ผม นายวิษณุ นวลปักษี ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)หลักสูตรเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล(HS02)

วันเสาร์ที่21 สิงหาคม พ.ศ.2564  เวลา 09.00  ลงพื้นที่ซ่อมปลูกต้นไม้ที่คลองบ้านโคกว่าน พร้อมกับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรโคกหนองนาโมเดล นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายยก อ.บ.ต. หนองโสน ,ท่านปลัด,กลุ่มนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ,ท่านพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย์ (พระอาจารย์ทองใส) ,ทีมผู้ปฏิบัติงาน ต.หนองโสน ,หนองยายพิมพ์ , หนองกง และชาวบ้านในชุมชนบ้านโคกว่าน  

– ปลูกตามพื้นที่แนวริมคลอง ต้นไม้ที่ปลูกก็ได้แก่ ต้นพะยูงและต้นยางนา  การปลูกเป็นไปอย่างรวดเร็วมากเนื่องจากมีการวางแผนจัดสรรค์กำลังคนเป็นอย่างดี ทั้งคนปักไม้ไผ่  ,คนขุดหลุม ,คนจัดวางต้นไม้ไว้ในหลุมและคนปลูก  การปลูกก็เสร็จสิ้นเวลาเที่ยงพอดี แล้วก็ได้มีการรับประทานอาหารร่วมกันด้วยการเว้นระยะห่าง  ส่วนอาหารก็เป็นอาหารรับประทานกันง่ายๆ มีข้าวเหนียวส้มตำและไก่ทอด ตักใส่ถ้วยโฟม

 

        ต้นพะยูง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายกับต้นประดู่ โดยมีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีลักษณะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา และล่อนเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลือง เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน มีแก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาดเล็กน้อย การขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันก็คือ การนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและนิยมกันมาก สำหรับวิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยการนำเหง้ามาปักชำ สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ต้นพะยูงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบขึ้นกระจัดกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าราบ ป่าโปร่ง และขึ้นประปรายทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-300 เมตร

สรรพคุณของพะยูง

  1. ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นหรือแก่นพะยูง นำมาผสมกับแก่นสนสามใบ แก่นขี้เหล็ก และแก่นแสมสาร ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง (เปลือกต้น, แก่น)
  2. รากใช้กินเป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม (ราก)
  3. เปลือกนำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้เป็นยาอมรักษาโรคปากเปื่อย ปากแตกระแหง (เปลือก)
  4. ยางสดใช้เป็นยาทาปาก รักษาโรคปากเปื่อย (ยางสด)
  5. ยางสดใช้ทาแก้เท้าเปื่อย (ยางสด)

 

วันอาทิตย์ที่12 กันยายน พ.ศ.2564  เวลา 09.00 น. ลงพื้นที่ ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง เพื่อวิเคราะห์วางแผนและถอดบทเรียนการลงพื้นที่สำรวจโคกหนองนาโมเดล  ทั้ง10แปลง   ที่เราได้ลงสำรวจเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา

หัวข้อการถอดบทเรียนก็มีดังนี้

1. สิ่งที่ได้รับจากการทำการเกษตร     2. ปัญหาจากการทำการเกษตร     3. ด้านปศุสัตว์      4.ด้านการประมง  

ในการถอดบทเรียนนั้น  เป็นการช่วยกันของผู้ปฏิบัติงานต.หนองโสนเพื่อมาวิเคราะห์ประโยชน์จากการทำเกษตร,ปัญหาและอุปสรรคในการทำ,และรายได้จากการทำโคกหนองนา เพื่อให้ทราบข้อมูลที่แท้จริงในการทำโคกหนองนาของเจ้าแปลง

ก็เป็นการแบ่งหัวข้อให้ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตกับนักศึกษาช่วยกันถอดบทเรียนด้านประโยชน์,รายได้และปัญหาการเกษตรกับประมง ส่วนทางด้านปศุสัตว์ก็เป็นผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนเป็นฝ่ายถอดบทเรียน เมื่อถอดบทเรียนเสร็จเราก็ได้รวบรวมความคิดเห็นของแต่ละคนมาวิเคราะห์กันอีกครั้งเพื่อให้ข้อมูลนั้นตกผลึก แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้นั้นมาเขียนลงใส่กระดาษบรู๊ฟ

 

จากนั้นก็ได้มีการมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานจับกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คนเพื่อไปสัมภาษณ์ข้อมูลเจ้าของแปลงโคกหนองนา  ข้อมูลเกี่ยวกับเลี้ยงสัตว์,เลี้ยงปลาและเพาะปลูกอะไรบ้างบ้างภายในโคกหนองนา

 

 

 

การลงพื้นที่ภายในเดือนกันยายนก็เป็นการลงพื้นที่ซ่อมปลูกป่าที่คลองบ้านโคกว่านและถอดบทเรียนจากการลงพื้นที่สำรวจแปลงโคกหนองนาโมเดลทั้ง10แปลง    ซึ่งได้เห็นถึงความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจความสามัคคีของชาวบ้านในชุมชน,คณะสงฆ์จากวัดหนองตาไก้ที่นำโดยท่านพระอาจารย์ทองใส,คณะอาจารย์ประจำหลักสูตร,กลุ่มนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ(นพต),อ.บ.ต.หนองโสน นำโดยนายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง,และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานทั้งสามหนอง หนองโสน/หนองกง/หนองยายพิมพ์ และยังได้เรียนรู้ขั้นตอนวิธีการปลูกต้นไม้จากการเข้าร่วมกิจกรรมซ่อมปลูกต้นไม้ในครั้งนี้อีกด้วย

 

 

อื่นๆ

เมนู