- ข้าพเจ้า นางสาวกาญจนา ธุระทำ สถานะเป็น นักศึกษา ปฏิบัติงาน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ. บุรีรัมย์
วันที่ 22 เมษายน ได้มีการนัดหมายประชุม โดยได้นัดหมายการประชุมกันที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน (อบต.หนองโสน) ในเวลา 09.30 น. ถึง 12.00 ประชุมเกี่ยวกับโครงการโคกหนองนาโมเดล ของต.หนองโสน อ.นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมดังนี้
1.ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2.อาจารย์ศุภกิจ
3.อาจารย์สมยงค์
4.อาจารย์ชมพู
5.นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกอบต.ป
6.ปลัดกรุณาสวัสดิ์สิงห์ ปลัด ต.หนองโสน
7.อาจารย์ดนัย ศรีสุริยวงศา ข้าราชการครูเกษียนและเป็นประธานต้นแบบโคกหนองนา ต.หนองโสน
ตัวแทนผู้ปฏิบัติงาน
โดยอาจารย์ให้ตัวแทนประจำกลุ่ม เข้าร่วมการประชุมจำนวนกลุ่มละ 2 คน เพราะกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ Covid-19 หากต้องให้สมาชิกทั้งหมดเข้าร่วมประชุมด้วยทั้งหมด
-การประชุม อาจารย์ประจำหลักสูตรได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการโคกหนองนา ให้นายกทราบ วัตถุประสงค์แบ่งเป็นดังนี้
สำรวจปัญหาและความต้องการส่งเสริมอาชีพเกษตร ผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 ด้าน
-ด้านเกษตรอินทรีย์ (ปลูกผักปลอดสารพิษ)
-ด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงไก่ เป็ด หมู ควายนม)
-ด้านประมง (การเลี้ยงหอย ปู ปลา)
แนวทางส่งเสริมอาชีพเกษตร ผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 ด้าน
– ด้านเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยจุลินทรีย์ ปุ๋ยคอก
-ด้านปศุสัตว์ การเลี้ยงไก่ เป็ด ควายนม
-ด้านประมง การขุดสระเลี้ยงหอย ปู ปลา
– นายกอบต.ได้ออกมาพูดถึงความยินดีที่ทางอาจารย์ประจำหลักสูตรได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการทำโคกหนองนา ต.หนองโสน และพูดถึงการเตียมหาตลาดกลางให้กับชาวบ้าน
– อาจารย์ดนัย ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับการทำโคกหนองนาในพื้นที่นาของตัวเองหลังจากเกษียณอายุ
-วันที่ 22 เมษายน 2564 ในช่วงบ่าย ประมาณ 13.00 คณบดี อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ไปดูตัวอย่างต้นแบบโคกหนองนาโมเดล ของ อาจารย์ ดนัย ศรีสุริยะวงศา ณ บ้านโสนน้อยพัฒนาอาจารย์ดนัย ได้สร้างบ้านอยู่กับภรรยา และปลูกพืชผัก ผลไม้ต่างๆในพื้นที่นาของตัวเองจำนวน 3 ไร่ ได้แก่ กล้วย ฝรั่ง มะม่วง ส่วนผักอื่น ๆ ก็มีจำพวก มะละกอ พริก บวบ และได้ขุดคลองไส้ไก่ล้อมรอบ มีเลี้ยงปลาตามธรรมชาติ เช่น ปลานิล ปลาทับทิบ ปลาช่อน เป็นต้น มีการขุดเจาะน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
-นอกจากนี้ยังมีการทำจุรินทรีย์สังเคราะห์แสงเพื่อให้ฉีดพ่นให้กับพืชเป็นการลดต้นทุนเเละยังปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย
-อาจารย์ได้พาเดินดูรอบ ๆ พื้นที่ ไปดูสวนฝรั่ง พร้อมกับให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถเก็บฝรั่งรับประทานได้เลยเพราะว่าไม่ได้ใช้สารเคมีเเต่ฝรั่งมีรสชาติที่ดีมากๆ
