ข้าพเจ้า นางสาวเบญญา นิยมเหมาะ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : เกษตรผสมผสานในรูปแบบโครงการโคกหนองนา ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ณ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ลงพื้นที่งานประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564 ลงพื้นที่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กิจกรรมอบรม Health Cear รณรงค์การป้องกันโควิด-19 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ช่วงเช้า จะเป็นการเปิดเวทีอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันของตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีการล้างมือ และให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 ช่วงต่อไปจะเป็นการทำเจลแอลกอฮอล์และสเปรย์แอลกอฮอล์ เพื่อแจกให้กับประชาชนในตำบลหนองโสน วิธีการทําเจลแอลกอฮอล์ และสเปรย์แอลกอฮอล์
-เจลแอลกอฮอล์ มีส่วนประกอบดังนี้ อุปกรณ์ (1) เอทิลแอลกอฮอล์ 95% (2) น้ำสะอาด (3) กลีเซอรีน (4) คาร์โบพอล (5) ด่างไตรเอทาโนลามีน วิธีทำ (1) เทน้ำสะอาดลงในภาชนะผสม แล้วค่อย ๆ โรยผงคาร์โบพอลลงไปละลายในน้ำทีละน้อย จนหมด (2) เทกลีเซอรีนลงไปผสม คนให้เข้ากัน (3) เติมแอลกอฮอล์ลงไปผสมจนเป็นเนื้อเดียวกัน (4) เติมด่างไตรเอทาโนลามีนเพื่อปรับความหนืดของเนื้อเจล โดยค่อย ๆ คนส่วนผสมทุกอย่างอย่างช้า ๆ จนเข้ากันดี 5. บรรจุแอลกอฮอล์เจลลงในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท แล้วนำไปใช้ได้ทันที
-สเปรย์แอลกอฮอล์ มีส่วนประกอบดังนี้ แอลกอฮอล์ 70% กลีเซอรีน วิธีทำ นำแอลกอฮอล์ 70% ผสมกับ กลีเซอรีน พร้อมเขย่าเบา ๆ สลับไปมาจนส่วนผสมเข้ากันดี จากนั้นเทใส่ขวดสเปรย์แบบพกพา การใช้กลีเซอรีนมาผสมด้วย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับมือ ไม่ให้คะคายเคืองหรือแห้งเกินไปเพราะไม่ควรใช้แอลกอฮอล์อย่างเดียวสำหรับฉีดบนมือ ช่วงบ่ายโมง ได้มีการเดินรณรงค์ เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 แนะนำเจลแอลกอฮอล์และสเปรย์แอลกอฮอล์ไปแจกจ่ายไปแจกจ่ายให้กับคนในชุมชน
ลงพื้นที่ปลูกต้นไม้โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ บริหารจัดการพื้นที่ การบริหารพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่รู้จักกันในชื่อว่า “ โคก หนอง นาโมเดล ” ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งพื้นที่เล็กหรือใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาข้อมูลและทรงพบว่า เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ครอบครองพื้นที่โดยเฉลี่ยครอบครัวละ 10 – 15 ไร่ จึงทรงแนะนำให้จัดสรรโดยมีเป้าหมายว่า ต้องทำให้เรามีข้าวปลาอาหารพอกินตลอดปี เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและมีรายได้เหลือพอสำหรับจับจ่ายใช้สอยในเรื่องจำเป็น โดยใช้อัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 เป็นเกณฑ์ปรับใช้ ตัวอย่างเช่นพื้นที่ส่วนแรก 30 เปอร์เซ็นต์ใช้สำหรับขุดสระน้ำ เพื่อเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำที่กินหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ รอบ ๆ ขอบสระปลูกไม้ต้นที่ไม่ใช้น้ำมาก และสร้างเล้าไก่บนสระ พื้นที่ส่วนที่สอง 30 เปอร์เซ็นต์ใช้สำหรับทำนา พื้นที่ส่วนที่สาม 30 เปอร์เซ็นต์ใช้ปลูกไม้ผล ไม้ต้น หรือไม้ที่ใช้สอยในครัวเรือน ใช้สร้างบ้านเรือน ทำอุปกรณ์การเกษตร หรือใช้เป็นฟืน พื้นที่ที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นที่อยู่อาศัย ทางเดินคันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ย หมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ หรือปลูกผักสวนครัว สมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง บันไดสู่ 4 พ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ การปลูกพืชที่นำมาใช้เป็นอาหาร เป็นที่อยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ไม้สอยและเป็นร่มเงา ประกอบด้วยพรรณไม้หลากหลายชนิดสามารถจำแนกตามความสูงเป็น 5 ระดับ คือ 1. ไม้สูง เป็นไม้เรือนยอดสูงและมีอายุยืน เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง ฯลฯ 2. ไม้กลาง เป็นไม้ต้นที่สูงไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ ฯลฯ 3. ไม้เตี้ย เป็นไม้พุ่มเตี้ยที่อยู่ใต้ไม้สูงและไม้กลาง เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ผักหวานบ้าน ติ้ว เหรียง ฯลฯ 4. ไม้เรี่ยดิน เป็นไม้เลื้อยชนิดต่าง ๆ เช่น พริกไทย รางจืด ฯลฯ 5. ไม้หัวใต้ดิน เช่น ขิง ข่า มันมือเสือ บุก กวาวเครือ ฯลฯ วิธีปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 1. นำไม้เบิกนำที่โตเร็ว เช่น สะเดา มะรุม แค ไม้ผล กล้วย อ้อย และพืชผักอายุสั้นมาปลูกก่อน เพื่อสร้างแหล่งอาหารให้ครอบครัว 2. หลังจากนั้น 1 – 2 ปี เริ่มปลูกไม้ที่ใช้ก่อสร้างที่อยู่ อาศัย เมื่อเติบโตจนให้ร่มเงากับพื้นที่จึงเริ่มปลูกพืชสมุนไพร 3. สำหรับพื้นที่ทำนา ควรมีขนาดเหมาะสมและปลูกข้าวได้เพียงพอสำหรับบริโภคในครัวเรือนโดยไม่ต้องซื้อ 4. ขุดบ่อน้ำและร่องน้ำเล็กให้เชื่อมต่อกับบ่อขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นกับพื้นดินและต้นไม้ ทั้งยังใช้เลี้ยงปลาไว้เป็นอาหาร 5. ปลูกต้นไม้ให้หลากหลายที่ใช้ประโยชน์ได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว หลังจากปลูกป่า 3 อย่างสำเร็จแล้ว ก็จะสามารถนำพืชเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ 4 ประการ คือ หนึ่ง ใช้เป็นอาหารเครื่องดื่ม สมุนไพร และเป็นขนม สอง ใช้ทำที่อยู่อาศัยใช้ทำพื้นบ้าน ฝาบ้าน เสาเรือน สาม ปลูกไว้ใช้สอยอื่นๆ เช่น ทำฟืน เผาถ่าน ทำปุ๋ย สารไล่แมลง ทำเครื่องมือเครื่องใช้หัตถกรรม ใช้ทำสีย้อม และน้ำยาซักล้าง และสุดท้ายคือให้ร่มเงาและความร่มเย็นแก่บ้านและสภาพแวดล้อมประโยชน์ทั้งสี่ประการนี้ก็จะนำพาเรามาสู่ “4 พ” เป็นพื้นฐาน นั่นคือ พอกิน พออยู่ พอใช้ พอ ลงพื้นที่แปลงโคกหนองนาโมเดลของ ( 1) นายบุญลือ นวลปักษี บ้านบุคราม หมู่ที่ 11 (2) นายจุล ชื่นชู บ้านโคกว่าน หมู่ที่1 (3) นายบุญมี หรบรรพ์ บ้านโคกว่าน หมู่ที่1 (4) นางสาวดนุลดา ธรรมศิริ บ้านโคกสูง หมู่ที่ 4 (5) นางสาวปรีดา จรกระโทก บ้านโคกน้อยหมู่ที่ 10 (6) นายอุทัย งามแพง บ้านหนองโสน หมู่ที่ 5 (7) นายสว่าง อุดมดัน บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 1