หลักสูตร : HS02 เกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล

 นางสาวอาภาศิริ  มาลา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

             กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ยังคงดำเนินการต่อไปเนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อยู่เรื่อยๆ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564 ทางผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลหนองโสน พร้อมทั้งท่านคณบดี อาจารย์ประจำหลักสูตรได้เข้าร่วมอบรมในโครงการ Health Care   ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน นอกจากผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ที่เข้าร่วมงานแล้วยังมี คุณหมอประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโสนและตัวแทนอสม.ทั้ง 12 หมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย ภายในกิจกรรมท่านนายกเกรียงศักดิ์  แผ้วพลสง นายกอบต.หนองโสนและปลัดกรุณา  สวัสดิ์สิงได้กล่าวเปิดงานและกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมงานจากนั้นคุณหมอได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโคิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ และได้พูดถึงการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 การสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง การล้างมือที่ถูกต้อง และยังมีการสาธิตการทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือโดยผู้ปฏิบัติงานก็ได้มีส่วนร่วมในการทำเจลแอลกอฮอล์ลา้งมือด้วย จากนั้นมีการเดินรณรงค์แจกเจลแอลกอฮอล์ที่ทำขึ้นให้กับชาวบ้านในระแวกใกล้เคียง

ภาพกิจกรรม Health Care

                  

โครงการโคกหนองนาโมเดลเป็นโครงการเกี่ยวกับการทำเกษตรแบบผสมผสานโดย โคก หนอง นา 3 คำนี้แบ่งได้เป็นดังนี้

โคก คือพื้นที่ที่สูง เหมาะสำหรับการปลูกไม้ยืนต้น พืชล้มลุก หรือผักสวนครัว

หนอง คือแหล่งน้า ในที่นี้มีการขุดคลองใส้ไก่และสระเป็นลูกๆ เพื่อเลี้ยงปลา เลี้ยงแหนแดง หรืออื่นๆและ

 นา คือพื้นที่ที่เอาไว้ปลูกข้าว 

        ซึ่งทั้งโคก หนอง และนานี้เป็นการบริหารจัดการ การทำเกษตรแบบผสมผสานทั้งสามอย่างให้อยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยการแบ่งเป็นขอบเขตให้เหมาะสม เพื่อแบ่งพื้นที่ปลูกตามแบบแผนและแบ่งขอบเขตในการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ  ในตำบลหนองโสนนี้เองมีโคกหนองนาที่ชาวบ้านเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 แปลงด้วยกัน ในวันที่ 25 และ28 มิถุนายน 2564 ผู้ปฏิบัติงานหนองโสนและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ลงพื้นที่ศึกษาแปลงโคกหนองนาโมเดลของชาวบ้านในตำบลหนองโสนร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยมี นายสมชิต  ไชยชาติ นักพัฒนาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ อ.นางรอง อาจารย์ดนัย สุริยวงศ์ศรี ประธานต้นแบบโคกหนองนา ตำบลหนองโสน นักพัฒนาพื้นที่ต.หนองโสน นักพัฒนาพื้นที่ต.บ้านสิงห์ และครัวเรือนต้นแบบที่ทำโคกหนองนาแปลงต่างๆ ร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี จำนวนทั้งหมด 7 แปลง ซึ่งทั้ง 7 แปลงนี้ดำเนินการไปเกิน50 เปอร์เซ็นแล้วและใช้พื้นที่ราวๆ3 ไร่เหมือนกัน ใช้สัดส่วน 1:1 ลักษณะคล้ายแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส  มีการขุดคลองใส้ไก่ ปลูกไม้ยืนต้นต่างๆเช่น ต้นพยูง ต้นสัก ตันยางนา ต้นมะฮอกกานี เป็นต้น พืชผักสวนครัวต่างๆ ในด้านของการประมงมีบางแปลงที่พร้อมในการเลี้ยงปลาแล้ว ปลาที่เลี้ยงเช่น ปลานิล ปลาทับทิม และในด้านปศุสัตว์ ก็ยังมีแค่บางแปลงที่สามารถใช้พื้นที่ในการเลี้ยงปศุสัตว์ได้ สัตว์ที่เลี้ยงก็ได้แก่ วัว  แปลงโคกหนองนาที่ทางผู้ปฏิบัติงานได้ไปลงพื้นที่ศึกษานั้น มีดังนี้

  1. แปลงนายบุญลือ นวลปักษี  บ้านบุคราม หมู่ที่ 11
  2. แปลงนายจุล ชื่นชู บ้านโคกว่านหมู่ที่1
  3. แปลงนายบุญมี หรบรรพ์ บ้านโคกว่านหมู่ที่1
  4. แปลงนางสาวดนุลดา ธรรมศิริ บ้านโคกสูง หมู่ที่ 4
  5. แปลงนางสาวปรีดา จรกระโทก บ้านโคกน้อยหมู่ที่ 10
  6. แปลงนายอุทัย งามแพง บ้านหนองโสน หมู่ที่ 5
  7. แปลงนายสว่าง อุดมดัน บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12

       กิจกรรมเอามื้อสามัคคีนี้ ก่อนเริ่มกิจกรรมมีการทำกิจกรรมย่อยก่อนเริ่มพิธีนั่นคือ เคารพธงชาติ สวดมนต์และล่าวคำขอปลูกต้นไม้ ซึ่งทางอ.ดนัย สุริยวงศรี ประธานโคกหนองนาต.หนองโสนบอกว่า เป็นสิ่งที่ต้องทำและผู้ที่เคยเข้าร่วมอบรมกับกรมพัฒนาพื้นที่หรือพช. ก็ได้ทำแบบนี้ทุกคน หลังจากพิธีเสร็จ  ผู้เข้าร่วมได้ช่วยกันปลูกไม้ยืนต้นต่างๆ เพื่อสร้างผืนป่าให้กับพื้นที่นั้นๆ หลังจากนั้นเดินสำรวจและศึกษาการทำโคกหนองนาจากกสอบถามเจ้าของแปลงเกือบทุกแปลงได้ทำให้ทราบว่า ตนชื่นชอบการปลูกต้นไม้ ชื่นชอบการใช้ชีวิตตามศาสตร์พระราชา การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงอยู่แล้ว เมื่อได้ยินว่าเขามีโครงการ จึงสนใจไปสมัคร ระยะเวลาในการทำโคกหนองนาของแต่ละท่านนั้นไม่เหมือนกันจะเห็นได้ว่าบางที่มีการขยับขยายด้านเรื่องปศุสัตว์  และมีการปลูกพันธ์ุไม้ที่เยอะและ ในขณะที่บางแปลงกำลังเริ่ม แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตจะมีการขยับขยายออกไปอีก และสิ่งที่ตนทำอยู่นี้หวังเพียงแค่ว่าอยากทำไว้เพื่อให้ลูกหลานในอนาคต

กิจกรรมเอามื้อสามามัคี โคกหนองนาโมเดล วันที่ 25 มิถุนายน 2564

                                   

ภาพกิจกรรม เอามื้อสามัคคี วันที่ 28 มิถุนายน 2564

                      

           

              วันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ดิฉันและทีมงานอีก1 คนได้ลงพื้นที่ไปยังบ้านจันดุม หมู่ที่ 2 ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามแบบฟอร์ม 06 คือแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่(Emerging infectious diseases) ของรอบเดือนกรกฎาคม โดยข้อมูลในแบบสำรวจอ้างอิงตามแนวทางปฏิบัติของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขมีทั้งหมด 4 ชุด คือ 

แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย

แบบสำรวจชุดที่ 2 สำหรับตลาด

แบบสำรวจที่ 3 สำหรับศาสนสถาน

แบบสำรวจที่ 4 สำหรับโรงเรียน   

       ซึ่งบ้านจันดุมเป็นหมู่บ้านที่ดิฉันได้รับผิดชอบ  ดิฉันและทีมงานได้เข้าไปสอบถามข้อมูลกับนางสวภาว์  ไชยสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้านจันดุม จากการสอบถามทราบว่า 

สำหรับที่พักอาศัย ดิฉันและทีมงานได้สำรวจไปทั้งหมด 40 หลัง ชาวบ้านแต่ละหลังคาเรือนมีการเฝ้าระวังคนในครอบครัว มีการป้องกันตนเองและสังเกตุตัวเองตลอดเวลาจากโรคที่กำบังแพร่ระบาดตอนนี้ นั่นคือโรคโควิด 19 และนอกจากนี้มีเป็นบางหลังที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากตกงานสืบเนื่องมาจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ด้วย ทางผู้นำชุมชนได้ให้คนที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงได้ทำการกักตัวและเฝ้าดูอาการเรียบร้อยแล้ว

สำหรับด้านศาสนสถาน บ้านจันดุมมีเพียงสำนักสงฆ์บ้านหนองจันดุม ซึ่งผู้ใหญ่บ้านบอกว่ายังไม่ได้ขึ้นทะเบียนว่าเป็นวัด แต่สถานที่แห่งนี้ก็เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวบ้าน เวลามีการทำพิธีทางศาสนาก็จะมีการปฏิติตามมาตราการการเฝ้าระวังโรคโควิด 19 และ

สำหรับด้านโรงเรียนและตลาด ทางบ้านจันดุมไม่มีข้อมูลสำหรับทั้งสองแห่ง 

           

                                    

จากการลงปฏิบัติงานในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องการป้องกันต้นเองจากโรคโควิด -19 และการทำเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาโมเดล  ต้องขอขอบพระคุณผู้ที่มาให้ข้อมูลทุกท่านและชาวบ้านที่ให้การต้อนรับผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี

วิดีโอการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม 2564

อื่นๆ

เมนู