ข้าพเจ้านางสาวอำพร รัตนาธิวัด ประเภทประชาชน หลักสูตรโคกหนองนาโมเดล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาลัย ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 28 เมษายน 2564 ข้าพเจ้าอาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานได้ประชุมออนไลน์เกี่ยวกับการลงพื้นที่ ในเดือนพฤษภาคม โดยผ่านระบบ u2t โดยแผนปฏิบัติงานจะมีอยู่ 10 หัวข้อ ได้แก่ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พักโรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6.เกษตรกรในท้องถิ่น 7.พืชในท้องถิ่น 8.สัตว์ในท้องถิ่น 9.ถูมิปัญญาท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น และเก็บข้อมูล 01 02 เพิ่มเติม เพื่อได้นำข้อมูลมาลงในแอปพลิเคชั่น u2t อาจารย์ประชุมเสร็จ ก็ได้นัดหมายแบ่งกลุ่มกันเพื่อที่จะได้ลงเก็บข้อมูลในวันต่อมา
วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 อาจารย์นัดให้ผู้ปฏิบัติงานส่งตัวแทนมากลุ่มละ 3 คน เพราะมากันทั้งหมดทุกคนไม่ได้ช่วงนี้โรคโควิดกำลังระบาด ขึ้นเรื่อยๆ พอมาถึงพื้นที่โคกหนองนาในหมู่บ้านโสนน้อยพัฒนา ของลุงสว่าง อุดมดัน อสม. ประจำหมู่บ้าน วัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ให้ครบทุกคนที่มาร่วมงานเสร็จแล้วทางคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานก็ได้ลงไปสำรวจพื้นที่ โดยมีลุงสว่างเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ลุงสว่างบอกว่าบริเวณนี้มีทั้งหมด 3 ไร่ในการทำโคกหนองนา แปลงที่ 1จะขุดเหมือนคลองไส้ไก่ คือการขุดล่องน้ำในที่ดินให้เป็นเหมือนหลุมขนมครกเพื่อเก็บน้ำ และกระจายความชุ่มชื้นให้ไปทั่วบริเวณที่เราทำการเพาะปลูก จึงทำให้พื้นดิน เกิดความชุ่มชื้นขึ้น แปลงที่2ได้ขุดสระความลึก 4 เมตร 50ทำเป็นสามพักเพื่อจะไม่ให้ดินที่ไหลจากด้านบนลงไปกองรวมกันที่ก้นสระในช่วงเวลาฝนตก ในสระก็จะเลี้ยงปลาน้ำลึก เช่น ปลาสวาย ปลาบึก ส่วนบริเวณรอบๆ ลุงก็จะปลูกต้นไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางนา ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแดง แปลงที่3 จะสร้างเป็นที่อยู่อาศัย
เวลา 10.00 น. อาจารย์ชมพูเชิญอาจารย์ดนัย สุริยวงศ์ศรี เป็นวิทยากรบรรยายโคกหนองนาโมเดลให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับฟัง อาจารย์ดนัยเล่าว่าการทำโคกหนองนาเป็นการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยจะเน้นเป็นเกษตรอินทรีย์มากกว่าใช้สารเคมี ซึ่งเป็นแนวทางที่จะสร้างชีวิตอย่างยั่งยืน และมีองค์ประกอบคือ โคกจะเป็นพื้นที่สูงดินที่ขุดก็นำมาทำโคก บนโคกก็จะปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น อาจารย์ดนัยพูดว่าถ้าเหลือจากการไว้กิน ภายในครัวเรือน เราก็สามารถนำไปขายได้อีก ทำให้ครอบครัวมีรายรับได้อีกทาง
