ข้าพเจ้านาย.พงศกร สุมงคล (บัณฑิตจบใหม่) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564
วันที่ 22 เมษายน 2564 อาจารย์ได้ชี้แจงการนัดหมายประชุม โดยได้นัดหมายการประชุมกันที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน (อบต.หนองโสน) ในเวลา 09.30 น. ประชุมเกี่ยวกับโครงการโคกหนองนาโมเดล ของต.หนองโสน อ.นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมดังนี้ ประชุมและนัดหมายวางแผน เพื่อการลงพื้นที่เกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดลว่าตำบลหนองโสนมีพื้นที่เศรษฐีกิจพอเพียง ว่ามีกี่พื้นที่ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานประจำตำบลหนองโสน ได้ลงไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ที่จะได้พัฒนาต่อไปเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด19ที่ไม่สามารถลงพื้นที่ไปทั้งกลุ่มได้ก็เลยส่งตัวเเทนแต่ละกลุ่มกลุ่มละ2คน มีอยู่สามกลุ่ม ประชาชน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ การนัดหมาย มีอยู่สองช่วงเวลา
มีช่วงเช้ากับช่วงบ่าย
ตัวแทนที่ลงที่ผู้ปฎิบัติงาน สามกลุ่มมี ตัวแทน และประเภท
ประเภทบัณฑิตจบใหม่ 2 คน ได้แก่ นางสาวอาภาศิริ มาลา และนางสาวสุวนันท์ สีโกตะเพชร
ประเภทนักศึกษา 2 คน ได้แก่ นางสาวกาญจนา ธุระทำ และนายกฤษณพงษ์ แถวประโคน
ประเภทประชาชน 2 คน ได้แก่ นางสาวเบญจวรรณ ศรีพนม และนายนนทกร บ่อไทย
และมีคณะ อาจารย์ เข้ารวมการประชุมดังนี้
- ผศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- อาจารย์ศุภกิจ
- อาจารย์สมยงค์
- อาจารย์ชมพู
- นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกอบต.และปลัดกรุณา สวัสดิ์สิงห์ ปลัด ต.หนองโสน
- อาจารย์ดนัย ศรีสุริยวงศา ข้าราชการครูเกษียนและเป็นประธานต้นแบบโคกหนองนา ต.หนองโสน
7.ตัวแทนผู้ปฏิบัติงาน
ตอนเช้าก็ได้ทำการสำรวจ
1.ความต้องการส่งเสริมอาชีพเกษตร ผสมผสานเพื่อสร้างรายได้ครัวเรือนในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 ด้าน
-ด้านเกษตรอินทรีย์ (ปลูกผักปลอดสารพิษ)
-ด้านปศุสัตว์ (การเลี้ยงไก่ เป็ด หมู ควายนม)
-ด้านประมง (การเลี้ยงหอย ปู ปลา)
และช่วงบ่ายวันที่ 22 เมษายน 2564
ผู้ปฏิบัติงานได้ลงไปดูตัวอย่างต้นแบบโคกหนองนาโมเดล ของ อาจารย์ ดนัย ศรีสุริยะวงศา (อ.อู๊ด) ณ บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12 ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
และอาจารย์ 2 ท่านได้ไปดูต้นแบบ ที่ทำสำเร็จแล้วของจริง เป็นต้นแบบของชาวบ้าน และผู้ปฎิบัติงานที่ได้ลงพื้นที่ และปรับใช่วีถีชีวิตที่พอเพียง การเลี้ยงสัตว์ การปลูกผัก
สัตว์ในน้ำ จะได้มีกิน มีใช่ในแบบต้นแบบของตัวเอง
วันที่ 28 เมษายน 2564 อาจารย์และคณะประจำหลักสูตร์ได้แจ้งผู้ปฎิบัติงานสามกลุ่มประชาชน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ ประชุมผ่านช่องทางน ออนไลน์ผ่าน Google meet
ในกานลงเก็บข้อมูลผ่านแอปพลิเคชั่นและสอนวิธีใช่ต่างการใช่งานวิธีแก้ไขและเก็บข้อมูลมีทั้ง10ข้อมูล ที่ให้ประชุมและที่ลงให้เก็บข้อมูล ดังนี้ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พัก/โรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.เกษตรกรในท้องถิ่น 6.พืชในท้องถิ่น 7.สัตว์ในท้องถิ่น 8.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น เป็นต้นฯ
วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เก็บข้อมูลโคกหนองนา 10 แปลง แปลงที่ 2 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ ณ โคกหนองนาโมเดลของนายสว่าง อุดมมะดัน บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรควบคุมกำกับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ดังนี้ 1. อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ 2. อาจารย์ศุภกิจ ภูวงศ์ 3. อาจารย์สมยงค์ โสมอินทร์และมีตัวแทนผู้ปฎิบัติงานสามกลุ่ม กลุ่มละ3 คน ได้แก่ ประชาชน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่
ปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโควิด 19 อย่างเคร่งครัดเลยต้องส่งตัวแทนกันไปกลุ่มตัวแทนแต่ละ ได้แก่
ประเภท ประชาชน
ประชาชน
1.นางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง
2.นางสาววิลาวัลย์ โกเมน
3.นางสาวอำพร รัตนาธิวัด
ประเภท นักศึกษา
นักศึกษา
1.นายกฤษณพงษ์ แถวประโคน
2.นางสาวสิรภัทร ปักเขตานัง
3.นางสาวปลิตา กุลวิเศษ
ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ลงพื้นที่วันที่ 11 พ.ค. 64 บัณทิตจบใหม่
1. นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม
2.นางสาวเบญญา นิยมเหมาะ
3.นายวิษณุ นวลปักษี
จากการบรรยายของนายสว่าง อุดมมะดัน (เจ้าของแปลงนา) ต้องการให้มีการพัฒนาการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดยให้มนุษย์เป็นส่งเสริมแหล่งธรรมชาติ ความเป็นอยู่ของโคกหนองนาโมเดล ได้พัฒนาเกษตร ท้องถิ่น ชุมชน เกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ตามหลักแนวทางพระราชดำริปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้เข้างานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ภายในได้มีการพูดถึงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่หมู่บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน
ได้มีการบรรยาย ของอาจารย์ ยักษ์ กับ อาจารย์ โจน จันใด
ช่วงเช้า เป็นการบรรยาย อาจารย์ ยักษ์ ด้เข้าถึงชีวิตเกษตรกรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ แต่จู่ๆ ท่านก็ตัดสินใจลาออกจากราชการ ละทิ้งตำแหน่งเลขาธิการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการพิเศษฯ มาเริ่มต้นชีวิตทางการเกษตรจากระดับศูนย์ โดยอาศัยแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นตัวอย่างพิสูจน์และสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรได้เห็นว่าการทำกสิกรรมธรรมชาตินี้สามารถอยู่อย่างมั่งคั่งบนแนวทางที่พอเพียงได้จริงๆไม่ได้อยากเป็นชาวนา
