ข้าพเจ้า นางสาวเบญญา นิยมเหมาะ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนา ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ลงพื้นที่งานประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ลงพื้นที่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล โคกหนองนาโมเดล เมื่อวันที่ 22 เดือนกันยายน พ.ศ.2564 เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดล ในพื้นที่โคกหนองนาโมเดลมีการพัฒนาไปถึงขั้นไหน สิ่งที่จะต้องไปเก็บคือข้อมูลเกี่ยวกับ ที่ตั้ง พื้นที่ โคก หนอง นา ระยะเวลาที่ทำโคกหนองนาโมเดล รายได้จากผลผลิตต่อเดือน และความรู้สึกที่ทำโคกหนองนาโมเดล และมีการเก็บภาพถ่ายภายในสวนที่มีการพัฒนาขึ้นมีผลผลิตต่างๆภายในโคกหนองนา วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2564 จะเป็นการเก็บข้อมูลแปลงของ (1) นายจุล ชื่นชู บ้านโคกว่าน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  (2) นายสว่าง อุดมดัน  บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล โคกหนองนาโมเดล เมื่อวันที่ 27 เดือนกันยายน พ.ศ.2564 เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดล ในพื้นที่โคกหนองนาโมเดลมีการพัฒนาไปถึงขั้นไหน สิ่งที่จะต้องไปเก็บคือข้อมูลเกี่ยวกับ ที่ตั้ง พื้นที่ โคก หนอง นา ระยะเวลาที่ทำโคกหนองนาโมเดล รายได้จากผลผลิตต่อเดือน และความรู้สึกที่ทำโคกหนองนาโมเดล และมีการเก็บภาพถ่ายภายในสวนที่มีการพัฒนาขึ้นมีผลผลิตต่างๆภายในโคกหนองนา วันที่ 27 เดือนกันยายน พ.ศ.2564 จะเป็นการเก็บข้อมูลแปลงของ (1) นายวงศกร สุดาจันทร์ บ้านห้วยพัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (2) นายบุญทัน ห้าวหาญ บ้านหนองม่วงพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

กรอกข้อมูลลูกจ้างโครงการ วันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2564 ชื่อ โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ (U2T)  มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T)

จัดเตรียมสถานที่ วันที่ 16 เดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โครงการ “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการจัดเตรียมสถานที่ เช่น ทำความสะอาดบริเวณในและนอกห้องประชุม จัดเตรียมโต๊ะลงทะเบียน จัดเตรียมเก้าอี้ และจับผ้าภายในสถานที่เพื่อความสวยงาม ติดตั้งป้ายกิจกรรม

เข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 17 เดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โครงการ “เสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี ผู้ร่วมเสวนา
(1) พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตะไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง
(2) นายเกรียงศักดิ์ แผ้วผลสง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน
(3) รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
(4) นายชมพู  อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
(5) นายสมชิต ไชยชาติ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองโสน
(6) นางสาวดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน เสวนาในหัวข้อเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล:ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal หลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” สู่ความยั่งยืนภายใต้วิถีชีวิต ในยุค New Normal โคก หนอง นา โมเดล คืออะไร

โคก หนอง นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ ซึ่งโคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
(1) โคก: พื้นที่สูง ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ / ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย / ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
(2) หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) / ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ / ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง / พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
(3) นา: พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็ก ๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน / ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา พอเสร็จกิจกรรมทางทีมตำบลหนองโสนได้มีการเก็บพื้นที่และเก็บอุปกรณ์ที่นำมาจัดโครงการในครั้งนี้ เช่น เก็บสถานที่ เก็บขยะบริเวณรอบๆ เก็บโต๊ะเก้าอี้ จัดเก็บป้ายนิทรรศการ ล้างจานชามและภาชนะที่ใส่อาหาร

กิจกรรมภายในเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ส่วนมากเป็นกิจกรรมการลงพื้นที่ส่วนมาก สิ่งที่ได้รับจากการลงพื้นที่ประสบการณ์ในการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดลตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ว่ามีการพัฒนาไปถึงไหนแล้วบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงระดับไหน โคกหนองนาโมเดลส่วนใหญ่ภายในตำบลหนองโสน ได้มีผลผลิตออกมารับประทาน ออกมาจำหน่ายได้บ้างแล้ว ทำให้ครัวเรือนมีรายได้ และได้นำผลผลิตมาบริโภคภายในครัวเรือน

 
 
 
 
 
           

อื่นๆ

เมนู