และในวันที่28 เมษายน อาจารย์เเอน ได้มีการนัดประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Google meet โดยได้มีการประชุมเพื่อบอกถึงเเผนปฏิติบัตในการลงพื้นที่และมีเเอปพิเคชั่นใหม่ที่สมาชิกจะต้องเก็บข้มูลเพิ่มเติมเเละบอกวิธีการเข้าใช้งานอย่างละเอียด
และในวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 กลุ่มปฏิบัติงานก็ได้ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อไปดูแปลงสาธิตโคกหนองนาโมเดล ซึ่งจะมีทั้งหมด10 แปลงด้วยกัน ในตอนนี้ได้เริ่มมีการขุดสระนํ้าเพื่อเตรียมที่จะปลูกพืชผักต่างๆ ในโครงการก็จะมีทั้งการ ปลูกพืชผัก เลี้ยงปลา สุกร เป็ด ไก่ หรือเเล้วเเต่ประสงค์ของแต่ล่ะท่าน..ในการสำรวจครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการไปดูถึงการว่างแผนเป็นความเป็นไปว่าได้มีการดำเนินงานไปถึงขั้นตอนไหน และจะทำอะไรต่อไปเพื่อที่จะเป็นการพัฒนาโครงการนี้ให้มีความมั่นคง และยั่งยืน
เเละยังมีการประชุมเพื่อปรึกษาเรื่องโครงการที่จะดำเนินต่อไป
โดยมีท่าน1. พระครูวิสุทธิ พัฒนาภิรมณ์
2 .ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
3.อาจารย์ชมพู
4. อาจารย์ศุภกิจ
.
5.นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกอบต.ป
6.ปลัดกรุณาสวัสดิ์สิงห์ ปลัด ต.หนองโสน
และในวันที่12 พฤษภาคม 2564 ได้มีการจัดผ้าป่าออนไลน์
งานผ้างานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ / อ.ยักษ์จับอ.โจน ช่วงเช้าปาฐกถาพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในโลกยุคปัจจุบัน โดย ท่านอาจารย์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์)โดยเนื้อหาตามที่ข้าพเจ้าสรุปได้ทั้งหมดนั้นมีดังนี้ ท่านอ.ยักษ์ได้เล่าถึงประสบการณ์ จากที่อดีตเคยถวายงาน ต่อในหลวงรัชกาลที่ ๙ และ รัชกาลที่ ๑๐ เเละท่านเคยดำรงตำแหน่งอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เล่าถึงการทำฝนหลวง แต่ก่อนนั้นภาคอิสานมีความแห้งแล้งกว่านี้มาก แต่ด้วยพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ ๙ นั้นท่านได้คิดโครงการ ฝนหลวง ขึ้นมานั่นคือการทำ”ฝนเทียม”เพื่อให้ฝนตกในช่วงหน้าเเล้ง ซึ่งปัจจัยสำคัญในการทำฝนหลวงนั้นคือ การทำเมฆ เมื่อมีเมฆมากก็จะมีในฝนมาก และไม่ใช่เท่านี้ในหลวงรัชกาลที่9 ยังมีโครงการอีกมากมายนับ 4000โครงการ และยังมีโครงการเเก้มลิงเพื่อป้องกันนํ้าท่วมอีกด้วย ซึ่งพระองค์ท่านคิดหาเเนวทางช่วยประชาชนให้อยู่ได้อย่างมีความผาสุขเสมอ แล้วท่านอ.ยักษ์ ก็พูดถึงการถึงความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงนั้นไม่ใช่การที่ให้คนเรานั้นอยู่อย่างอดอยาก แต่เป็นการอยู่ด้วยความพอดี ไม่ขาดไม่เกิน มีการกินที่พอดี เหลือก็เอาไปขาย หรือนำไปแบ่งปัน เเละมีการเงินที่พอดีไม่เกินตัวนี้คือความหมายจริงๆของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่การที่ต้องทำไร่ ทำนา อดออม ไม่ซื้อกิน อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ เพราะถ้าเราประหยัด แต่ไม่ทำหรือลดค่าใช้จ่าย นั้นไม่เรียกเศรษฐกิจพอเพียง..จบการปาฐกถาในช่วงเช้า