เวลา 11.00 น. ลุงสว่างก็ได้พาเดินชมสวนและบรรยายการทำเกษตรในสวนจะมีต้นมะนาวแป้น ประมาณ 30 ต้น เป็นการปลูกแบบในบ่อซีเมนต์ โดยต้นมะนาวจะมีอายุเพียง 8 เดือน แต่ลุงสว่างจะบังคับให้ มะนาวออกในฤดูแล้ง โดยใช้ฝาท่อซีเมนต์รองข้างล่าง แล้วเอวงบ่อซีเมนต์วางข้างบน ซึ่งจะใช้หลักเดียวกัน กับการปลูกลงดิน คือคลุมพลาสติกให้กับต้นมะนาว ในช่วงเดือนกันยายน มะนาวจะได้ออกดอกในเดือนตุลาคม ผลผลิตก็จะได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวแพงที่สุด และสามารถเก็บผลผลิตในช่วงฤดูแล้งทำให้พ่อค้าแม่ค้า มารับมะนาวถึงสวน บางครั้งได้ลูกละ 10 บาท บางครั้งได้ 3 บาท และทำให้ลุงสว่างมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกในสวนก็ยังมีกล้วยน้ำว้า พริก มะละกอ มะเขือเปราะ ตะไคร้ ขิง ข่า และลุงยังทำน้ำหมักที่ทำจากมะนาวไว้รดผักได้อีกด้วย และยังมีสระเลี้ยงปลา มีปลานิล ปลาบ้า ปลาดุก และปลาตะเพียน หลังจากนั้นได้ร่วมรับประทานอาหารและแยกย้ายกันกลับบ้าน
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ร่วมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ รอบเช้าโดยท่านดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือดร.ยักษ์ ได้กล่าวว่า ความเจริญ.ของประเทศต้องวัดที่ศีลธรรม วัดที่น้ำใจ วัดที่อาหารที่อุดมสมบูรณ์ วัดที่คนมีความเสียสละ และยังมีเรื่องเศรษฐกิจในความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ความพอเพียง มีหลายวิธีเราต้องมีชีวิตที่พอทุกอย่าง มีอาหารการกินที่พอ มีที่อยู่ที่พอ ดร.ยักษ์ยังบอกวิธีการทำคันนาให้เอาขี้ควายไปย่ำ เพื่อไม่ให้คันนาพัง คือเอาขี้ควายสดๆไปเทใส่ถัง แล้วก็ย่ำๆ ไปเทในคันนา การนวดข้าวก็เอาขี้ควายไปราดพื้นเกลี่ยบริเวณให้แห้งแทนพื้นซีเมนต์ไว้สำหรับตีข้าว ของคนในสมัยก่อนแบบพึ่งพาตนเองโดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยี
รอบบ่ายบรรยายโดยอาจารย์ โจน จันได กล่าวว่า คำว่าพอเพียงคือการกลับไปสู่ การพึ่งตนเองจะมีปัจจัย 4 1.อาหาร 2.ที่อยู่อาศัย 3.เครื่องนุ่งห่ม 4.ยารักษาโรค อาจารย์ยังพูดว่า หญ้าไม่ใช่ศัตรูของพืช แต่หญ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อพืช โดยคนชอบคิดไปแบบนั้นว่าหญ้าเป็นศัตรูของพืช เวลาเราตัดก็ไม่ต้องเอาไปเผาทิ้งไว้ให้มันย่อยสลายเองได้ ในการทำเกษตรเพื่อเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นไม้ ผัก และข้าว โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้าอีกต่อไป
วันที่ 13-14 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้สำรวจข้อมูลผ่านระบบแอปพลิเคชั่น u2t มีทั้งหมด 10 หัวข้อ คือ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พักโรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6.เกษตรกรในท้องถิ่น 7.พืชในท้องถิ่น 8.สัตว์ในท้องถิ่น 9.ถูมิปัญญาท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น และเก็บข้อมูล 01 02 เพิ่มเติม เพื่อได้นำข้อมูลมาลงในแอปพลิเคชั่น u2t หมู่บ้านที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ คือ บ้านระนามพลวง บ้านโคกน้อย และบ้านโคกสูง และได้ประสานงานไปยังผู้ใหญ่บ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน ขออนุญาตลงพื้นที่ เพราะช่วงนี้โควิด 19 ระบาดเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องระมัดระวังกันมากขึ้น แต่ผู้ปฏิบัติงานใส่แมส เว้นระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เรื่อยๆ ทำให้การลงพื้นที่ครั้งนี้ค่อนข้างลำบาก และชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี