ข้าพเจ้า นางสาวเบญญา นิยมเหมาะ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนา ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ลงพื้นที่งานประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2564 ลงพื้นที่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมสร้างเว็บใช้ให้กับตำบลหนองโสนเพื่อนำเสนอ ของดี ของเด่น ภายในตำบล กิจกรรมสร้างเพจ เรียนรู้การทำเพจ คิดแบบนำเสนอการขายที่น่าดึงดูด ทดลองเผยแพร่สินค้าลงในเพจ และได้มีชื่อเพจว่า  “ของดีหนองโสน ที่นางรอง” โดยมี อาจารย์ ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคม และ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้และสอนทำเพจในครั้งนี้

วันที่ 3 เดือนธันวาคม พ.ศ.2564 ลงพื้นที่ ลงแขกดีข้าวนา นายสว่าง  อุดมดัน การตีข้าวแบบโบราณอีสานบ้านเฮา การนวดข้าว โบราณนั้นมักจะใช้วิธีการลงแขก ช่วยกันด้านแรงงานของชาวบ้าน ทำให้เกิดความรักความสามัคคีของชุมชน หนุ่ม-สาวในหมู่บ้านได้มีโอกาสพบปะกันในการมาช่วยงาน หนุ่มๆ มานวด (ตี) ข้าว สาวๆ มาช่วยกันพัดวีข้าวลีบออกจากลานนวด กวาดเศษฟาง และกวาดกองข้าวรวมกัน มีการเลี้ยงอาหารผู้มาช่วยงาน เมื่อนวดข้าวเสร็จก็จะได้เวลาฉลองกัน

ไม้หนีบ หรือ ไม้ค้อนตีข้าวไม้หนีบ หรือ เรียกแบบไทอุบลฯ ว่า ไม้ค้อนตีข้าว หรือเรียกภาษาโคราชว่า ไม่ตีหัวข้าว ทำด้วยไม้ขนาดกำถนัด (จะเป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ก็ได้) ยาวประมาณศอกครึ่ง 2 อัน ข้างหนึ่งยาวกว่าอีกข้างหนึ่งประมาณหนึ่งคืบ ผูกติดกันด้วยเชือกยาวประมาณหนึ่งคืบ ใช้สำหรับรัดฟ่อนข้าวเวลาตี

ในยุคปัจจุบันนี้หาดูภาพแบบนี้ยากแล้ว เพราะมีเครื่องจักรทุ่นแรงเข้ามาช่วยตั้งแต่การไถ ปักดำ เก็บเกี่ยว และสีข้าว วัว ควาย ก็เลี้ยงเพื่อขายเป็นอาหาร

วันที่ 4 เดือนธันวาคม พ.ศ.2564 เวลา 08.30 น. ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านโคกว่าน เป็นการประชุมแบ่งงานเรื่องทำหลักสูตรและพูดคุยเรื่องทำเพจของกลุ่มข้าวเม่า ของตำบลหนองโสน ได้แบ่งหน้าที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมโดยลงพื้นที่ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิตของแต่ละแปลงในโคกหนองนาโมเดล ว่ามีผลผลิตอะไรบ้าง ผลผลิตทางการเกษตร เช่น มะนาว ปลา ผักปลอดสาร เป็นต้น ที่จะมาจำหน่ายในเพจ และของดีของตำบลหนองโสน เพื่อเอาข้อมูลมาแพร่ในเพจ ลงพื้นที่เก็บข้อมูล CDB ผ่านทางแอพพลิเคชั่น การลงพื้นที่เก็บข้อมูล 10 หัวข้อ ได้แก่

(1) ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
(2) แหล่งท่องเที่ยว
(3) ที่พัก/โรงแรม
(4) ร้านอาหารในท้องถิ่น
(5) อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
(6) เกษตรกรในท้องถิ่น
(7) พืชในท้องถิ่น
(8) สัตว์ในท้องถิ่น
(9) ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(10) แหล่งน้ำในท้องถิ่น เป็นการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ภายในตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

สรุปของเดือนธันวาคม เดือนธันวาคมส่วนมากจะเป็นกิจกรรมการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ของดีของเด่น ประจำตำบลหนองโสน และลงพื้นที่โคกหนองนาโมเดลเพื่อสำรวจว่าในแต่ละแปลงมีผลผลิตที่สามารถจะจำหน่ายได้หรือไม่ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมนี้เพื่อนำมาเผยแพร่ลงในเพจของดีตำบลหนองโสนเพื่อให้คนภายนอกรู้จักของดีตำบลหนองโสนมากขึ้น และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

สรุปการทำโครงการโครงการโคกหนองนา ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ณ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตลอดระยะเวลาโครงการ สิ่งที่ได้จากการลงพื้นที่ทำโครงการ การพูดคุยมีมิตรสัมพันธ์กับประชาชนในตำบล ได้รู้บริบทชุมชน วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในตำบล ได้ความรู้เรื่องโคกหนองนาโมเดล และได้ลงพื้นที่ไปทำจริงๆ ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงตอนสุดท้ายจบโครงการ รวมไปถึงการทำงานเป็นทีมของตำบลหนองโสน ร่วมมือกันดีมากๆ ช่วยเหลือกันตลอด อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนหมอบหมายงานชัดเจนแต่ละกิจกรรมที่ต้องลงพื้นที่ดูแลทีมงานเป็นอย่างดี ให้คำปรึกษาได้ดีมากๆ

                    

อื่นๆ

เมนู