ช่วงบ่าย ปาฐกถาพิเศษ โดยท่านอาจารย์ โจน จันได ข้าพเจ้าสรุปได้นั้นมีดังนี้ ท่านอ.โจน พูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงอีกเช่นกัน แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง เเละ มีความเป็นปรัชญา มากกว่าในช่วงเช้าที่จะเน้นไปทางวิชาการเสียส่วนใหญ่ อ.โจนได้เกริน ถึงความจำเป็นความต้องการของคนในยุคปัจจุบัน คนในยุคปัจจุบันนั้นใชทรัพยากรนั้นสินเปลืองเกินไป จนจะทำให้ทรัพยากรนั้นเริ่มหมดไป เราจึงควรใช้ชีวิตควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรโดย ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง อย่างที่กล่าวนั้นพอเพียงนั้นคือ การ”พอดี” “พออยู่” “พอกิน” “พอใช้” อีกทั้งถ้ามีพืชส่วนไร่นา ไม่ควรทำการพืชเชิงเดี่ยวซึ่งจะเป็นผลเสียต่อดินด้วย เราควรปลูกพืชให้หลากหลายที่สุดด้วย คนเรานั้นขาดเเคลนอาหารนัก ขาดแครนที่ว่านี้ไม่ได้ขาดแคลนปริมาณของอาหารแต่ขาดแคลนชนิดของพืช ชนิดของสัตว์ คนเราในปัจจุบันนั้นกินไม่หลากหลายจนส่งผลเสียต่อร่างกาย คนในยุคนี้มอง”เงิน”ว่าคือทุกสิ่งในชีวิต จนลืมไปว่า”สุขภาพ”นั้นสำคัญมากกว่าเงินเสียด้วยซ้ำ ท่านอ.โจน เลยอยากให้คนรุ่นใหม่สนใจเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นสิ่งที่ทำได้จริง ไม่จำเป็นต้องทำไร่ ทำสวน อยู่ที่แบบไหนก็ทำได้ โดยใช้หลักคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง เท่านี้ชีวิตเราก็จะมีความสุข แบบ”พอดี” หากเรารู้จักพอเพียงมันก็จะเพียงพอจบการปาฐกถาพิเศษจากท่านอาจารย์โจน จันได …
.
และนอกจากนี้ ข้าพเจ้า เเละผู้ปฏิบัติงานยังได้มีการลงพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อเก็บข้อมูล 01 02 06 เเต่ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นข้อมูลชุด 02 ซึ่งได้มีการตกลงกันว่าจะเก็บเพิ่มเติมคนล่ะ 80 ชุด ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาด โควิด19 ซึ่งมีความสำคัญมากในช่วงนี้เพราะสถาณการ์ณปัจจุบันนับเป็นเฟรชที่3แล้ว และในรอบนี้มีการระบาดหนักกว่าทุกรอบที่ผ่านมา
เราจึงอยากจะทราบว่าประชาชนมีการปฏิบัติตนอย่างไร มีความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดนี้มากเพียงใด และทีการป้องกันดูดเเลตัวเองจากโรคโควิด19อย่างไร
และในเดือนเมษายนข้าพเจ้าได้เรียนเสริมทักษะครบทั้ง4วิชาแล้ว
1.ทักษะด้านดิจิทัล เรียนผ่านเว็บไซต์ Thai mooc
สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ ได้ความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับดิจิทัลที่ในสังคมปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ เช่นเรื่องการใช้สื่อออนไลน์
2.ทักษะด่านภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าอบรมผ่านเว็บไซต์
Thai mooc ในด้านนี้ได้รู้เกี่ยวกับไวยากรณ์ คำศัพท์ และยังมีบทสนทนาที่สนุกได้และได้ความรู้
3.ทักษะด้านสังคม ข้าพเจ้าได้อบรมผ่านเว็บไซต์ Thai mooc ในด้านนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับเเต่ล่ะสังคมที่เเตกต่างกัน แต่เราจะต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติภาพ
4.ทักษะด้านการเงิน ข้าพเจ้าอบรมผ่านเว็บไซต์ SET
ในด้านนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับหุ้นต่างๆ รวมถึงการวางเป็นลงทุนหลังเกษียณอายุ และเรื่องการลงทุนต่างๆอีกด้วย
ขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานครั้งนี้ทุกท่าน
ขอบคุณค่ะ..