ข้าพเจ้า นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : HS02 การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ในเดือน เมษายน 2564 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
เดือนเมษายนได้ฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติม 2 ทักษะ ได้แก่ ด้านการเงินและด้านสังคม Social Literacy ให้ครบจำนวน 20 ชั่วโมง หลักสูตรด้านการเงินเรียนผ่านเว็บไซต์ https://elearning.set.or.th/ มีหลักสูตรที่เรียนดังนี้ 1. INV101 หลักการลงทุน ระยะเวลารวม 601 นาที 2. INV102 การลงทุนในหุ้น ระยะเวลารวม 594 นาที 3. OTD1401 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะเวลารวม 113 นาที 4. WMD1001 : เงินทองต้องวางแผน ระยะเวลารวม 158 นาที 5. WMD1202 : วางแผนการเงินหลังเกษียณ สไตล์วัยเก๋า ระยะเวลารวม 180 นาที 6. WMD1004 : คัมภีร์ 4 รู้ วางแผนดีชีวิตมั่นคง ระยะเวลารวม 113 นาที สิ่งที่ได้เรียนจากการฝึกอบรมด้านการเงิน ได้เรียนรู้การวางแผนการใช้เงินอย่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด รู้จักการลงทุนเพื่อสร้างรายได้และต่อยอดธุรกิจ การวางการมีออมไว้ใช้ในยามเกษียณอายุและการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ หลักสูตรด้านสังคม Social Literacy มีหลักสูตรดังต่อไปนี้ 1. การสร้างทีมงานเพื่อพัฒนางานแบบมืออาชีพ | Creating Professional Team Working 6 ชั่วโมงการเรียนรู้ 2.การสร้างเครือข่ายด้วยการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 6 ชั่วโมงเรียน 3. จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน 8 ชั่วโมงการเรียนรู้ สิ่งที่ได้เรียนจากการฝึกอบรมด้านสังคม คือ การได้แนวคิดการทำงานเป็นทีม การสร้างทีมงาน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงในยุคของสังคมออนไลน์และการใช้สื่อออนไลน์ให้ถูกวิธี
วันที่ 28 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ประชุมชี้แจงแผนการปฏิบัติงานเดือนพฤษภาคม ชี้แจงเรื่องการจัดงานผ้าป่าสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้ฯ ผ่านออนไลน์ และเก็บข้อมูล 10 หัวข้อใน Applications. U2T พร้อมบอกวิธีการกรอกข้อมูลใน Applications. U2T และให้ผู้ปฏิบัติงานทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ Applications. เพื่อให้การกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน วันที่ 7-9 พฤษภาคม 2564 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผ่าน Applications. U2T ในพื้นที่บ้านโคกตะโก หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม.ในชุมชนวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดอย่างเคร่งครัด เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมผู้ปฏิบัติงาน ตำบลหนองโสน ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ลงพื้นที่โคกหนองนาโมเดลของนายสว่าง อุดมะดัน ณ บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ 12 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยผ่านการวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลเเอลกอฮอล์จากอสม.ในชุมชนมาให้บริการ จากนั้นนายสว่าง อุดมดัน ได้พาเดินสำรวจพื้นที่ที่ทำโคกหนองนาโมเดลจำนวน 3 ไร่ และได้บรรยายหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่”โคกหนองนาโมเดล” สืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการบริหารทรัพยากรทั้งดิน น้ำ ลม แดด ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง”ตามแนวทางพระราชดำริ/ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)/ขุด“คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้/ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุดและพื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน/ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนาน
วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้เข้าร่วมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ได้ฟังการบรรยายจาก ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงได้สืบสาน ร.9 ให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในวิกฤตนี้อย่างจริงจัง มีความต่อเนื่องและยั่งยืน สังคมไทยเรียกว่าเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมใหม่ ความเจริญของมนุษย์ ความเจริญของโลกนั้น วัดการมีน้ำใจ มีศีลธรรม อาหารอุดมสมบูรณ์ อากาศเล่าต่อว่า วัดคนที่มีความเสียสละ มีการทำงานแบบแผน การที่เราสร้างศูนย์การเรียนรู้ แบบพึ่งตนเองและวิถีวัฒนธรรมไทย อ.ยักษ์ บรรยาย กสิกรรมธรรมชาติบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน ในยุค World Disruption กสิกรรมธรรมชาติ ภายใต้วัฒนธรรมของไทย มีทั้งหมด 5 ประเด็น (1) กสิกรรมธรรมชาติ (2) รากฐานแห่งความพอเพียง (3) ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน (4) World Disruption (5) วิกฤตโรคโควิด-19 กสิกรรมธรรมชาติ บนรากฐานของความพอเพียงคือมีชีวิตที่ดีขึ้น มีอาหารที่ดี การสร้างที่อยู่อาศัยให้พอเพียง ตอนนี้อยู่มีกินที่พอเพียง ตัวอย่างของความสำเร็จ ต้องมี วจีกรรม (การกระทำทางวาจา) กายกรรม (การกระทำและลงมือทำ) การปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ฝนเทียม “ฝนหลวง” มี 3 ทฤษฎีหลัก (1) การสร้างเมฆ ก่อกวน (2) เลี้ยงให้อ้วน (3) เมฆเย็น โคลงบังคับน้ำ และช่วงบ่าย อาจารย์โจน จันได เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์จากหญ้า แห่งสวนผันพรรณ ได้สรุปบรรยายว่าหญ้าเกิดมาช่วยพัฒนาดิน ช่วยเกษตรกร หญ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ หญ้าเป็นสิ่งที่มาช่วยเรา ใช้หญ้าให้เกิดประโยชน์ในการเกษตร เล่าว่า (1) การบริโภคนิยม (2) อาหาร/พืชพันธุ์ (3) พืชผัก (4) น้ำ ดิน อากาศ (5) สัตว์ สิ่งเหล่านี้เหมือนจะพอสำหรับมนุษย์แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่ขาดแคลน อาจทำให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนสิ่วเหล่านี้ขึ้นก็ได้ การเปลี่ยนแปลงหลักๆในโลกยุคปัจจุบันนี้ หลักๆ (1) ปัญหาสุขภาพ (2) ปัญหาสิ่งแวดล้อม อาจารย์ได้กล่าวว่า สิ่งที่เราทำ “ทำเพื่อใคร” “ทำทำไม” เราไม่เคยให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ แต่จะให้สำคัญกับงานมากกว่า