ข้าพเจ้านายนนทกร บ่อไทย ประเภทประชาชน รับผิดชอบปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 โดยข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 ดังต่อไปนี้

          เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครั้งที่ 2 ณ บริเวณคลองเนินตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ท่านปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลหนองโสน และผู้ปฏิบัติงาน U2T กลุ่มประชาชนทั้ง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกง และตำบลหนองยายพิมพ์ที่ได้มาร่วมกันปลูกต้นไม้ครั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้แก่ชุมชนในอนาคตข้างหน้าให้หน้าอยู่มากขึ้นและยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คืนต้นไม้สู่ธรรมชาติ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นดิน ฟื้นฟูแหล่งน้ำให้สมบูรณ์และยังเป็นการช่วยลดมลภาวะโลกร้อนอีกด้วย ต้นไม้ที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นต้นยางนาต้นพะยูงและต้นสักทองพอหลังจากปลูกต้นไม้เสร็จทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนได้มีการสัมภาษณ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน เกี่ยวกับความรู้สึกที่ได้เข้ามาปลูกต้นไม้ในพื้นที่บริเวณคลองเนินตะโก บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน โดยจากการสัมภาษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสนมีทั่งหมด 3 คำถามมีดังนี้ คำถามที่หนึ่งคิดอย่างไรกับการปลูกป่าชุมชนนายกได้ให้คำตอบว่าการปลูกป่าเป็นประโยชน์กับชุมชนแล้วก็เป็นประโยชน์กับประเทศชาติเป็นอย่างมากเพราะทุกวันนี้เรื่องป่ากับชุมชนมันต้องอยู่ควบคู่กันแล้วก็ต้องให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้รับทราบและได้ร่วมกันอนุรักษ์พื้นที่ป่าและที่สำคัญที่สุดในการปลูกป่าคืออยากจะให้ลูกหลานเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเพราะสมัยนี้ทุกคนรู้จักแต่การทำลายป่ามากกว่ารู้จักการปลูกป่าและอนุรักษ์ป่าและผลเสียจากการปลูกป่าและการทำลายป่าผลกระทบมันจะแตกต่างกันคนละอย่าง คำถามที่สองท่านนายกมีเป้าหมายอะไรกับกิจกรรม คำตอบเป้าหมายที่จะเห็นก็อยากเห็นป่าเกิดขึ้นเยอะๆในพื้นที่เพราะต้นไม้นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและยังสร้างธรรมชาติและปรับเปลี่ยนในเรื่องของอะไรหลายๆอย่างโดยเฉพาะสภาพของดินฟ้าอากาศโดยนายกได้พูดย้อนกับไปสมัยที่นายกเล็กๆอยู่ พื้นที่ต่างๆ จะมีต้นไม้ที่อุดมสมบูรณ์มากฝนก็ตกตามฤดูกาลและมีความสุขในการใช้ชีวิตพอมาสมัยนี้แล้วก็จะทำให้เห็นปัญหาผลกระทบต่างๆจากการถูกทำลายพื้นที่ป่าลงไปมากและยังได้รับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องของสภาพอากาศก็เปลี่ยนแปลงจากฝนที่เคยตกก็ไม่ตกทิ้งช่วงและสภาพพื้นดินก็เป็นดินด้าน ดินแข็ง ดินเค็มปลูกพืชอะไรก็ไม่ค่อยจะได้ผลผลิตตามที่ต้องการดังนั้นสิ่งที่อยากจะให้เกิดขึ้นมากๆคือเรื่องการปลูกป่าให้เป็นธรรมชาติที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมให้อุดมสมบูรณ์ต่อไปคิดอย่างไรบ้างกับกลุ่มต่างๆที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้คำตอบเป็นเรื่องที่ดีมากๆถ้าไม่มีกลุ่มเนี่ยมันจะอยู่ตัวใครตัวมันและการที่อยู่ตัวใครตัวมันเนี่ยบางทีจิตใต้สำนึกคนมันไม่เหมือนกันกับการรวมกลุ่มกันโดยจะสามารถร่วมกันพูดคุยกันได้ทำให้เกิดความเข้มแข็งมีความสามัคคีกันทั้งนั้นประโยชน์จากการรวมกลุ่มเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาทีดีกว่าดีกว่าการทำคนเดียว

รูปภาพกิจกรรมการปลูกต้นไม้

   

            เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้ประชุมวางแผนกิจกรรมและร่วมด้วยช่วยกันถอดบทเรียนสิ่งที่พบเจอจากการลงพื้นที่สำรวจแปลงโคกหนองนาทั้งหมด 11 แปลง ซึ่งเป็นเครือข่ายการทำโคกหนองนาในตำบลหนองโสน โดยมีแปลงต่างๆมีดังนี้

1.แปลงนายบุญลือ   นวลปักษี               2.นายจุล   ชื่นชู

3.นายมีชัย  หรบรรพ์                            4.นางสาวดนุลดา  ธรรมศิริ

5.นางสาวปรีดา  จรกระโทก                 6.นายอุทัย   งามแพง

7.นายสว่าง   อุดมดัน                         8.กำนันบุญทัน   ห้าวหาญ

9.นางเปรมวิภา  คนงาม                      10.นางจิตรนุช   โพหิรัญ

11.นายวงศกร    สุดาจันทร์

      ผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งข้อมูลในการถอดบทเรียนตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ทำการศึกษา 3 ด้านคือ ด้านเกษตร ด้านปศุสัตว์ และด้านประมง โดยแบ่งหัวข้อเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัญหาที่พบเจอและประโยชน์ของการทำโคกหนองนาในด้านนั้นๆมีดังนี้

1.ด้านเกษตร

ปัญหาที่พบ 1.สภาพดินหน้าดินแห้งดินไม่เก็บน้ำดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนหินกรวดไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก2.สภาพน้ำในสระมีสภาพน้ำขุ่นมัว

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.การแก้ไขปัญหาการปรับสภาพดินเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะกับการเพาะปลูกมากกว่าเดิม2.ระบบการจัดการพื้นที่ในการทำการเกษตรให้เหมาะสม

ประโยชน์ที่ได้รับ 1. เกิดการพึ่งพาตนเองในการมีผลผลิตไว้กินเองและทำให้เกิดรายได้ 2 เกิดการสร้างเครือข่ายของกลุ่มโคกหนองนาโมเดล 3 มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมากขึ้น

2.ด้านปศุสัตว์

ปัญหาที่พบ 1.การจัดการมูลสัตว์ในแต่ละพื้นที่ยังไม่ถูกสุขอนามัย 2.บางแปลงเจ้าของมีต้นทุนแต่ไม่มีเวลาในการดูแลบางแปลงมีเวลาการดูแลแต่ไม่มีต้นทุนในการทำ 3.ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้อาหารเพื่อที่จะลดต้นทุนหรือสามารถผลิตเองได้ในท้องถิ่น 2. ได้เรียนรู้ปัญหาของสัตว์แต่ละประเภท 3.ทำให้รู้ว่าแต่ละพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์หลายประเภท

ประโยชน์ที่ได้รับ 1.เพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน 2.นำมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยเพื่อบำรุงให้มีผลผลิตที่มากขึ้นแทนการใช้ปุ๋ยสารเคมี

3.ด้านประมง 

ปัญหาที่พบ บางพื้นที่มีน้ำขุ่นไม่มีปริมาณน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการทำการประมง

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.ได้รู้ชนิดพันธุ์ปลาต่างๆในการส่งเสริมอาชีพของชุมชน 2.ได้เรียนรู้วิธีบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เหมาะต่อการเลี้ยงปลา

ประโยชน์ที่ได้รับ 1.สร้างรายได้ให้กับตนเองและเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว 2. มีอาหารไว้ใช้สำหรับบริโภคโดยไม่ต้องซื้อและประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวแบบพอเพียง

รูปภาพกิจกรรมการสรุปกิจกรรม   

            การปฏิบัติงานของข้าพเจ้าในเดือนกันยายน 2564 ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มประชาชน ตำบลหนองโสน ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในพื้นและยังสนุกกับการลงพื้นที่ทุกๆครั้งในการลงแต่ละครั้งชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีในพื้นที่ตำบลหนองโสน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์จึงต้องป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด COVID-19 และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดของชุมชนอย่างเคร่งครัดทำให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

วีดิโอประจำเดือนกันยายน 2564

อื่นๆ

เมนู