คลอง ชอบป่า ชอบทุ่งนา ชอบเล่นน้ำในคลอง แต่เมื่อก่อนก็ไม่ได้อยากเป็นชาวนานะ อยากเป็นครู พ่อแม่ส่งมาเรียนในเมืองก็หวังให้จบเป็นเจ้าคนนายคน พอเรียนจบรัฐศาสตร์ก็ไปรับราชการ จนได้ตามเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เห็นพระองค์ท่านทรงทุ่มเทพระวรกาย กำลังทุนทรัพย์ และเวลาส่วนใหญ่ไปกับการพัฒนาค้นคว้าและทดลองสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช ทำนาข้าว ปรับปรุงดินและน้ำ ปลูกป่า ปลูกพืชสมุนไพร วิจัยเรื่องพลังงาน และเทคโนโลยีอีกมากมายที่ทรงลงมือปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ท่านบอกว่าบรรพบุรุษเรารู้ว่าตรงไหนควรทำอะไรไม่ควรทำอะไร นั่นคือทำตามฤดูกาล และไม่ได้อยากให้เราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก ไม่ได้อยากให้รวยแบบนั้นเพราะมันไม่มีความสุข แต่อยากให้พัฒนาแบบอะลุ่มอล่วย โดยใช้หลักเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง หยุดพึ่งพาชาติตะวันตก แต่หันกลับมาใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้านที่เคยสืบทอดมาเป็นเกษตรยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทยแต่พูดในฐานะข้าราชการก็ไม่มีชาวบ้านที่ไหนใครเชื่อหรอก เขาเห็นเรามีเงินเดือนอยู่สบาย จะพูดอะไรก็ได้ เขาท้าให้ผมมาพิสูจน์ ถ้าจะสอนคนอื่นสร้างป่าเราก็ต้องสร้างป่าให้ได้ก่อน ก็เลยตัดสินใจลาออก ตอนแรกใช้ที่ดินร้างกว่า 40 ไร่ของพี่ชายมาทดลองทำ เริ่มด้วยการฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมจากการปลูกมันสำปะหลังและปลูกอ้อย ทำให้ดินเก็บน้ำได้ แล้วปลูกต้นไม้ใหญ่ก่อนเลยเพื่อสร้างความเป็นป่า ให้ใบไม้ตกลงมาเป็นปุ๋ยทำให้ดินสมบูรณ์ สร้างระบบนิเวศด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง คือ หนึ่งกินได้ สองใช้งานได้ สามสร้างที่อยู่อาศัยได้ เพื่อจะได้ประโยชน์ 4 อย่างคือ กินได้ ใช้งานได้ อาศัยได้ และให้ความร่มเย็น แล้วค่อยเลี้ยงปลา กบ และไก่ไว้ในป่าที่เราปลูกนั่นแหละ น้อมนำวิธีของพระองค์ท่านไปทำ จนสามารถตั้งที่นี่เป็นศูนย์ฝึกอบรมกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องเพื่อเผยแพร่แนวคิดและเทคโนโลยีชีวภาพให้เกษตรกรที่สนใจ”
เริ่มทดลองจากพื้นที่ 3 ไร่ ขยายเป็น 5 ไร่ และกลายเป็นร้อยไร่ โดยเปลี่ยนเล้าหมูให้เป็นห้องเรียนสำหรับอบรมแบบ Active Learning ซึ่งอาจารย์ยักษ์ย้ำถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีจิตวิญญาณ ด้วยการเริ่มจากความเข้าใจและท่องให้ได้เหมือนศีลห้าที่เราคุ้นเคย แล้วจึงแปลงทฤษฎีที่ท่องนี้ไปปฏิบัติด้วยความอดทน ไม่ข้ามขั้นตอน มีคุณธรรมต่อการทำงาน และเมื่อได้ลงมือทำก็จะพบนวัตกรรม ความรู้ และทักษะใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ สุดท้ายคือใช้แนวทางบริหารแบบคนจนที่ไม่ลงทุนมากจนเกินตัว โดยอาจารย์ยังได้แปลงเป็นทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียงไว้ว่า
“เราต้องเริ่มจากเศรษฐกิจ 4 พอ เป็นขั้นพื้นฐานก่อน คือ พอกิน พอใช้ พออยู่ และพอร่มเย็น แล้วถึงขึ้นไปขั้นที่ 5 สู่การทำบุญทำทาน กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ครูบาอาจารย์ ขั้นที่ 6 แม้ไม่ใช่ครูก็แบ่งปันและให้ทานได้ ขั้นที่ 7 ใช้ภูมิปัญญานำสิ่งที่เหลือใช้ไปแปรรูปสำหรับไว้ใช้ยามจำเป็น อย่างป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่างก็สามารถแปรรูปเก็บรักษาได้ ขั้นที่ 8 พอรู้จักเก็บได้ก็ไม่ต้องซื้อ เราจึงนำไปค้าขายต่อได้ และสุดท้ายขั้นที่ 9 พอร่ำรวยเราก็บอกต่อเป็นเครือข่ายบุญ ทำเงินไปใช้อย่างสร้างสรรค์ หรือสร้างมูลนิธิเพื่อสอนคนอื่นต่อไปอีก ผมเชื่อว่าทุกอาชีพสามารถแปลงปรัชญาพอเพียงเป็นบันไดขั้นต่างๆ ของการเติบโตไปในแนวทางของตัวเองได้ แม้แต่การปรับไปใช้กับชีวิตในเมืองด้วยรูปแบบสวนแนวตั้งก็เช่นเดียวกัน”
ช่วงบ่าย เป็นการบรรยาย ของ อาจารย์ โจน จันใด
เพราะมันอยู่คนละฝั่งและเป็นอุปสรรคมาก เนื่องจากพอคนรักกันก็จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประกันชีวิตจะขายไม่ได้ หรือโรงพยาบาลก็อาจหดหู่ลงเพราะทุกคนห่วงใยดูแลเอาใจใส่กันมากขึ้น ส่วนความสุขนั้นมีผลให้คนบริโภคน้อยใช้น้อย ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไม่โต GDP ไม่พุ่ง
ดังนั้น จะเห็นว่านักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายจึงพยายามที่จะเปลี่ยนวิธีคิดของคนใหม่ ด้วยการบอกว่าถ้าคนบริโภคน้อยแสดงว่าคนไม่มีความสุข แต่ถ้าคนใช้จ่ายกันเยอะนั่นหมายความว่าคนส่วนใหญ่กำลังมีความสุข ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันตรงกันข้าม ใช่ไหม เพราะถ้าคนจ่ายเงินมากมันสะท้อนให้เห็นว่าจะต้องมีความทุกข์มากขึ้น ทำงานหนักขึ้น เครียดมากขึ้น ส่งผลให้สุขภาพแย่ลง หรือแม้กระทั่งครอบครัวอาจแตกสลายเพิ่มขึ้น
จริงๆ แล้วผมเป็นคนที่ไม่มีมุมมองต่อความสุข ไม่สนใจทั้งสุขและทุกข์ เพราะมันคือสิ่งเดียวกัน เพียงแต่คนละด้านเหมือนเหรียญ ด้านหนึ่งเป็นสุข อีกด้านหนึ่งจึงเป็นทุกข์ ต้องการหรือไม่ต้องการมันก็มา เดี๋ยวเดียวก็สุข อีกสักพักทุกข์ มาๆ ไปๆ อยู่อย่างนี้ ผมจึงไม่เคยแสวงหาความสุขเลย แต่แสวงหาความเข้าใจเป็นหลัก โดยเฉพาะเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง นี่คือสิ่งสำคัญสูงสุดที่ผมทุ่มเท
วันที่ 12พฤษภาคม 2564 ช่วงเช้า ไฟที่ดับ ก็เลยลงไปเก็บข้อมูล และสอบถาม พิกัด10หัวข้อ ได้แก่ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พัก/โรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.เกษตรกรในท้องถิ่น 6.พืชในท้องถิ่น 7.สัตว์ในท้องถิ่น 8.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น เป็นต้นฯ
วันที่13พฤษภาคม 2564 ได้ลงไปเก็บข้อมูล แลละสอบถาม พิกัด เพิ่มเติม 10 หัวข้อ ได้แก่ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พัก/โรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.เกษตรกรในท้องถิ่น 6.พืชในท้องถิ่น 7.สัตว์ในท้องถิ่น 8.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น เป็นต้นฯ