดอก ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมฝัก แก่ประมาณ 3–4 เดือนหลังจากออกดอก
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้ เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องแกะสลัก หวี ไม้เท้า และด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ได้สวยงาม ทนทาน และมีราคาแพง
ไม้พะยูง เป็นไม้ที่สามารถนำมาเลี้ยงครั่งได้ดีชนิดหนึ่ง โดยสามารถให้ผลผลิตสูงถึงต้นละประมาณ 50 กิโลกรัม และทำให้ครั่งได้มาตรฐานจัดอยู่ในเกรดเอ
แหล่งที่มา http://www.pttreforestation.com/Plantview.cshtml?Id=15
หญ้าแฝก
หญ้าแฝก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysopogon zizanioides) เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายขอบแหลม ยาว 35-80 เซนติเมตร มีส่วนกว้าง 5-9 มิลลิเมตร สามารถขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้ หญ้าแฝกมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ
-หญ้าแฝกดอน รากไม่มีกลิ่น, ใบโค้งงอ, สูงประมาณ 100-157 เซนติเมตร ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย
-หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ
-หญ้าแฝกหอม มีรากที่มีกลิ่นหอม, ใบยาวตั้งตรง, สูงประมาณ 150-200 เซนติเมตร
หญ้าแฝกกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
การที่หญ้าแฝกได้รับการนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ คือ มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง มีการแตกหน่อ และใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ มีใบยาว ตัด และแตกใหม่ง่าย แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลาย ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
การปลูกหญ้าแฝกส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของดิน การช่วยเก็บกักตะกอนดินในพื้นที่ลาดชัน แต่จากผลของการวิจัยยพบว่า หญ้าแฝกยังมีลักษณะในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรดินด้วย ซึ่งช่วยให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ดินมีปัญหา จึงมีส่วนช่วยฟื้นฟู และปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้น เนื่องจากผลของอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมของจุลินทรีย์บริเวณรากหญ้าแฝก รวมทั้งการมีความชื้นที่ยาวนานขึ้น สภาพดินจึงมีการพัฒนา และความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมหญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ในสภาพดินที่มีโลหะหนัก ลักษณะดังกล่าวจึงมีการนำหญ้าแฝกมาปลูกเพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และดูดซับโลหะหนักจากดิน สำหรับวิธีการที่นำหญ้าแฝกไป
หญ้าแฝกกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 IECA ได้มีมติถวายรางวัล The International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้อนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝก ชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (award of recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในประเทศไทย ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก
ในระหว่างปลูกต้นไม้ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานทำการสัมภาษณ์มี 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มประชาชน สัมภาษณ์นายมานพ บุญรอด เจ้าของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง วิธีการขุดหลุม การวัดระยะความห่าง การขึงเชือกมีวัตถุประสงค์อะไร สัมภาษณ์นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ท่านนายกคิดอย่างไรกับโครงการปลูกป่าชุมชน ท่านนายกมีเป้าหมายอะไร ท่านนายกคิดอย่างไรกับกลุ่มต่างๆที่เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มบัณฑิต สัมภาษณ์ พระครูวิสุทธิ พัฒนาภิรมย เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง การปลูกป่า หลวงพ่อคิดอย่างไรจึงปลูกต้นไม้ในพื้นที่ต่างๆ ในอำเภอนางรอง ทำไมหลวงพ่อถึงปลูกเฉพาะ ต้นพะยูง ต้นยางนา และต้นสักเป็นหลัก หลวงพ่อมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง สัมภาษณ์กลุ่มปฏิบัติงาน u2t ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์ ท่านอย่างไรในการเข้าร่วมโครงการปลูกป่ากับ วัด อบต. ชุมชน โรงเรียน 3 หนอง คือ หนองกง หนองยายพิมพ์ หนองโสน ท่านตั้งใจมาหรือมาโดยหน้าที่ ท่านมีเป้าหมายอะไรในใจไหม
กลุ่มนักศึกษา สัมภาษณ์ ผศ.ดร. อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ท่านคณบดีมีแนวคิดอย่างไรในการลงพื้นที่ขับเคลื่อนชุมชน เป้าหมายการเข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้กับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืนและหน่วยงานภาครัฐคืออะไร ท่านคณบดีหวังอะไรในการขับเคลื่อนงานชุมชนครั้งนี้ สัมภาษณ์เยาวชนเก็บขยะในพื้นที่ปลูกต้นไม้ การเก็บขยะทุกครั้งที่มีการปลูกต้นไม้ คิดเองทำเองใช่ไหม คิดอย่างไรบ้างที่มาช่วยเก็บขยะในครั้งนี้ ชอบต้นไม้,ป่าไม้ไหม
วันอาทิตย์ ที่ 12 กันยายน 2564 ข้าพเจ้าทีมผู้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อถอดบทเรียนของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการสอบถามเกี่ยวกับการลงพื้นที่โคกหนองนาโมเดลทั้ง 11 แปลง เพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์วางแผน ปัญหาที่พบ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ประโยชน์ที่ได้รับ มี 3 ด้าน คือ ด้านเกษตร สภาพดิน หน้าดินแห้ง ดินไม่เก็บน้ำ ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนกรวดแข็งไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก สภาพน้ำ น้ำในสระมีสภาพขุ่นมัวไม่ใสสะอาด ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ การแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ในการทำโคกหนองนาโมเดลทำให้มีพื้นที่มากยิ่งขึ้นและใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น ด้านปศุสัตว์ การกระจายความเสี่ยงเมื่อเกิดความเสียหายและเกิดโรคระบาดของสัตว์ การจัดการมูลสัตว์ในแต่ละพื้นที่ไม่ถูกสุขอนามัย เลี้ยงสัตว์แบบใช้อาหารสัตว์ที่ผลิตเองได้ที่มีอยู่ในไร่นาและท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น รำข้าว ข้าวโพดบด ใบข้าวโพด ใบมันสำปะหลัง เพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ได้ ด้านประมง ขาดแคลนน้ำการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งเนื่องจากฝนทิ้งช่วงและฝนไม่ตกตามฤดูกาล รู้ชนิดพันธุ์ปลาต่างๆ รู้กรรมวิธีการเลี้ยงปลาแต่ละสายพันธุ์ รู้วิธีการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เหมาะต่อการเลี้ยงปลา
หลังจากถอดบทเรียนเสร็จข้าพเจ้าทีมผู้ปฏิบัติงานได้พักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน และแยกย้ายกันกลับ
จากการลงพื้นที่และการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นบรรยากาศภายในตำบล ชุมชน และได้รู้จักคุ้นเคยกับทีมผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านในตำบลหนองโสนมากขึ้น ได้ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ ประโยชน์ของต้นไม้ สรรพคุณของต้นไม้ หลายๆชนิด ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานขอขอบคุณชาวบ้านตำบลหนองโสนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเป็นอยู่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนต่อไป