ข้าพเจ้า นางสาวเบญญา นิยมเหมาะ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนา ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ณ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ลงพื้นที่ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2564 ลงพื้นที่ ณ บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่เพื่อทำโคกหนองนาโมลเดล ณ บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่โคกหนองนาโมเดลของ นายสว่าง อุดมมะดัน (เจ้าของแปลงนา) มีพื้นที่จัดทำโคกหนองนาโมลเดล จำนวน 3 ไร่
โคกหนองนาโมเดล คือ การจัดการพื้นที่ให้เหมาะกับการเกษตรผสมผสานกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้เข้ากับภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ โคก-หนอง-นา-โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตนเองโดยมีมนุษย์เป็นคนส่งเสริมให้สำเร็จ โคกหนองนาโมเดล เป็นการทำเกษตรแบบจัดการพื้นที่ แบ่งเป็นสัดส่วน ซึ่งเป็นแนวทางทำการเกษตรอินทรีย์โดยมีองค์ประกอบดังนี้ -โคก = เป็นพื้นที่สูง จะมีดินขุดทำหนองน้ำ บนโคกปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 พืชผัก เลี้ยงสัตว์ ปลูกที่อยู่อาศัย
-หนอง = หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ จะมีการขุดหนองคลองไส้ไก่ และฝายทดน้ำ เป็นการขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็น มีการขุดคลองไส้ไก่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น และฝายทดน้ำเพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด
-นา = พื้นที่นานั้นปลูกข้าวอินทรีย์ คันนาจะมีลักษณะสูงและกว้าง เพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำยามน้ำท่วม คันนาสามารถปลูกพืชผักไว้กินได้อีกด้วย
วันที่ 11 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้นัดชงพื้นที่ โคกหนองนาโมเดลของ นายสว่าง อุดมมะดัน บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมลงพื้นที่ ทั้งหมด 3 ท่าน ได้แก่ (1) อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ (2) อาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์ (3) อาจารย์สมยงค์ โสมอินทรีย์ การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดกลุ่มผู้นำชุมชนและอสม. ตำบลหนองโสน ได้มีมาตรการตรวจอย่างเข้มงวด มีการวัดไข้ ใส่แมส ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันโควิด-19 ถ้าอาจารย์ประจำหลักสูตรจึงมีการแบ่งกลุ่มลงพื้นที่ ตามมาตรการ การป้องกันโควิด-19 ห้ามประชาชนชุมนุมเกิน 50 คน อาจารย์ประจำหลักสูตรจึงขอให้ แบ่งกลุ่ม นักศึกษา 3 ท่าน ประชาชน 3 ท่าน และบัณฑิตจบใหม่อีก 3 ท่าน เพื่อมาลงพื้นที่และเก็บข้อมูลโคกหนองนาโมเดลในครั้งนี้
จากการบรรยายของ นายสว่าง อุดมมะดัน (เจ้าของแปลงนาโคกหนองนาโมเดล) เล่าว่า ตนได้เข้าร่วมโครงการของกรมการพัฒนาชุมชน โครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ อีกครั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตตามทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล พี่สว่างได้เข้าร่วมโครงการโคกหนองนาโมเดลตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ที่เข้าโครงการโคกหนองนาโมเดลมีจำนวน 3 ไร่ หลังจากนั้นได้เข้าร่วมอบรมโคกหนองนาโมเดล ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นจำนวน 5 วัน 4 คืน การอบรมครั้งนี้อบรมทั้งทฤษฎีและลงมือปฏิบัติ ตามหลักสูตรโคกหนองนาโมเดล เพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง แรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการโคกหนองนาโมเดล เพราะพี่สว่างเป็นเกษตรกรทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาโดยตลอด ทำให้ต้นทุนสูงกว่ารายได้ พี่สว่างเลยหันมาเรียนรู้และคิดลงมือทำโคกหนองนาโมเดล เพื่อลดต้นทุนและได้ประโยชน์มากขึ้น ลงมือทำครั้งเดียวได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน พี่สว่างได้จัดเตรียมสถานที่และแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนเพื่อจะทำโคกหนองนาโมเดล ได้มีการวางแผนการใช้พื้นที่เป็นอย่างดีตามสูตรโครงการโคกหนองนาโมเดล เช่น การขุดสระ การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชพัก การทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ และการสร้างที่อยู่อาศัย ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงการโคกหนองนาโมเดล พี่สว่างกล่าวว่า นอกจากความมั่นคงทางด้านอาหารแล้วผลที่คาดว่าจะได้รับ คุณภาพชีวิตภายในครอบครัวดีขึ้นเดินสายกลางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมต่อไปเป็นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูล10 ข้อ(1) ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 (2) แหล่งท่องเที่ยว (3) ที่พัก/โรงแรม (4) ร้านอาหารในท้องถิ่น (5) อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น (6) เกษตรกรในท้องถิ่น (7) สัตว์ในท้องถิ่น (8) พืชในท้องถิ่น (9) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (10) แหล่งน้ำในท้องถิ่น พื้นที่ที่ได้รับผิดชอบคือ บ้านโคกตะโก ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ แผนงานที่ลงชุมชนในครั้งนี้ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นมีปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 จึงทำให้การลงชุมชนในครั้งนี้ยากลำบาก ทางเราได้ติดต่อไปยังผู้นำชุมชนผู้ใหญ่บ้าน ขออนุญาตในการลงพื้นที่ จึงได้รับความอนุเคราะห์จากผู้นำชุมชนการลงพื้นที่ในครั้งนี้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด การเก็บข้อมูลในครั้งนี้จึงผ่านพ้นไปด้วยดี