หลักสูตร: HS02 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน มิถุนายน 2564
วันศุกร์ที่21 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เวลา 19.00 น.ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ผ่าน google meet กับทางคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร เรื่องCovid week ก้าวต่อไปสู้Covid ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมเชิงรุก แบ่งออกเป็น 3 Step มีดังนี้
Step 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด “กิจกรรมการทำความสะอาดพื้นที่”
Step 2 สร้าง Safe zone เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด “การเตรียมความพร้อม”
Step 3 จัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อม กับสถานการณ์โควิด-19 “จัดหาและบริหารจัดการอุปกรณ์”
ซึ่งได้มีการแบ่งกลุ่มรับผมชอบดังนี้ Step 1 บัณฑิตจบใหม่ Step 2 นักศึกษา Step 3 ประชาชน
โดยStep ข้าพเจ้าได้รับนั้นคือ Step 2 สร้าง Safe zone เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด เป็นการลงพื้นที่นำป้ายไปติดตามแหล่งชุมชน ที่ผู้คนพบเห็นได้สะดวง เพื่อให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจเรียวกับปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 เป็นการสร้าง Safe zone เขตปลอดภัยห่างไกลโควิด
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2564 ทางคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดลงพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมในการขุดหลุมไว้เตรียมปลูกต้นไม้ในโครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา ที่โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
26 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าในโครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา โดยมีผู้ปฏิบัติงานจำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย พิธีจัดงานตอนเช้าก็มีนายอำเภอนางรอง นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศเป็นประธานเปิดงานในพิธีและได้ปลูกต้นสักเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และตอนบ่ายก็ร่วมงานปลูกป่าในพื้นที่ 22ไร่ และได้ปลูกต้นไม้หลายชนิดได้แก่ ต้นสัก ต้นยางนา ต้นพยูง ต้นกล้วย ต้นสะเดา ต้นไผ่ ต้นมะม่วง เป็นต้น
26 พฤษภาคม 2564 หลังจากเสร็จกิจกรรมปลูกป่า ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานประเภทกลุ่มนักศึกษา ได้ลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานStep 2 สร้าง Safe zone เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิดทำเป็นป้ายไวนิลเพื่อเผยแพร่มาตรการในการใช้สถานที่ต่างๆในพื้นที่ตำบลหนองโสน เพื่อให้คนในพื้นที่ได้พบเห็นและได้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาโควิด 19 โดยเริ่มจากการเข้าไปขออนุญาตกับทางผู้นำหมู่บ้าน ว่าสามารถเข้าไปติดตั้งตรงไหนได้บ้าง เพื่อให้ชาวบ้านพบเห็นได้อย่างทั่วถึง
วันที่4-5 มิถุนายน พ.ศ.2564 ได้พื้นที่ต.หนองโสน ได้การเก็บข้อมูลการเกษตร ตามแบบฟอร์ม 01,02 และ แอพพลิเคชั่น U2T ในหัวข้อ 10 หัวข้อ ได้แก่ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก/โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น ข้าพเจ้าได้ประสานงานติดต่อลงพื้นที่กับผู้ใหญ่บ้านของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อเข้าไปขอเก็บข้อมูล ซึ่งการเก็บข้อมูลเป็นไปย่างราบรื่น ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี